www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

CHACHOENGSAO

CHACHOENGSAO : General Information

      Chachoengsao or Paet Rio is located on the east of Bangkok. Its fertility is due to Bang Pakong River. It is an important venue for agricultural products in the Central Region, with mango as the most popular fruit of the province. Moreover, it is the location of the sacred Phra Phutthasothon Buddha image.
 


    Derived from Khmer, the name Chachoengsao means deep canal, while the name of Paet Rio (Paet means eight and Rio means stripes) has been believed to have come from the way dried fish (which are abundant in the area) were being pierced into eight stripes.

The history of Chachoengsao dated back since the Ayutthaya Period during the reign of King Phra Borom Tri Lokkanat. Most people live along the banks of Bang Pakong River and canals. Phra Phutthasothon or Luang Pho Sothon is the center of beliefs and faith. In the past, Chachoengsao was a small town, and was upgraded to a province in 1916.

Chachoengsao is 80 kilometers from Bangkok, with the area of 5,351 square kilometers. The local administration is divided into 10 Amphoe (district) and 1 King Amphoe (sub-district), namely: Amphoe Muang, Bang Khla, Bang Nam Prieo, Bang Pakong, Ban Pho, Phanom Sarakham, Sanam Chai Khet, Plaeng Yao, Ratchasan, Tha Takiap, and King Amphoe Khlong Khuean.

Geographical Location

In general, the areas are plains with forests along the sea coast. In the east, in Amphoe Sanam Chai Khet, the areas contain highlands and mountains, with the attitude of 300 meters above sea level.

CHACHOENGSAO : How to get there

Boundary

North: Prachin Buri and Nakhon Nayok
South: Chon Buri and Ch

Boundary

North: Prachin Buri and Nakhon Nayok
South: Chon Buri and Chantaburi
East: Sa Kaeo
West: Samut Prakarn and Bangkok

Car

By car: From Bangkok, there are 3 routes to Chachoengsao:

Use highway No.304, via Min Buri, with the distance of 82 kilometers.
Use Bang Na Trat highway, turn left before reaching the bridge over Bang Pakong River to highway No.314. The total distance is 100 kilometers.
Use highway No.3, via Samut Prakarn and Bang Pakong, then turn left to highway No.314. The total distance is 106 kilometers.

Bus

By bus: There are buses leaving from 2 bus terminals: From Mor Chit 2 Bus Terminal (Tel: 0 2936 2852 66) First and second-class air-conditioned buses leave every 40 minutes during 06:00 17:00 hrs. The fare is 40 and 36 Baht, respectively.

Regular buses leave every 30 minutes during 05:40 19:00 hrs. The fare is 26 Baht. From Eastern Bus Terminal (at Ekkamai) (Tel: 0 2392 2391) First class air-conditioned buses leave every 40 minutes during 06:30 17:00 hrs. The fare is 59 Baht. Regular buses leave every 30 minutes during 05:40 19:00 hrs. The fare is 33 Baht.

Train

By Train : The trains from Hua Lamphong Station to Chachoengsao leave every day, 9 trains/day, both regular and air-conditioned during 06:00 17:25 hrs. The fare is 40 Baht for air-conditioned and 13 Baht for regular one. For more details, contact 0 2223 7010, 0 2223 7020

Traveling to nearby

From Chachoengsao, visitors can travel to Chonburi, Sa Kaeo, Prachin Buri, and Nakhon Nayok. Moreover, buses from other provinces pass Chachoengsao. They are from Chaing Mai, Phrae, Uttaradit, Phitsanulok, Saraburi, Phayao, Chiang Rai, Lop Buri, Rayong, Khon Kaen, Udon Thani, Nong Khai, Surin, and Si Sa Ket.
antaburi

East: Sa Kaeo
West: Samut Prakarn and Bangkok

Car

By car: From Bangkok, there are 3 routes to Chachoengsao:

Use highway No.304, via Min Buri, with the distance of 82 kilometers.
Use Bang Na Trat highway, turn left before reaching the bridge over Bang Pakong River to highway No.314. The total distance is 100 kilometers.
Use highway No.3, via Samut Prakarn and Bang Pakong, then turn left to highway No.314. The total distance is 106 kilometers.

Bus

By bus: There are buses leaving from 2 bus terminals: From Mor Chit 2 Bus Terminal (Tel: 0 2936 2852 66) First and second-class air-conditioned buses leave every 40 minutes during 06:00 17:00 hrs. The fare is 40 and 36 Baht, respectively.

Regular buses leave every 30 minutes during 05:40 19:00 hrs. The fare is 26 Baht. From Eastern Bus Terminal (at Ekkamai) (Tel: 0 2392 2391) First class air-conditioned buses leave every 40 minutes during 06:30 17:00 hrs. The fare is 59 Baht. Regular buses leave every 30 minutes during 05:40 19:00 hrs. The fare is 33 Baht.

Train

By Train : The trains from Hua Lamphong Station to Chachoengsao leave every day, 9 trains/day, both regular and air-conditioned during 06:00 17:25 hrs. The fare is 40 Baht for air-conditioned and 13 Baht for regular one. For more details, contact 0 2223 7010, 0 2223 7020

Traveling to nearby

From Chachoengsao, visitors can travel to Chonburi, Sa Kaeo, Prachin Buri, and Nakhon Nayok. Moreover, buses from other provinces pass Chachoengsao. They are from Chaing Mai, Phrae, Uttaradit, Phitsanulok, Saraburi, Phayao, Chiang Rai, Lop Buri, Rayong, Khon Kaen, Udon Thani, Nong Khai, Surin, and Si Sa Ket.

CHACHOENGSAO : Activities

Sand Castle Chachoengsao

This exhibition shows displays exquisite craftsmanship in the gigantic sand statues which were created by over professional 70 sculptors worldwide from the Netherlands, Belgium, Ireland, the United States, Czechoslovakia and Thailand.

Situated next to Carrefour Supermarket in Chachoengsao downtown, the Sand Castle Chachoengssao commemorates HM King Bhumibol’s 80th Birthday. This exhibition shows displays exquisite craftsmanship in the gigantic sand statues which were created by over professional 70 sculptors worldwide from the Netherlands, Belgium, Ireland, the United States, Czechoslovakia and Thailand. More than 30 pieces are exhibited on 4.8 acres of land, making this the world’s largest indoor sand sculpture exhibition.

The exhibition is divided into 3 sections:
1. Sand sculptures concerning HM the King
Sculptures in this zone extol HM the King and his many good works and dedication to his country and people.
2. Sculptures depicting Thai history and literature
This is a very interesting exhibit in the dark, with stunning light and sound effects.
3. International Sand Sculptures
This zone is dedicated to sculptures drawing source material from worldwide sources, including the Eiffel Tower, Big Ben, the Statue of Liberty, Brandenberg Gate, Van Gogh’s work, wind mills, etc.

The Sand Castle Chachoengssao is open every day from 9.00-18.00 hrs. Admission is 80 Baht for adults and 40 Baht for children. For further information, call 0 3851 5120 - 1

Wat Sothon Wararam Worawihan

This temple is in the municipal area by the Bang Pakong River. Built in late Ayutthaya Period, with its original name of “Wat Hong”, it is the location of Phra Phutthasothon or Luang Pho Sothon, the important Buddha image in the attitude of meditation with a width of 1.65 meters and a height of 1.48 meters high. According to the legend, this Buddha image had been floated along the river, before being placed here at this temple. The original image was a beautiful Buddha image, but later on cement was placed on the image to prevent from burglary. Worshippers from all walks of life come to pay respect to this most reputed image by pasting gold leaves on the image.

The present chapel (ubosot) is a new, beautiful, and gigantic building which has replaced the old one. The chapel actually depicts the style of the applied Rattanakosin period.. The operating hours are during 07:00 –16:15 hrs. weekdays and 07:00 – 17:00 hrs. weekends. Moreover, there are many stalls for food and local souvenirs. Long-tailed boat service to and from the city market and the temple is also available.


Wat Chin Prachasamoson

Wat Chin Pracha Samoson (Wat Leng Hok Yi) is another Chinese temple of Wat Leng Noei Yi in Bangkok. It is on Supphakit Road, far from the City Hall about 1 kilometer. The interesting points in the temple are Chinese warrior sculptures and the ceremonial hall (viharn) with Chinese arts. It is also a popular site for Chinese religious ceremonies.

Wat Chin Prachasamoson

Wat Chin Pracha Samoson (Wat Leng Hok Yi) is another Chinese temple of Wat Leng Noei Yi in Bangkok. It is on Supphakit Road, far from the City Hall about 1 kilometer. The interesting points in the temple are Chinese warrior sculptures and the ceremonial hall (viharn) with Chinese arts. It is also a popular site for Chinese religious ceremonies.

Klongsuan Market

Klongsuan Market has existed on the banks of Prawetburirum canal’s for over 100 years, and has roots dating back to the reign of King Rama V. Walking through the market you can see and feel the rural way of life of olden Thailand. Klongsuan Market offers not only the nostalgic ambience of Thailand’s past, but also charming wooden shop houses selling vintage items and tasty local foods. The market was once an important meeting point for villagers and people in the area because it was home to the community’s only pier (to catch a boat to Bangkok). Oldfashioned style caf?s still serve freshly-brewed O-Liang, a zesty, cool Thai version of espresso. Straddling two provinces (Chachoengsao and Samut Prakan), Klongsuan Market is probably the longest (over one kilometer in length) market by a canal in Thailand. About 20 kilometers from Suvarnabhumi Airport heading towards Chonburi on the "Motorway" route. Follow the well-designated signs on the left. At the junction, turn right along On Nutch-Chachoengsao road for around 15 kms.and Klongsuan Market is located on the left.

Situated on the banks of Prawetburirom Canal, Khlong Suan Market lies in two provinces: Tambon Thepparat, Amphoe Ban Pho, Chacoengsao Province and Tambon Khlong Suan, Amphoe Bang Bo, Samut Prakan Province. This traditional market dates back to the reign of King Rama V. The market contains many different shops, which are getting rare these days, since they are increasingly being replaced by modern convenience stores and shopping malls. More than 100 years old, it still retains the quaint charm of the old days. Visitors will be pleased with the traditional market atmosphere while enjoying a great variety of tasty food.

In the past, the market was most conveniently accessible by boat. There was only one passenger boat service from Chachoengsao to Bangkok, serviced by Nai Loet (Mr. Loet). The boat picked up passengers at Chachoengsao, ran past Khlong Suan Market, and eventually arrived at Pratu Nam (Water Gate) in Bangkok.

