www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

UDONTHANI

UDONTHANI : General Information

            Udon Thani, a northeastern province covering an area of 11,730 square kilometers, is a prime business center of I-San. Located 564 kilometers from Bangkok, it the world heritage site for the prehistoric culture of Ban Chiang.
avis thailand


    Udon Thani is probably best known for its archaeological wonders, paramount among them the hamlet of Ban Chiang where the world's first Bronze Age civilization is believed to have flourished more than 5,000 years ago.

Udon Thani borders Nong Khai to the north, Khon Kaen to the south, Sakon Nakhon to the east and Nongbualamphu and Loei to the west. The province is located on a plateau which is approximately 187 metres above sea level. Most of its areas are covered with rice fields, forests and hills, with the Phu Pan mountain ranges and the Songkhram River are the provinces 2 main natural resources.

The locals are mainly engaged in agricultural activities, with particular rising in wholesale and retail trading activities. That is why Udon Thani is an agricultural market hub or neighboring provinces.

Udon Thani's provincial seal depicts God Wetsuwan, King of the giants and keeper of the Northern Heavenly Gate.

The Past

The Vietnam War transformed the sleepy provincial city of Udon Thani into a booming support center for a nearby American airbase. Since the withdrawal of American troops in 1976, it has continued to grow as an industrial and commercial center within the region.

The Present

Today, Udon Thani is the transportation and communications hub of the upper Northeast with several tourist destinations and facilities.

Administratively, Udon Thani is divided into the following districts: Muang, Kumphawapi, Nong Han, Phen, Ban Phue, Ban Dung, Si That, Nam Som, Nong Wua So, Kut Chap, Non Sa-at, Wang Sam Mo, Chai Wan, Nong Saeng, Sang Khom, Thung Fon, Na Yung, Phibun Rak, Ku Kaeo and, Prachaksinlapakhom.

UDONTHANI : How to get there

By Car

From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Udon Thani via Nakhon Ratchasima and Khon Kaen Provinces, a total distance of 564 kilometers.

By Bus

Buses for Udon leave Bangkok's Northern Bus Terminal (Mochit 2 Bus Terminal) throughout the day from 5 a.m. to 11 p.m. The journey takes around 10 to 11 hours and the fare is 145 baht for regular buses (260 baht for air-conditioned buses). Contact Transport Co. Ltd at Tel: 0-2936-2852-66 or visit www.transport.co.th for more information.

Buses leave the main bus terminal in Khorat every half hour during the day and arrive in Udon five hours later. The cost is 81 baht for regular buses (146 baht for air-conditioned buses).

There are buses running between Udon Thani and other provinces such as Nong Khai, Loei, Khon Kaen, Sakon Nakhon, Nakhon Phanom and Ubon Ratchathani. The buses leave Udon Thani Bus Terminal every 40 minutes.

By Train

A train service between Bangkok and Udon Thani is available every day. For more details, contact the Travel Service Unit, State Railway of Thailand (SRT), Tel. 1690; 0 2220 4334; and 0 2220 4444, or visit www.railway.co.th

By Air

A daily flight between Bangkok and Udon Thani is offered by the Thai Airways International Public Company Limited (THAI). For detailed information, contact THAI, Tel. 1566; 0 2280 0060; 0 2282 0080; and 0 2628 2000, or visit www.thaiairways.com. In addition, there are low-cost airlines daily serviced by Thai Air Asia, Tel. 0 2515 9999 or www.airasia.com, and Nok Air, Tel. 1318 or www.nokair.co.th

Travelling around Udon Thani

By Bus

A hassle free way to get around the city is by the city bus. The most useful city bus for visitors is the yellow bus No. 2, which plies a route from the No. 2 bus terminal, south along Suphakit Janya road and then east along Pho Si road past the Charoen Hotel. The No. 6 bus runs between the No. 2 bus terminal and Rangsina Market, while bus No. 23 runs between bus terminals Nos. 1 and 2. The fare for all city buses is 4 baht.

By Car

The car rental places opposite the Udon Hotel offers sedan, jeeps and vans for hire starting at around 1,200 baht.

By Sam lor

Sam lors drivers in Udon Thani practically doubled their rates overnight when 50 Americans arrived to work on the VOA station outside the town in 1990-91, apparently the engineers were throwing their dollars around with abandon. With a permanent contingent of VOA employees in the area, just about any farang (foreigner) who happens to pass through Udon Thani will have to deal with this two tier price system. Reasonable fares are 10 baht to 15 bahts per kilometer.

