Sukhothai is located on the lower edge of the northern region, 427 kilometres north of Bangkok or some 298 kilometres south of Chiang Mai. The province covers some 6,596 square kilometres and is divided into 9 Amphoes: Muang Sukhothai, Ban Dan Lan Hoi, Khiri Mat, Kong Krailat, Sawankhalok, Si Nakhon, Si Samrong, Si Satchanalai and Thung Saliam.
HISTORICAL BACKGROUND
Sukhothai was the first kingdom of the Thais in this peninsula. Two princes-Pho Khun Pha Muang and Pho Khun Bang Klang Hao combined their forces and fought the Khmers who commanded an extensive empire throughout this part of the world.
They drove the Khmers out of Sukhothai, a major frontier post of the Khmer Empire, and established it as their capital in 1238. Pho Khun Bang Klang Hao, urged by the people to be king, was enthroned with the royal title of Pho Khun Si Indrathit.
King Si Indrathit had two sons-Pho Khun Ban Mueang and Pho Khun Ramkhamhaeng. After his death, Pho Khun Ban Mueang succeeded him. His brother, Pho Khun Ramkhamhaeng, ascended the throne in 1278 and reigned for forty years. He was Thailand’s first great king.
One of Thailand’s finest warriors, King Ramkhamhaeng made Sukhothai a powerful and extensive kingdom which included many parts of what are today neighbouring countries. A number of ancient cities paid him tribute.
King Ramkhamhaeng opened direct political relations with China and made two trips to China - the first in 1282 to visit Emperor Kublai Khan and the second in 1300 after Kublai Khans death.
From the second visit, he brought back Chinese artisans who taught the Thais the art of pottery. Today, the old Sangkhalok Potteries are eagerly sought by collectors.
A major achievement of King Ramkhamhaeng was the revision of various forms of Khmer alphabets into a system suitable for the writing of Thai words. The alphabet that he invented in 1283 was essentially the same as that in use today.
During his reign, there was prosperity and happiness. There was water in the paddy-fields and fish in the water.
A stone inscription reads in part, This Muang Sukhothai is good. In the water there are fish; in the field there is rice. The ruler does not levy a tax on the people who travel along the road together, leading their oxen on the way to trade and riding their horses on the way to sell. Whoever wants to trade in elephants, so trades. Whoever wants to trade in horses, so trades. Whoever wants to trade in silver and gold, so trades.
King Ramkhamhaeng also promoted religion and culture, and through his efforts, Buddhism progressed among the people. Inspirational faith gave birth to classic forms of Thai religious arts. Images of the Lord Buddha sculptured during the Sukhothai Era are cultural treasures which impart a feeling of peace and serenity.
A total of eight kings ruled Sukhothai. The gradual decline of Sukhothai occurred during the reigns of the last two kings. The end of this first Thai kingdom occurred in 1365 when it became a vassal state of Ayutthaya, a young and rising power to the south. Ayutthaya became the capital of Thailand before Thon Buri and Bangkok.
By Bus
Air-conditioned buses depart from Bangkok's Mochit 2 Bus Terminal to Sukhothai daily between 9.45 a.m. and 10.20 p.m.,frequently during the morning. The journey takes 7 hours. Call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information. Private bus companies which operate daily bus services to Sukhothai are such as Win Tour (Tel: 0 2936 3753 or 0 5561 1039), Phitsanulok Yan Yon (Tel: 0 2936 2924-5, 0 5525 8647) Sukhothai Bus Terminal (Tel: 0 5561 3296)
By Rail
There are no trains going directly to Sukhothai. One may travel by train to Phitsanulok and then take a local bus to Sukhothai, about 59 kilometres away. Contact Bangkok Railway Station Tel. 1690, 02223 7010, 0 2223 7020 or visit www.railway.co.th for more information.
By Air
Bangkok Airways flies from Bangkok to Sukhothai daily for 1-hour journey. Sukhothai Airport is about 40 kilometres north of the town. For more information, call 0 2265 5678, 0 2265 5555 or 0 5564 7224-5 or visit www.bangkokair.com
Distances from Amphoe Mueang to Other Districts
Si Samrong
Kong Krailat
Khiri Mat
Ban Dan Lan Hoi
Sawankhalok
Si Nakhon
Si Satchanalai
Thung Saliam |
20
21
22
28
38
54
67
68 |
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms. |
Distances from Sukhothai to Neighbouring Provinces
Phitsanulok
Kamphaeng Phet
Tak
Uttaradit
Phrae
Lampang |
59
77
79
100
165
207 |
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms. |
1.Si Satchanalai Songkran
Festival
Date : April 8 - 12, 2009
Venue : Si Satchanalai Historical Park
Gain insights into traditional Thai ways during these Songkran Thai New Year celebrations held at Si Satchanalai Historical Park, one of Thailand’s UNESCO-designated Cultural World Heritage Site.
Activities
Rot nam dam hua ceremony
Scented lustral water is poured over the hands of elders and individuals held in high esteem in a gesture of respect
Folk performances and folk games
Tour of the historical park on elephant back
Sales of local products and fruits freshly-picked from the plantations
2. Sukhothai Songkran Festival
Date : April 12 - 14, 2009
Venue : Sukhothai Historical Park, Sukhothai
Journey back in time as local residents, many of whom will be dressed in traditional Thai costumes, celebrate the Songkran Thai New Year, the traditional Thai way. Popular Songkran highlights include a procession of floral carts, Miss Songkran beauty contest, the building of sand stupas at Wat Tapang Thong temple and lots of water-splashing to 'beat the heat' during the kingdom’s hottest season in the year.
Activities
Building of sand stupas
Thai cultural showcase
Folk games and folk sports
Folk music
The observance of ancient Songkran customs and traditions
Contact information:
TAT Sukhothai Office Tel : +66 (0) 5561 1196
E-mail : tatsukho@tat.or.th
Website : www.songkran.net
Sukhothai Historical Park
This is located 12 kilometres from town on the Sukhothai-Tak Highway and can be reached by local bus or hired motored tricycle from town.
The park is open daily from 8.30 a.m.- 4.30 p.m.
Admission is 100 baht each. A package ticket is also available at 350 baht cach.
The park also offers tram services as well as bicycles for rent to explore around its large area.
The Tourist Service Centre in the park (Tel: 0 5569 7527, 0 5569 7310) provides information, as well as displays models of historical buildings and structures in old Sukhothai.
Ruins of the royal palaces, Buddhist temples, the city gates, walls, moats, dams, ditches, ponds, canals, and the water dyke control system, which was the magical and spiritual centre of the kingdom, are now preserved and have been restored by the Fine Arts Department with the cooperation of UNESCO, not only with a view of fostering Thailand’s national identity but of safeguarding a fine example of mankind’s cultural heritage.
Places of interest in Sukhothai Historical Park are as follows:-
Inside the city wall
The city wall is located in the centre of the historical park and surrounded by earthen ramparts. The city has a rectangular shape with 1,300 metres width and 1,800 metres long. The walls contain four main gates. A stone inscription mentions that King Ramkhamhaeng set up a bell at one of the gates. If his subjects needed help, they would ring the bell and the King would come out to settle disputes and dispense justice.
Inside the town stand 35 monuments including Buddhist temples and many other structures.
The Royal Palace and Wat Mahathat
The royal palace lies in the centre of the town and covers an area of 160,000 square metres. This area is surrounded by a moat and contains two main compounds; the royal building and the sanctuary in the palace. In the royal compound exist the ruins of the royal building called Noen Phrasat.
Here, the famous stone inscription of King Ramkhamhaeng was found by King Mongkut (Rama IV) in the 19th century together with a piece of the stone throne called “Manangkhasila-at”. King Ramhamhaeng set up the throne in the midst of a sugar-palm grove where, at his request, a monk preached on Buddhist Sabbath days and the King conducted the affairs of state on other days. This throne was later installed in Bangkok’s Temple of the Emerald Buddha.
A sanctuary lying to the west behind the Royal Palace compound is Wat Mahathat. It is Sukhothai’s largest temple with a customary main chedi in lotus-bud shape and a ruined viharn. At the base of the chedi stands Buddhist disciples in adoration, and on the pedestal are seated Buddha images. In front of this reliquary is a large viharn formerly containing a remarkable seated bronze Buddha image of the Sukhothai style, which was cast and installed by King Lithai of Sukhothai in 1362. At the end of the 18th century, the image was removed to the Viharn Luang of Wat Suthat in Bangkok by the order of King Rama I and has since been named Phra Si Sakaya Muni. In front of the large viharn is another smaller viharn which was probably built during the Ayutthaya period. Its main Buddha image (8 metres high) was installed inside a separate building. In front of the southern image, a piece of sculpture called “Khom Dam Din” (a Khmer who came by way of walking underground) was found, and is now kept in the Mae Ya Shrine near the Sukhothai City Hall. On the south stands a pedestal of a large chedi built up in steps, the lowest platform is adorned with beautiful stucco figures of demons, elephants and lions with angles riding on their backs. Mural painting adorns this chedi.
King Ramkhamhaeng Monument
Situated to the north of Wat Mahathat, the bronze statue of King Ramkhamhaeng sits on a throne with bas-relief at the base depicting the King’s life.
Wat Si Sawai
Situated among magnificent scenery southwest of Wat Mahathat is Wat Si Sawai. Three prangs (pagodas) are surrounded by a laterite wall. Inside the wall, the viharn in the west, built of laterite, is separated from the main prang which was constructed in the Lop Buri or Hindu-style, but the other also constructed beside the prangs are Buddhist viharns. The Crown Prince of that time who later become King Rama VI found a trace of the Hindu sculpture Sayomphu, the greatest Hindu God in this sanctuary. In his opinion, this ruin was once a Hindu shrine, but was later converted into a Buddhist monastery.
Wat Traphang-Ngoen
Situated to the west of Wat Mahathat is Wat Traphang-Ngoen with its square pedestal, main sanctuary, and stucco standing Buddha image in four niches. There is a viharn in front, and in the east of the pond, there is an island with an ubosot. This edifice has already crumbled and only its pedestal and laterite columns still remain. Many monuments and magnificent scenery are visible from this location.
Wat Chana Songkhram
Situated to the north of Wat Mahathat is Wat Chana Songkhram. Its main sanctuary is a round Singhalese-style chedi. In front of the chedi exists the base of a viharn and behind the former stands an ubosot. Bases of twelve small chedis are also visible. Near Charot Withithong Road is a strange chedi having three bases, one on top of the other.
Wat Sa-Si
Situated near Wat Chana Songkhram is Wat Sa Si. Around a Singhalese-style chedi is the main sanctuary on an island in the middle of Traphang Trakuan Pond. A large viharn contains a stucco Buddha image. To the south stands nine chedis of different sizes.
San-Ta-Pha-Daeng or Deity Shrine
Situated to the north of Wat Mahathat is San Ta Pha Daeng. This monument consists of only one laterite prang with a staircase in the front. Sandstone Hindu divine objects (Lop Buri-style) were discovered here.
Wat Mai
Situated to the north of Wat Mahathat is Wat Mai. Wat Mai, having a brick viharn as the main sanctuary, is in the Ayutthaya style. The columns of the viharn are made of laterite. A bronze image of the Buddha under a Naga (Lop Buri-style statue) was found here and is now preserved in the Ramkhamhaeng National Museum.
The Ramkhamhaeng National Museum
The Ramkhamhaeng National Museum was built in 1960 and open on 25 January, 1964. The museum collection includes gifts from the ex-abbot of Wat Ratchathani and art objects unearthed in Sukhothai and nearby provinces. It is open daily from 8.30 a.m.-3.30 p.m. Admission is 30 baht. Tel: 0 5569 7367 www.thailandmuseum.com
Wat Traphang Thong
Situated to the east of Wat Mahathat is Wat Traphang Thong. The monastery is located on an island in the middle of a large pond. A ruined laterite Singhalese-style chedi is on the island. In front of it, a new mondop contains the Lord Buddha’s Footprint slab that was created by King Lithai in 1390 on Samanakut or Phra Bat Yai Hill. This footprint was removed to the new mondop some years ago. An annual fair to worship this sacred Lord Buddha’s Footprint takes place at the same time as the Loi Krathong Festival.
Outside the City Wall
The Sites in the North
Wat Phra Phai Luang
This temple lies about 500 metres north of San Luang Gate (northern gate). This sanctuary, formerly a Khmer-Hindu shrine but later converted into a Buddhist monastery, is surrounded by a moat. It is second in importance to Wat Mahathat. Inside, there are three prangs like Wat Si Sawai, but the southern and the central ones have crumbled leaving only the northern one decorated with stucco figures. In front of these prangs are a viharn and a crumbled chedi; the later has a pedestal decorated with stucco seated Buddha images. A mondop contains Buddha images in four postures; sitting, reclining, standing, and walking. They are now all in ruins. A Sivalinga (Phallic emblem of Hindu gods) was unearthed in the compound of this sanctuary.
Ruins of the Old Celadon Factory (Thuriang Kiln)
Thuriang Kiln is a site where Sukhothai celadons were made. Kilns exist in an area measuring 100 by 700 metres. Each kiln is divided into three sections; the fire area, the pottery baking oven, and the flue. The pottery found here is usually decorated by three different painted designs on their bottom: a disc, a fish, and a flower. Forty-nine kilns and small edifices are visible. To the north, a pond has been dug into the stone.
Wat Si Chum
This lies about 1,500 metres north of Wat Mahathat and was originally surrounded by a moat. A square mondop which is the main sanctuary, contains a monumental stucco-over-brick Buddha image in the attitude of Subduing Mara called “Phra Achana.” which is 11.30 meters width.
The mondop is 32 metres square and 15 metres high, and the walls are 3 metres thick. There is a passageway in the left inner wall itself which leads to the above crossbeam. On the ceiling of the passageway are more than fifty engraved slate slabs illustrating Jataka scenes.
The sites in the West
Wat Saphan Hin
This is situated on a hill 200 metres high. A pathway of slate slabs leads to the sanctuary yard.
Wat Chang Rop
This is situated in the Aranyik area. A chedi is decorated with an elephant emerging from the base. A viharn base and laterite columns are in front of the Chedi.
Phra-Ruang Dam
This earthwork dam was formed to hold back water between Phra Bat Yai and Kio-Ai-Ma Hills and restored by Thailand’s Irrigation Department. Water from the dam will be used as a reserve whenever the water level in other reservoirs goes down. This dam is referred to in the Sukhothai inscription.
The Site in the South
Wat Chetuphon
A mondop enshrines four Buddha images in different postures: sitting, standing, walking, and reclining. The outer walls of the mondop still retains a section in the form of a slate pillar-balustraded window. There is an entrance to the mondop to the north. Just behind the mondop is a small sanctuary which contains a Buddha image known locally as Phra Si Ariya Maitreya, the Lord Buddha of the Future.
The Sites in the East
Wat Chang Lom is located to the north of Charot Withithong Road with a bell-shaped chedi of Ceylonese influence standing as the centre. The chedi is situated on a 3-tiered square base with a platform decorated with a row of elephants seen by their front halves supporting the round chedi.
This type of elephant-decorated chedi is to be seen in many ancient towns of the Sukhothai period; for example, Kamphaeng Phet and Si Satchanalai.
Wat Traphang Thonglang
A square mondop is the main sanctuary. In front of the mondop to the east, is the viharn and beyond the viharn stands an ubosot. The outer wall of the mondop is beautifully decorated by stucco figures in niches. The southern side portrays the Lord Buddha flanked by angels decending from Tavatimsa Heaven. To the west portrays the Lord Buddha preaching to his father and relatives. The northern side depicts the episode when the Lord Buddha returned to preach to his wife. These stucco figures, especially those on the south side, are masterpieces of Sukhothai art.
Sangkhalok Museum
Sangkhalok is the name of ceramic wares produced in the old city of Sukhothai. The museum displays the collection of Sangkhalok and ceramic wares produced some 700 years ago in the Lanna Kingdom (now the northern region of Thailand). The museum is just one kilometre from town on the road to Phitsanulok.
It is open daily from 8 a.m.-5 p.m. Admission is 100 baht for adults and 20 baht for children.
Ramkhamhaeng National Park (Khao Luang Sukhothai)
This exquisite national park with a combined natural and historical background covers an area of 341 square kilometres, and was declared to be a national park on October 27, 1980.
High hills and steep cliffs some over 1,200 metres above sea level, together with fascinating falls, different species to plants and wildlife are some of the major attractions available in this park offered to nature loving tourists or visitors. Furthermore, the archaeological and historical sites with ancient remains and relics make the park even more attractive, especially for critics and theologians.
To reach the park by road, take Highway No.1 from Bangkok, then at km.414 (20 kilometres to Sukhothai) take the left turn along the laterite road for another 16 kilometres till arriving at the parks office. For accommodation, reservations for bungalows and tents can be made through the National Park Section, the Royal Forest Department by Tel: 0 2562 0760 or P.O.Box 1 Amphoe Khiri Mat, Sukhothai 64160 www.dnp.go.th
Visitors have to start trekking before 3.30 a.m. everyday and bring food and essential equipment with them. Bungalows and tents are available. Admission: Adult 100 baht Child 50 baht
Si Satchanalai National Park
This was proclaimed a national park on 8 May, 1981. With a total area of 213 square kilometres in Amphoe Si Satchanalai and Amphoe Thung Saliam of Sukhothai Province, Si Satchanalai National Park offers trekking routes through waterfalls and caves. The parks geography is mainly high, undulating mountains covered by a tropical jungle. Interesting tourist spots in the park include Tat Dao and Tat Duean Waterfalls, about 3 kilometres and 500 metres from the park headquarters, respectively. The park also has a hot spring, two caves called Tham Khangkhao (bats cave), and Tham Thara Wasan.
Si Satchanalai National Park is about 100 kilometres from Sukhothai via route no. 1113 and route no. 1294 and can be reached by local bus from Amphur Si Satchanalai. The bus leaves for the park once a day and costs 30 baht. It takes 50 minutes for the journey. The park admission is Adult 200 baht Child 100 baht. There is accommodation for tourists. For reservations, please contact the National Park Section, Royal Forestry Department at Tel: 0 2562 0760 or 0 5561 9214-5 www.dnp.go.th.
Si Satchanalai Historical Park
Si Satchanalai Historical Park is located on the bank of the Yom River.
It is open everyday between 8.30 a.m.-4.30 p.m.
Admission fee is 100 baht each. Alternatively, a 30-day package for visiting all the historical park in province is available at 220 baht. For a group tour. including Wat Chom Chuen and Center for Study and preservation of Sangkhalok Kilns.
The ancient town, formerly called Muang Chaliang, was named Si Satchanalai during the reign of Phra Ruang when a new administrative centre was established to replace Chaliang. Ruins of 134 monuments have been discovered within the park:
Phra Si Rattana Mahathat Temple also called Phra Borommathat Muang Chaliang Temple or Phra Prang Temple, is situated 3 kilometres to the south of ancient Si Satchanalais wall. An immense laterite prang on a square base marks the centre of the temple. A steep staircase in front of the huge prang leads to a room where a reliquary is enshrined.
Khao Phanom Phloeng Temple is a hilltop temple within the old town of Si Satchanalai. A laterite chedi in the centre, a large viharn or image hall in front, and a small sanctuary behind all lie in ruins. Some laterite pillars and a damaged Buddhas’ image constructed of laterite slabs and coated with mortar are seen.
Khao Suwan Khiri Temple is also a hilltop temple situated 200 metres away from Phanom Phloeng Hill. A huge bell-shaped chedi on a 5-tiered base marks the centre of the temple. Ruins of a viharn and chedi, and fragments of huge stucco figures lie scattered on the ground. The similarity between some figures here and those at Wat Chang Lom in the old town of Sukhothai leads to the belief that it was King Ramkhamhaeng the Great of the Sukhothai Kingdom who had this temple constructed.
Chang Lom Temple is an important monument within the old town of Si Satchanalai. A huge bell-shaped chedi supported by 39 elephants, with 4 of them at 4 cardinal points elaborately decorated, marks the centre of the temple. Above the chedis base, there are niches enshrining images of the Buddha subduing Mara.
Chedi Chet Thaeo Temple is one of the most beautiful temples in Sukhothai Province. Chedis of different artistic styles and influence were built within the area of this temple. Mural paintings, seriously damaged, are still to be seen in some chedis.
Suan Kaeo Utthayan Yai Temple is located near Wat Chedi Chet Thaeo with only a dirt road in between. A large image hall lies in remains within this temple. The monastery is also called Wat Kao Hong or the 9 roomed temple.
Nang Phaya Temple is famous for its delicate stucco reliefs on the remains of the northwestern wall of the 7 roomed viharn or image hall. The pillars of this viharn are decorated with unglazed ceramic designs. The central laterite chedi is surrounded by lampposts and accessible by a set of narrow stairs.
Suan Kaeo Utthayan Noi Temple is the only temple within the old town of Si Satchanalai with a brick building in front. The ruins of this temple consist of a whole laterite image hall with a laterite roof.
Celadon Kiln Site Study and Conservation Centre
This is located at Ban Ko Noi, some 4 kilometres to the north of Si Satchanalai. More than 500 kilns have been excavated up to now. Numerous celadon wares in perfect condition as well as pot have been discovered. The kiln is oval in shape with a curved roof and is 7-8 metres wide.
The centre consists of 2 buildings situated on the kiln site area with 2 kilns No.42 and 61 exhibited on site. There are also exhibitions on artifacts and on the evolution of ancient ceramic wares. The centre is open daily from 9 a.m.- 4 p.m. Admission is 30 baht.
To get there, drive for 6.5 kilometres to the north of Si Satchanalai Historical Park to Ban Ko Noi where the remains of ancient kilns can be seen scattered around. The centre is also accessible by the provincial highway No.1201 from Amphur Si Satchanalai, a distance of 7 kilometres with the buildings located on the left.
Sawankhaworanayok National Museum
It is 38 kilometres from Sukhothai and 2 kilometres further on a road on the left. The museum was open in 1984, and features sculptural art from various periods; the most interesting being Sangkhalok crockery from the Sukhothai era and Sangkhlalok items retrieved from sunken vessels in the Gulf of Thailand.
The museum is open daily except Mondays, Tuesdays, and public holidays, from 8.30 a.m. - 4 p.m.
Admission is 50 baht per person.
For more information, call 0 5564 1571, 0 5564 3166
San-Ta-Pha-Daeng or Deity Shrine
Situated to the north of Wat Mahathat is San Ta Pha Daeng. This monument consists of only one laterite prang with a staircase in the front. Sandstone Hindu divine objects (Lop Buri-style) were discovered here.
Wat Sa-Si
Situated near Wat Chana Songkhram is Wat Sa Si. Around a Singhalese-style chedi is the main sanctuary on an island in the middle of Traphang Trakuan Pond. A large viharn contains a stucco Buddha image. To the south stands nine chedis of different sizes.
Wat Chana Songkhram
Situated to the north of Wat Mahathat is Wat Chana Songkhram. Its main sanctuary is a round Singhalese-style chedi. In front of the chedi exists the base of a viharn and behind the former stands an ubosot. Bases of twelve small chedis are also visible. Near Charot Withithong Road is a strange chedi having three bases, one on top of the other.
Wat Traphang-Ngoen
Situated to the west of Wat Mahathat is Wat Traphang-Ngoen with its square pedestal, main sanctuary, and stucco standing Buddha image in four niches. There is a viharn in front, and in the east of the pond, there is an island with an ubosot. This edifice has already crumbled and only its pedestal and laterite columns still remain. Many monuments and magnificent scenery are visible from this location.
Wat Si Sawai
Situated among magnificent scenery southwest of Wat Mahathat is Wat Si Sawai. Three prangs (pagodas) are surrounded by a laterite wall. Inside the wall, the viharn in the west, built of laterite, is separated from the main prang which was constructed in the Lop Buri or Hindu-style, but the other also constructed beside the prangs are Buddhist viharns. The Crown Prince of that time who later become King Rama VI found a trace of the Hindu sculpture Sayomphu, the greatest Hindu God in this sanctuary. In his opinion, this ruin was once a Hindu shrine, but was later converted into a Buddhist monastery.
Wat Traphang-Ngoen
Situated to the west of Wat Mahathat is Wat Traphang-Ngoen with its square pedestal, main sanctuary, and stucco standing Buddha image in four niches. There is a viharn in front, and in the east of the pond, there is an island with an ubosot. This edifice has already crumbled and only its pedestal and laterite columns still remain. Many monuments and magnificent scenery are visible from this location.
King Ramkhamhaeng Monument
Situated to the north of Wat Mahathat, the bronze statue of King Ramkhamhaeng sits on a throne with bas-relief at the base depicting the Kings life.
Fish Museum
This is located in the Rama IV Park on the Sukhothai Phitsanulok route and can be reached by local bus from town. The museum displays a variety of fresh water fish mentioned in Thai literature. It is open daily except Tuesdays from 9 a.m. 5 p.m. There is no admission fee.
สุโขทัย : ข้อมูลทั่วไป
มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้าง อาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228, 0 5561 6366 โทรสาร 0 5561 6230
- ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
- ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
- สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
- โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
- สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296
Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
http://www.sukhothai.go.th
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย
http://www.tourismthailand.org/sukhothai
สุโขทัย : ข้อมูลการเดินทาง
ข้อมูลการเดินทางของ จ. สุโขทัย
การเดินทางจากสุโขทัยไปยังจังหวัดใกล้เคียง
- ตาก 77 กิโลเมตร
- ลำปาง 207 กิโลเมตร
- พิษณุโลก 59 กิโลเมตร
- อุตรดิตถิ์ 100 กิโลเมตร
- กำแพงเพชร 77 กิโลเมตร
- แพร่ 165 กิโลเมตร
ถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทางคือ
1. จากทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศเข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง 440 กิโลเมตร
2. จากทางหลวงหมายเลข 1 ไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 50 บริเวณแยกอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านพระนครศรีอยุธยามุ่งสู่นครสวรรค์ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 117 ตรงเข้าพิษณุโลก ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 12 เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง 427 กิโลเมตร
รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถด่วน และรถเร็วออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปลงที่สถานีพิษณุโลกทุกวัน จากนั้นให้เดินทางต่อโดยรถประจำทางไปสุโขทัยอีกประมาณ 59 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือwww.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่ง หมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2537 8055-6, 0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th
นอกจากนี้ยังมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท วินทัวร์ โทร. 0 5561 1039 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3753 บริษัท พิษณุโลกยานยนต์ โทร. 0 5525 8647, 0 5525 8941 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2924-5
เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลกทุกวัน จากนั้นให้เดินทางต่อโดยรถประจำทางไปสุโขทัยอีกประมาณ 118 กิโลเมตร สอบถามเที่ยวบินเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สาขาพิษณุโลก โทร. 0 5524 2971-2 หรือwww.thaiairways.com และ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด มีเที่ยวบินที่บินตรงไปสุโขทัยทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2229 3456-63 สาขาสุโขทัย โทร. 0 5564 7225-6 www.bangkokair.com
การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.สุโขทัย
การเดินทางจากอำเภอเมืองสุโขทัยไปยังอำเภอต่าง ๆ
- อำเภอศรีสำโรง 20 กิโลเมตร
- อำเภอกงไกรลาศ 21 กิโลเมตรอำเภอ
- คีรีมาศ 22 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านด่านลานหอย 28 กิโลเมตร
- อำเภอสวรรคโลก 38 กิโลเมตร
- อำเภอศรีนคร 54 กิโลเมตร
- อำเภอศรีสัชนาลัย 67 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งเสลี่ยม 68 กิโลเมตร
สุโขทัย : วัฒนธรรมประเพณี
งานประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว
วันที่ 7 - 8 เมษายน 2552
ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม
ชมพิธีกรรมการบวชลูกแก้วของชาวไทยพวน และร่วมขบวนแห่นาคด้วยช้าง กว่า 20 เชือกไปรอบๆ หมู่บ้าน
สอบถามรายละเอียด
เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว โทร. 0 5567 1122
ประเพณีย้อนอดีตมหาสงกรานต์กรุงเก่าสุโขทัย
วันที่ 12 - 14 เมษายน 2552
ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรมในงาน
ขบวนแห่นางสงกรานต์ ประกวดก่อพระเจดีย์ทราย การแสดงวัฒนธรรมไทย กีฬาพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน การละเล่นสงกรานต์แบบไทย และการละเล่นพื้นบ้าน
กิจกรรม Hi-Light
วันที่ 14 เมษายน 2552 เวลา 14.00 น. ขบวนแห่ล้อเกวียนโบราณ และการประกวดเทพีสงกรานต์ จากถนนชุมชนเมืองเก่าไปยังวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เทศบาลตำบลเมืองเก่า โทร. 0 5563 3343, 0 5569 7449
ททท. สำนักงานสุโขทัย โทร. 05561 6228-9
งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก
วันที่ 11 - 15 เมษายน 2552
ณ สนามโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม
ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ขบวนแห่นางสงกรานต์รอบเมือง พิธีสรงน้ำพระ เทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก
สอบถามรายละเอียด
เทศบาลเมืองสวรรคโลก โทร. 0 5564 1373
ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 19 เมษายน 2552
ณ อนุสาวรีย์เจ้าพ่อเมืองด้ง ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม
การแห่รดน้ำเจ้าพ่อเมืองด้ง การแสดงพื้นบ้านที่หาชมได้ยาก การละเล่นพื้นบ้าน การจำหน่ายผลไม้และสินค้าพื้นเมือง
ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง
สรงน้ำเจ้าพ่อเมืองด้ง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวตำบลบ้านตึก ที่ในอดีตเป็นที่ตั้งของอำเภอด้ง (ศรีสัชนาลัย) โดยประเพณีดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงชีวิตความผูกพันระหว่างคนกับ ช้าง และเพื่อสักการะเจ้าหมื่นด้ง (ทหารเอกของพระเจ้าติโลกราช ผู้ครองเมืองเชลียง) สำหรับงานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง สรงน้ำเจ้าพ่อเมืองด้งนั้น (คำว่าโฮงในภาษาเหนือ แปลว่า ศาล) จะเริ่มต้นหลังจากวันสงกรานต์ 7 วัน โดยเจ้าของช้างและควาญช้างจะทำการอาบน้ำให้ช้าง จากนั้นก็จะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญต่อหน้าช้าง และกราบเท้าช้างเพื่อทดแทนบุญคุณที่ทำงานหนักมาตลอดปี
สอบถามรายละเอียด
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย
กำหนดการจัดงาน วันที่ 8 - 12 เมษายน 2552
พื้นที่จัดงาน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรมในงาน
ขบวนแห่รดน้ำดำหัวพ่อเมือง การแสดงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การจำหน่ายผลไม้พื้นเมือง และนั่งช้างชมโบราณสถาน
กิจกรรม Hi-Light
วันที่ 12 เมษายน 2552 เวลา 15.00 น. ขบวนแห่ช้างพ่อเมือง จำนวน 20 เชือก ข้ามแก่งหลวง แม่น้ำยม มาขึ้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
วันที่ 7 - 8 เมษายน 2552 มีประเพณีบวชพระแห่นาคด้วยช้างของชาวหาดเสี้ยวที่วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นงานประเพณีแห่นาคด้วยขบวนช้างที่แปลกและเป็น เอกลักษณ์เด่นของชาวหาดเสี้ยว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย โทร. 0 5569 7153
ททท. สำนักงานสุโขทัย โทร. 05561 6228-9
การแสดงประกอบแสง-เสียง เรื่องเมืองสุโขทัย
ณ วัดสระศรี อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
ทุกวันเสาร์แรกของเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ถึง ธันวาคม 2552
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวสุโขทัย ขอเชิญชมการแสดงประกอบแสงเสียง เรื่อง เมืองสุโขทัย เรื่อง เมืองสุโขทัย
กำหนดการ
17.30 น. รับประทานอาหารว่าง พร้อมชมอาทิตย์อัสดงท่ามกลางทิวเขาและโบราณสถานที่แสนงดงาม
19.00 น. ซึมซับเรื่องราวของอารยธรรมสุโขทัย ผ่านการแสดงประกอบแสงเสียง และการแสดงพลุตะไล ไฟพะเนียงที่สุดอลังการ
จองบัตรได้ที่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวสุโขทัย โทร. 0 5564 7225-6 ต่อ 111
โรงแรมอนันดา จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5562 2428-30 ต่อ 248
สุโขทัยทราเวลเซอร์วิส โทร. 0 5561 3075-6
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานพิษณุโลก โทร. 0 5525 2742-3
สุโขทัย : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
วัดช้างล้อม
เป็น โบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ตั้ง อยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บริเวณที่เรียกว่า แก่งหลวง ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลก 11 กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 550 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ส่วนตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่า เมืองเชลียง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ศรีสัชนาลัย ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง
อัตราค่าเข้า : นักท่องเที่ยวชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมเพื่อเข้าชมโบราณสถานอื่นได้ ได้แก่ โบราณสถานวัดชมชื่น และเตาทุเรียงเกาะน้อย ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
เดิม ชื่อ ป่าคา หมายถึงป่าคาหลวง หรือสันกลางแม่วังช้าง ตั้งอยู่ที่บ้านป่าคา หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านแก่ง ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชฯ เพื่อรักษาสภาพป่าที่เป็นต้นน้ำลำธาร และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอทุ่งเสลี่ยม มีพื้นที่ประมาณ 213 ตารางกิโลเมตร และต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการผนวกพื้นที่เพิ่มเติมในท้องที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 106 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 319 ตารางกิโลเมตร อุทยานฯ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าคาขนาดใหญ่ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำท่าแพ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขา ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบเขา สัตว์ป่าที่พบได้แก่ กระแต เสือไฟ อีเห็นข้างลาย เลียงผา เต่าปูลู เป็นต้น และได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2524
สถานที่น่าสนใจภายในบริเวณอุทยานฯ ได้แก่
น้ำตกตาดเดือน เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยแม่ท่าแพ เป็นลานหินกว้าง และแอ่งน้ำเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 300 เมตร
ถ้ำธาราวสันต์ โดยรอบบริเวณถ้ำจะพบกับพรรณไม้ และสัตว์ป่า เช่น จันทน์ผา เสียงผา เป็นต้น ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยทรายขาว เกิดจากลำห้วยทรายขาวไหลผ่านหน้าผาหินลงสู่แอ่งน้ำขนาดเล็ก ตัวน้ำตกมีทั้งหมด 7 ชั้น ลดหลั่นกันไป น้ำตกทรายขาวนี้อยู่ใจกลางขุนเขา และโดยรอบมีต้นไม้นานาพันธุ์ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร
น้ำตกตาดดาว ต้นน้ำเกิดจากลำห้วยแม่ท่าแพ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวย ตัวน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผา กว้างที่สูงชัน มี 2 สาย สูงประมาณ 50 เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ด้วยการเดินเท้าประมาณ 4 กิโลเมตร
ถ้ำค้างคาว เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีหินงอก หินย้อยสวยงาม และเป็นที่อยู่ของค้างคาวนับแสนตัว ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 20 กิโลเมตร
นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัดทำ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ไว้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรก ได้แก่ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติชมตะวัน เป็นเส้นทางที่อยู่บนไหลเขา มีความลาดชันปานกลาง ผ่านร่องน้ำในบางช่วง ตลอดเส้นทางเป็นป่า เบญจพรรณ นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของอุทยานฯ และระหว่างเส้นทางสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าได้ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาตินี้มีทั้งหมด 14 สถานี แต่ละสถานีทางอุทยานฯ ได้จัดทำป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ไว้เป็นระยะ ๆ ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง เป็นระยะทางไป-กลับ 5,500 กิโลเมตร
เส้นทางที่สอง ได้แก่ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติห้วยแม่ท่าแพ ลักษณะของเส้นทางเป็นเส้นทางที่ต้องเดินวนกลับ ระหว่างทางเดินสามารถพบกับสัตว์ป่าได้ เช่น ผีเสื้อ เก้ง หมูป่า กระรอก ลักษณะของป่าเป็นป่าดงดิบแล้งผสมกับป่าเบญจพรรณ ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง เป็นระยทาง 2 กิโลเมตร
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท
สถานที่พัก
ทางอุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 6 หลัง พักได้ 4-8 คน ราคา 300-800 บาท/คืน และทางอุทยานฯ ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง เสียค่าพื้นที่ 10 บาท/คืน หรือจะเช่าเต็นท์ของทางอุทยานฯ พักได้ 2-8 คน ราคา 40-120 บาท/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัย ตู้ ปณ. 10 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 โทร. 0 5561 9214-5 หรือที่ติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th
การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดสุโขทัยสามารถใช้เส้นทางได้ 2 ทาง
เส้นทางแรก จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 12 เส้นสุโขทัย-ตาก เลี่ยงเมืองไปประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 1113 มาถึงสี่แยกสารจิตรแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 1294 เข้าสู่อุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
เส้นที่สอง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 101 เส้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ถึงอำเภอศรีสัชนาลัยให้เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย ทางหลวงหมายเลข 1035 ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1249 เข้าสู่อุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 122 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง มีรถออกจากอำเภอศรีสัชนาลัย เป็นรถสองแถว จอดตรงข้ามสถานีตำรวจ อำเภอศรีสัชนาลัย มีรถออกก่อนเที่ยง วันละ 1 เที่ยว ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที อัตราค่าโดยสารคนละ 30 บาท
ในกรณีที่เดินทางเป็นหมู่คณะ อาจจ้างเหมาจากท่ารถดังกล่าวเข้าไปอุทยานฯ ได้ ราคาค่าจ้างเหมาต่อเที่ยวประมาณ 600-800 บาท
ศูนย์ศึกษา และอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง)
ตั้ง อยู่ที่บ้านเกาะน้อย ห่างจากตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัยเลียบแม่น้ำยมไปทางเหนือประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเตาเผาที่ขุดพบเตาเผาเครื่องถ้วยสังคโลกแล้วกว่า 500 เตา ในระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัย มีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์ และแตกหักเป็นจำนวนมาก ลักษณะเตาเผาจะเป็นรูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้างยาวประมาณ 7 - 8 เมตร
ศูนย์ศึกษาฯ ดังกล่าว ปัจจุบันมีอยู่ 2 อาคาร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเตาที่ใช้เป็นที่ศึกษา มีหมายเลขเตาที่ใช้เรียกในการศึกษา คือ เตาที่ 42 เป็นเตาบนดิน และเตาที่ 61 เป็นเตาใต้ดิน ภายในตัวอาคารจะมีการตั้งแสดงโบราณวัตถุ เอกสารทางวิชาการ ตลอดจนวิวัฒนาการเครื่องถ้วยสมัยโบราณให้นักท่องเที่ยวชมอีกด้วย ศูนย์ฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
การเดินทาง จากบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือ ทางประตูเตาหม้อไปถึงบ้านเกาะน้อยประมาณ 6.5 กิโลเมตร จะเห็นซากเตาเผาโบราณเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หรือจะเดินทางจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1201 ไปประมาณ 7 กิโลเมตร ลงมาที่บ้านเกาะน้อย จะเห็นอาคารศูนย์ฯ อยู่ทางซ้ายมือ
สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง)
ตั้ง อยู่หมู่ที่ 9 ตำบลป่ากุมเกาะ แต่เดิมเคยเป็นหนองน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 830 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นน้ำ 645 ไร่ พื้นดิน 185 ไร่ ลักษณะของสวนนี้เป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบมองเห็นทิวทัศน์ได้ เหมาะสำหรับที่จะพักผ่อน ภายในบริเวณมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ สะพานไม้โบราณ ที่ข้ามอ่างน้ำเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง มีความยาว 300 เมตร สักการะบูชาพระร่วง ณ วงเวียนประดิษฐานรูปพระร่วง อยู่ปากทางเข้าเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง สักการะบูชาพระมหาโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม และนมัสการศาลปู่ก๊อก ข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่ากุมเกาะ พักผ่อนศาลาที่พักริมทาง ชมวิวทิวทัศน์รอบเกาะ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานหลายด้าน เช่น โครงการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงไก่ พิพิธภัณฑ์ชาวนาแหล่งรวบรวมอุปกรณ์ชาวนาโบราณแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวนาสมัย สุโขทัย แปลงสวนสมุนไพรสาธิต เรือนเพาะชำกล้าไม้
นอกจากนั้นภายในบริเวณสวนแห่งนี้มีอาคารเอนกประสงค์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของดีจังหวัดสุโขทัย สอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลป่ากุมเกาะ โทร. 0 5564 2100
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
(เขา หลวง จังหวัดสุโขทัย) ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่าน ลานหอย และอำเภอคีรีมาศ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 213,215 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์แห่งแรกของเมืองไทยที่น่าสนใจ และน่าศึกษา เพราะเป็นการอนุรักษ์ป่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัยไว้ พร้อมกับธรรมชาติ ในสมัยก่อนเรียกป่านี้ว่า ป่าเขาหลวง แต่เมื่อทางการเข้ามาดำเนินการสงวนพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาตินั้นได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า รามคำแหง ซึ่งเป็นมงคลนาม เพราะมาจากพระนามของกษัตริย์อัจฉริยะของชาติไทย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ครองกรุงสุโขทัย เพราะชื่อเดิมนั้น (เขาหลวง) ซ้ำกับ ป่าเขาหลวง ซึ่งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติเขาหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีขุนเขาที่สูงเด่นเป็นสง่า คือ
ยอดเขาหลวง ภายในอุทยานฯ สามารถที่จะเห็นสัตว์ป่าได้ เช่น วัวแดง เก้ง หมี หมู่ป่า นกกระเต็น นกนางแอ่ง พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ตะเคียน เต็ง รัง พืชสมุนไพร ว่าน น้ำตกที่สวยงาม และถ้ำต่างๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เหมาะสำหรับการไปพักผ่อน และได้รับการประกาศแต่ตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติรามคำแหง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523
ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เป็นภูเขาที่สลับซับซ้อน ทอดตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นราบคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่โดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่ง นา สภาพอากาศบนยอดเขาจะหนาวเย็นตลอดปี มีเมฆหมอกปกคลุมมากในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ 12-14 องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศเย็นสบายอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปอุทยานฯ เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้แก่
เขาหลวง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร เป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน และมียอดเขาสูงที่สุดอยู่ทางด้าน ทิศใต้ของเมืองสุโขทัย บนยอดเขามีทิวทัศน์ที่สวยงาม ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ ประกอบด้วยยอดเขา 4 ยอดด้วยกัน คือ ยอดเขานารายณ์ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,160 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีโทรคมนาคมเขานารายณ์ ของกองทัพอากาศมีเนื้อที่ 25 ไร่ บริเวณเขานารายณ์มีหน้าผาที่สวยงาม และสูงชันเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อน สามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบเขา ในเวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟจากจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ยอดเขาพระแม่ย่า สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร เดิมเคยเป็นที่ประทับ จำศีลภาวนาของพระแม่ย่า ยอดเขาภูกา สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร และ ยอดเขาพระเจดีย์ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,185 เมตร เมื่อมองจากยอดเขาเหล่านี้ลงไปสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม และจะเห็นทำนบกั้นน้ำที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยที่เรียกว่า สรีดภงค์ และตัวจังหวัดสุโขทัยได้อย่างชัดเจน
ทุ่งหญ้าธรรมชาติ บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน และบางชนิดเป็นพืชสมุนไพร
ไทรงาม เป็นต้นไทรขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงาม เหมาะที่จะไปนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวง
ปล่องนางนาค อยู่ห่างจากไทรงาม 320 เมตร เป็นปล่องธรรมชาติอยู่บริเวณยอดเขามีความกว้างประมาณ 0.5 เมตร ยาวประมาณ 1.5 เมตร ความลึกไม่สามารถวัดได้ ตามตำนานพระร่วงในพงศาวดารเหนือเจ้าเมืองออกมาจำศีลที่เขาหลวงจึงเกิดตำนาน เรื่องพระร่วงซึ่งเกี่ยวข้องกับปล่องนางนาคนี้
สมุนไพร และว่าน ในพื้นที่อุทยานฯ มีว่าน และสมุนไพรอยู่หลายชนิด เช่น โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้ม หนุมานประสานกาย กำลังเสือโคร่ง เป็นต้น
ประตูประวัติศาสตร์ มีประตูทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ คือ ประตูป่า อยู่ทางทิศเหนือของสวนลุ่ม หรือบริเวณที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ประตูมะค่า อยู่ทางทิศตะวันตก เป็นประตูที่ตั้งอยู่ที่บริเวณเมืองหน้าด่าน ประตูเปลือย อยู่ทางทิศตะวันออกของสวนลุ่ม ตั้งอยู่บริเวณด่านตรวจของอุทยานฯ ประตูพระร่วง อยู่ทางทิศใต้ของสวนลุ่ม และมีเรื่องเล่ามาว่าเป็นประตูที่พระร่วงเข้ามาเล่นว่าว ณ ที่แห่งนี้
สวนลุ่ม หรือสวนลุมพินีวัน เป็นสวนว่านยาสมุนไพรอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่เชิงเขาหลวง ปัจจุบันคือ ที่ตั้งของสำนักงานอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาหลวง
น้ำตกสายรุ้ง อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียง และสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์ มาเป็นลำธารคลองไผ่นาไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิ้งตัวลงมาจากผาหินที่สูง เมื่อถูกแสงแดดส่องลงมากระทบเข้ากับน้ำเป็นสายทำให้เกิดปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติเป็นสายรุ้งที่มีสีสันสวยงาม มีน้ำตกเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ภายในบริเวณน้ำตกมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อยู่ห่างจากอุทยานฯ 50 เมตร ตัวน้ำตกมีทั้งหมด 4 ชั้น แต่ละชั้นสามารถลงเล่นน้ำได้ โดยต้องเดินเท้าจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ขึ้นไปตามธารน้ำไหล มีระยะทาง 800 เมตร 900 เมตร 1,160 เมตร และ 1,200 เมตร ตามลำดับ การเดินทาง จากตัวจังหวัดสุโขทัยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 101 เส้นสุโขทัย-คีรีมาศ พอถึงอำเภอคีรีมาศให้ตรงไปอีกประมาณ 18 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือโดยผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอยเข้าไป 13 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกขวาอีกครั้งให้ตรงเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ช่วงระยะเวลาที่สามารถมองเห็นสายรุ้งตั้งแต่เวลา11.00-16.00 น.
รอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่เชิงเขาถ้ำพระบาททำด้วยหินชนวนแกะสลักรอยมงคล 108 สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท อายุประมาณ 600 ปีเศษ
ปรางค์เขาปู่จา เป็นปรางค์ที่ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็ก ๆ ใกล้กับอุทยานฯ เป็นศิลปะเขมรสมัย บาปวน สร้างสำหรับคนเดินทางเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา มีอายุประมาณ 1,500 ปีเศษ
ถ้ำพระนารายณ์ เป็นสถานที่ที่เคยพบเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ซึ่งราษฎรที่พบคิดว่าเป็น พระนารายณ์ ปัจจุบันถูกทุบทำลายจนหมดคงเหลือแต่เฉพาะฐานเท่านั้น
ถ้ำพระแม่ย่า เป็นเพิงหินขนาดใหญ่เคยเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปปั้นพระแม่ย่า ปัจจุบันได้อัญเชิญไว้ที่ศาล พระแม่ย่าบริเวณศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
ถนนพระร่วง เป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่เชื่อมระหว่างเมืองกำแพงเพชรผ่านสุโขทัย จดศรีสัชนาลัย ด้วยระยะทาง 123 กิโลเมตร เชื่อว่าถนนสายนี้สร้างเมื่อ 700 ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์อาจถือว่าเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศ ไทย
เขื่อนสรีดภงค์ และแหล่งต้นน้ำในอดีต สรีดภงค์ คือ ทำนบกั้นน้ำ หรือเขื่อน ในสมัยโบราณคือ ทำนบพระร่วง เป็นคันดินกั้นน้ำระหว่างเขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา น้ำในเขื่อนจะถูกส่งไปตามคลองสู่กำแพงเมืองไหลเข้า สระตระพังเงิน ตระพังทองเพื่อใช้สอยในเมือง และพระราชวังในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกรมชลประทานได้บูรณะซ่อมแซม ขึ้นใหม่ สำหรับแหล่งต้นน้ำในอดีตเรียกว่า โซก (คือ ลำธาร) ที่สำคัญได้แก่ โซกพระร่วงลองพระขรรค์ โซกพระร่วงลับพระขรรค์ โซกพม่าฝนหอก โซกชมพู่ (รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จประพาสในเที่ยวเมืองพระร่วง) ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลมาจากเขาประทักษ์
นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัดทำ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยเริ่มจากที่ทำการอุทยานฯ ผ่านสวนสมุนไพร ป่าดิบแล้ง ไทรงาม ชั้นดิน ชั้นหิน เป็นต้น ไปสิ้นสุดที่น้ำตกหินราง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง โดยทางอุทยานฯ ได้จัดทำป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ของป่าเป็นระยะ ๆ
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ในกรณีที่นักท่องเที่ยวใช้บริการลูกหาบขึ้นยอดเขาหลวงราคากิโลกรัมละประมาณ 10 บาท โดยสามารถติดต่อได้ที่อุทยานฯ
สถานที่พัก
ทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง พักได้ 6-10 คน ราคา 500 บาท/คืน และมีเต็นท์ให้เช่า พักได้ 2-8 คน ราคา 50–200 บาท/คืน ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคาคนละ 30 บาท/คืน ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ตู้ ปณ. 1 อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย 64160 โทร. 0 5591 0000 หรือติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักทางเว็บไซต์ที่ http://www.dnp.go.th
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดสุโขทัย สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านทางนครสวรรค์ แล้วให้เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ไปจนถึงกำแพงเพชร แล้วจากนั้นให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางหมายเลข 101 ไปจนถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ก่อนถึงจังหวัดสุโขทัย 20 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 414 จะเห็นยอดเขาสูงอยู่ทางซ้ายมือแล้วเลี้ยวซ้ายเป็นระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงที่ทำการของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง
เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ไปจนถึงนครสวรรค์ แล้วให้ใช้เส้นทางหมายเลข 117 ไปจนถึงพิษณุโลก และเปลี่ยนไปใช้เส้นทางหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย แล้วเดินทางต่อถึงอำเภอคีรีมาศให้แยกซ้ายเข้าไป 16 กิโลเมตร จนเข้าสู่อุทยานฯ และ รถประจำทาง จากอำเภอคีรีมาศ นักท่องเที่ยวสามารถเหมารถสองแถวได้ที่บริเวณแยกคีรีมาศ ราคาเที่ยวละประมาณ 350-400 บาท
รถประจำทาง
จากกรุงเทพฯใช้บริการรถโดยสารของ บ.ข.ส. หรือ บริษัทวินทัวร์ ที่ผ่านอำเภอคีรีมาศ ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง ลงที่แยกคีรีมาศ แล้วต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าอุทยานฯ หรือติดต่อให้อุทยานฯมารอรับที่ทางแยกก็ได้
ข้อควรแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว
- ทางอุทยานฯไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นยอดเขาหลวงหลังเวลา 15.30 น.
- ด้านบนยอดเขานารายณ์มีเฉพาะอาหารแห้งจำหน่าย ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปค้างแรมด้านบนควรเตรียมอาหารให้เพียงพอ
- ก่อนการเดินทางนักท่องเที่ยวควรสำรวจความพร้อมทางร่างกาย และจำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์สิ่งของจำเป็นไปด้วย เช่น เสื้อกันหนาว หมวก ไฟฉาย ยา อาหารแห้ง เป็นต้น เนื่องจากไม่สามารถซื้อของเหล่านี้ได้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ตั้ง อยู่ทางด้านขวาของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นที่รวบรวม และจัดแสดงศิลปโบราณที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัย และที่ประชาชนมอบให้
บริเวณพิพิธภัณฑ์แบ่งส่วนการแสดงโบราณวัตถุไว้เป็น 3 ส่วนคือ
1. อาคารลายสือไท 700 ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม เครื่องสังคโลก ศิลาจารึก ฯลฯ
2. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะแหล่งโบราณคดีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และ ชั้นบน จัดแสดงศิลาจารึกสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสำริด เทวรูป โอ่งสังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำแสดงระบบชลประทานสมัยสุโขทัย ฯลฯ
3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณต่าง ๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่าง ๆ เตาทุเรียงจำลอง เสมาธรรมจักศิลา เป็นต้น
เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม : นักท่องเที่ยว ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
ในกรณีที่ประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ รามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. 0 5569 7367 หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.thailandmuseum.com
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคเหนือดีเด่น
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นดินแดนแห่งยุคทองที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ไทยในอดีต ที่ยังคงร่องรอยแห่งอารยธรรมอันรุ่งเรือง สถาปัตยกรรมอันงดงามวิจิตรบรรจง และที่สำคัญเป็นร่องรอยอดีตแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย และของคนทั้งโลกจนได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นแหล่งมรดกโลก เมื่อ พ.ศ. 2534
เมืองเก่าสุโขทัยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย - ตาก ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบไปด้วยโบราณสถานทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ดังนี้สถานที่สำคัญภายในกำแพงเมือง
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสม ทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ที่ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม มีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของ พระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย
กำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 1,300 เมตร ยาว 1,800 เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง 2 ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้วคูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมืองอีก ด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วย
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) 8 ซุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร ที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า พระอัฎฐารศ
วัดชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับโบราณสถานที่เรียกว่าหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน และมีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายต่าง ๆ
เนินปราสาทพระร่วง หรือเขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งเรียกว่า เนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นฐาน ปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ เมื่อ พ.ศ. 2526 พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำ บัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 27.50X51.50 เมตร มีบันไดที่ด้านหน้า และด้านหลัง
วัดตระพังเงิน (คำว่า ตระพัง หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ 300 เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ลักษณะเด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม คือ มีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา (จระนำ หมายถึง ชื่อซุ้มท้ายวิหาร หรือท้ายโบสถ์ มักเป็นช่องตัน) วิหารประกอบอยู่ด้านหน้า และทางด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำ
วัดสระศรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญอยู่บริเวณกลางสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน และสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีเจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ มีซุ้มพระพุทธรูป 4 ทิศ ด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็ก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม
วัดศรีสวาย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ 350 เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง
ศาลตาผาแดง มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมร ก่อด้วยศิลาแลง สมัยนครวัด (พ. ศ. 1650-1700) ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูป และเทวสตรีประดับด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
สถานที่สำคัญนอกกำแพงเมืองด้านเหนือ
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต
แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า แม่โจน เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียนขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชาม มีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร
วัดพระพายหลวง เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานที่ เก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน
วัดศรีชุม ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่อง ชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงาม ของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ
เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระ ร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญ และด้านอื่น ๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านตะวันตก
วัดช้างรอบ อยู่ห่างจากประตู้อ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.4 กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน 24 เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย 5 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์
วัดสะพานหิน วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ 200 เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็น ระยะทาง 300 เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง 12.50 เมตร เรียกว่า พระอัฏฐารศ
เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านใต้
วัดเชตุพน ศิลปกรรมที่น่าสนใจของวัดคือ มณฑปที่สร้างด้วยหินชนวน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท คือนั่ง นอน ยืน เดิน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยมีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุขนี้สร้างจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่ และหนา โดยมีการสกัด และบากหินเพื่อทำเป็นกรอบ และซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ และยังได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้หลักที่ 58 จารึกในปี พ. ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้
วัดเจดีย์สี่ห้อง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ 100 เมตร โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับโดยรอบปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษ และสตรี สวมอาภารณ์ และเครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลมที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลง
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก
วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ
วัดตระพังทองหลาง อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง หากเดินทางมาจากจังหวัดสุโขทัยวัดตระพังทองหลางอยู่ริมซ้ายมือ ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมอีกมากมาย กรณีที่นักท่องเที่ยวมีเวลามาก โบราณสถานที่ควรชมนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นใคร่ขอแนะนำดังนี้
ทิศตะวันออก วัดเจดีย์สูง วัดเกาะไม้แดง วัดหอดพยอม
ทิศตะวันตก วัดพระบาทน้อย วัดเจดีย์งาม วัดมังกร วัดอรัญญิก วัดช้างรอบ
ทิศใต้ วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม วัดต้นจัน วัดอโศการาม
อัตราค่าเข้าชม :
นักท่องเที่ยว ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 70 บาท ชาวต่างชาติ 350 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ชั้นใน, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ชั้นนอก ด้านทิศเหนือ, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ชั้นนอก ด้านทิศตะวันออก, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ชั้นนอก ด้านทิศตะวันตก, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ชั้นนอก ด้านทิศใต้ ในจังหวัดสุโขทัยได้
เวลาเปิด-ปิด : เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 18.00 น.)
หมายเหตุ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจัดให้มีการชมโบราณสถานยามค่ำคือ (Light up) ในเดือนเมษายน - ธันวาคม 2550 ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 19.00-21.00 น.
ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย และที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการ รถจักรยาน ให้เช่าในราคาคันละ 20 บาท
กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชม หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. 0 5569 7310
การเดินทาง
จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที
ศาลพระแม่ย่า
ตั้ง อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรเกษม ริมแม่น้ำยม เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัย ศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเทวรูปพระแม่ย่า ที่ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญา มีความสูง 1 เมตร ศาลพระแม่ย่าสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่ออุทิศให้กับพระมารดา คือนางเสือง เหตุที่เรียกว่า พระแม่ย่า นี้เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกมารดาว่า พระแม่ และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา จึงเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า พระแม่ย่า
ผู้ที่มาสักการะพระแม่ย่า มีความเชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าเรื่องที่เป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจได้ประดุจเป็น "แม่ย่า" ที่คอยดูแล ปัดเป่าทุกข์โศก และคอยดูแลความเป็นอยู่ของลูกหลาน
แต่เดิมศาลพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนเขาพระแม่ย่า บริเวณยอดเขามีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดด และกันฝนได้ ต่อมาชาวจังหวัดสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดดังเช่นปัจจุบัน และประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์มีการจัดงานเฉลิมฉลองที่ศาลพระแม่ย่าทุกปี เรียกว่า งานพระแม่ย่า การเดินทาง จากตัวเมืองในเขตเทศบาลมีรถโดยสารประจำทางผ่านไปศาลพระแม่ย่าทุกวัน
บทสวนบูชา ตั้งนะโม 3 จบ (มนต์กำจัดภัย) อะหัง วันทามิ ขะพุงผีมะหาเทวะดา สัพพะอุปาทา สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค อุปาทา วิสาสายะ สัพพะสะตรู ปะมุจจะติ โอม ขุพุงผีมะหาเทวะตา สะทา รักขันตุ สะวาหะ สะวาหายะ (มนต์ขอลาภ-มงคล) อะหัง วันทามิ ขะพุงผีมหาเทวะตา รักขันตุ สะทาตุมเห อะนุรักขันตุ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะลาภัง สะทาโสตถี ภะวันตุเม
สวนบุญชอบ เอมอิ่ม
สวนบุญชอบ เอมอิ่ม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในลักษณะสวนไม้ผลผสมผสาน ที่ดำเนินงานตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน นักท่องเที่ยวสามารถชมและชิมผลไม้ได้จากสวนแห่งนี้ ผลไม้ที่มีชื่อเสียงคือมะปราง และมะยงชิด ซึ่งจะให้ผลในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ลุง บุญชอบ เอมอิ่ม ได้ศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์มะปราง มะยงชิด จากพื้นที่อื่นมาปลูกในจังหวัดสุโขทัย จนได้มะปรางสายพันธุ์สุโขทัยแท้ มีลักษณะเด่น 5 ประการ ได้แก่ ผลใหญ่เท่าไข่เป็ด ผิวเลือกหนาแข็งไม่ช้ำง่าย เนื้อแน่นไม่มีเสี้ยนในเนื้อ เมล็ดเล็กและแบนลีบ รสชาติหวานสนิทไม่ระคายคอสำหรับมะปรางหวาน และ หวานอมเปรี้ยว สำหรับมะยงชิด จึงได้รับรางวัลมากมายจากหลายสถาบัน
กิจกรรมท่องเที่ยวประกอบด้วย รับฟังบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงานของสวน หลังจากนั้น นักท่องเที่ยวจะได้ชมพรรณไม้ การจัดสวนและวิธีการปลูกไม้ผลต่างๆท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น แวะชิมผลไม้ในสวน (เฉพาะในฤดูกาล) และรับฟังวิธีทำการเกษตรที่น่าสนใจ
การเดินทาง จากตัวเมืองสวรรคโลกใช้ทางหลวงหมายเลข 101 อ.สวรรคโลก-อ.ศรีสำโรง ระหว่าง กม.9-10 เลี้ยวซ้ายตามทางแยกไปวัดกรงทองประมาณ 2.5 กม. สวนบุญชอบ เอมอิ่ม จะอยู่ซ้ายมือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลุงบุญชอบ เอมอิ่ม โทรศัพท์ มือถือ 08-1888-1739
บ้านทุ่งหลวง
บ้านทุ่งหลวง เป็นชุมชนโบราณแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัย ตั้งอยู่ในต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ราษฎรทำนา เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ชาวบ้านจะนำดินเหนียวที่มีอยู่ในพื้นที่มาทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆ เช่น กระถาง โอ่งน้ำ หม้อดิน ฯลฯ เมื่อเหลือใช้แล้ว จึงหาบไปแลกเปลี่ยนกับของกินของใช้อื่นๆ กับหมู่บ้านใกล้เคียง
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ เมื่อครั้งเดินทางมาสำรวจมณฑลพิษณุโลกในปี พ.ศ.2444 ความตอนหนึ่งว่า "...วันที่ 18 เวลาตื่นตอนเช้า พระยาสุโขทัยเอาหม้อกรันมาให้ 3 ใบ เป็นหม้อที่ตั้งใจทำอย่างประณีตภาษาบ้านนอก เขาทำที่บ้านทุ่งหลวง อยู่ใต้เมืองสุโขทัยฝั่งตะวันตก..." หม้อกรันที่กล่าวถึงนั้นคือ หม้อน้ำในสมัยโบราณ รูปแบบเฉพาะของบ้านทุ่งหลวงที่ยังคงมีการผลิตอยุ่กระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยใช้กรรมวิธีที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขทัย
เมื่อรัฐบาลจัดทำโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้น ในปีพ.ศ. 2545 ชาวบ้านทุ่งหลวงได้มีแนวคิดที่จะรวบรวมงานฝีมือชั้นยอดของชุมชนตั้งเป็น "กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง" ขึ้น เพื่อให้เป็นที่รวมของผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นศูนย์รวมของวิชาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณของทุ่งหลวง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้การช่วยเหลือพัฒนากรรมวิธีในการผลิต ทั้งวัตถุดิบที่ใช้และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ จนเป็นที่เลื่อลือในคุณภาพและงานฝีมือ
เครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง เป็นงานฝีมือที่ประณีตงดงามเป็นที่ยอมรับของตลาด มีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งประเภท เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องประดับตกแต่ง เช่น คนโทน้ำ หม้อดิน แจกัน รูปปั้น โคมไฟ ฯลฯ
กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง ได้จัดเส้นทางการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน ในเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตชุมชน ชมกรรมวิธีผลิตเครื่องปั้นดินเผา และกิจกรรมต่างๆ โดยมีค่าบริการในการจัดการ ควรติดต่อล่วงหน้า ที่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง 238 หมู่ 2 ต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย 64160 โทร. 0 5569 3451
การเดินทาง จากจังหวัดสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 สุโขทัย-กำแพงเพชร ก่อนถึงอ.คีรีมาศประมาณ 5 กม. จะมีทางแยกซ้ายเข้าวัดลาย เข้าไปประมาณ 1 กม.
หลวงพ่อศิลา
หลวงพ่อศิลา แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำเจ้าราม กลางป่าลึกในเขตติดต่ออำเภอบ้านด่านลานหอย ต่อมาชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทุ่งเสลี่ยม เมื่อราวปี พ. ศ. 2472 - 2475 ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2520 ได้มีคนร้ายขโมยหลวงพ่อศิลาไป และได้มีการนำไปประมูลขายที่ประเทศอังกฤษ แต่ภายหลังก็สามารถติดตามกลับคืนมาได้ และนำมาประดิษฐานยังวัดทุ่งเสลี่ยมตามเดิม
วัดพิพัฒน์มงคล
วัด พิพัฒน์มงคล เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ หรือพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง หล่อด้วยทองคำหนัก 9 กิโลกรัม ปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลปะสมัยสุโขทัยที่มีความงดงาม
สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ ตั้งอยู่เลขที่ 477/2 ต.หาดเสี้ยว จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของผ้าทอมือลายโบราณ ชาวไทพวน บ้านหาดเสี้ยวได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น จก9ลาย ผ้าที่ใช้ในพิธีบวชนาคด้วยขบวนช้าง ผ้าที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ซึ่งล้วนเป็นเอกลักษณ์ผ้าทอมือของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยวที่สืบทอดต่อกันมานับร้อยปี นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นทองคำ (ซิ่นไหมคำ) ผืนเก่าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี และมผืนใหม่ ซึ่งจัดทอขึ้นเพื่อใช้ในพิธีแต่งงาน
ผ้าซิ่นทองคำนี้เป็นผ้าที่มึความประณีตงดงาม ตามแบบฉบับของราชวงศ์ทางเหนือ และร้านยังได้มีการจัดแสดงเรือนไทยของชาวไทยพวนในสมัยโบราณ พร้อมทั้งมีการสาธิตกรรมวิธีในการทอผ้าซิ่นตีนจกของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.00-18.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียด โทร. 0 5567 1143, 0 1042 7542 โทรสาร 0 5563 0058
การเดินทาง จากกรุงเทพ จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยก่อน ระยะทางประมาณ 550 กม. และจากอุทยานฯ ไปอีก 11 กม.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองสวรรคโลก หลังวัดสวรรคาราม (วัดกลาง) ห่างจากตัวเมืองสุโขทัย 38 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1.6 กิโลเมตร ถึงพิพิธภัณฑ์ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ชั้นบน จัดแสดงประติมากรรมสมัยต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นสมบัติที่มาจากวัดสวรรควรนายก และพระ สวรรควรนายก และบางส่วนย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่ก่อนยุคสุโขทัย จนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนบริเวณ ชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ ซึ่งขุดพบมากที่แหล่งโบราณคดีเครื่องถ้วยสังคโลกบ้านเกาะน้อย และบ้านป่ายาง อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งแสดงเครื่องถ้วยชามสมบัติใต้ทะเลที่งมได้มาจากแหล่งเรือจมในอ่าวไทย
เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
ในกรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชม ติดต่อได้ที่พิพิธภัณฑ์สวรรควรนายก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 64110 โทร. 0 5564 1571, 0 5564 3166 หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.thailandmuseum.com
หลวงพ่อปี้
หลวง พ่อปี้ รูปหล่อของท่านประดิษฐาน ณ วัดลานหอย ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2517 ท่านนับเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของภาคเหนือ โดยวัตถุมงคลของท่านมีชื่อเสียงทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทาง และทำงานเสี่ยงภัยต่างๆเป็นอย่างยิ่ง
พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ
พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ภายในสวนหลวงเฉลิมพระ เกียรติ ร.9 เส้นทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย - พิษณุโลก พิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ทางขวามือ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในวรรณคดีมากมาย อาทิ ปลาจากกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) นิราศอิเหนา ฯลฯ พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันอังคาร ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทางสามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางได้ที่ สถานีขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง (บขส.) สายพิษณุโลก-สุโขทัย มาลงที่สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ
พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย
พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย ตั้งอยู่บริเวณเมืองเอกพลาซ่า ถนนบายพาส ห่างจากเมืองเก่าประมาณ 12 กิโลเมตร ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกที่มีคุณค่ากว่า 2,000 ชิ้น ที่ได้รวบรวมมาจากในประเทศ และต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักเรียนในเครื่องแบบ 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5561 4333
การเดินทางสามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง หรือรถสามล้อจากตลาดในตัวเมืองไปพิพิธภัณฑ์ได้ทุกวัน
|