The market is still an important community centre, transit point for commuters, and cargo port. The market is also a centre uniting the spirit of the Thai, Chinese and Muslim people who lived peacefully in the same area, as can be seen from the architecture of its temples and mosques, and a Chinese canteen offering free vegan food for people. In addition, its people always cooperated in developing the community’s infrastructure, for instance digging canals and building roads. Though they were of different religions, they have always enjoyed morning cafe get-togethers to share ideas, experiences, news and politics. The coffee shops have always been lively community meeting places.

The local governmental organizations of the two provinces support the preservation both of the community’s buildings and simple way of life. In addition, Khlong Suan Market has been promoted to the status of cultural attraction, of which visitors are welcomed to experience its idyllic atmosphere dating back to the reign of King Rama V.

Getting there:
By car – from Bangkok, take Motorway Expressway, and follow the signs for ‘100 Year Old Khlong Suan Market’, or take On Nut – Chachoengsao Road, drive past Latkrabang Institute of Technology, continue straight, and Khlong Suan Market will be on the left.

For further information, contact Tambon Thepparat Municipality, Amphoe Ban Pho, Chachoensao, tel. 0 3859 5633, 0 3859 5716, or Tambon Khlong Suan Municipality, Amphoe Bang Bo, Samut Prahan, tel. 0 2739 3253, 0 2739 3329, 0 2704 1273.

City Pillar Shrine

Located on Na Mueang Road, the shrine is featured by the Thai architectural style with 4-sided roofs and a tower (Prang) in the center. Inside, there are 2 city piles which were built in 1834 and 1895. In the same compound, there is Chao Pho Lak Mueang Shrine, which is highly respected. Operating hours are from 07:00 16:00 hrs.

Wat Pho Bang Khla

This temple is 23 kilometers from Chachoengsao. Using highway No. 304 for 17 kilometers, then turn left to highway No.3121 for 6 kilometers, pass the Monument of King Taksin the Great, then turn left 500 meters. Also, another route is to travel by boat from Chachoengsao town at Tawan Ok Plaza pier, and land at the pier of the temple. There are many bats on trees during the day and fly out to search for food during the night. And even though fruits are their favorites, these bats never eat fruits grown by Bang Khla people.

Khao Ang Rue Nai Wildlife Sanctuary

Khao Ang Rue Nai Wildlife Sanctuary is the conserved forest covered 643,750 Rai (257,500 Acres), located in the forest in the junction of 5 provinces: Chachoengsao, Chonburi, Rayong, Chanthaburi, and Prachin Buri. This fertile forest is the last of the east. General landscape is about 30-150 meters high above sea level. It is the origin of Bang Pakong River in Chachoengsao, Khlong Tanod in Chanthaburi, and Prasae River in rayong. There are many kinds of wild animals and birds. Ang Rue Nai Waterfall is about 2 kilometers from the Guard Unit. Traveling: From Chachoengsao, go to Pahnom Sarakham first, and then use highway No.3245 to Tha Takiap, after that go to Ban Nong Khok for 57 kilometers, and use the route to Wang Nam Yen of Sa Kaeo for 15 kilometers. Tourists who love nature should contact Wildlife Conservation Division, Forestry Department (Tel: 579-9446) in advance.

Khao Hin Son Development Education Center

Khao Hin Son Development Education Center is at the 51st-52nd kilometers on highway No.304, 17 kilometers far from Phanom Sarakham, with the area of 1,869 Rai. This is the education center for new agricultural development, with the cooperation of public and private sectors. The area inside has been divided for demonstration and experiment for farmers and other people. Many projects are: land development, livestocks, fishery, arts, and herb garden. “Eastern Botanical Garden” has been established to study and conduct research for plants and herbs. Herb sauna is also available in Wednesday-Thursday and Saturday-Sunday with 20 Baht fee. More information, contact Tel: 280-6198 – 200 or (038) 59-9105-6.

Somdet Phra Sri Nagarindra Park

This public park is in front of the City Hall, in the area of 90 Rai (36 Acres) which features a large swamp in the middle. Surrounded by various types of trees, the park is most suitable for relaxation.

Wat Phayakkha Intharam (Wat Chedi)

Has been proved to be built in the reign of King Rama V, the big stupa inside the temple was built in 1873, while the temple itself was built in 1881. Being one of the most ancient temples, this venue has been registered by the Fine Arts Department as the archeological site. Highlights of the temple are one big stupa, two small stupas , some other Buddhist buildings such as the ceremonial hall (viharn), the chapel, the bell tower, etc.

Wat Uphai Phatikaram

The present chapel (ubosot) is a new, beautiful, and gigantic building which has replaced the old one. The chapel actually depicts the style of the applied Rattanakosin period. The weekdays operating hours are during 07:00-16:15 and 07:00-17:00 hrs for weekends. Moreover, there are many stalls for food and local souvenirs. Long-tailed boat service to and from the city market and the temple is also available.Wat Uphai Phatikaram (Wat Sam Po Kong) Situated on Suphakij Road, near Talad Mai, this temple was formerly a Chinese temple. However, it has now turned into a Vietnamese temple. It is also a location of the Chao Pho Sam Po Kong or Luang Pho To (Phra Trairattananayok). Every weekend, many Chinese tourists come to pay respect to the image.

Maenam Bang Pakong

Maenam Bang Pakong or Bang Pakong River is originated from Korat plateau, pass Prachin Buri, Amphoe Bang Nam Priao and Bang Khla of Chachoengsao, and exit Thai Bay at Amphoe Bang Pakong with the distance of 230 kilometers. The three hour trip of 25 kilometers starts from Chachoengsao town to view the local Thai nature along both banks. The route passes some interesting places such as Khrommakhun Maruphong Siriwats Residence, ancient fortress and walls, previous City Hall, old rafts, many Wats, and landed at Wat Pho Bang Khla to view the spectacular sights of the bats. Tourists can hire boat at the pier of Wat Sothon Wararam Worawihan or in town. The long-tailed boat can accommodate 8-10 people, and 40 people for a big boat. The hiring rate can be bargained due to number of passengers and distance.

Ancient Fortress

Located on Suk Kasem Road, this site was built in the reign of King Rama III. During the reign of King Rama V, this fort was used to fight against the Chinese riots. At the front of the fortress, there is a public park suitable for viewing the scenery of the Bang Pakong River. Also, many old cannons can be seen along on the wall.

 

Monument of King Taksin the Great

Monument of King Taksin the Great The monument has been built as a memorial site to commemorate King Taksin passing Chachoengsao after the fall of Ayutthaya in 1767 to restore Thailands independence. It is told that at this location was formerly a stupa built for his victory over the enemies. After that, it was demolished in 1931. And eventually the new shrine was constructed in 1988.

Mango Orchards

Chachoengsao is the venue for the most favorite fruit in Thailand which is mango. With the area of 86,000 Rae or 34,400 Acre, mangoes are grown mostly in Amphoe Bang Khla and Plaeng Yao. The most popular species are Raet, Khiao Sawoei, Chao Khun Thip, and Thongdam. The mango season is in March, which the mango Festival will be held annually.


ฉะเชิงเทรา : ข้อมูลทั่วไป

แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร
พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤาไนป่าสมบูรณ์

        ฉะเชิงเทรา หรือแปดริ้ว เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงและตามลำคลองต่างๆ โดยมี “หลวงพ่อโสธร” เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวแปดริ้ว ในอดีตฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองจัตวาอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาเปลี่ยนมาขึ้นอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดินใหม่ เมืองฉะเชิงเทราจึงมีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี และในปี พ.ศ. 2459 จึงได้เปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัด เรียกว่า “จังหวัดฉะเชิงเทรา” คำว่า “ฉะเชิงเทรา” เป็นภาษาเขมร แปลว่า คลองลึก ส่วนชื่อ “แปดริ้ว” นั้น ได้มาจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า ในเมืองนี้มีปลาช่อนขนาดใหญ่ชุกชุม เมื่อนำมาตากทำเป็นปลาแห้งจะต้องแล่เนื้อปลาถึง 8 ริ้วฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 82 กิโลเมตร มีพื้นที่ 5,351 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอคลองเขื่อน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรีและนครนายก
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดชลบุรี จันทบุรีและอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการ ปทุมธานีและกรุงเทพฯ

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 3851 4794
  2. ที่ว่าการอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1029, 0 3851 1185
  3. สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 4482
  4. สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1007
  5. โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1033
  6. คลีนิกคริสเตียนบางคล้า โทร. 0 3854 1830, 0 3854 1033
  7. โรงพยาบาลพนมสารคาม โทร. 0 3855 1444
  8. สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 3851 1111, 03851 4752
  9. สถานีตำรวจอำเภอบางคล้า โทร. 0 3854 1111
  10. ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
  11. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 2520
http://www.chachoengsao.go.th

ข้อมูลตำบลและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
http://www.thaitambon.com

คู่มือไหว้พระศักดิ์สิทธิ์แดนธรรมะ 66 วัด
http://www.tat8.com/thai/news/greet.htm

ฉะเชิงเทรา : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. ฉะเชิงเทรา
การเดินทางจากฉะเชิงเทราไปยังจังหวัดใกล้เคียง

จากจังหวัดฉะเชิงเทราสามารถเดินทางไปยัง จังหวัดต่างๆ ได้เช่น ชลบุรี ระยอง สระแก้ว ปราจีนบุรี นอกจากนั้นยังมีรถประจำทางที่จะไปยังจังหวัดต่างๆ ผ่าน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ินทศรีสะเกษ

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง คือ
1. จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 ( กรุงเทพฯ - มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา ) ระยะทาง 75 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 34 ( ถนนสายบางนา – ตราด ) จากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 314 ( บางปะกง – ฉะเชิงเทรา ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร
3. จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 3 ( ผ่านสมุทรปราการ - บางปะกง ) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 314 ระยะทาง 100 กิโลเมตร

รถไฟ
มี บริการรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพง ไปฉะเชิงเทราทุกวัน วันละ 11 ขบวน เที่ยวแรก 05.55 น. – เที่ยวสุดท้าย 18.25 น. ค่าโดยสาร 13 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 หรือ สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1007 หรือเว็บไซท์ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
มี รถโดยสารปรับอากาศออกจากจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที (ใช้เส้นทางมอร์เตอร์เวย์) ตั้งแต่เวลา 05.20- 18.00 น. รถออกทุกครึ่งชั่วโมงวันธรรมดามีรถออกตั้งแต่เวลา 06.00-17.30 น. เสาร์-อาทิตย์ 06.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งสายเหนือ(ถนนกำแพงเพชร 2)โทร. 0 2936 2852–66 ต่อ 311, 442 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออก(เอกมัย) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ บริษัท ฉะเชิงเทรา ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2712 1018, 0 9749 1336 มีรถออกตั้งแต่เวลา 05.00-21.30 น. หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งสายตะวันออก(เอกมัย)โทร. 0 2391 2504 หรือ สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 4482

ฉะเชิงเทรา : วัฒนธรรมประเพณี

งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร

ประวัติ / ความเป็นมา

พระพุทธโสธร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อโสธร” ประดิษฐานอยู่หน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
พระพุทธโสธรนั้นมาประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้เมื่อใดไม่มีใครทราบ แต่คงได้มาสมัยเดียวกันกับหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อต้นกรุงธนบุรี โดยมีตำนานเล่ากันว่า มีพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ 3 องค์ ลอยมาตามลำน้ำผ่านเมืองปราจีนบุรีมา แล้วผุดขึ้นที่ตำบลสัมปทาน เมืองฉะเชิงเทรา ชาวบ้านจึงเอาเชือกมนิลามัดพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถนำขึ้นจากน้ำได้ พระพุทธรูปองค์ใหญ่จึงลอยไปตามกระแสน้ำ แล้วไปผุดขึ้นที่บ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านจึงช่วยกันฉุดขึ้นมาประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม ส่วนองค์เล็กผุดขึ้นที่คลองใกล้วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านจึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลี ส่วนหลวงพ่อโสธรซึ่งเป็นองค์กลางนั้นผุดขึ้นที่หน้าวัดโสธร ประชาชนช่วยกันฉุดแต่ไม่ขึ้น จนอาจารย์คนหนึ่งมาทำพิธีบวงสรวงแล้วนำสายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์จึงฉุดขึ้น มาสำเร็จ และนำมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดโสธร (นำเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา และอักขรานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดฉะเชิงเทรา, 2496 :11)
พระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปทรงสมาธิลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างแบบ ล้านช้างหรือที่เรียกกันว่า “พระลาว” มีหน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว พระพุทธรูปแบบนี้นิยมสร้างกันมากที่เมืองหลวงพระบาง ในอินโดจีน และภาคอีสานของไทย แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใน สร้างด้วยไม้หรือ ศิลานั้นยังไม่ทราบแน่ชัด
มีพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสฉะเชิงเทราใน พ.ศ.2451 กล่าวถึงพระพุทธโสธรว่า
“..กลับมาแวะวัดโสธร ซึ่งกรมหลวงดำรงจะแปลว่า ยโสธร จะเห็นเกี่ยวข้องแก่การที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากไปตีเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ หรือเมื่อใดนั้น แต่เป็นที่สงสัยด้วยเห็นไม่ถนัด พระพุทธรูปทำด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สำคัญว่าเป็นหมอดีนั้น คือ องค์ที่อยู่กลาง ดูรูปตักและเอวงามเป็นทำนองเดียวกับพระพุทธรูปเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายไปเป็นด้วยฝีมือผู้ที่ไปปั้น ว่าลอยน้ำก็เป็นความจริง เพราะเป็นศิลาแลงคงจะไม่ได้ทำในที่นี้…” (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันไทยคดีศึกษา, 2527 : 194)
พระพุทธโสธรนั้นถือได้ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียงนับถือมาก โดยมาสักการะบูชากันเป็นประจำตลอดปี

กำหนดงาน
จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง คือ
1. วันขึ้น 14 ค่ำ – วันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 (3 วัน 3 คืน) (เป็นวันที่อาราธนาหลวงพ่อโสธรขึ้นมาจากแม่น้ำมาประดิษฐานในพระอุโบสถ)
2. วันขึ้น 12 ค่ำ – วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 (5 วัน 5 คืน)
3. เทศกาลตรุษจีน เริ่มตั้งแต่วัน ชิวอิด ชิวหยี ชิวซา ชิวสี่ ชัวโหงว (5 วัน 5 คืน)
สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
งานนมัสการหลวงพ่อโสธรครั้งแรกนั้นตามตำนานว่า เมื่อประชาชนพากันอาราธนาหลวงพ่อโสธรขึ้นจากน้ำแล้วก็อัญเชิญมาประดิษฐานใน พระอุโบสถ จัดงานสมโภชถวาย ตั้งแต่นั้นมาก็จัดสมโภชขึ้น ทุกปี และถือเป็นวันเกิดของหลวงพ่อโสธร มีมหรสพแสดงตลอดงาน 3 วัน 3 คืน
งานนมัสการหลวงพ่อโสธรกลางเดือน 12 นั้น เป็นวันทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์และปลุกเสกพระเครื่องของหลวงพ่อ และเครื่องรางของขลัง เสร็จแล้วทำพิธีเปิดงานในวันรุ่งขึ้น มีการจัดขบวนแห่หลวงพ่อโสธรจำลองทั้งทางบกและทางน้ำ จัดงานเป็นเวลา 5 วัน 5 คืน
ส่วนงานนมัสการหลวงพ่อโสธรครั้งที่ 3 นั้น มีขึ้นในเทศกาลตรุษจีน รวม 5 วัน 5 คืน
การจัดงานดังกล่าวนี้ มีผู้คนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ ทั้งพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีนที่ให้ความเคารพนับถือ

งานเทศกาลมะม่วงและของดีแปดริ้ว

ประวัติ / ความเป็นมา


ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ซึ่งคนทั่วไปรู้จักในชื่อเก่า คือ เมืองแปดริ้ว ที่เรียกว่าแปดริ้วนั้นก็เนื่องมาจากปลาช่อนที่จับได้ในแม่น้ำบางปะกงที่ ฉะเชิงเทราสมัยก่อนตัวโตมาก สามารถนำมาแล่ตากแห้งเป็นริ้วๆ ได้ถึง 8 ริ้ว ส่วนชื่อเมืองฉะเชิงเทรานั้นเรียกตามศัพท์เดิมภาษาเขมร คือ ฉทรึงเทรา แปลว่า คลองลึก หรือ แม่น้ำใหญ่ หมายถึง แม่น้ำบางปะกงช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความลึกและกว้างมาก
จังหวัดฉะเชิงเทรานั้น ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกมะม่วงมากที่สุด และเป็นการปลูกเพื่อการส่งออกด้วยเทคโนโลยีทันสมัย นอกจากนั้นยังมีผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เช่นมะพร้าวน้ำหอม ข้าวหอมมะลิบางคล้า กุ้งสด ปูไข่ ปลาสลิด และไข่ไก่ เป็นต้น ทางจังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้จัดงานเทศกาลมะม่วงและของดีแปดริ้วขึ้น เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและของดีเมืองแปดริ้วให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่ง ขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

กำหนดงาน
งานเทศกาลมะม่วงและของดีแปดริ้ว จะจัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน ณ บริเวณโรงเรียนพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
รายละเอียดของงานมีดังนี้ คือ
- จัดการแสดงและจำหน่ายผลผลิตจากอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เครื่องจักรกลการ เกษตรและผล ผลิตทางการ เกษตร
- จัดนิทรรศการด้านวิชาการเกษตร และจัดสัมมนาวิชาการเกษตร
- จัดประกวดผลิตผลทางการเกษตร ประกวดธิดาเกษตร และประกวดขบวนแห่ของดี แปดริ้ว
- การแสดงและมหรสพต่างๆ


ฉะเชิงเทรา : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

ตลาดน้ำบางคล้า

อยู่ ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 30 กิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำบางปะกงในเขตอำเภอบางคล้า เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมการท่องเที่ยวรับประทานอาหารในบรรยากาศธรรมชาติริมแม่ น้ำ เปิดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ระหว่างเวลา 8.00 - 18.00 น. มีทั้งตลาดบนบกริมฝั่งและร้านบนแพยาวคลุมหลังคาสำหรับเดินเลือกซื้ออาหาร หลากหลายทั้งคาวหวาน อาทิ ก๋วยเตี๋ยว หอยทอด ไอศกรีม เฉาก๊วย ฯลฯ มีโต๊ะเก้าอี้นั่งรับประทานอาหาร และมีเรือพ่อค้าแม่ค้าพายมาจอดเทียบจำหน่ายผลิตผลเกษตรพื้นบ้านตามฤดูกาลมาก มาย โดยเฉพาะมะม่วงและน้ำตาลสด ที่ขึ้นชื่อของบางคล้า นอกจากนี้ยังมีบริการเรือท่องเที่ยวล่องไปตามลำน้ำบางปะกงสำหรับชมทิวทัศน์ ค่าบริการประมาณคนละ 60 บาท

สถานที่ท่องเที่ยวปราสาททราย

จากการจัดงาน "มหกรรมปั้นทรายโลก" เพื่อร่วมฉลองปี มหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2550 ซึ่งได้ระดมนักปั้นระดับโลกกว่า 70 คน จากฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม เช็คโกสโลวาเกีย ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและไทย ร่วมโชว์ประติมากรรมทรายสุดยอด ความมหัศจรรย์กว่า 30 ผลงาน บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ ทำให้มหกรรมปั้นทรายนานาชาติครั้งนี้ เป็นงานแสดงประติมากรรมทรายในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก และปัจจุบันได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวถาวรโดยใช้ชื่อว่า สถานที่ท่องเที่ยวปราสาททราย
พื้นที่ในการจัดการแสดงจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นการจัดการแสดงประติมากรรมทราย ซึ่งแสดงถึงพระราชประวัติ พระจริยาวัตร และพระกรณียกิจต่าง ๆ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมทั้งสถานที่ขึ้นชื่อของเมืองไทย ได้แก่ พระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยทวยเทพ กังหันชัยพัฒนา กำแพงวัดพระแก้วและสระบัว เรือไมโครมด เขื่อนภูมิพลและโครงการฝนหลวง วงดนตรีแจ๊ซ สวนแม่ฟ้าหลวงและพระตำหนักดอยตุง โครงการหลวง

ส่วนที่ 2 จัดการแสดงประติมากรรมทราย ในด้านวัฒนธรรมและประติมากรรมของไทย รวมทั้งตัวละครต่าง ๆ ในวรรณคดีของไทย โดยเป็นลักษณะการแสดงแบบมืด ซึ่งจะมีแสง สี และเสียง ประกอบในการแสดง ประกอบด้วยประติมากรรมทราย ได้แก่ ยักษ์และวัดพระแก้ว วัดโสธรวรารามวรวิหาร จตุคามรามเทพ สมเด็จพระนเรศวรฯ กระทำยุทธหัตถี นางเงือก กินรี หนุมาน สุดสาคร พระอภัยมณีและสุนทรภู่ ชีเปลือย และผีเสื้อสมุทร

ส่วนที่ 3 เป็นส่วนของการจัดการแสดงประติมากรรมทรายนานาชาติ ซึ่งจัดแสดงประติมากรรมที่เป็นจุดเด่นในแต่ละประเทศ ประกอบด้วย ประตูแบรนแดนเบิร์ก หอไอเฟล ทหารองครักษ์ และหอนาฬิกาบิ๊กเบน รูปปั้นเทพีเสรีภาพ ภาพวาดแวนโก๊ะและกังหันลม โคลีเซียมและนักสู้เสือ นักเต้นฟลามิงโกและนักสู้วัวกระทิง ภูเขาไฟฟูจิ เกอิชา จิงโจ้ หมีโคอาล่า โรงละครโอเปร่า โบสถ์เซนต์นิโคลัส พีระมิดกับสฟิงซ์ สุสานตุตันคาเมน กำแพงเมืองจีน มังกร และรูปปั้นหินกองทัพราชวงศ์ชิง


เวลาในการเปิดบริการ
ทุกวัน ระหว่างเวลา 9.00 - 18.00 น.

อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 40 บาท

การเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวปราสาททรายตั้งอยู่บริเวณ ถนนศรีโสธรตัดใหม่ ห่างจากวัดโสธรวรารามวรวิหาร (วัดหลวงพ่อโสธร) ประมาณ 800 เมตร ติดกับห้างคาร์ฟูร์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3851 5120-1 www.thaisandcity.com

วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย์)

ตั้งอยู่ตำบลบ้านใหม่ จากหลักฐานจารึกแผ่นเงินที่พบบริเวณรอยแตกตรงคอระฆังของเจดีย์องค์ใหญ่ภายใน วัดทำให้ทราบว่าวัดนี้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนายเสือ หรือ พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรากับภรรยาชื่ออิน แรกเริ่มสร้างเจดีย์ก่อนเมื่อปีพ.ศ.2416 แล้วเสร็จในปีพ.ศ.2418 ส่วนวัดนั้นสร้างเสร็จภายหลังในราวปีพ.ศ.2424 นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2525 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์องค์ใหญ่ 1 องค์ เจดีย์องค์เล็ก 2 องค์ วิหารพระพุทธบาท อุโบสถและหอระฆัง

ตลาดคลองสวน 100 ปี

เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ในอดีตคลองสวนเป็นเส้นทางสำหรับเดินทางไปกรุงเทพมหานคร จากประตูน้ำท่าถั่ว (ฉะเชิงเทรา) แล่นผ่านตลาดคลองสวน ก่อนจะแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ (วังสระปทุม) กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวคลองสวนทั้งชาวไทยจีน ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม วัฒนธรรมผสมผสาน การดำรงชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งก่อสร้าง เช่น โรงเจ วัด สุเหร่า จะตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน และตลาดแห่งนี้จะเป็นแหล่งนัดพบของผู้คนมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติอัน ได้แก่ ร้านกาแฟ สำหรับผู้ที่สนใจจะชมบรรยากาศของวิถีชีวิตร่วมสมัยย้อนยุคกว่า 100 ปี ชิมอาหารอร่อยทั้งอาหารคาวที่มีสูตรเฉพาะ ขนมหวาน กาแฟสูตรโบราณดั้งเดิม ชมของเก่าและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า สามารถแวะชมได้ที่ตลาดคลองสวน 100 ปีแห่งนี้แห่งเดียว

ร้านโชห่วย หรือร้านค้าขายปลีกขนาดเล็ก ๆ คนรุ่นใหม่อาจจะไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้เห็น ไม่ค่อยได้ใช้บริการมากนัก เนื่องจากในปัจจุบัน ร้านโชห่วยได้ปรับระบบการจัดการให้มีระบบระเบียบมากขึ้น และแปรสภาพมาเป็นร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่มากมายและเจอะเจอทุกหนทุกแห่งในเขต ชุมชนเมือง หากร้านใดมิได้มีการปรับกลยุทธ์ในการขายก็จำเป็นต้องปิดกิจการไป เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อที่มีกลยุทธ์ทางการตลาดที่มี ประสิทธิภาพสูงในยุคสมัยปัจจุบัน

บรรยากาศเก่า ๆ ของร้านค้าเมื่อหลายสิบปีก่อน เป็นบรรยากาศหนึ่งที่หลาย ๆ คนอยากจะเห็น อยากจะสัมผัสอีกสักครั้ง ด้วยมนต์เสน่ห์ของรอยยิ้ม มิตรไมตรี การนำเสนอขายสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นกันเองของพ่อค้าแม่ขาย หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ต้องการจะตามหาอดีตที่ล่วงผ่านมาแล้วหลายสิบปี ขอแนะนำให้ไปเที่ยว “ตลาดคลองสวน ” ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ที่มีบรรยากาศในอดีตที่อบอวลด้วยมนต์เสน่ห์แห่งการซื้อขายแลกเปลี่ยน ที่นักท่องเที่ยวจะสัมผัสได้ทั้งคนท้องถิ่นที่ยังนิยมมาจับจ่ายใช้สอยเลือก ซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันหรือจะนั่งชิมอาหารอร่อย ๆ ชมบรรยากาศเก่า ๆ ได้อย่างเต็มอิ่ม

ตลาดคลองสวน 100 ปี ตั้งอยู่ริมคลองประเวศน์บุรีรมย์ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ตลาดคลองสวนเป็นตลาดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หากย้อนกลับไปในอดีต การเดินทางโดยเรือจะสะดวกและรวดเร็วที่สุด ถ้าเดินทางจากฉะเชิงเทราเข้ากรุงเทพ ฯ จะต้องใช้เรือเมล์ขาวของนายเลิศซึ่งมีเพียงลำเดียว รับคนจากประตูน้ำท่าถั่ว (ฉะเชิงเทรา) ผ่านตลาดคลองสวน ก่อนจะแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ (วังสระปทุม) กรุงเทพมหานคร

เมื่ออดีตตลาดคลองสวนเป็นจุดแวะพักและเป็นศูนย์รวมของชุมชน จุดแลกเปลี่ยนสินค้าและเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญและสะดวกที่สุด หากมีงานกุศล เช่น การขุดคลอง ทำถนน ต่างก็จะมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาสาธารณูปโภคร่วมกัน จุดพบปะนั่นคือร้านกาแฟ ทุกคนแม้ต่างศาสนาก็สามารถเข้ามาที่จุดนัดพบแห่งนี้ได้ มาแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์การดำเนินชีวิต พูดคุยเรื่องข่าวสารเหตุบ้านการเมือง ร้านกาแฟจึงเป็นเสมือนสิ่งเสพติดที่ผู้คนในชุมชนต้องมาพบกันเป็นประจำทุก เช้าอย่างขาดเสียมิได้ แม้ในทุกวันนี้ร้านกาแฟก็ยังเป็นจุดนัดพบของชุมชน

ปัจจุบันตลาดคลองสวน 100 ปี โดยความดูแลของสำนักงานเทศบาลตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และสำนักงานเทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้สนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันอนุรักษ์บ้านเรือน รวมทั้งการดำเนินชีวิตให้คงไว้ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และส่งเสริมให้ตลาดคลองสวน เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้ดูวิถีชีวิต รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ยังมีกลิ่นอายในรัชสมัยรัชกาลที่ 5

การเดินทาง

จากกรุงเทพฯ
ทางที่สะดวก คือ ไปตามทางมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) ไปจนถึงทางแยกอ่อนนุช ให้แยกซ้ายไปจะพบสามแยก ให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 3001 (ถนนสายอ่อนนุช- ฉะเชิงเทรา) เดินทางไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงทางเข้าตลาดคลองสวนด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 200 เมตร บริเวณหน้าตลาดมีลานจอดรถ

หากเดินทางจากถนนบางนา-ตราด ถึงกิโลเมตรที่ 35 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางไป Thai Country Club ประมาณ 15 กิโลเมตร จนเจอถนนหมายเลข 3001 เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงตลาดคลองสวน
หรือ จากแยกร่มเกล้าไปอีกประมาณ 27 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 3001 ถึงตลาดคลองสวน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

หากเดินทางจากฉะเชิงเทราไปตามทางหลวงหมายเลข 314 (ฉะเชิงเทรา-บางปะกง) กิโลเมตรที่ 14-15 แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหมายเลข 3001 จนถึงตลาดซึ่งอยู่ด้านขวามือ

รถโดยสารประจำทาง นั่งรถประจำทางสายฉะเชิงเทรา-ลาดกระบัง ลงหน้าทางเข้าตลาด แล้วเดินต่อเข้าไปประมาณ 200 เมตร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- เทศบาลตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.0-3859-5633, 0-3859-5716
- เทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการโทร.0-2739-3253, 0-2739-3329, 0-2704-1273

ล่องเรือชมปลาโลมา

บริเวณ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง ปลาโลมาจากอ่าวไทยจะตามแหล่งอาหารเข้ามาหากิน เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณนี้จะมีปลาดุกทะเลซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลาโลมาเป็นจำนวนมาก ปลาโลมาจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 40-50 ตัว และกระโดดขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำพร้อมๆกัน ครั้งละประมาณ 3-4 ตัว พันธุ์ที่พบมากคือ ปลาโลมาอิรวดี (หัวบาตรหลังมีครีบ) โลมาหลังโหนก โลมาปากขวด รวมทั้งปลาโลมาเผือกที่มีความสวยงาม

นอกจากนี้ในเส้นทางล่องเรือยังผ่านป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์และ นกนานาชนิด อาทิ นกกาน้ำ นกแสก นกกระยาง นกนางนวล นกกระเต็น ค้างคาวแม่ไก่และลิงแสม เป็นต้น อาศัยอยู่บนเกาะธรรมชาติบริเวณปากอ่าว เรียกว่า เกาะนก มีพื้นที่ประมาณ 125 ไร่ จุดลงเรือมี 2 แห่งคือ ท่าเรือหมู่ 1 บ้านท่าแหลม(ข้างศาลเจ้าแม่ทับทิม) และท่าเรือหมู่ 8 บ้านคลองตำหรุ ใช้เวลาล่องเรือ1-2 ชั่วโมง เรือมีหลายขนาด ค่าโดยสาร แบบเหมาลำ ราคา 1,000-1200 บาทและแบบนั่งรวม ไม่เกิน15 คน ราคาคนละ 150 บาท ควรไปชมช่วงเช้าก่อนเที่ยงหรือช่วงเย็น

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าข้าม โทร. 0 3857 3411-8 0 3857 3411-2 ต่อ 19

การเดินทาง

1.ใช้เส้นทางถนนบางนา – ตราด (กรุงเทพฯ – ชลบุรี) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง กลับรถที่ กม. 53
(จุดกลับรถที่ 2 หลังจากข้ามสะพาน) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางคู่ขนาน สามารถเข้าท่าเรือได้ตามถนนเข้าศูนย์ฝึกอบรม กฟผ. และถนนสุขุมวิท

2. เส้นทางถนนสุวินทวงศ์ จากกรุงเทพ ฯ มาจังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนเข้าตัวเมืองเลี้ยวขวาตามถนนฉะเชิงเทรา – บางปะกง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางที่ 1 ที่สะพานคลองอ้อม


เขาหินซ้อน

ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 304 (ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี) กิโลเมตรที่ 53 อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 53 กิโลเมตร เป็นภูเขาที่มีความสูงไม่มากนัก ประกอบด้วยก้อนหินขนาดใหญ่น้อยรูปทรงต่าง ๆ เรียงรายอยู่ตามธรรมชาติ บริเวณเขาหินซ้อนจัดเป็น “สวนรุกขชาติสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ” เป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ประดิษฐานพระบวรราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศาล นี้เมื่อปี พ.ศ. 2522 ด้านหลังของศาลนี้เป็นที่ตั้งของวัดเขาหินซ้อน

ล่องเรือรอบเกาะลัด

ที่อำเภอบางคล้า มีบริการล่องเรือรอบเกาะลัด ชมวิถีชีวิตริมน้ำ บ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างสวยงามบนเกาะลัด ผ่านพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะแวะสักการะก็ได้ ผ่านวัดโพธิ์บางคล้า ซึ่งมีค้างคาวแม่ไก่จำนวนมากมายอยู่บนต้นไม้ในบริเวณวัด นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและเช่าเรือได้ที่สวน อาหารแม่น้ำ ค่าโดยสารผู้ใหญ่ 69 บาท เด็ก 39 บาท เรือออกรอบแรก 10.30 น. รอบสุดท้าย 16.30 น.(วันเสาร์ - อาทิตย์)

หมู่บ้านน้ำตาลสด


ตั้งอยู่ที่บ้านปากน้ำ หมู่ที่ 11 ถนนวนะภูติ ตำบลปากน้ำ เป็นแหล่งผลิตน้ำตาลสดพร้อมดื่มแห่งเดียวในภาคตะวันออก ชมขั้นตอนการผลิตน้ำตาลสดจากต้นตาลโตนด และสัมผัสวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ผลิตน้ำตาลสด ชมกระบวนการผลิตน้ำตาลสด เริ่มด้วยการปีนต้นตาลสูงระฟ้าเพื่อรองน้ำตาลยามเช้าและเย็น ต่อด้วยขบวนการต้มน้ำตาลสด ก่อนที่จะส่งไปขายทั่วประเทศ การทำน้ำตาลปึก และชิมน้ำตาลสดหอมหวาน ก่อนเดินทางกลับเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นของฝากกลับบ้าน เช่น น้ำตาลสดพร้อมดื่ม น้ำตาลปึก หมวกกุ้ยเล้ย งวงตาลตัวผู้ที่ชาวบ้านเชื่อว่ารักษาโรคเบาหวานได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1635 หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หมู่บ้านน้ำตาลสด ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า ตั้งอยู่ริมถนนสายบางคล้า-คลองเขื่อน


ตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำร้อยปี

ตลาด บ้านใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ (ทางไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว) เป็นตลาดเก่าอายุกว่า 100 ปี เป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน เมื่ออดีตสถานที่แห่งนี้มีความคับคั่งด้วยผู้คนที่มาประกอบอาชีพค้าขาย รวมทั้งเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งจะดูได้จากอาคารบ้านเรือนที่ปลูกสร้างติด ๆ กัน และอยู่ชิดริมน้ำ วันเวลาผ่านพ้นไปนานแต่ความสำคัญของตลาดริมน้ำแห่งนี้ก็ยังคงดำรงอยู่จนถึง ปัจจุบัน

ด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นั้นคือ อายุสถานที่ที่ยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงสถาพเหมือนครั้งรุ่นคุณปู่คุณย่าอาศัยพำนักอยู่ ซึ่งคนสมัย ณ ปัจจุบันจะได้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ และชมภาพได้จากภาพยนตร์และละครย้อนยุคของชุมชนชาวไทยจีนที่เข้ามาถ่ายทำที่ ตลาดบ้านใหม่แห่งนี้ เช่น ละครเรื่องอยู่กับก๋ง, เจ้าสัวสยาม ภาพยนตร์เรื่องนางนาค ฯลฯ

นอกจากตลาดบ้านใหม่เป็นสถานที่สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์และละครยอดนิยมแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด เป็นที่รวบรวมอาหารรสเด็ดของแปดริ้ว ทั้งอาหารจีน อาหารไทย ที่มีรสชาติตามมาตรฐานอาหารของแต่ละชาติ มีร้านกาแฟโบราณรสชาติเข้มข้นหอมหวาน เป็นที่รวบรวมของฝากที่ต้องแวะซื้อเป็นของฝากก่อนกลับบ้านทุกครั้ง

เมื่อปี 2547 ชุมชนบ้านใหม่พร้อมใจฟื้นฟูตลาดชุมชนอายุกว่า 100 ปี เปิด “ตลาดบ้านใหม่” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมวิถีชีวิตย้อนยุค เลือกชิมอาหารรสอร่อย เลือกซื้อของฝากจากแปดริ้ว ช่วงแรกร้านค้ายังมีจำนวนไม่มากนักจึงเปิดให้เที่ยวชมเฉพาะในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุด นักขัตฤกษ์ เวลาผ่านพ้นไป 2 ปี ความเงียบเหงาของวันวานถูกปรับเปลี่ยนเริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น ร้านค้าร้านขายเพิ่มจำนวนหนาแน่นมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดบ้านใหม่ในทุกวันนี้มีความจอแจของทั้งคนซื้อและคนขาย นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทราในวันธรรมดา สามารถที่จะมาเที่ยวชมตลาดเก่าได้ทุก ๆ วัน

พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์บ้านเรือนเก่า ๆ ที่สวยงามและมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งมีวิถีชีวิตชุมชนที่มีมนต์เสน่ห์เฉพาะท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนที่ตลาดบ้านใหม่และตลาดคลองสวน และในปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัด ฉะเชิงเทรา จุดเด่นของตัวตลาดบ้านใหม่ที่มีวิถีชีวิตเฉพาะถิ่นส่งผลให้เกิดเส้นทางท่อง เที่ยวเชื่อมโยงเป็นหลายเส้นทาง

สิ่งที่โดดเด่นทุกคนจะต้องไม่พลาดใช้เส้นทางท่องเที่ยวนี้ในช่วงวัน หยุดพักผ่อน นั้นคือ “กิจกรรมล่องเรือชมแม่น้ำบางปะกง” นักท่องเที่ยวที่มีเวลาสัก 1 วัน เริ่มต้นกราบขอพร “หลวงพ่อพุทธโสธร...องค์จริง” ชมพระอุโบสถมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ที่ใช้หินอ่อนนำเข้าจากประเทศอิตาลีทั้งหมด งดงามและแปลกตาที่สุดคงจะเป็นพื้นของพระอุโบสถที่ช่างจะตัดหินอ่อนหลากสี แล้วนำมาประกอบเป็นรูปต่าง ๆ เล่าเรื่องในพุทธประวัติ งามและละเอียดอ่อนอย่างไรต้องขอแนะนำให้เข้าไปชมด้วยตนเอง

จาก นั้นเดินเท้าไปยังท่าน้ำวัดโสธรวรารามวรวิหารจับจองที่นั่งในเรือเพื่อล่อง ชมทิวทัศน์สองฝั่งพร้อมฟังเรื่องราวแห่งลุ่มแม่น้ำบางปะกง สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ระหว่างการเดินทาง ก่อนจะขึ้นที่ท่าน้ำตลาดบ้านใหม่ เลือกซื้อ เลือกชมสินค้าที่ตลาด สุดท้ายมัคคุเทศก์จะนำนักท่องเที่ยวทุกท่านแวะไหว้สักการะเทพเจ้าแห่งโชคลาภ รวมทั้งพระประธาน เทพเจ้าตามคติความเชื่อของชาวจีน (37 องค์ สร้างจากกระดาษ) ประดิษฐสถาน ณ วัดจีนประชาสโมสร, หรือไหว้องค์หลวงพ่อโต (ซำปอกง) ที่วัดอุภัยภาติการาม ก่อนจะเดินทางกลับเส้นทางเรือโดยสวัสดิภาพ

การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง
(1) ใช้ถนนหมายเลข 304 มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา
(2) ใช้ถนนหมายเลข 34 บางนา – ตราด เลี้ยวเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา
(3) ใช้ถนนหมายเลข 3 สมุทรปราการ – บางปะกง แล้วต่อด้วยถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา,
(4) ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ ฯ – พัทยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองฉะเชิงเทรา

รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพ ฯ มีรถประจำทางออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) และสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย)
รถไฟ (หัวลำโพง) มีขบวนรถไฟมาฉะเชิงเทราทุกวัน นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาโดยรถสาธารณะ จะมีรถโดยสารเล็กจากสถานี สายรอบเมืองวิ่งผ่านวัดโสธร วรารามวรวิหารหรือตลาดสามารถเลือกและเดินทางได้สะดวกสบาย

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร.0 3731 2282, 0 3731 2284 www.tat8.com
- ชมรมรักษ์ตลาดบ้านใหม่ โทร. 0 3881 7336, 08 6148 4513, 08 9881 7161, 08 9666 4266
- บริษัทบางปะกง ชาร์เตอร์ จำกัด โทร.0 3851 4333, 0 3851 8881, 08 9666 4266

เปิดขายเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00–1700 น.

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)


อยู่ตำบลหน้าเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2377 พร้อมๆ กับการสร้างป้อมและกำแพงเมือง โดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพ มหานคร ต่างกันเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น วัดนี้เดิมเรียกว่า วัดเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทราและได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่าวัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตั้ง อยู่ตำบลเขาหินซ้อน ริมทางหลวงหมายเลข 304 กิโลเมตรที่ 51-52 เส้นฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี อยู่ห่างจากอำเภอพนมสารคาม 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว้างใหญ่ประมาณ 1,895 ไร่ ศูนย์แห่งนี้ได้รับสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เนื่องมาจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพเสื่อมโทรม ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื้อดินเป็นทราย มีการชะล้างพังทลายของดินสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพัฒนาพื้นที่ สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์บริเวณศูนย์ ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ ฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนาดิน การวางแผนการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ จนพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ด้วยวิธีการเกษตรแผนใหม่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนมีโอกาสพึ่งพาตนเองได้ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตและเป็นศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ ถือเป็นต้นแบบแนวทางและตัวอย่างการพัฒนาให้แก่พื้นที่อื่น อีกทั้งอาศัยความร่วมมือจากส่วนราชการต่างๆและเอกชน ภายในศูนย์ฯ มีการแบ่งพื้นที่เพื่อทำการสาธิตและทดลองงานต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาที่ดิน การปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ งานศิลปาชีพและโครงการสวนป่าสมุนไพร มีแปลงทดลองปลูกพืชนานาชนิด อาทิ พันธุ์หวายที่มีในประเทศไทย อโวคาโด มะม่วงทุกพันธุ์ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยจัดตั้งเป็น สวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออก เพื่อดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพรต่าง ๆ ภายในอาคารจัดเป็นนิทรรศการบรรยายและสาธิตการผลิตสมุนไพรต่าง ๆ มีห้องอบและห้องนวดสมุนไพรซึ่งเปิดบริการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.00 น. ศูนย์แห่งนี้ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประจำปี 2545 รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและรางวัลอุตสาหกรรมการท่อง เที่ยวประจำปี 2547 รางวัลยอดเยี่ยมประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ผู้ที่สนใจจะเข้าชมศูนย์เป็นหมู่คณะและต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ใช้เวลาชมประมาณ 2 ชั่วโมง ทำจดหมายติดต่อล่วงหน้า เรียน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ในเวลาราชการ 08.00-17.00 น. โทร. 0 3859 9105-6 www.khaohinsorn.com


อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตั้ง อยู่บริเวณปากน้ำโจ้โล้ (คลองท่าลาด) ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า หลังจากที่พระเจ้าตากสินตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้เดินทัพ ผ่านจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรีและปะทะกับพม่าบริเวณปากน้ำโจ้โล้ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์รบชนะพม่าซึ่งมีกำลังเหนือกว่าและได้พักทัพบริเวณนี้ พระองค์จึงสร้างพระเจดีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในการสู้รบกับพม่า แต่บริเวณดังกล่าวถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนพระเจดีย์พังทลายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2491 ต่อมามีการสร้างพระสถูปเจดีย์พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นใหม่บริเวณเดิม นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาสักการะอนุสรณ์หรือนั่งพักผ่อนชมภูมิทัศน์ริม แม่น้ำซึ่งจะสามารถมองเห็นเกาะลัดอยู่ฝั่งตรงข้าม

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตั้งอยู่ที่อำเภอบางคล้า สร้าง ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้รับชัยชนะในการสู้ รบกับพม่าบริเวณปากน้ำโจ้โล้ ทรงใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางเดินทัพผ่านในการกอบกู้เอกราช หลังเหตุการณ์เสียกรุง เล่ากันว่าก่อนหน้านั้น สถานที่นี้เคยเป็นที่ตั้งของเจดีย์อนุสรณ์ชัยชนะของพระองค์คราวสู้รบกับพม่า ในบริเวณนี้ ภายหลังเจดีย์ได้พังทลายลงในปี พ.ศ. 2484 โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ยังคงเล่าเรื่องราวสืบต่อกันมา และได้สร้างศาลพร้อมอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชนี้ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2531


วัดโพธิ์บางคล้า

อยู่ ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ ชื่อว่า “วัดโพธิ์” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310-2350 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปะอยุธยากับรัตนโกสินทร์ พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องเกล็ดเต่าทำจากดินเผา ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ บริเวณวัดจะเห็นค้างคาวแม่ไก่เกาะอยู่ตามต้นไม้ ค้างคาวแม่ไก่เป็นค้างคาวสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตาเหมือนสุนัขจิ้งจอกคือ มีดวงตาโต จมูกและใบหูเล็ก ขนสีน้ำตาลแกมแดง และมีเล็บที่แหลมคมสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ มีปีกสีดำ บินได้เร็วและไกลเหมือนนก กางปีกกว้างประมาณ 3 ฟุต แม่ค้างคาวให้กำเนิดลูกได้ครั้งละ 1 ตัว ในเวลากลางวันจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่เกาะกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา ยามพลบค่ำก็จะออกบินไปหากิน อาหารของค้างคาวจะเป็นพวกผลไม้และใบไม้อ่อนเช่น ใบโพธิ์ ใบมะม่วง ใบมะขาม เป็นต้น เคยมีผู้เฝ้าสังเกตการหากินของค้างคาวที่นี่พบว่าค้างคาวบินไปหากินตามเขต ชายแดนไทยหรือฝั่งประเทศกัมพูชา หากล่องเรือชมทัศนียภาพตามลำน้ำบางปะกงจะผ่านวัดนี้ นักท่องเที่ยวสามารถแวะขึ้นชมวัดได้จากท่าน้ำของวัด

การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3121 เข้าตัวอำเภอบางคล้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร ผ่านศาลและอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 500 เมตร

ป้อมเมืองฉะเชิงเทรา

อยู่ ที่ถนนมรุพงษ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2337 โดยมีกรมหลวงรณเรศเป็นแม่กองก่อสร้าง เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูมารุกราน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นที่ตั้งมั่นกองทัพในการปราบกบฎอั้งยี่ ซึ่งเป็นพ่อค้าฝิ่นเถื่อนชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายปล้นสะดมก์ชาวเมือง บริเวณหน้าป้อมจัดเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ชมทิวทัศน์แม่น้ำบางปะกง มีปืนใหญ่ตั้งอยู่ตามกำแพงเมือง


การท่องเที่ยวทางเรือตามลำน้ำบางปะกง

ชม ธรรมชาติและประวัติศาสตร์แห่งลุ่มน้ำบางปะกง ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูงโคราช ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี (เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี) ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (เรียกว่าแม่น้ำแปดริ้ว) ผ่านอำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง ระยะทาง 230กิโลเมตร การท่องเที่ยวทางเรือในลำน้ำบางปะกง เริ่มจากตัวเมืองฉะเชิงเทราเพื่อชมธรรมชาติ สองฝั่งน้ำชมบ้านเรือน ซึ่งยังคงสภาพความเป็นอยู่อย่างไทย ผ่านสถานที่น่าสนใจ สัมผัสธรรมชาติและความเป็นมาแห่งสายน้ำ ชมทิวทัศน์และสถานที่สำคัญสองฝั่ง อาทิ อาคารไม้สักที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา ตำหนักกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ แนวกำแพงเมืองโบราณ อาคารศาลากลางหลังเก่า กลุ่มเรือนแพสมัยเก่า วัดสำคัญทางประวัติศาสตร์เช่น วัดวาอารามต่างๆเช่น วัดเมือง วัดสัมปทวน วัดแหลมใต้ วัดสายชล วัดเซ็นต์ปอล ไปขึ้นฝั่งที่วัดโพธิ์บางคล้า เพื่อชมค้างคาวแม่ไก่ ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ผ่านย่านเศรษฐกิจเก่าแก่เรือนแพและตลาดน้ำในอดีตของเมืองแปดริ้ว และชมความยิ่งใหญ่ของเขื่อนทดน้ำบางปะกง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท บางปะกง ชาร์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด โทร. 0 3851 4333, 08 9668 1726, 08 9666 4266 (คนละ 90 บาท ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง) หรือ สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าน้ำวัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือที่ท่าน้ำหน้าตลาดในตัวเมือง มีทั้งเรือหางยาวจุคนได้ 8-10 คน เรือสำราญจุคนได้ 40 คน อัตราค่าเช่าเรือตามแต่จะตกลงกันตามจำนวนผู้โดยสารและระยะทาง

ศาลหลักเมือง

เป็น ศาลที่สร้างขึ้นใหม่ตั้งอยู่ถนนหน้าเมือง เป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทยหลังคาทรงจตุรมุข ส่วนบนเป็นยอดปรางค์ ภายในศาลมีเสาหลักเมือง 2 เสา เสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองเก่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 อีกเสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองปัจจุบันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2438 นอกจากนั้นยังมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ในบริเวณเดียวกัน เปิดให้เข้าชมเวลา 07.00 – 16.00 น.

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฉะเชิงเทรา

ตั้ง อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด บนเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่ เป็นสวนสาธารณะที่มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่กลางสวน มีทางเดินโดยรอบสระและต้นไม้ขึ้นร่มรื่น เหมาะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ


วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

ตั้ง อยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2449 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดจีนประชาสโมสร” ส่วนชื่อภาษาจีนของวัด คำว่า “ฮก แปลว่า วาสนา โชคลาภ ความมั่งมีศรีสุข เล้ง หรือ เล่ง หมายถึง มังกร จึงมีผู้เรียกวัดนี้ ว่า มังกรวาสนา หรือ มังกรแห่งโชค” ตามหลักฮวงจุ้ยจีนกล่าวว่า วัดนี้ถือเป็นตำแหน่งท้องมังกร ส่วนตำแหน่งหัวมังกรอยู่ที่วัดเล่งเน่ยยี่ จังหวัดกรุงเทพฯ และหางมังกรนั้นอยู่ที่วัดเล่งฮัวยี่ จังหวัดจันทบุรี ทั้งสามตำแหน่งของมังกรพาดผ่านดินแดนของความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ เยาวราชดินแดนแห่งการค้าขาย เมืองแปดริ้วดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและจังหวัด จันทบุรี เมืองแห่งอัญมณีพลอย ภายในวัดจีนประชาสโมสรมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น ท้าวจัตุโลกบาลขนาดใหญ่ 4 องค์ทำจากกระดาษที่ประตูทางเข้า พระประธาน 3 องค์และองค์ 18 อรหันต์ ทำด้วยกระดาษนำมาจากเมืองจีน รูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ(ไฉ่เซ่งเอี้ย) ที่อยู่ด้านขวาขององค์พระประธานและยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ตามคติจีน ระฆังใบใหญ่น้ำหนักกว่า 1 ตัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ใบในโลกที่รอบระฆังมีอักษรมหาปรัชญาปารมิตราสูตรถือกันว่าผู้ได้ใดตีระฆังก็ เหมือนกับการสวดมนต์ซึ่งได้บุญกุศล นอกจากนี้ยังมีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารตี่จั๊งอ๊วงและสระนทีสวรรค์ เป็นต้น

 

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

ตั้ง อยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ

วัดโสธรวรารามวรวิหาร

วัด โสธรวรารามวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงส์” สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวเมืองเคารพนับถือ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ หายเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง1.65เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติเล่าว่า เป็นพระพุทธรูปปาฏิหาริย์ลอยทวนน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าตั้งแต่ประมาณปีพ. ศ. 2313 สมัยต้นกรุงธนบุรี แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิม ไว้จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบัน ทุกวันนี้จะมีผู้คนต่างมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธรกันเป็นจำนวนมาก

สถานที่น่าสนใจในวัดได้แก่

พระอุโบสถหลังใหม่ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ สร้างด้วยหินอ่อน ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรองค์จริง เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00-16.00 น. ผู้เข้าชมควรแต่งกายสุภาพ

วิหารจำลอง ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรองค์จำลอง สืบเนื่องจากทางคณะกรรมการวัดมีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าซึ่งมีสภาพทรุด โทรมและคับแคบ และสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยได้อัญเชิญพระพุทธโสธรองค์จำลองไปประดิษฐานไว้เพื่อเปิดให้ประชาชนได้มา นมัสการและปิดทองตามปกติ เปิดให้นมัสการวันธรรมดาระหว่างเวลา 07.00-16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ระหว่างเวลา 07.00-17.00 น.

ฝั่งตรงข้ามบริเวณวัดโสธรฯ มีร้านค้าจำหน่ายอาหารและสินค้าของที่ระลึกจากจังหวัดฉะเชิงเทรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมวัดโสธรฯ โทร. 03851 1048, 03851 1666 นอกจากนั้นบริเวณท่าน้ำของวัดมีเรือบริการท่องเที่ยวลำน้ำบางปะกงไปขึ้นที่ ตลาดบ้านใหม่

เกาะนก

เกาะนก อ.บางปะกง ซึ่งก็อยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่ออกไปชมปลาโลมามากนัก มีพื้นที่ 125 ไร่ เป็นศูนย์รวมของนกสายพันธุ์ต่างๆ เช่น นกกาน้ำ นกกระยาง ค้างคาว และนกปากห่าง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดบนเกาะนก ภายในเกาะก็จะมีทางเดินโดยรอบและหอดูนก 2 จุดด้วยกันซึ่งจะสามารถขึ้นไปชมทัศนียภาพในมุมสูงได้รอบบริเวณเกาะ

ล่องเรือดูโลมา – เกาะนก
เรือโชคชวลิต เรือใหญ่ 10 – 12 คน
ราคา ดูเกาะนก 300 บาท
ดูโลมา 1,200 บาท
ที่อยู่ : ท่าเทียบเรือเทศบาลตำบลท่าข้าม (หมู่ 1) ข้างศาลเจ้าแม่ทับทิม
โทร. : 0 3857 3411-2, 08 7781 2043
เรือทิพย์สุวรรณ เรือใหญ่ 2 ลำๆ ละ 20 คน
บริการนำเที่ยวชมโลมา เกาะนกและค้างคาวปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง
ราคา คนละ 100 บาท อย่างน้อย 10 คนขึ้นไป
ที่อยู่ : 8 หมู่1 ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
โทร : 0 3857 3189, 08 1577 9042

วัดเขาดิน

การเดินทาง : จากกรุงเทพฯใช้ถนนบางนา-ตราดเลี้ยวซ้ายเขาไปทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบริเวณ กม. 53 ประมาณ 10 กิโลเมตร หรือเข้าทางอำเภอบ้านโพธิ์ มีทางแยกจากอำเภอบ้านโพธิ์มายังวัดเขาดิน เป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร

 

เกาะลัด

เป็นเกาะในแม่น้ำบางปะกงอยู่ในเขตอำเภอคลองเขื่อน แต่สามารถเดินทางได้สะดวกโดยทางเรือจากท่าน้ำในตัวอำเภอบางคล้า บนเกาะมีตลาดนัดในวันเสาร์และอาทิตย์ โดยชาวบ้านจะนำผลิตผล ขนมพื้นบ้านมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว มีรีสอร์ทและโฮมสเตย์สำหรับพักค้างแรมบนเกาะ ยามค่ำคือสามารถล่องเรือชมหิ่งห้อยได้ จุดลงเรือที่ตลาดน้ำบางคล้า (ร้านอาหารแม่น้ำ)

วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลาออกเรือ
รอบแรก 10.30 น.
รอบสุดท้าย 16.30 น.

ราคา ผู้ใหญ่ 69 บาท
เด็ก 30 บาท
หรือเช่าเรือส่วนตัว (เรือหางยาว) เที่ยวรอบเกาะลัดในอัตรา 300 บาท

 

วัดชมโพธยาราม

ตั้งอยู่ที่ตำบลโสธร อำเภอเมือง ภายในวัดได้จำลองสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรม และปรินิพพาน คล้ายกับที่ประเทศอินเดีย สำหรับให้ผู้คนได้สักการะ ภายในสังเวชนีสถานมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ เปิดให้นักท่องเที่ยวที่เข้าชมได้ทุกวัน

การเดินทาง จากตัวเมืองฉะเชิงเทราใช้เส้นทาง 314 ไปไม่ไกล (ก่อนถึงแยกไปพนมสารคาม) จะเห็นเจดีย์เหลี่ยมสีขาวด้านขวามือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัด

มูร่าห์ฟาร์ม

เป็นฟาร์มกระบือที่เลี้ยงไว้สำหรับรีดนมมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย ทั้งนมสดพร้อมดื่ม ไอศกรีม เนย โยเกิร์ต ฯลฯ ส่งจำหน่ายในร้านอาหารที่กรุงเทพฯ มูร่าห์คาเฟ่แอนด์บิสโทร ที่หมู่บ้านสัมมากร ถนนรามคำแหง 112 ผู้สนใจสามารถติดต่อเพื่อเข้าชมและศึกษาการเลี้ยงและรีดนมได้อย่างใกล้ชิด
โดยต้องติดต่อล่วงหน้า สามารถพักแรมในฟาร์มได้ ค่าบริการคนละ 400 บาท รวมอาหาร 3 มื้อ

การเดินทาง : จากฉะเชิงเทราใช้เส้นทาง 319 ทางไปบางคล้า แยกขวาเข้าเส้นทาง 3121 ไปแปลงยาว มาบรรจบกับทาง 331 ที่สี่แยกทุ่งสะเดา จากนั้นให้ตรงไปทางบ้านวังเย็น - หนองไม้แก่น อีกประมาณ 30 กิโลเมตร ผ่านโรงเรียนบ้านหนองไม้แก่นเข้ามูร่าห์ฟาร์ม

 

ศาลมณฑลปราจีนบุรี

ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ใกล้กับศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ในอดีตเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลปราจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุยเดชมหาราช ขณะทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จประทับเป็นองค์ประธานคณะผู้พิพากษา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2489 ปัจจุบันใช้เป็นอาคารพุทธสมาคมฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2539
ถัดจากศาลมณฑลปราจีนบุรี เป็นตึกแถวเก่าบริเวณถนนพานิชซึ่งเป็นย่านร้านค้าที่อนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบ เก่าไว้ และทางจังหวัดได้ปรับปรุงทาสีให้มีความสวยงามโดดเด่นยิ่งขึ้น


อาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง ในเมืองฉะเชิงเทรา เป็นอาคารเก่าแก่ มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2446 ริมแม่น้ำบางปะกง เคยเป็นศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ.2506 และเคยใช้เป็นศาลาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2520


ศูนย์บอนสีเทพราชเฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์บอนสีเทพราชเฉลิมพระเกียรติ ( หมู่บ้านบอนสี ) ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร หรือถัดจากตลาดคลองสวนไปอีก 3 กิโลเมตรตามเส้นทางไปฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเมืองแปดริ้ว กลุ่มชุมชนได้รวมตัวกันเพาะเลี้ยงบอนสีนานาพันธุ์ เพื่อเป็นอาชีพเสริมจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ ภายในศูนย์บอนสี ฯ จัดแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก ชุมชนได้จัดโรงเรือนแสดงบอนสีโดยแบ่งเป็นประเภทและติดป้ายชื่อแสดงอย่าง ชัดเจน ส่วนที่สอง จัดเป็นโรงเรือนพักบอนสีสำหรับจำหน่ายและจุดสาธิตการผลิตบอนสีคุณภาพดี

 

วัดสัมปทวนนอก

ตั้งอยู่ถนนศุภกิจ เดิมชื่อวัดสวนพริก (นอก) สร้างขึ้นปลายสมัยกรุงธนบุรี โดยพระภิกษุอินและชาวบ้าน มีตำนานเกี่ยวกับหลวงพ่อพุทธโสธรที่ลอยทวนน้ำในแม่น้ำบริเวณหน้าวัด มาเป็นชื่อเรียกวัดและสถานที่แห่งนี้ว่า “สามพระทวน” และกลายเป็น “สัมปทวน” ในที่สุด สิ่งที่น่าชมคือ พระอุโบสถที่มีลายปูนปั้นอยู่บนชายคาระเบียงโบสถ์แสดงภาพพระเวสสันดรชาดก อีกด้านหนึ่งเป็นภาพวิถีชีวิตชาวแปดริ้วในอดีต ที่สร้างขึ้นในสมัยพระพุทธิรังษีมุนีวงศ์ (ฮ้อ พรหมโชโต) เป็นเจ้าอาวาส หน้าวัดมีหอพระงดงาม บริเวณท่าน้ำจะมองเห็นเขื่อนทดน้ำบางปะกง

อ่างเก็บน้ำคลองสียัด

ตั้ง อยู่หมู่ 2 ตำบลท่าตะเกียบ ห่างจากตัวจังหวัดฉะเชิงเทราไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 90 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 3259 ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าตะเกียบประมาณ 4 กิโลเมตร กิโลเมตรที่ 36 เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร ภูมิทัศน์ โดยรอบมีความสวยงาม สามารถเล่นน้ำ พายเรือ ตกปลา ขี่จักรยาน เดินป่า พักแรมกางเต็นท์บริเวณริมอ่างเก็บน้ำได้ เหมาะเป็นสถานที่เล่นกีฬาทางน้ำและพักผ่อนชมธรรมชาติ ใกล้บริเวณอ่างเก็บน้ำมีศาลเจ้าพ่อเขากา ตามตำนานเล่าว่าเคยเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสินซึ่งรบเก่งมาก สมัยที่ท่านไปตีเมืองจันทบุรี แล้วมาเสียชีวิตที่นี่ จึงได้ตั้งศาลไว้เป็นอนุสรณ์ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านบริเวณนั้น และมีงานประจำปีในวันขึ้น3 ค่ำ เดือน 3 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักชลประทานที่ 9 โทร. 0 3850 8242

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ากระบกคู่

ตั้ง อยู่บนเส้นทางสาย 3259 (พนมสารคาม-ท่าตะเกียบ) ก่อนถึงอำเภอท่าตะเกียบ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นสถานที่วิจัยเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่หายากใกล้จะสูญพันธุ์ เปิดเป็นสถานที่ศึกษาวิจัยแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจภายในสถานีมีลิง ชะนี ค่าง หมี นกยูง นกเป็ดก่า ฯลฯ หากจะเข้าชมเป็นหมู่คณะควรจะติดต่อล่วงหน้า หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ากระบกคู่ โทร. 08 9589 9167


ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน (วนเกษตร) หรือ บ้านศานติธรรม

ตั้งอยู่ตำบลลาดกระทิง ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันธุ์ไม้กว่า 700-800 ชนิด เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ภายในมีเรือนไม้แบบไทย มุงด้วยกระเบื้องว่าว ใต้ถุนสูงสำหรับประชุมหรือบรรยาย ชั้นบนใช้เก็บและแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านวัตถุโบราณ ของใช้รุ่นเก่าต่างๆ ด้านหลังบ้านมียุ้งข้าวจำลองและอุปกรณ์นวดข้าว สีข้าว บริเวณบ้านส่วนหนึ่งจัดไว้เป็นที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน มีลานสันทนาการ และบริเวณทำกิจกรรม เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาวิถีชีวิตการพึ่งพาตนเองแบบธรรมชาติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม โทร. 0 3859 7441, 0 3859 7715 การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 3245 (พนมสารคาม-สนามชัยเขต) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3259

 

วัดพระธาตุวาโย (วัดห้วยน้ำทรัพย์)

ตั้ง อยู่หมู่ 2 ตำบลลาดกระทิง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3259 (สายสนามชัยเขต – ท่าตะเกียบ) ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 9 กิโลเมตร หน้าวัดจะสังเกตเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆัง ประดับด้วยกระจกสีเหลือง น้ำเงิน ขาว งดงามแปลกตา ด้านในเจดีย์มีพระพุทธรูปจำนวนมาก และภาพเขียนสีน้ำมันเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ มีบันไดขึ้นไปด้านบนได้หลายชั้น ชั้นบนสุดจะมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบและอ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สภาพโดยรอบคงความเป็นธรรมชาติเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดระหว่างเวลา 08.00-17.00 น.

 

เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ(มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรม)


ประดิษฐานอยู่ที่สมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา ถนนศุภกิจ เป็นรูปยืนองค์ลอย สูงประมาณ 1 เมตรเศษ หนัก 40 กิโลกรัม ทำจากเซรามิก เมื่อปี พ.ศ. 2540 มีคนพบลอยน้ำมาติดฝั่งบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ชาวแปดริ้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่แห่งนี้ มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสเดินทางไปสักการะเป็นประจำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 08 5013 0946

เขื่อนทดน้ำบางปะกง

ตั้งอยู่บริเวณบ้านไผ่เสวก ตำบลบางแก้ว ห่างจากตัวเมืองไปตามลำน้ำบางปะกง ประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เส้นทางฉะเชิงเทรา-บางคล้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกง เป็นเขื่อนป้องกันน้ำเค็ม ใช้อุปโภคบริโภค และจัดสรรน้ำเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน

เป็น พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ 643,750 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางของพื้นที่ป่าผืนใหญ่รอยต่อ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และปราจีนบุรี เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของภาคตะวันออก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงทางด้านจังหวัดฉะเชิงเทรา คลองโตนดจังหวัดจันทบุรีและแม่น้ำประแสร์ในจังหวัดระยอง สภาพภูมิประเทศทั่วไปมีความลาดชันไม่มากนัก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 30-150 เมตร ยอดเขาสูงสุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตรักษาพันธุ์ฯ คือ เขาสิบห้าชั้น มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 802 เมตร

พื้นที่ป่าปกคลุมเป็นบริเวณกว้างใหญ่ มีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้าง กระทิง กวาง เก้ง วัวแดง ชะนีมงกุฎ เม่น และนกพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกกก นกแต้วแล้วธรรมดา นกเขาใหญ่ เหยี่ยวขาว เป็นต้น และในพื้นที่สำนักงานเขตรักษาพันธุ์ฯยังเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยสัตว์ป่า แห่งแรกของภาคตะวันออกและเป็นแหล่งที่สองของประเทศไทย รองจากสถานีวิจัยสัตว์ป่านางรำที่ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี บริเวณหุบเขาร่มรื่นและเย็น ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม สามารถชมผีเสื้อได้ เช่น ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อหางกระดิ่งแววมยุรา ผีเสื้อเจ้าป่า เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมี น้ำตกอ่างฤาไน หรือ น้ำตกบ่อทอง อยู่ที่หน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทอง เกิดจากคลองหมากบนเขาอ่างฤาไน เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปี แต่ควรไปในช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาวน้ำจะค่อนข้างเยอะ ห่างจากที่ทำการเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนประมาณ 40 กิโลเมตร มีทางเข้าจากบริเวณบ้านหนองคอก เส้นทางต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ รถยนต์ธรรมดาไม่สามารถขึ้นได้ ตัวน้ำตกอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่าน้ำตกบ่อทองประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ศึกษา ธรรมชาติอย่างแท้จริง และ น้ำตกเขาตะกรุบ ขึ้นอยู่กับหน่วยพิทักษ์ป่าเขาตะกรุบ เลยจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนประมาณ 30 กิโลเมตร การเดินทางไปน้ำตกค่อนข้างสูงชันต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

อัตราค่าเข้าเขตรักษาพันธุ์ฯ ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

สถานที่พัก มีบริการบ้านพักและสามารถกางเต็นท์ได้ (ต้องนำมาเอง) เสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ขนาดไม่เกิน 4 คน ราคา 50 บาท/คืน และเกิน 4 คน ราคา 100 บาท/คืน การเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควรปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่าง เคร่งครัด ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะต้องทำจดหมายขออนุญาตล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน เรียน ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

นำรถยนต์เข้าเขตรักษาพันธุ์ฯ รถจักรยาน 10 บาท รถจักรยานยนต์ 20 บาท รถยนต์ 60 บาท รถ 6 ล้อ 100 บาท รถ 10 ล้อ 200 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02561 4292 ต่อ 658, 659 หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน โทร. 0 3850 2001

การเดินทาง จากกรุงเทพฯใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
รถยนต์ จากตัวเมืองฉะเชิงเทราใช้เส้นทางสายฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม จากอำเภอพนมสารคามไปตามทางหลวงหมายเลข 3245 (พนมสารคาม-สนามชัยเขต) จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3259 ผ่านอำเภอท่าตะเกียบสู่บ้านหนองคอก ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วไปตามเส้นทางบ้านหนองคอก-กิ่งอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว อีกประมาณ 20 กิโลเมตร จะถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนและสถานีวิจัยสัตว์ป่า ฉะเชิงเทราซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน

รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-พนมสารคาม แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสายฉะเชิงเทรา-คลองหาด ลงหน้าสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน

หมายเหตุ : ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีบริการรถส่องสัตว์ นั่งได้ 60 คน ใช้เวลา 30-40 นาที ที่บริเวณถนน 3259 มีการปิดถนนเพื่อให้สัตว์ป่าเดินหาอาหาร ระหว่างเวลา 21.00-05.00 น. สัตว์ที่พบเห็นได้แก่ ช้าง กระต่าย เก้ง เม่น เป็นต้น

 

สวนมะม่วง

ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่มีการปลูกมะม่วงมากที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 86,000 ไร่ อำเภอที่ปลูกมากที่สุด คือ อำเภอบางคล้า และอำเภอแปลงยาว มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ แรด เขียวเสวย น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ และทองดำ เป็นต้น มะม่วงจะเริ่มออกในเดือนมีนาคม ทางจังหวัดได้จัดงานมะม่วงและของดีเมืองแปดริ้วเป็นประจำทุกปี สำหรับผู้ที่สนใจจะเที่ยวชมสวนมะม่วง ติดต่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า โทร. 0 3854 1003 หรือ คุณมานพ แก้ววงษ์นุกูล ประธานชมรมสวนมะม่วงฉะเชิงเทรา โทร.0 3858 3734, 08 9938 9097

อนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

ตั้ง อยู่ถนนศรีโสธรตัดใหม่ ตรงข้ามสัมมนาคารบางปะกงปาร์ค (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์) รูปปั้นทำด้วยโลหะหล่อสูง 2.65 เมตร ประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8มิถุนายน พ.ศ.2542 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นชาวแปดริ้ว เป็นนักปราชญ์ทางด้านภาษาไทย ตลอดชีวิตท่านได้รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาตั้งแต่สมัยรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านแต่งโคลงสุภาษิต คำประกาศราชพิธี แบบเรียนภาษาไทยหลายเล่มเพื่อใช้ในการสอน เช่น มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังคโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ นับเป็นแบบเรียนภาษาไทยที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับเยาวชนไทยในยุคนั้น

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations