www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  


CHAINAT

CHAINAT : General Information

      Chainat is located on the east bank of the Chao Phraya River. The community was moved from the old site at Sankhaburi in the reign of King Rama IV. Chainat was an important town used several times as a base to confront the Burmese army. Every time, the Burmese were defeated, thus originating the name of Chainat which means a place of victory.
avis


    Chainat occupies an area of 2,469 square kilometres and is administratively divided into 6 districts: Amphoe Muang Chai Nat, Amphoe Hankha, Amphoe Manorom, Amphoe Sankhaburi, Amphoe Sapphaya, Amphoe Wat Sing, and 2 sub-districts: King Amphoe Nong Mamong and King Amphoe Noen Kham.

Distances from Amphoe Muang to Other Districts :

  1. Hankha 35 kilometres
  2. Manorom 14 kilometres
  3. ]Sankhaburi 27 kilometres
  4. Sapphaya 21 kilometres
  5. Wat Sing 22 kilometres
  6. Nong Mamong 42 kilometres
  7. Noen Kham 48 kilometres

CHAINAT : How to get there

Car

From Bangkok, take Highway No. 1 (Phahonyothin Road) and Highway No. 32 passing Ang Thong, Sing Buri, and turn left at Km. 183 to Chainat, a total distance of 194 kilometres.

Bus

From Bangkok, there are both air-conditioned and non air-conditioned buses to Ang Thong. Buses leave Mochit 2 Bus Terminal daily from 5.10 a.m.-5.30 p.m. It takes two and a half hours for the trip. Contact Transport Co. Ltd, Tel: 0 2537 8055; Chainat Tour, Tel: 0 2936 3608 or 0 5641 2264.

CHAINAT : Activities

Chao Phraya Dam

The nation’s first large dam is located at the bend of the Bang Krabian River, Mu 3, Tambon Bang Luang. With a total length of 237.5 metres and a height of 16.5 metres, this reinforced concrete dam is built across flowing water and consists of 16 spillways. There is a 14-metre-wide watergate, where small or big marine craft can pass through. His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit presided over the opening ceremony on 7 February 1957. Chao Phraya Dam is beautiful and during January - February, the reservoir over the dam site is the habitat to thousands of waterfowl. Water is released from the Northern region to the Central lower basin and the Gulf of Thailand for the purposes of irrigation, agriculture, conservation of marine animals, and generating hydroelectric power for the province.

Chao Phraya Dam provides accommodation of 19 rooms at a rate of 600 Baht. More details are available at Tel. 0 56411559 ext. 210.

To get there: From Amphoe Mueang, travel along Highway No. 304. Turn left for Amphoe Sapphaya and proceed another 6 kilometres. It is also accessible via the Bangkok - Amphoe Wat Sing bus, which passes the Chao Phraya Dam, bus No. 1061 Chai Nat - Pho Nang Tam, and bus No. 110 Sing Buri - Chai Nat.


Wat Pak Khlong Makham Thao

This is an old temple situated at the mouth of Khlong Makham Thao, which runs into the Tha Chin River at Amphoe Wat Sing, 25 kilometres northwest of Chainat. The shady temple offers pleasant scenery and houses mural paintings made by Krom Luang Chumphon Khet Udomsak, the father of the Thai navy.


Wat Phra Borommathat Worawihan

This is an old temple on the bank of the Chao Phraya River. Located 4 kilometres from the town, it can be accessible by Route Nos. 340 and 3183. There is an old pagoda housing Lord Buddhas relics. It had been originally constructed with laterite in the Khmer period and was renovated in the Ayutthaya and Rattanakosin periods.

Within the precincts of the temple is the Chainat Muni National Museum which displays several kinds of artifacts discovered in the town including Buddha images of different postures, as well as Thai and Chinese ceramics. It also exhibits various types of votive tablets.

 

Chainat Bird Park

This is located 4 kilometres before arriving in Chainat. Birds of more than 100 species live in a huge cage which maintains a natural environment. The park also has an aquarium which has a collection of various kinds of freshwater fish found in the Chao Phraya River. Local products such as bird models, wickerwork, and pomelo is available at the shops in the park.

Wat Phichaiyanawat (Wat Ban Chian)

It is an ancient temple located at Tambon Ban Chian, 38 kilometres from the provincial town of Chai Nat. Proceed via Highway No. 3211 to Km. 2 - 3. It is presumed to have been built in the mid-Ayutthaya period, dating back to at least 300 years ago. The ordination hall or Phra Ubosot built in the middle of the pond enshrined the principle Buddha image of Luangpho To, which is in the posture of accepting offerings from an elephant and a monkey. Made of stucco, the image is sitting in the European style and measures 4.54 metres in height. It is presumed that while creating Luangpho To’s image, the city was in turmoil from a war with the Burmese, who marched through this area. The annual gild ceremony or covering the Buddha image with gold leaf takes place during Magha Puja Day and the Loi Krathong Festival.

Wat Phra Kaeo

Wat Phra Kaeo is another ancient temple housing a beautiful square-based stupa. Within the temple ground also houses a high stupa in a harmonious blend of the Lawo and late Dvaravati styles, as well as a relic chamber with a recessed base in the Sukhothai and Sri Vijaya styles.

Situated at Mu 10, Tambon Phraek Si Racha, which is about 23 kilometres off the provincial town of Chai Nat, Wat Phra Kaeo is another ancient temple housing a beautiful square-based stupa. Within the temple ground also houses a high stupa in a harmonious blend of the Lawo and late Dvaravati styles, as well as a relic chamber with a recessed base in the Sukhothai and Sri Vijaya styles. In front of the stupa stands a Buddha image hall known as Wihan Luangpho Chai, where a delicately carved sandstone lintel was found at the back of the image. This lintel depicts an image of the God Indra riding the elephant named Erawan inside a stylized shelter in a distinctive Khmer style, which dates back to more than 1,000 years ago. It is believed that at the decline of the Khmer empire, someone must have taken this artefact from somewhere and carved the Buddha image out of it. However, the head of the elephant is overturned, its trunk pointing upward, as a riddle that in order to be enlightened like the Lord Buddha “one must overcome greed, hatred, and ignorance to find true happiness.”

Wasan Crocodile Farm

It is located at No. 121, Mu 3, Tambon Makham Thao. From Amphoe Mueang Chai Nat, proceed along the Chai Nat - Wat Sing route (Highway No. 3183) at Km. 24 and the crocodile farm is on the right hand side. There are different kinds of animals such as crocodiles, tigers, rays, and various bird species. It is free of charge. More details are available at Tel. 0 5646 1104.

Chai Nat Muni National Museum

Located within the temple grounds of Wat Phra Borommathat Worawihan, this archaeological museum is a 2-storey adapted Thai-style building. Downstairs displays celadon Buddha images, tools, and ornaments from the Dvaravati to Rattanakosin period. Most of these displayed artefacts were given by Venerable Phra Chai Nat Muni (Nuam) Suthatto, former Ecclesiastical Provincial Governor of
Chai Nat, who was the collector and had handed them over to the Fine Arts Department. While upstairs displays various Buddhist votive tablets from the Dvaravati to Rattanakosin period. The museum service hours are Wednesday – Sunday from
9.00 a.m. – 4.00 p.m. Closed on Monday, Tuesday, and national holidays. The admission fee is 10 Baht. More details are available at Tel. 0 5641 1467.

To get there: Proceed along the same route as Wat Phra Borommathat Worawihan.

Wat Intharam

This is an old temple, about 100 years old, Located by the Chao Phraya River in Tambon Taluk, Amphoe Sapphaya, 12 kilometres east of Chainat. Outstanding old structures in the temple include twin belfries and a hall for keeping scriptures. The latter, situated in the middle of a pond, has been constructed with elaborate decorative designs.

Wat Mahathat

This is an old temple of Mueang Phraek or Mueang San which was an ancient city dating back to the Dvaravati period. Sankhaburi had been also an important fort town of the Sukhothai and Ayutthaya Kingdoms. It is located by the Noi River, 20 kilometres southeast of Chainat along Route No. 340. The temple houses ruined chapels with seated Buddha images and a distinguish Lop Buri style chedi with a fluted spire like the petal of a star apple.

Wat Klai Kangwon or Khao Saraphat Si Charoen Tham

It is located at Tambon Ban Chian, 48 kilometres from the provincial town of Chai Nat. Proceed via Highway No. 3211 onto Hankha Intersection. Take a left turn for another 4 kilometres and the temple is on the right hand side. Turn right about 1.7 kilometres further and you will come across a concrete fence measuring 5,000 metres in length enclosing the temple. An ancient temple dated back to the Lop Buri period, Wat Klai Kangwon was deserted for sometime but has later undergone major restoration in 1967. On top of the hill sees ruins of an ordination hall and the Lord Buddha’s footprints, as well as, a panoramic view of the area. There is the annual Tak Bat Devo ceremony, which literally means offering of food to Buddhist monks. The celebration is an imitation of Lord Buddha’s descent from heaven, and takes place after the Buddhist Rains Retreat.


Wat Song Phi Nong


Legend has it that Chao Sam, one of the three siblings, incited the other two siblings named Chao Ai and Chao Yi against each other for the throne.

It is located 300 metres from Wat Phra Mahathat. Legend has it that Chao Sam, one of the three siblings, incited the other two siblings named Chao Ai and Chao Yi against each other for the throne. Both Chao Ai and Chao Yi died and Chao Sam became the ruler. Chao Sam then built one prang and one chedi for his late brothers. Both are presumed to have been built 600 years before the establishment of the Ayutthaya Kingdom.

Wat Karuna

Located near the Chao Phraya Dam, this temple houses a large sandstone Buddha image namely Phra Phutthamaha Sila, which is highly revered by the local people of Chainat.

Monkeys at Wat Thammikawat

Located in Tambon Pho Ngam, Amphoe Sankhaburi, this temple is 38 kilometres south of Chainat along Route No. 311 (Chainat-Sing Buri route). Its pleasant area next to the Noi River is home to a number of monkeys.

Khun San Statue

Khun San is one of the Bang Rachan folk leaders who fought against the Burmese during the Ayutthaya period. It is taken for granted that he was a Sankhaburi resident. The statue is 2.5 metres high, standing in front of the Sankhaburi district office.

Wat Thammamun

This hillside temple is located on the bank of the Chao Phraya River, 8 kilometres from Chainat. It was constructed during the Ayutthaya period and enshrines Luang Pho Thammachak, a standing Buddha image with a mixture of the Sukhothai and Ayutthaya styles. Two fairs to worship the image are held in May and October.


ชัยนาท : ข้อมูลทั่วไป

หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

     ชัยนาท แปลตามศัพท์มีความหมายว่า ชัยชนะที่มีเสียงบันลือ เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองแพรกศรีราชาใต้ปาก ลำน้ำเก่า ตั้งขึ้นหลังเมืองพันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย สร้างในสมัยพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1860-1879 เมืองๆ นี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรก หรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ มีเจ้าสามพระยาเป็นผู้ครองเมือง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยางมาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อยๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้ง และมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อ เมืองชัยนาทแห่งนี้

นอกจากชัยนาทจะเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่ปัจจุบันชัยนาทก็มีชื่อเสียงและมีสินค้าด้านหัตถกรรม การจักสาน การปั้น การทอ การทำเครื่องเบญจรงค์ ที่มีฝีมือปราณีต รูปแบบทันสมัย ราคาย่อมเยา มีตลาดการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยฝีมือของชาวบ้านกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย

ชัยนาท มีเนื้อที่ประมาณ 2,469.74 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหันคา อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอวัดสิงห์ อำเภอหนองมะโมง และอำเภอเนินขาม

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. สำนักงานจังหวัด โทร. 0 5641 1181, 0 5641 1204, 0 5641 5508
  2. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5641 1919, 0 5641 6377
  3. สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 0 5641 1734, 0 5642 1353
  4. ชัยนาททัวร์ โทร. 0 5641 2264
  5. บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 5641 2264
  6. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
  7. ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
  8. โรงพยาบาลชัยนาท โทร. 0 5641 2355
  9. ที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอเมือง โทร. 0 5641 1226

Link ที่น่าสนใจ

ททท. สำนักงานสุพรรณบุรี
http://www.tourismthailand.org/suphanburi
สำนักงานจังหวัดชัยนาท
http://www.chainat.go.th

 

ชัยนาท : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของจากกรุงเทพฯไป จ. ชัยนาท

รถยนต์
ชัยนาทอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 194 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณกิโลเมตรที่ 50 มีทางแยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน อ่างทอง สิงห์บุรี ประมาณกิโลเมตรที่ 183 มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ไปชัยนาทอีก 10 กิโลเมตร หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1543

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและรถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) เริ่มบริการตั้งแต่เวลา 05.10-17.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2537 8055 บริษัท ชัยนาท ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3608 ที่ จ.ชัยนาท โทร. 0 5641 2264 หรือเว็บไซต์ www.transport.co.th

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.ชัยนาท
การเดินทางจากอำเภอเมืองชัยนาทไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอเมือง - กิโลเมตร
  2. อำเภอมโนรมย์ 14 กิโลเมตร
  3. อำเภอสรรพยา 21 กิโลเมตร
  4. อำเภอวัดสิงห์ 22 กิโลเมตร
  5. อำเภอสรรคบุรี 27 กิโลเมตร
  6. อำเภอหันคา 35 กิโลเมตร
  7. อำเภอหนองมะโมง 42 กิโลเมตร
  8. อำเภอเนินขาม 48 กิโลเมตร

ชัยนาท : วัฒนธรรมประเพณี

งานรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.5
วันที่ 17 เมษายน 2552
ณ วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

กิจกรรม
การจัดนิทรรศการ ร.5 การทำบุญเลี้ยงพระ

สอบถามรายละเอียด
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้อย โทร. 0 5694 9638

โครงการเสริมสร้างสุขภาพ สร้างความมั่นคงของครอบครัว และงานประเพณีสงกรานต์ตำบลหาดอาษา
วันที่ 13 เมษายน 2552
ณ บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหาดอาษา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

กิจกรรม
พิธีเปิดและการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มผู้สูงอายุ บริการตรวจโรค จ่ายยา โดยทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่โรงพยาบาลสรรพยา การแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพ การแข่งเรือยาวประเพณี 5 ฝีพาย กิจกรรมประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี กิจกรรมประกวดเด็กสุขภาพดี กิจกรรมประกวดครอบครัวอบอุ่น พิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และมอบผ้าอาบน้ำแด่ผู้สูงอายุ พิธีมอบรางวัลชนะเลิศการแข่งขันเรือยาว ฯลฯ

สอบถามรายละเอียด
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหาดอาษา โทร. 0 5643 2584

งานประเพณีวันผู้สูงอายุ ชัยนาท
13 เมษายน 2552
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

กิจกรรม
ทำบุญปิดทองพระ ชมมหรสพ ชมการแข่งขันกีฬามวยไทย

สอบถามรายละเอียด
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเฒ่า โทร. 0 5646 1404

งานทำบุญประจำปีวัดทรงเสวย จังหวัดชัยนาท
วันที่ 13 – 15 เมษายน 2552
ณ วัดทรงเสวย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

กิจกรรม
การจัดงานประเพณีสงกรานต์ การก่อเจดีย์ทราย ทำบุญปิดทองพระ ชมมหรสพ ประเพณีแข่งเรือยาว รำวงย้อนยุค เป็นต้น

สอบถามรายละเอียด
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้อย โทร. 0 5694 9638

งานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรม จังหวัดชัยนาท
วันที่ 17 เมษายน 2552
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้อย ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

กิจกรรม
ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ กีฬาพื้นบ้านผู้สูงอายุ การเล่นสงกรานต์แบบไทย

สอบถามรายละเอียด
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้อย โทร. 0 5694 9638

ชัยนาท : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ


วัดปากคลองมะขามเฒ่า (วัดหลวงปู่ศุข)

ตั้ง อยู่ที่หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา สาเหตุที่เรียกว่า “วัดปากคลองมะขามเฒ่า” เนื่องจากเดิมมีต้นมะขามเก่าแก่อยู่ต้นหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัด วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามน่ารื่นรมย์ และมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องด้วยหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุขเป็นเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปต่างเลื่อมใสศรัทธาท่านในด้าน ความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยตำนานที่ยังเล่าขานกันสืบมาในเรื่องของวิชาอาคมและเครื่องรางของขลัง ความนิยมในพระเครื่องหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่ายังมีอยู่สูงมากใน ปัจจุบัน แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 แต่ความเคารพศรัทธานั้นไม่เคยเสื่อมคลาย หลวงปู่ศุขยังได้สร้างพระเครื่องที่เรียกว่า “หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า” ซึ่งประชาชนนิยมนำไปสักการะบูชา

หลวงปู่ศุขได้พัฒนาวัดปากคลองมะขามเฒ่าจนมีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยความเมตตาของท่านนั้นทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมาย และท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้จนสิ้นอายุขัยด้วยวัย 76 พรรษา

ปัจจุบันวัดปากคลองมะขามเฒ่ายังมีกุฏิของท่านเป็นแบบทรงไทยโบราณ ภาพถ่ายและข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งหุ่นขี้ผึ้งและรูปหล่อของหลวงปู่ศุข พร้อมด้วยรูปหล่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาโดยทั่วกัน สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดนี้ คือ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ในพระอุโบสถติดอยู่ตามผนังเป็นภาพพุทธประวัติ ที่ทรงวาดร่วมกับข้าราชบริพาร ทั้งหมดเขียนด้วยอักษรขอมผนังด้านใต้มีภาพเขียนบอกเวลาที่เขียนไว้คือปี พ.ศ. 2433 เพื่อถวายหลวงปู่ศุข เมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถซึ่งทางวัดยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี

ความเชื่อและวิธีการบูชา ชาวจังหวัดชัยนาทและชาวไทยทั่วทุกสารทิศที่ศรัทธาในหลวงปู่ศุข เชื่อกันว่าบารมีของท่านจะช่วยดลบันดาลให้ผู้ที่มากราบไหว้ขอพรถึงวัดปาก คลองมะขามเฒ่า มีความสุขสมความปรารถนา มีสิริมงคลต่อชีวิตและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และยังเชื่อในการบูชาเครื่องรางของขลังของหลวงปู่ศุข ว่าให้คุณทั้งในด้านโชคลาภ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน เปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00-11.00 น. และ 14.00-17.00 น.

การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 25 กิโลเมตร ไปทางอำเภอวัดสิงห์ตามทางหลวงหมายเลข 3183 กิโลเมตรที่ 36–37

วัดมหาธาตุ

ตั้ง อยู่หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา เดิมชื่อว่าวัดพระธาตุ หรือวัดหัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ เมื่อ พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสและทรงมีลายพระหัตถ์บันทึกไว้ โบราณสถานที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระปรางค์กลีบมะเฟือง (พูมะเฟือง) สร้างด้วยอิฐถือปูน 3 องค์ พระปรางค์มีลักษณะคล้ายกลีบมะเฟือง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม (ฐานเขียง) เป็นศิลปะสมัยลพบุรี กรมศิลปากรได้บูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2526 นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ศิลปะแบบลพบุรีและแบบอยุธยาตอนต้น ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเก็บรักษาสิ่งของโบราณต่าง ๆ

การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 20 กิโลเมตร จากอำเภอเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 340 ถึงทางแยกเข้าอำเภอสรรคบุรี จากที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี บริเวณหอนาฬิกา เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 500 เมตร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

ตั้ง อยู่ในบริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น ชั้นบน จัดแสดงพระพิมพ์สมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้นล่าง จัดแสดงพระพุทธรูปสังคโลก เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปโบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ได้รับมอบจากท่านเจ้าคุณพระชัยนาทมุนี (นวม) สุทตฺโต อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นผู้รวบรวมเก็บรักษาและได้มอบให้กรมศิลปากร ในภายหลังกรมศิลปากรจึงตั้งชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เปิดให้ชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมชาวไทย 5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5641 1467

การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับวัดพระบรมธาตุวรวิหาร

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

ตั้ง อยู่ที่บ้านท้ายเมือง ตำบลชัยนาท เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ภายในวัดนี้มีเจดีย์พระบรมธาตุรูปแบบสถาปัตยกรรมอู่ทองบรรจุพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดชัยนาท และจังหวัดใกล้เคียง มีงานเทศกาลสมโภชพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 6 เป็นประจำทุกปี

สิ่งสำคัญในวัดพระบรมธาตุคือ
• เจดีย์พระบรมธาตุ องค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์เจดีย์เป็นทรงกลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งต่อมุมขึ้นไปรองรับ ใต้องค์ระฆังมีซุ้มจระนำเล็กๆทั้ง 4 ด้าน ภายในประดิษฐาน พระปรางค์นาคปรกทั้ง 4 ทิศ หน้าบันของซุ้มจระนำมีสองชั้นซ้อนกัน มีปูนปั้นประดับเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือฐานบัวหงาย 4 กลับอยู่ตรงกลาง หน้าตักกว้าง 23 เซนติเมตร สูงจากฐานจรดพระเศียร 31 เซนติเมตร ทรงจีวรแบบห่มตอง หรือห่มเฉียง ผ้าสังฆาฏิพาดลงมาเกือบถึงฝ่าพระบาท ลักษณะของพระเศียรและพระพักต์มีเค้าของศิลปะลพบุหรือหรืออู่ทองรุ่นแรก ระหว่างซุ่มจระนำนี้มีผนังทำเป็นมุมเหลี่ยม ขึ้นไปรองรับองค์ระฆัง และเหนือมุมระหว่างหน้าบันของซุ้มจระนำยังทำเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอีกหลายองค์เรียงรายอยู่โดยรอบ จากนั้นถึงองค์ระฆังทรงกลมรองรับ ปลีย่อส่วนบนสุดมีลักษณะเป็นโลกประดับ ทำนองเป็นฉัตรประดับอีกต่อหนึ่ง จัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบอู่ทอง(อยุธยาตอนต้น)ที่นิยมใช้เจดีย์เล็กๆประดับ

• วิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด สันนิฐานว่าเดิมคงสร้างขึ้นพร้อมเจดีย์พระบรมธาตุ แต่มีร่องการการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในระยะหลัง ปัจจุบันพระวิหารดังกล่าวเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 24 เมตร

• พระอุโบสถ อยู่ทางด้านใต้ติดกับพระวิหาร เชื่อว่าสร้างกับพระวิหาร มีร่องรอยการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร มีพระประธานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปแบบสรรคบุรี ลงรักปิดทองขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปแบบสรรคบุรีโดยเฉพาะ รอบนอกพระอุโบสถมีใยเสมาสลักด้วยหินทราย เป็นศิลปกรรมแบบอยุธยาปรากฏอยู่

• แผ่นศิลาจารึก สมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระซึ่งมีข้อความกล่าวงถึงการฉลองการบูรณปฏิสังขรณ์ พระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบันแผ่นศิล&#