UDONTHANI : Activities

Than Ngam Waterfall

A medium-sized waterfall situated amidst lush and pristine forests, the waterfall is more than perfect for swimming and relaxation. Traveling to the site can be done via Udon Thani Nong Bua Lam Phu or Udon Thani Khon Kaen route. For the first route, travel along the highway for approximately 45 kilometres, turn left to Nong Saeng District and proceed for another 5 kilometres. For the second route, travel along the highway for approximately 55 kilometres, turn right to Nong Saeng District and proceed for another 25 kilometres.


Phu Foi Lom

Phu Foi Lom is an eco-tourism tourist destination which provides unique soft-adventurous activities for nature lovers. With an area of approximately 192,356 rai of Phu Phan Noi mountain range, Phu Foi Lom is part of the Pan Don Pa Ko National Reserved Park. Rare flora and fauna can be spotted here. As the place boasts diverse ecological systems, tourists can enjoy trekking along the provided trails. Phu Foi Lom is located approximately 35 kilometres from Udon Thanis town. Traveling there is not complicated, use Udon Thani Loei route, at km 9 marker, turn to Ban Lao and proceed for another 48 kilometres.

Ban Chiang Archaeological Site

This archaeological site is considered to be cultural property of outstanding universal value and was nominated as a World Heritage Site in December 1992. The Site is located at Ban Chiang, Amphoe Nong Han, 55 kilometers from the province on Highway No. 22 (Udon Thani-Sakon Nakon). Turn left at the 50-km marker to Highway No. 2225 and proceed for 6 kilometers.

Ban Chiang National Museum located at Ban Chiang, Tambon Ban Chiang, Amphoe Nong Han, is comprised of two parts. The first part stores antiques. Inside the building, old artifacts, ancient Ban Chiang culture, tools and utensils that showcase ancient technology and surroundings, as well as earthenware pots from 4,000 to 7,500 years old, are displayed. The second part is an open museum in the compound of Wat Po Si Nai. The Fine Arts Department has retained the conditions of archaeological excavations to illustrate how earthenware pots and other items were buried along with the dead. Ban Chiang National Museum is considered the first open museum in Thailand. As for the Ban Chiang earthenware pots, they are known world-wide because Ban Chiang was the origin of a pre-historic civilization. Archaeologists believe the designs on Ban Chiang earthenware are the oldest pot designs in the world.

Traveling to Ban Chiang National Museum is very easy. It is only fifty-six kilometers from Muang District. The route runs along Highway 22 and turns left onto Highway 2225 at kilometer 50, where a road sign indicates the way to Ban Chiang which is six kilometers away.

The museum is open to the general public every day, except Mondays and Tuesdays, from 9 a.m. to 4 p.m.

with an admission fee of 150 baht. The museum has a parking area with toilets and village shops located nearby.

On the way to Ban Chiang, visitors can stop at several villages where handicrafts are made. Ban Kham O located along the Udon Thani-Sakon Nakhon Road is a Ban Chiang pottery sculpture center while Ban Pu Lu is a pottery-painting place.


Na Yung Nam Som Forest Park

Yung Thong Waterfall located at Ban Sawang, Mu 2, Tambon Na Yoong, King-Amphoe Na Yung is a waterfall on the ridge of Phu Phan and Phu Ya Ou, where a stream flows through the steep rock cliff. Yung Thong Waterfall is three metres high and composed of water beautifully cascading amongst the stones, especially during the rainy season when it thunders down in torrents among the lush, green flora. Located 103 kilometers from Amphoe Muang, the route to the waterfall passes through Amphoe Ban Phue and Amphoe Nam Som. Upon reaching Amphoe Nam Som, there is a junction from Nam Suem Village, proceed on that route for seventeen kilometers in order to reach the junction that leads to the Reserve Park. The route is part of the project of the Office of Accelerated Rural Development, aimed at speeding up the development in the rural area which is in good condition and can be used all the year round.

Wat Thipphayaratnimit

This temple is located on Naresuan Road, Tambon Mak Khaeng, off the main road into Soi San Chao Mae Thapthim and opposite to a polytechnic school. It is another forest temple in the area of Amphoe Mueang and has a pleasant shady atmosphere. There is a large pagoda which contains Lord Buddha’s relics. The pagoda is shaped like “Thanan,” a utensil used in ancient times to scoop Lord Buddha’s relics. A portrait of Luang Pu Thira Chitthammo, the present abbot, is displayed with basic living utensils for Buddhist monks in the pavilion. On the fourteenth waxing moon day of the twelfth lunar month, Thot Kathin (robe offering ceremony) and merit making to celebrate the abbot’s birthday anniversary are held every year.

Wat Phothisomphon

Wat Phothisomphon This temple is located on Pho Si Road in Tambon Mak Khaeng. It was built in the late reign of King Rama V. Maha Ammat Tri Phraya Sisuriyaratchawaranuwat (Phothi Netiphothi), Lord Lieutenant of the Udon Circle persuaded the villagers of Mak Khaeng to build the temple, which was commonly called “Wat Mai.” Later, Phra Chao Worawongthoe Krommaluang Chinnawonsiriwat, the Supreme Patriarch, Wat Ratchabophitsathitmahasimaram, named the temple as “Wat Phothisomphon,” to commemorate Phraya Sisuriyaratchawaranuwat, the temple builder. Inside, there is also a museum of revered monks famous for meditation.

Wat Matchimawat

This temple is located in Tambon Mak Khaeng. During the reign of King Rama V, Krommaluang Prachaksinlapakhom commanded the construction of a new temple to replace Wat Non Mak Khaeng, the old deserted temple, and named it “Wat Matchimawat.” Within its Wihan building, there is a white stone Buddha image under Naga (serpent) protection, or commonly known as “Luangpho Nak,” which has been highly respected by the people of Udon Thani.


Wat Ban Tat

This temple is located off of the center of the province. Take Highway No. 2 (Udon Thani-Khon Kaen) and make a right turn at Ban Kong Keng and proceed for 9 kilometers. The temple is teeming with trees and small, wild animals. It is here that one of Thailand's most revered monks, Luangta Maha Bua, resides. As the place is set in a tranquil ambience conducive for practicing meditation, a numbers of Thais practice insight meditation (Vipassana) at this temple.

Udon Thani Museum

Udon Thani Museum Located on Pho Si Road in Rachinuthit Building, this museum was initiated by Mr. Chaiporn Ratananaka, governor of Udon Thani province. It displays background aspects of Udon Thani, ranging from history, archaeology, natural science, geology, folk history, arts and culture, to the biography and honorable deeds of Krommaluang Prachaksinlapakhom, the founder of Udon Thani town. Opening hours are from 08.30 – 16.30 hrs. Admission fees: 10 Baht for adults and 5 Baht for children.

Udon Sunshine Orchid Garden

This is located in Soi Kamol Watthana on Udon Thani-Nong Samrong route (Highway No. 204). The garden produces and sells a new species of Thai scented orchid called Udon Sunshine. It is the only known vanda hybrid which is fragrant between the early morning hours and about 2 p.m., and it is the first orchid in the world to be made into a perfume. Please call 0 4224 2475 for more information.

Chao Pu - Chao Ya Chinese Spirit Shrine

This large and beautiful Chinese spirit shrine is located on Nittayo Road behind the train station near Nong Bua Market. Here, there is a small garden beside a lotus pond. Two Chinese pavilions stand in the pond, serving as a view point in pleasant and shady surroundings. The golden dragon of 99 m long, to be used during the Thung Si Mueang annual fair in December, is also kept here.

Nong Prachak

Located in the Udon Thani Municipality, this giant pond has existed before the establishment of Udon Thani town. Lying to the west of the town, it was formerly called “Nong Na Klue” (pond of salty water) and later changed to “Nong Prachak” in honor of Major General HRH Prince Prachaksinlapakhom, the founder of Udon Thani town. In 1987, the Udon Thani Municipality improved the pond as a royal tribute to King Rama IX on the auspicious occasion of his 50th birthday anniversary. On an island in the pond, a small garden is filled with decorative and flowering plants, and there is a bridge linking the island with the mainland. Within the park, there is a fountain, a clock tower, and a playground. It serves as a place of recreation and exercise for the public.

Krom Luang Prachaksinlapakhom Monument

The Monument of Krommaluang Prachaksinlapakhom This Monument is located in the heart of Udon Thani city. Born in 1856 as a son of King Rama IV (Phrabat Somdet Phra Chomklaochaoyuhua) and the King’s Consort Sangwan (Chao Chom Manda Sangwan), Major General Prince Prachaksinlapakhom (Phon Tri Phra Chao Borommawongthoe Krommaluang Prachaksinlapakhom), as a regent to King Rama V, ruled the Northern Circle (later called the “Udon Circle”) during 1893 – 1899. As the founder of Udon town in 1893, he set out the civil administration order and served important official duties for the public benefits. The Monument symbolizes the highest tribute paid to the prince by the people of Udon Thani and the ceremony to worship him is held on 18 January every year.

Huai Luang Reservoir

This reservoir is located on the Udon Thani-Nong Bua Lam Phu Highway. Approximately at the km. 15 marker, get onto the road which leads directly to the reservoir and proceed for approximately 10 kilometres. With an area of 20,000 rai of land, the reservoir was built for agricultural, fishery, and electricity generation purposes. Activities for tourists include rafting, fishing, and canoeing. For those nature lovers wishing to relax amidst scenic backdrop, you can charter a boat that will take you to see interesting spots of the reservoir.
The huge reservoir under the oversight of the Irrigation Department offers beautiful scenery. Call tel. 0 4224 5540 or 0 4224 2141 for more information.

Ban Na Kha

This village is situated 16 kilometers from town on the Nong Khai route. It is a center of cotton, silk, and khit silk trading. To get there from the Udon Thanis city, take the buses operated on route Udon Thani Na Kha which leave from the stops in front of the Rajabhat Udon Thani Institute and Rangsina market.

Phu Phra Bat Historical Park

Situated in Ban Phue District, this archaeological site features a large number of ancient buildings and ancient objects of both prehistoric and historic times. They are mostly of Dvaravati, Lop Buri, and Lanchang style.

The site is located in a thriving forest called Pa Khua Nam. In addition, within the site are many rocks of peculiar shapes which resulted from glacial movement millions of years ago. It can be seen that most of the ancient buildings and objects found in this area were modified from what was naturally available and not built entirely by human beings. For instance, a rock was decorated to make a stupa or was chiseled into the shape of a foot.

The site was declared a historical park by the Fine Arts Department in 1991. Archeological evidence found at the site includes Phra Phuttabat Bua Bok, Phra Phuttabat Lang Tao, Phra Phutta Bat Bua Ban, religious buildings modified from rocks, sandstone bai-sema (leaf-shaped stones marking the limits of a Buddhist temple), sandstone images and idols, cave paintings and stone axes.

Phu Phra Bat Historical Park covers the entire area of the Phra Phutthabat Bua Bok which is around 1,200 acres. In addition to the beautiful landscape, caves and caverns, rocks of different sizes and shapes dot the area. Moreover, pre-historic paintings over cliff faces have been discovered, although many leave only the faintest of traces.

Visitors are recommended to explore Tham Non Sao Ae, Tham Woa Daeng, Tham Chang, and Tham Sung to see the paintings that depict the livelihood of pre-historical community which can be traced back to approximately 2,500-3,000 years ago.

The sandstone bai-sema, sandstone images and idols of Dvaravati era are also discovered at Poeng Hin Po Ta Luk Koei.

Admission fee is 100 baht.

Phra Phutthabat (Holy Footprint) Bua Ban

Located on the Phu Phan hill, approximately 12 kilometres south of Phu Phra Bat Historical Park. Also discovered and unearthed here at the sight are battlements carved in Dvaravati and Lop Buri arts.

Ban Kham Chanot Wang Nakhin

Located in Ban Muang, Tambon Wang Thong, approximately 93 kilometres from Udon Thani's town is an area called Wang Nakhin (Naga Palace) a place believed and regarded by the locals as a mystical and holy place where the door to the underworld of Naga is located. Covering an area of over 20 rai of land, Wang Nakhin (locally dubbed as Dong Chanot) is nothing but an islet surrounded by water. It is teemed with dense palm trees called Chanot. Traveling to the place is easy by Udon Thani Sakon Nakhon route. At Ban Nong Mek, turn left and proceed approximately 84 kilometres to Ban Dung, and another 9 kilometres to Ban Kham Chanot.


อุดรธานี : ข้อมูลทั่วไป

น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรม 5,000 ปี ธานีผ้าหมี่ขิด
แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์

      อุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการ คมนาคมและการท่องเที่ยวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และยังเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและมีหัตถกรรมผ้าขิตที่มีชื่อ เสียงอีกด้วย จังหวัดอุดรธานีมีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองวัวซอ อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอโนนสะอาด อำเภอเพ็ญ อำเภอน้ำโสม อำเภอกุดจับ อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอนายูง อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอกู่แก้ว และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเลย และหนองบัวลำภู

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0 4222 2845
  2. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4222 3708
  3. โรงพยาบาลจังหวัด โทร. 0 4224 4252–3
  4. โรงพยาบาลปัญญาเวช โทร. 0 4234 3111
  5. โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ โทร. 0 4234 1710
  6. โรงพยาบาลเอกอุดร โทร. 0 4234 2555
  7. สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุดรธานี โทร. 0 4222 2285
  8. สถานีรถไฟอุดรธานี โทร. 0 4222 2061
  9. สถานีขนส่ง โทร. 0 4222 1489
  10. สำนักงานจังหวัดอุดรธานี โทร. 0 4222 3304

Link ที่น่าสนใจ

ททท.สำนักงานอุดรธานี
http://www.tourismthailand.org/udonthani
สำนักงานจังหวัดอุดรธานี
http://www.udonthani.go.th

อุดรธานี : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. อุดรธานี
การเดินทางจากอุดรธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง

  1. หนองบัวลำภู 46 กิโลเมตร
  2. หนองคาย 51 กิโลเมตร
  3. ขอนแก่น 115 กิโลเมตร
  4. เลย 152 กิโลเมตร
  5. สกลนคร 159 กิโลเมตร
  6. กาฬสินธุ์ 192 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียงคือ จังหวัดหนองคาย เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง เป็นต้น ซึ่งจะออกทุก ๆ 30-40 นาที

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 564 กิโลเมตร

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2 223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร (หมอชิต 2) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936-2852–66 และที่สถานี ขนส่งอุดรธานี โทร. 0 4222 1489 www.transport.co.th

เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการเครื่องบินระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566,0 2628 2000 www.thaiairways.com และ สายการบินนกแอร์ เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดอุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1318 www.nokair.co.th และสายการบินแอร์ เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com นอกจากนี้ยังมีสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ที่เดินจากสิงคโปร์มายังจังหวัดอุดรธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2351 8333 www.tigerairways.com

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.อุดรธานี
การเดินทางจากอำเภอเมืองอุดรธานีไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอกุดจับ 24 กิโลเมตร
  2. อำเภอหนองหาน 35 กิโลเมตร
  3. อำเภอหนองแสง 35 กิโลเมตร
  4. อำเภอประจักษ์ศิลปาคม 36 กิโลเมตร
  5. อำเภอหนองวัวซอ 39 กิโลเมตร
  6. อำเภอกุมภวาปี 43 กิโลเมตร
  7. อำเภอเพ็ญ 43 กิโลเมตร
  8. อำเภอพิบูลย์รักษ์ 50 กิโลเมตร
  9. อำเภอโนนสะอาด 53 กิโลเมตร
  10. อำเภอบ้านผือ 55 กิโลเมตร
  11. กิ่งอำเภอกู่แก้ว 61 กิโลเมตร
  12. อำเภอไชยวาน 62 กิโลเมตร
  13. อำเภอทุ่งฝน 65 กิโลเมตร
  14. อำเภอสร้างคอม 68 กิโลเมตร
  15. อำเภอศรีธาตุ 72 กิโลเมตร
  16. อำเภอบ้านดุง 84 กิโลเมตร
  17. อำเภอวังสามหมอ 96 กิโลเมตร
  18. อำเภอน้ำโสม 110 กิโลเมตร
  19. อำเภอนายูง 129 กิโลเมตร


อุดรธานี : วัฒนธรรมประเพณี


งานประเพณีสงกรานต์ “ถนนอาหาร สงกรานต์เมืองอุดร”

วันที่ 13 - 15 เมษายน 2552
ณ บริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ ถนนเทศา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

กิจกรรม
ชมมหกรรมส้มตำ การประกวดอาหาร การประกวดเทพีสงกรานต์ การประกวดหนูน้อยสงกรานต์ การประกวดขบวนแห่สงกรานต์ การประกวดเต้นรำ และการประกวดดนตรีพื้นเมือง

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลนครอุดรธานี โทร. 0 4232 5176-85 ต่อ 704,705,706
ททท. สำนักงานอุดรธานี โทร. 0 4232 5406-7


อุดรธานี : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ตั้ง อยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ภายในพิพิธภัณฑฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตาม ชั้นดินเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ

ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราว และวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณรวมทั้งโบราณ วัตถุ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดินทาง ไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ

เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์ฯเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4220 8340-1

ศาลหลักเมือง อุดรธานี

ศาลหลักเมืองอุดรธานี หรือเรียกว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอุดรธานี เป็นศูนย์รวมความเคารพและความศรัทธา ซึ่งชาวเมืองอุดรธานีมักจะมาสักการะบูชา ในบริเวณศาลหลักเมืองอุดรธานี ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอื่นๆ อันเป็นที่เลื่อมใสบูชาเป็นอย่างสูงได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทอง และ ท้าวเวสสุวัณ ซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลในแต่ละด้านที่แตก ต่างกันไป ตามประวัติกล่าวว่า ศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยได้อัญเชิญดวงพระวิญญาณของ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2436 มาสถิตย์ ณ เสาหลักเมืองนี้ด้วย องค์เสาหลักเมืองทำขึ้นด้วยไม้คูณยาว 5 เมตรเศษ และฝังลึกลงไป 3 เมตร มีการบรรจุแผ่นยันต์และแก้วแหวน เงิน ทองต่างๆ เป็นจำนวนมากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมไป ตัวอาคารของศาลหลักเมืองจะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ผสมผสานศิลปะแห่งภาค อีสาน ให้เป็นที่สักการะขอพรของชาวอุดรธานีสืบมา นอกจากนี้บริเวณศาลหลักเมืองยังมีรูปปั้นท้าวเวสสุวัณ 1 ใน 4 ของท้าวจตุโลกบาลผู้ปกครองเหล่าอสูร และศาลหลักเมืองหลังใหม่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามาสักการะศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้น สามารถบูชาและกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ได้ในหนเดียว

ศาลเจ้าปู่-ย่า

ตั้ง อยู่ถนน 39 ศาลเจ้าเนรมิตร ตลาดน้อยหนองบัว เป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบมีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยว และพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 4224 5801 โทรสาร 0 4224 7291 เว็บไซต์ http://www.puyaudon.com

พระธาตุดอนแก้ว

พระธาตุดอนแก้ว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระมหาธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนแก้ว ประดิษฐานอยู่กลางวัดมหาธาตุเจดีย์ ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สูงประมาณ 18 วาเศษ องค์พระธาตุมีลักษณะการสร้าง 2 ชั้น แต่ละชั้นมีรูปแกะสลักเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ นรก-สวรรค์ การก่อสร้างพระธาตุเป็นหินทรายรูปทรงสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ 1 ศอก รอบนอกฉาบด้วยปูน สันนิษฐานว่าวัดพระธาตุดอนแก้ว ใบเสมา และเสาหินสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 12–13

สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า “หนองนาเกลือ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อน และออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้านนาข่า และศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น

อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิดในราคาย่อมเยา การเดินทาง มีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานี และตลาดรังษิณา

วนอุทยานนายูงน้ำโสม

มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่ที่บ้านสว่าง หมู่ 2 ตำบลนายูง เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพาน และภูย่าอูมีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อนสวยงามท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพรรณ น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มี 3 ชั้น อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103 กิโลเมตร การเดินทาง จากตัวเมืองอุดรธานี ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือ และอำเภอน้ำโสม เมื่อถึงอำเภอน้ำโสมจะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไปอีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกไปวนอุทยานฯ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช. ตลอดสาย
บ้านคำชะโนด

ตั้ง อยู่ที่ตำบลวังทอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านดุง มีพื้นที่ราว 20 ไร่ ซึ่งมีน้ำล้อมรอบสภาพคล้ายเกาะ มีดงต้นปาล์มชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นตาลผสมต้นมะพร้าวขึ้นอยู่ เรียกว่า ต้นชะโนด คนสมัยเรียกที่นี่ว่า "วังนาคินทรคำชะโนด" เชื่อกันว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่กลางดงเป็นประตูสู่เมืองบาดาล เป็นที่อยู่อาศัยของพญาสุทโธนาค ที่แปลกคือในดงชะโนดมีน้ำซับน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา แต่กลับไม่เคยมีน้ำท่วมเลย การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) เลี้ยวซ้ายที่บ้านหนองเม็ก ไปทางอำเภอบ้านดุง อีก 9 กิโลเมตร ถึงบ้านคำชะโนด

พระพุทธบาทบัวบาน

ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่ที่อยู่ในโบสถ์ และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วยหินทรายเป็นจำนวนมากใบเสมาเหล่านี้สลักเป็นรูปบุคคล และลวดลายต่าง ๆ เป็นศิลปะทวาราวดีผสมกับศิลปะลพบุรี


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

ตั้ง อยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึง อารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูป ร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”

ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่าง ๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลัง ๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง “นางอุสา-ท้าวบารส” เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมา และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้เล็ก ๆ ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชุ่มชื้นบริเวณลานหินเหล่านี้

ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่ และเส้นทางเดินเที่ยวชมบริเวณ

เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น.

อัตราค่าเข้าชม : นักท่องเที่ยว ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4222 2909 ต่อ 218

วนอุทยานน้ำตกธารงาม

ตั้ง อยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมดประมาณ 78,125 ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527 ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่ห้วยสามทาก-ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี

จุดเด่นที่น่าสนใจภายในวนอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และมีลานหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงรายและซ้อนกันอยู่ และที่จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้ สถานที่พัก วนอุทยานน้ำตกธารงามไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม หรือทัศนศึกษา จะต้องนำเต็นท์ไปเอง ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร. 0 4222 1725 การเดินทาง วนอุทยานน้ำตกธารงามอยู่ห่างจากอำเภอหนองแสง 6 กิโลเมตร สามารถให้เส้นทางในการเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางแรก จากอุดรธานี-บ้านเหล่า -โคกลาด- อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
เส้นทางที่สอง จากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง-บ้านตาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
เส้นทางที่สาม จากอุดรธานี-ห้วยเกิ้ง อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร

ภูฝอยลม

ฝอย ลม ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี ชื่อของภูฝอยลมมาจากไลเคนชนิดหนึ่ง คือ “ฝอยลม”ซึ่งเคยพบเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ในบริเวณนี้ แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากป่าถูกบุกรุกจนมีสภาพเสื่อมโทรม ปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ ให้เป็นที่ทัศนศึกษาของประชาชน ประกอบด้วยสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี อุทยานโลกล้านปี มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์แสดงซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติซึ่งจะได้พบป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง สลับป่าทุ่งหญ้า น้ำตกเล็ก ๆ และถ้ำ

การเดินทาง หากเดินทางมาตามเส้นทางขอนแก่น-อุดรธานี เมื่อเลยอำเภอโนนสะอาดมาแล้วจะพบทางแยกซ้ายที่บ้านห้วยเกิ้งไปภูฝอยลม รถยนต์สามารถขึ้นถึงบนภูได้โดยสะดวก

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

จัดตั้งขึ้นในอาคารราชินูทิศ ซึ่งเป็นอาคารเก่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 พิพิธภัณฑ์ฯนี้จัดเปิดทำการให้บริการแก่ประชาชนเข้าเยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2547 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนาจังหวัดอุดรธานีที่ชาวเมืองได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 111 ปี

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม

ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ประสูติเมื่อ ปีพุทธศักราช 2399 ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ (เรียกว่า มณฑลอุดร ในสมัยต่อมา) ระหว่าง พ.ศ. 112–118 ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้น เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงจัดวางระเบียบราชการปกครองบ้านเมือง และรับราชการในหน้าที่สำคัญ ๆ ที่อำนวยประโยชน์แก่ราษฎร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดร

อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง

อยู่ บนทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตร และการประมง อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 20,000 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง การจ่ายน้ำเพื่อการผลิตประปา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา นั่งเรือชมทิวทัศน์โดยรอบได้ และภายในอ่างเก็บน้ำ มีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านเคยเสด็จประทับเกือบทุกปี

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์

ตั้ง อยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าหนองสำโรงประมาณ 500 เมตร และเห็นป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทยซึ่งใช้เวลาในการ ค้นคว้า และผสมพันธุ์ระหว่างแวนด้า (Vanda) โจเซฟฟินแวนเบอร์โร (Josephine Van Berrow) ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลก ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2531 ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine Orchid หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน