www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

LOPBURI

LOPBURI : General Information

    A province in the central region of Thailand, Lop Buri Province is located approximately 154 kilometers north of Bangkok.
avis


    Covering an area of 6,199 square kilometers, the province is situated on the western end of the Khorat Plateau. It borders Chaiyaphum and Nakhon Ratchasima Provinces on the east, Phetchabun and Nakhon Sawan Provinces on the north, Sing Buri, Ang Thong, Ayutthaya and Saraburi Provinces on the South. Lop Buri Province is one of several provinces in central Thailand where many significant historical artifacts and prehistoric settlements have been discovered.

Formerly known as Lawo, Lop Buri had for centuries been ruled by several Kingdoms. The remains of Lop Buri, dating over 1,200 years attests to the strategic significance of Lop Buri to many rulers. These relics, ranging from the Bronze Age to the Ratanakosin period, have made Lop Buri a blend of east and west and ancient and modern, revealing the citys turbulent and alluring history and a glimpse of Thailands extraordinary past.

The Past

Lop Buri was first developed into a major town during the Dvaravati Kingdom (6th 11th centuries). Most historians believed the first settlers of the town were the Lawa (an ethnic group related to the Mons) which is the reason for naming the town Lawo. In 10th century, the town came under absolute sovereignty of the Khmers who made it one of their oldest provincial capitals. The Khmer Mahayana Buddhism style was a major influence on the towns architecture and was later commonly referred to as Lop Buri Style. Remains of KhmerHindu architectural motifs found in the city include the Shivas Shrine (Prang Khaek), San Phra Kan, Phra Prang Sam Yot, and Wat Phra Si Mahathat.

It was in the late 13th century when the Thais, who migrated from the North, fought against the Khmers and declared their independence. Since then, Lop Buri has been ruled by Thai Kings.

Lop Buri first became known when King U-Tong, who established the Ayutthaya Kingdom, sent his son, Ramesuan the Crown Prince, to govern the city. The Prince commanded the building of moats, city walls and battlement towers.
Lop Buri reached its height in 1664 when King Narai the Great of Ayutthaya named Lop Buri the Kingdoms second capital, which came after a threat of invasion from Hollanders. King Narai the Great rebuilt Lop Buri with the help of French architects and ruled the Kingdom from there, instead of Ayutthaya., Thus the citys architecture mostly reflected a mixture of Thai and Western styles, which can be seen today in the remains of the Royal Palace, the Royal Reception House etc.

Lop Buri gradually faded from the political scene with the death of King Narai the Great. It, however, made a comeback approximately 200 years later when King Rama IV of the Ratanakosin Era decided to restore the city. He also commanded the restoration of the old Palace and named it Phra Narai Ratchaniwet (Narai Ratchaniwet Palace) in honor of King Narai the Great.

After Thailands democratic revolution, Marshall Poh Pibulsongkram rebuilt a military camp near the citys railroad, therefore, dividing the city into the old (ancient) and new zone.

The Present

Today, Lop Buri is administratively divided into 11 Amphoes (Districts) including Muang, Ban Mi, Chai Badan, Khok Charoen, Khok Samrong, Phatthana Nikhom, Tha Luang, Tha Wung, Sa Bot, Lam Sonthi and Nong Muang.

Apart from historical attractions, Lop Buri provides opportunities for nature lovers to visit its famous Sap langka Wildlife Sanctuary in the north.
Another special landmark of Lop Buri is monkeys. To tourists, the city is known as the land of monkeys. To the people of Lop Buri, the monkeys are descendants of Hanuman who, according to the Ramayana, built Lop Buri as his kingdom. The food offerings in San Phra Kan drew the monkeys from nearby forests. These mischievous monkeys have taken over several attractions such as San Phra Kan and Phra Prang Sam Yot. A big feast for the monkeys on the last Sunday of November is held annually at Phra Prang Sam Yot and is one of the most attractive and most talked about tourist events in Thailand.

Distances from Amphoe Muang to Other Districts:

  1. Tha Wung 15 kms.
  2. Ban Mi 32 kms.
  3. Khok Samrong 35 kms.
  4. Phatthana Nikhom 51 kms.
  5. Nong Muang 54 kms.
  6. Sa Bot 65 kms.
  7. Khok Charoen 77 kms.
  8. Tha Luang 83 kms.
  9. Chai Badan 97 kms.
  10. Lam Sonthi 120 kms.

LOPBURI : How to get there

By Car:

From Bangkok: The trip from Bangkok to Lop Buri by car may take up to 2 hours. It is possible to either drive along Highway No.1 via Saraburi (total distance is 153 kilometers), or use Highway No. 32 via Ayutthaya, and travel further along Highway No. 347 to Lop Buri via Tha Ruea District.

By Bus:

From Bangkok: Air-conditioned coaches and non air-conditioned buses leave Bangkok's Northern Bus Terminal (Mo Chit 2 Bus Terminal) every 20 minutes from 5.30 a.m. until 8.30 p.m. The ticket costs 62 baht (ordinary bus) and 85 bahts (air-conditioned). The journey takes 3 hours. Call 02 936 2852-66 for more information.

From Ayutthaya: There are buses that leave every 10 minutes from Ayutthaya Bus Terminal to Lop Buri. The price is half of the fare from Bangkok.

Lop Buri can be reached by taking buses from Kanchanaburi (the west), Suphan Buri, Sing Buri, Ang Thong (the central), and Nakhon Ratchasima (the east).


By Train:

From Bangkok: Ordinary northern-route (Bangkok-Chiang Mai) trains leave Bangkok's Hua Lamphong Railway Station at 7.05 a.m. and 8.30 a.m. Both are third class only. Rapid trains leave the station 5 times a day (Travel time is 2.5 hrs.) For more updated schedules and reservations, call 1690, 0 2223 7010, 0 22237020 or visit www.railway.co.th

From Ayutthaya: regular 3rd class trains depart Ayutthaya to Lop Buri. Travel time is 1 hour.

Travelling in Lop Buri:

There are plenty of Song thaews running along Wichayen and Phra Narai Maharat Roads connecting the old and new towns. The cost is 5 baht per person. City buses are also available. It costs 4 baht per passenger. Sam lors will go anywhere in the old town from 30 to 50 baht.

LOPBURI : Activities

Khuen Pa Sak Cholasit

The biggest reservoir in Central Thailand, the Pa Sak Cholasit Dam was constructed as part of the Maenam Pa Sak Royal Development Project, an initiative of King Bhumibol. Constructed in 1989, the earth (soil)-filled dam with a clay core was granted the name by His Majesty the King who presided over its opening on 25 November 1999.

The biggest reservoir in Central Thailand, the Pa Sak Cholasit Dam was constructed as part of the Maenam Pa Sak Royal Development Project, an initiative of King Bhumibol. Constructed in 1989, the earth (soil)-filled dam with a clay core was granted the name by His Majesty the King who presided over its opening on 25 November 1999. The Dam stretches over Lop Buri and Saraburi Provinces. It is 4,860 meters long with a capacity of 785 million cubic meters.

Pa Sak Cholasit Dam is a major source of water for household, agriculture and industrial use in Lop Buri and Saraburi Provinces. Moreover, it helps prevent flooding on the Pasak riverside and Bangkok and its outskirts. The dam also provides large-scale, fresh-water fish for locals.

An emerging tourist attraction, Pa Sak Cholasit Dam offers a unique opportunity to travel across the reservoir by train. The railway was constructed along the dams ridge which leads to Pa Sak Basin Museum and a scenic lookout point above the dam. The journey offers a breathtaking and refreshing view of the reservoir, and also a bed of sunflowers. It serves daily from 7.30 a.m.-18.00 p.m. The fare is 25 baht for adult and 10 baht for children.

Getting to Pa Sak Cholasit Dam is easy. By car from Lop Buri city, take Highway No. 3017 (Phatthana Nikhom Wat Mueang) for a total distance of 60 kilometers. It is highly recommended to take the trip by train during November January. The State Railway of Thailand operates a special route to and from Bangkok-Pa Sak Cholasit Dam every Saturday, Sunday and public holidays. For more information, contact tel: 02 223 7101 or 02 223 7020.

San Phra Kan

Another former Brahman Shrine located next to Wat Phra Prang Sam Yot, across the railway station, is San Phra Kan. The compound is comprised of both old and new sections. The former can be dated back to the Khmer period, as attested by the laterite mound that was found. The new section, constructed in 1951, contains a famous object of worship a four-armed Vishnu figure fixed with a Buddha’s head. Located nearby is a guardian house in which various Buddha and Hindu images are enshrined. A troop of monkeys begging for food usually surrounds the Shrine. Sometimes, they can become offensive to visitors, especially those giving out food for their photographs.


King Narai the Great Shrine

The Statue of King Narai the Great is located near the town entrance. It was built to honor King Narai the Great in forging ahead technological development, foreign relations and prosperity to Lop Buri and the Ayutthaya Kingdom. He was the first monarch to bring modern technology into use such as the use of terra-cotta pipes and construction of celestial observatory. He is also remembered for his neo-foreign policy as he established close diplomatic ties with the European powers.


Phra Narai Ratchaniwet (King Narais Palace)

The palace was built in 1665 and 1677, when King Narai the Great decided to make Lop Buri the second capital of the Ayutthaya Kingdom. Although the buildings were designed by with the contributions of French architects, the Khmer influence was still strong. The Palace was a perfect blend of the both world, an awesome mixture of Khmer-European styles.

After the death of King Narai the Great in 1688, the palace was deserted. It was not until the reign of King Rama IV during the Ratanakosin era, that the Palace was restored and renamed Narai Ratchaniwet.

The Palace is located in the town center, between Ratchadamnoen Road and Pratu Chai Road. The whole complex has been turned into the Lop Buri National Museum (commonly known as King Narai National Museum).

The Palace can be accessed through the Pratu Phayakkha, which is currently a town park, located off Sorasak Road. The Palace opens Wednesdays through Sundays from 7.30 a.m. to 5.30 p.m.

Within the Palace lies a number of compounds containing pavilions, some built during the reign of King Narai and others constructed during the reign of King Rama IV.

Structures built during the reign of King Narai the Great include:

Chantara Phaisan Pavilion

The first Palace of King Narai the Great in Lop Buri, the Pavilion was subsequently turned into an audience hall after he moved his residence to the Suttha Sawan Pavilion. The fact that the building is of pure Thai architectural style indicates that no French architects were involved in the design and construction process. King Rama IV (King Mongkut of the Ratanakosin era) restored the building in 1863. The Pavilion was once used by the privy-council as a meeting hall. Now, it serves as a hall displaying archaeological and art objects, especially the Lop Buri-style stone Buddha images, historic paintings from the era of King Narai the Great and Buddhist art objects from the Ayutthaya and Ratanakosin period.

Phra Khlang Supharat

This compound was built as a place to store royal treasures and royal goods sold to foreign merchants during the late 1600s. It is commonly known as the Twelve Treasure Houses.

Elephant and Horse Stables

This compound is located close to the wall separating the outer and middle sections of the Palace.

The Water Reservoir

Constructed during the reign of King Narai the Great, the reservoir stored water which came from a freshwater lake Tale Chupsorn, through the well designed terra cotta pipes. Tale Chupsorn was the main lake supplying drinking water to Lop Buri residents.

The Dusit Sawan Thanya Maha Prasat Hall

Constructed under the royal command of King Narai the Great, the Hall was formerly used by King Narai as an audience hall receiving high-ranking foreign ambassadors. This was the place where the King received Chevalier de Chaumont, the representative of King Louis XIV of France. The Hall was built in a perfect blending of French and Thai architectural styles.

The Suttha Sawan Pavilion

The Pavilion was once located amidst a beautifully decorated garden with ponds and fountains. This was the place where King Narai the Great resided and died on 11 July 1688. Apart from the Pavilion, which had been restored by King Mongkut, only the remains of man-made hills and fountains can be seen.

Kraison Siharat Hall

Commonly known as Phra Thinang Yen, the Hall is located on an island in a dried up lake, Thale Chupson, which once supplied fresh drinking water to the people of Lop Buri. Kraison Siharat Hall was used as the residence of King Narai, Jesuits and envoys of King Louis XIV of France when they came to witness a lunar eclipse on 11 December, 1685

Phra Chao Hao Building

Built by King Narai the Great, the building is located to the south of the outer section of the palace. Serving as the Kings private audience hall, the building featured Thai-style architecture of which it is currently possible to see only the remains of wall sections with visible decorative motifs at the doors and windows.

Banquet Hall

Surrounded on three sides by ponds, the Hall was built to entertain important foreign visitors. One of the remains includes a brick platform facing the Hall, which was used as a stage or theater possibly for shadow plays or dances indicating that the place was once used as an entertainment compound.

Phiman Mongkut Pavilion

This pavilion was a three-story brick building where King Rama IV (King Mongkut) resided when he visited Lop Buri during the renovation of the Palace. Connected to the pavilion are three other buildings namely Suttha Winitchai Pavilion, Chai Sattrakon Pavilion and Akson Sattrakhom. All of these buildings are now being used as the offices of the Lop Buri National Museum.

Phra Prathiap Building

A group of eight two-story buildings built behind King Mongkut's residence (Phiman Mongkut Pavilion), which were used as residences for inner court officials.

Royal Guards Residence

This is located at the entrance of the middle court.


Phra Prang Sam Yot

Located on Vichayen Road, approximately 200 meters from the railway station, Phra Prang Sam Yot is Lop Buris best known landmark and provincial symbol. A former Hindu Shrine built in the 13th century in the classic Bayon style of Khmer architecture, the compound comprises three prangs (towers) linked by a corridor. The three laterite and sandstone spires decorated with classic stucco are believed to have originally represented the Hindu Trimurti; Brahman (the creator), Vishnu (the preserver) and Siva (the destroyer). During the reign of King Narai, the shrine was converted into a Buddhist temple when a brick viharn located to the east which houses a grand U-Thong-Ayutthaya style Buddha image was probably built. Buddha images were later added to the two prangs. The temple is open at 8.00 a.m. until 6.00 p.m., admission fee is 30 baht.

Located on Vichayen Road, approximately 200 meters from the railway station, Phra Prang Sam Yot is Lop Buris best known landmark and provincial symbol. A former Hindu Shrine built in the 13th century in the classic Bayon style of Khmer architecture, the compound comprises three prangs (towers) linked by a corridor. The three laterite and sandstone spires decorated with classic stucco are believed to have originally represented the Hindu Trimurti; Brahman (the creator), Vishnu (the preserver) and Siva (the destroyer). During the reign of King Narai, the shrine was converted into a Buddhist temple when a brick viharn located to the east which houses a grand U-Thong-Ayutthaya style Buddha image was probably built. Buddha images were later added to the two prangs.

The temple is open at 8.00 a.m. until 6.00 p.m.

The admission fee is 50 baht each. A package ticket is also visiting at 150 baht each, covering admission to Vichayen House, Wat Phra Si Maha That and Kraison Siharat Hall.

Wat Phra Si Maha That

The oldest temple with tallest Prang in Lop Buri, Wat Phra Si Maha That is located behind the railway station near the San Phra Kan. The Lop-Buri style prang in front of the temple was built around 1157 when the town came under Khmer rule. The U-Thong style Buddha images on the prang and the large viharn were later added by King Narai the Great. The laterite prang still has some original lintels and stucco work intact. A number of other chedis and prangs - most of which were restored were greatly influenced by both the Sukhothai and Ayutthaya styles.

The admission fee is 50 baht each. A package ticket is also visiting at 150 baht each, covering admission to Phra Prang Sam Yot, Vichayen House and Kraison Siharat Hall

 

Lop Buri Zoo

A 25-acre zoo is well known for its interesting residents: Asian and Australian birds and mammals. The most striking feature of the zoo is the unusual family of three tigers and four dogs who live harmoniously together in the same quarters. The zoo is located behind the Army Theatre near the Sa Kaew Circle. Opens daily from 8.00 a.m. 6.00 p.m.

A 25-acre zoo is well known for its interesting residents: Asian and Australian birds and mammals. The most striking feature of the zoo is the unusual family of three tigers and four dogs who live harmoniously together in the same quarters. The zoo is located behind the Army Theatre near the Sa Kaew Circle. Opens daily from 8.00 a.m. 6.00 p.m.

King Narai National Museum

This museum was established in 1924 by with the Phra Narai Ratchaniwet as its exhibition halls. Currently, three historical buildings are used to display various art objects, including an impressive collection of Lop Buri-style sculpture and Khmer, Dvaravati, U-Thong and Ayutthaya arts. In addition, traditional agricultural tools, including ploughs, carts, grain separators and fish traps, are on display in different buildings.

The Museum opens daily except Monday and Tuesday, from 9.00a.m. to 4.00p.m.

Admission fee is 150 baht.

Museum services include: lectures, tour guides, special exhibitions, slides, videos, postcards, books and a gift shop.

Ban Hin Song Kon

Lop Buri is well-known for the production of the only best quality Din So Phong – marl - of Thailand. The source of production is at Hin Song Kon Village, Thale Chup Son Sub-district (by Khlong Chonlaprathan, around Saphan 6). It is the village where Din So Phong is produced in nearly every house. In that compound, there is white marl with a delicate and tight texture and thus, is not suitable for agriculture. However, due to local intellect, it has been used to produce Din So Phong which can be a raw material for many products such as talcum powder, cosmetics, toothpaste, furniture filler, etc. Contact Address: Thale Chup Son Subdistrict Administrative Organization Tel: 0 3661 1438

Nam Tok Wang Kan Lueang

Located approximately 12 kilometers from Lam Narai Market is a waterfall that flows all year round. Perfect for people looking for a quite and refreshing retreat from the town, the waterfall is accessible via Chai Badan Tha Luang Road (Highway No. 2089). Look for the sign of the waterfall and proceed for approximately 7 kilometers.

Kraison Siharat Hall

This hall is another residence of King Narai the Great. The hall is located on an island surrounded by Thale Chup Son, which was once a large reservoir surrounded with a dam made of stone and cement.

Kraison Siharat Hall is commonly known as Phra Thinang Yen or Thale Chup Son Hall, 4 kilometres from the centre of town.

This hall is another residence of King Narai the Great. The hall is located on an island surrounded by Thale Chup Son, which was once a large reservoir surrounded with a dam made of stone and cement. King Narai the Great commanded its construction for relaxation. According to the French chronicle, when King Narai the Great hunted elephants in the east mountain, he would return and stay at this hall. The period of its construction was unknown. However, he also welcomed his honourable guests from France at this hall. Therefore, it must have been constructed prior to 1685.

It is a one-storey hall made of bricks and cement with a cruciform plan. There was a projecting windowed portico. The windows and doors are accented in the Ruean Kaeo style, a famous one during the reign of King Narai the Great. However, the only remain is the wall.

Within the compound, there is a group of small brick buildings with pointed arched doors and windows. It is assumed to have been the residences of the guards. A mounting platform for getting on horses or elephants is situated in the front and at the back of the hall.

Phra Thinang Yen is important in terms of astronomy because King Narai the Great utilised this place for an observation of the lunar eclipse on 11 December, 1685, and witnessed the solar eclipse on 30 April, 1688, with the Jesuit priests and the first group of envoys representing King Louise XIV of France. The reason of the hall’s usage to observe the lunar eclipse as stated in the French chronicle was because it was a suitable place where a panorama of the sky could be seen. Moreover, there was enough space for the installment of equipment. There is a painting of the lunar eclipse observation drawn by a Frenchman. In the painting, King Narai the Great wore a high-pinnacled hat, and witnessed the eclipse through a telescope placed on a tripod from the window of Phra Thinang Yen. On the balcony on one side of the window were crouching aristocrats, while on the other side sat astronomers, inspecting the phenomenon through telescopes. It can be said that modern astronomy happened for the first time in Thailand here at Phra Thinang Yen in Lop Buri.

Thale Chup Son in the past was a low-lying wetland area. King Narai the Great commanded the construction of a large embankment to direct the stream from Thale Chup Son passing through the baked-clay pipe to Lop Buri. At present, a mound still appears.

The admission fee is 50 baht each. A package ticket is also visiting at 150 baht each, covering admission to Phra Prang Sam Yot, Vichayen House and Wat Phra Si Maha That

For more information, please contact Tel. 0 3641 3779, 0 3641 2510.

Wat Sao Thong Thong

Situated on Rue de France, to the north of Phra Narai Ratchaniwet, this western style viharn was believed to have originally been built by King Narai the Great as a church for Christian envoys. It was subsequently restored by King Narai the Great, who ordered the replacement of Thai windows with Western-style windows with Gothic-designs in the secondary chapel. Later on, the viharn was converted into a Buddhist temple. It contains a large seated Ayutthaya-style Buddha image. In addition, assorted Lop-Buri style Buddha images can be found on the surrounding walls.

Situated on Rue de France, to the north of Phra Narai Ratchaniwet, this western style viharn was believed to have originally been built by King Narai the Great as a church for Christian envoys. It was subsequently restored by King Narai the Great, who ordered the replacement of Thai windows with Western-style windows with Gothic-designs in the secondary chapel. Later on, the viharn was converted into a Buddhist temple. It contains a large seated Ayutthaya-style Buddha image.

In addition, assorted Lop-Buri style Buddha images can be found on the surrounding walls.

Wat Yang Na Rangsi (Lop Buri Boat Museum)

Located on the bank of the Lop Buri River, 9 kilometers south of the town center along the Lop Buri-Bang Pahan route is Wat Yang Na Rangsi. The temple is famous for its Buddha images which were made of sandstone and quartz. It is also notable for its wooden sala (a wooden teaching hall) which was built in 1927 in a typical central region style. The sala has been converted into the Lop Buri Boat Museum, where a large collection of local vessels, in particular a one-seat barge, are exhibited.

Located on the bank of the Lop Buri River, 9 kilometers south of the town center along the Lop Buri-Bang Pahan route is Wat Yang Na Rangsi. The temple is famous for its Buddha images which were made of sandstone and quartz. It is also notable for its wooden sala (a wooden teaching hall) which was built in 1927 in a typical central region style. The sala has been converted into the Lop Buri Boat Museum, where a large collection of local vessels, in particular a one-seat barge, are exhibited.

Bee Farm

The center distributes information and knowledge on Bee cultivation in Thailand. It is also a place where natural bees products including royal jelly, honey (from sunflower, natural honey extracts, etc.) and other honey-related products are on sale.

Location: Soi 24 Sai Tri, Mo 9 Phatthana Nikhom District, Lop Buri 15220
The center distributes information and knowledge on Bee cultivation in Thailand. It is also a place where natural bees products including royal jelly, honey (from sunflower, natural honey extracts, etc.) and other honey-related products are on sale.

Wat Lai

Located on the bank of Maenam Bang Kham in Tha Wung District, approximately 24 kilometers from town, the Ayutthaya-period temple is famous for its chapel. Decorated with stucco in various designs showcasing Buddhas previous life and his first sermon after attaining enlightenment, the chapel illustrates extraordinary Thai craftsmanship which is truly exquisite. There is also the Phra Si Ari Buddha image which local people have worshipped for generations.

Wat San Paulo

A Jesuit Church founded by the Portuguese during the reign of King Narai the Great, Wat San Paulo is situated approximately 3 kilometers east of town, off of Ramdaecho Road. The word San Paulo was probably dubbed by Thais especially when they pronounced Saint Paul or Saint Paulo in Thai style. Visible in the site are the remains of a brick wall and stucco tower, as well as an octagonal, 3-story, observatory.

Wat Nakhon Kosa

Located north of the railway station near San Phra Kan is Wat Nakhon Kosa which may have originally been a Hindu Shrine as the temple was built in 1157 by the Khmers. Later on, U-Thong style cement Buddha images were added on the prangs.

 

Wat Mani Chonlakhan

Built during the reign of King Mongkut, the temple was originally called Wat Ko Kaew as it was located on a small island. Remains found in the compound include the Chedi Luang Pho Saeng, the ubosot, the viharn and a large Buddha image situated along the riverside.

Vichayen House

The Vichayen House was built at the royal command of King Narai the Great. It initially served as a residence of Chevalier de Chaumont, the first French ambassador to Thailand during the reign of King Louis XIV. Later on, it was occupied by the Greek, Constantine Phaulkon, who later became King Narais advisor and was granted the position of royal minister Chao Phraya Vichayen. Located just 300 meters from Prang Khaek, the compound has many interesting visible ruins including the Roman Catholic Chapel, a hall of residence for ambassador and mission members, brick water tanks and fountains. Admission fee is 30 bahts.

Prang Khaek

Prang Khaek is the oldest monument of Lop Buri and the oldest Khmer-style Hindu Shrine to be found in Thailands central region. A fascinating small compound of Khmer remains, it consists of the three brick prangs constructed without adjoining corridors. Prang Khaek was restored by King Narai the Great in the 17th century. Recently restored by the Fine Arts Department, it is located on Vichayen Road, near the Narai Ratchaniwet Palace.

Oasis Agro-Farm

Location: 85/2 Mu 13 Chong Sarika Sub-District, Phatthana Nikhom District, Lop Buri 15220

An agro-tourism farm covering an area of 50 rai, Oasis Agro-Farm was established in 2001 to raise imported ostriches from South Africa. The farm is divided into different zones including a butterfly farm, an ostrich ranch, a sunflower plantation, etc. Visitors can enjoy hand-feeding the ostriches and driving a mini-tractor along the sunflower plantation. Admission fee is 10 bahts/person. For more information, contact Mr. Somchat Singhapol at 01 7808928 or 01 9941256 or you can visit www.oasisfarm.net to get a glimpse of the farm.

Kachornvit Mushroom Farm

It is Located at 71/1 Mu 6 Nikhom Sang Toneng Sub-District, Mueang District. Since its establishment in 1981, the Mushroom Farm has developed its technology to grow high-quality organic mushrooms using EM microbe. Visitors can take a short tour of the farm or sample several kinds of preserved mushrooms which are also available for sale. Farm-stay accommodations are available but reservations must be made in advance. Call 036 652442 or 07 0710683 for more details.

Sap Langka Wildlife Sanctuary

Located in Kut Ta Phet Sub-district, Sap langka Wildlife Sanctuary covers an area of 155 square kilometers or 96,875 rai of land. A flatland amidst a valley, the Sanctuary is 140-846 meters above sea level. This virgin and fertile jungle is where Maenam Lam Sonthi originates and where the nearly-extinct animals dwell. There are two natural trekking trails which are easy to follow.

Located in Kut Ta Phet Sub-district, Sap langka Wildlife Sanctuary covers an area of 155 square kilometers or 96,875 rai of land. A flatland amidst a valley, the Sanctuary is 140-846 meters above sea level. This virgin and fertile jungle is where Maenam Lam Sonthi originates and where the nearly-extinct animals dwell.
There are two natural trekking trails which are easy to follow. The first is from Haui Prik to Tham (cave) Pha Pheung (a 3,200-meter trip with a total travel time of approximately 2.5 hours). The second is Haui Pradu trail which starts with a rafting trip to the 1,500-meter trail along Tham Samui Kui and Tham Phra Nok.

(total travel time is approximately 1.5 hours)

Places of interest along both trails include Namtok Pha Phueng, where water gushes down the high cliff all year round. The steep trail winds through the side of the mountain to another part of the waterfall. Nearby is the huge Pha Pheung Cave which is the home of thousand bats. Stalagmites and stalactites are found in the cave which ends at the high cliff. Other attractions include Pha Nam Yoi and Namtok Sam Sai.

To get there by car, use Highway No. 205 from Chai Badan to Lam Sonthi. Drive for 31 kilometers, turn to Kudtapetch Sub-district and proceed for another 37 kilometers.

Please note that visitors are admitted only to certain areas. Contact the Sanctuary Headquarters for more details on 02 562 0760 or visit www.dnp.go.th

Wat Khao Somphot

This temple is located 38 kilometers from Chai Badan District. There are 19 caves naturally decorated with stalactites and stalagmites in the environs of the mountainous temple. Recommended caves to visit include Tham Yai, Tham Chedi, Tham Phet, Tham Ram Wong, Tham Singto, and etc.

Wat Khao Wongkhot (Bat Cave)

Covering an area of 30 rai, Wat Khao Wongkhot is situated approximately 4 kilometers from Ban Mi city. The temple is built in the middle of three mountains with the Reclining Buddha enshrined at the foot of Sanam Daeng Mountain. Visitors are encouraged to stop at a pavilion which keeps the un-deteriorated body of Charoen Ditsawanno venerable Bhikku, former abbot of Wat Khao Wongkot who passed away in 1963.

Within the compound of Wat Khao Wongkhot is a bat cave which is considered to be the largest in Lop Buri. With millions of bats inhabiting the cave, the temple receives substantial revenues from the sale of bat dung. The bats will fly out of the cave at 6 p.m. to seek food. It takes up to 2 hours to empty the cave.

Sunflower Field

The largest sunflower field in Thailand is located in Tambon Chong Sarika, Phatthana Nikom District. The panoramic sunflower field has become Lop Buri's major tourist attraction especially during November to January when they are in full bloom. To travel from Bangkok, drive along the Lop Buri-Saraburi Road for approximately 30 kilometers, then turn left into Highway No. 21 and proceed for another 15 kilometers. Traveling from Lop Buri town center, the sunflower field is located approximately 45 kilometers from the town.

Wat Thammikaram

The canal side temple located on the west bank of Bang Kham canal, Wat Thammikaram was formerly known as Wat Khang Khao (Bat Temple). This was due to the fact that many thousands of bats used to live there. Visitors to this temple usually marvel at its notable murals which can be dated from the mid 1800s.

Ban Kluai

The village is well known for its carefully woven Mat Mi. The art of weaving Mat Mi has been handed down over generations for more than 135 years. The distinct features of Ban Kluais Mat Mi are its unique pattern and supreme quality.


ลพบุรี : ข้อมูลทั่วไป

วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง
เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

       ลพบุรีเป็นเมืองแห่งความหลากหลายและต่อเนื่องทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน ค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ลพบุรีอยู่ใต้อำนาจมอญและขอมจนกระทั่งในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้ ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทองปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กล่าวคือพระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 1893 พระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม ขุดคู และสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตใน พ.ศ. 1912 พระราเมศวรต้องถวายราชบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระราเมศวรครองเมืองลพบุรีสืบต่อไป จนถึง พ.ศ. 1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง

หลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไป จนกระทั่งมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดาที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยานั้นไม่สู้ปลอดภัยจากการปิด ล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม จึงได้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สองขึ้น เพราะลพบุรีมีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ในการสร้างลพบุรีขึ้นใหม่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงได้รับความช่วยเหลือจากช่างชาวฝรั่งเศสและ อิตาเลียน และได้สร้างพระราชวังและป้อมปราการเป็นแนวป้องกันอย่างแข็งแรง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ และโปรดให้ทูตและชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้หลายครั้ง

สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ แล้ว ลพบุรีก็หมดความสำคัญลง สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลต่อๆ มา ก็ไม่ได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้อีก จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. 2406 โปรดฯ ให้บูรณะเมืองลพบุรี ซ่อมกำแพง ป้อม และประตูพระราชวังที่ชำรุดทรุดโทรม และสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นในพระราชวังเป็นที่ประทับ และพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ลพบุรีจึงแปรสภาพเป็นเมืองสำคัญอีกวาระหนึ่ง

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งได้สร้างเมืองลพบุรีใหม่อันเป็นเมืองทหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทาง รถไฟ มีอาณาเขตกว้างขวาง ส่วนเมืองเก่านั้นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟ เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งในปัจจุบันนี้ ลพบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 153 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,586.67 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสระบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรีอ่างทอง และนครสวรรค์

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี โทร. 0 3642 0333, 0 3642 5222
  2. โรงพยาบาลลพบุรี โทร. 0 3662 1537
  3. โรงพยาบาลเบญจรมย์ โทร. 0 3641 3622, 0 3641 2160 โทร. 0 3641 3933
  4. สถานีตำรวจอำเภอเมืองลพบุรี โทร. 0 3641 1013, 0 3642 1189
  5. สถานีตำรวจอำเภอเมืองลพบุรี โทร. 0 3641 1013, 0 3642 1189
  6. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โทร. 0 3641 1006
  7. สถานีตรวจอากาศวิทยาลพบุรี โทร. 0 3641 1098
  8. ตำรวจทางหลวง โทร. 0 3641 1622, 0 3673 1222, 1193
  9. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 0 3642 4515, 1155

Link ที่น่าสนใจ

ททท. สำนักงานลพบุรี
http://www.tourismthailand.org/lopburi
ข้อมูลตำบลและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
http://www.thaitambon.com
สำนักงานจังหวัดลพบุรี
http://www.lopburi.go.th

 

ลพบุรี : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางจากกรุงเทพฯไปจังหวัดลพบุรี

รถยนต์

1. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอพระพุทธบาท เข้าสู่จังหวัดลพบุรี ระยะทาง 153 กิโลเมตร

2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีทางแยกเข้าได้ 3 ทาง คือ

- เข้าทางอำเภอบางปะหัน ผ่านอำเภอนครหลวง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3196 ผ่านอำเภอบ้านแพรก เข้าสู่จังหวัดลพบุรี

- เข้าตรงทางแยกต่างระดับจังหวัดอ่างทอง ไปยังอำเภอท่าเรือ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3196 ผ่านอำเภอบ้านแพรก เข้าสู่จังหวัดลพบุรี

- ผ่านจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 311 (สายสิงห์บุรี-ลพบุรี) ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่จังหวัดลพบุรี

หรือใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษอุดรรัถยา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543

รถไฟ
สามารถเดินทางโดยรถไฟสายเหนือ ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวันๆ ละหลายเที่ยว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2220 4334, 0 2220 4444, 1690 (สำรองตั๋วทางโทรศัพท์ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 วัน) หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-20.30 น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง ค่าโดยสารคนละ 80 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66 ต่อ 442, 331 หรือ บริษัท ลพบุรีสิงห์ ทรานสปอร์ต จำกัด โทร. 0 2936 3603 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จังหวัดลพบุรี
การเดินทางจากอำเภอเมืองลพบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอท่าวุ้ง 10 กิโลเมตร
  2. อำเภอบ้านหมี่ 32 กิโลเมตร
  3. อำเภอโคกสำโรง 35 กิโลเมตร
  4. อำเภอพัฒนานิคม 51 กิโลเมตร
  5. อำเภอหนองม่วง 54 กิโลเมตร
  6. อำเภอสระโบสถ์ 65 กิโลเมตร
  7. อำเภอโคกเจริญ 77 กิโลเมตร
  8. อำเภอท่าหลวง 83 กิโลเมตร
  9. อำเภอชัยบาดาล 97 กิโลเมตร
  10. อำเภอลำสนธิ 120 กิโลเมตร

การเดินทางจากลพบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง

  1. สิงห์บุรี 33 กิโลเมตร
  2. สระบุรี 46 กิโลเมตร
  3. อ่างทอง 67 กิโลเมตร
  4. พระนครศรีอยุธยา 98 กิโลเมตร


ลพบุรี : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรีบริเวณหัวถนนนารายณ์ มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไป ทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ที่ฐานอนุสาวรีย์ได้จารึกข้อความว่า “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2175 สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2231 พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง”

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ปราสาททององค์สุดท้าย ในรัชสมัยของพระองค์วรรณคดีและศิลปะของไทยได้เจริญถึงขีดสูงสุด มีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เกียรติคุณของประเทศไทยแผ่ไพศาลเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสร้าง และประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ไว้ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2209 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี แบ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงมีซุ้มประตูทั้งหมด 11 ประตู ประตูทางเข้าเป็นทรงจตุรมุขมีช่องทางเข้าโค้งแหลม ตรงจั่วซุ้มประตูตกแต่งลายกระจังปูนปั้นที่วิวัฒนาการมาจากดอกบัว ที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในมีช่องเล็ก ๆ เจาะเป็นรูปโค้งแหลมคล้ายบัวเรียงเป็นแถวสำหรับวางตะเกียง ประมาณ 2,000 ช่อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2399 เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานชื่อว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”
สิ่งก่อสร้างภายในพระราชวังแบ่งตามยุคสมัยเป็น 2 กลุ่ม คือ
พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งศิลปกรรมแบบไทยและฝรั่งเศสผสมกัน เดิมเป็นท้องพระโรงมียอดแหลมทรงมณฑป ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชร ซึ่งเป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้า ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม ส่วนตัวมณฑปซึ่งอยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย คือ ซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ในจดหมายเหตุทูตฝรั่งเศส กล่าวพรรณนาพระที่นั่งว่า “ตามผนังประดับด้วยกระจกเงา ซึ่งนำมาจากฝรั่งเศส เพดานแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4 ช่อง ประดับด้วยลายดอกไม้ทองคำ และแก้วผลึกที่ได้มาจากเมืองจีนงดงามมาก” ผนังด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่างเจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับวาง ตะเกียง ซึ่งจะเห็นได้อีกเป็นจำนวนมากตามซุ้มประตูและกำแพงของพระราชวัง สมเด็จพระนารายณ์ฯ เคยเสด็จออกรับคณะราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ที่พระที่นั่งองค์นี้ในปี พ.ศ. 2228 ด้วย
พระที่นั่งจันทรพิศาล สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2208 เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่สร้างทับลงไปบนรากฐานเดิมของพระที่นั่งซึ่งพระราเมศวรโอรสองค์ใหญ่ของพระ เจ้าอู่ทองได้ทรงสร้างเมื่อครั้งครองเมืองลพบุรี พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ด้านหน้ามีมุขเด็จ ภายหลังเมื่อได้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ขึ้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งองค์ใหม่ และโปรดให้ใช้พระที่นั่งจันทรพิศาลเป็นที่ออกขุนนาง ซึ่งตรงกับบันทึกของชาวฝรั่งเศสว่าเป็นหอประชุมองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงบูรณะพระที่นั่งองค์นี้ตามแบบของเดิม ปัจจุบันตัวอาคารใช้เป้นพิพิธภัณฑฯ จัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและงานประณีตศิลป์ สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า “พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่ มีสระน้ำใหญ่สี่สระ เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน” สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
ตึกพระเจ้าเหา ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเขตพระราชฐานชั้นนอก ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้อย่างชัดเจนมาก เป็นตึกที่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยกพื้นสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ตัวตึกเป็นรูปทรงไทย ฐานก่อด้วยศิลาแลง และจึงก่ออิฐขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเหลือแต่ผนังประตูหน้าต่าง ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ปัจจุบันคงปรากฏลายให้เห็นอยู่ ด้วยเหตุว่าภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่และชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่า เป็นวัด จึงสันนิษฐานว่าเป็นหอพระประจำพระราชวัง ตึกพระเจ้าเหาหรือ “พระเจ้าหาว” (หาวเป็นภาษาไทยโบราณ หมายถึงท้องฟ้า) ในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเพทราชา และขุนหลวงสรศักดิ์ใช้ตึกพระเจ้าเหาเป็นที่นัดแนะประชุมขุนนางและทหารเพื่อ แย่งชิงราชสมบัติขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระประชวรหนัก
ตึกรับรองแขกเมือง ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ใกล้กับหมู่ตึกสิบสองท้องพระคลังเป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่กลางอุทยาน ซึ่งแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบ ภายในคูน้ำมีน้ำพุเรียงรายเป็นระยะอยู่ 20 แห่ง จากเค้าโครงที่เห็นแสดงว่าในสมัยก่อนคงจะสวยงามมาก ทางด้านหน้าตึกเลี้ยงรับรองมีรากฐานเป็นอิฐแสดงให้เห็นว่าตึกหลังเล็ก ๆ คงจะเป็นโรงมหรสพ ซึ่งมีการแสดงให้แขกเมืองชมภายหลังการเลี้ยงอาหาร สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส ณ สถานที่นี้ใน พ.ศ. 2228 และ พ.ศ. 2230
พระคลังศุภรัตน์ (หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง) เป็นหมู่ตึกตั้งอยู่ระหว่างอ่างเก็บน้ำประปาและตึกซึ่งใช้เป็นสถานที่พระราช ทานเลี้ยงชาวต่างประเทศ สร้างขึ้นอย่างมีระเบียบด้วยอิฐเป็น 2 แถวยาวเรียงชิดติดกัน อาคารมีลักษณะค่อนข้างทึบ มีถนนผ่ากลาง จำนวนรวม 12 หลัง เข้าใจว่าเป็นคลังเพื่อเก็บสินค้า หรือเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ
อ่างเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำประปา ก่อด้วยอิฐยกขอบเป็นกำแพงสูงหนาเป็นพิเศษ ตรงพื้นที่มีท่อดินเผาฝังอยู่เพื่อจ่ายน้ำไปใช้ตามตึกและพระที่นั่งต่างๆ โดยท่อดินเผาจากทะเลชุบศรและอ่างซับเหล็กตามบันทึกกล่าวว่า ระบบการจ่ายทดน้ำเป็นผลงานของชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน
โรงช้างหลวง ตั้งเรียงรายเป็นแถวชิดริมกำแพงเขตพระราชฐานชั้นนอกด้านในสุด โรงช้างส่วนใหญ่ปรักหักพังเหลือแต่ฐานปรากฏให้เห็นประมาณ 10 โรง ช้างซึ่งยืนโรงในพระราชวัง คงเป็นช้างหลวงหรือช้างสำคัญ สำหรับใช้เป็นพาหนะของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่

สิ่งก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏและอาคารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนารายณ์
หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2405 เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์ เมื่อครั้งเสด็จบูรณะเมืองลพบุรี ประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์ คือ พระที่นั่งพิมานมงกุฏ เป็นที่ประทับ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย เป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน พระที่นั่งไชยศาสตรากร เป็นที่เก็บอาวุธ พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานให้เป็นศาลากลางจังหวัด ต่อมาเมื่อศาลากลางจังหวัดย้ายไปอยู่ที่ใหม่ พระที่นั่งหมู่นี้จึงรวมกับพระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
หมู่ตึกพระประเทียบ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน เป็นตึกชั้นเดียว 2 หลัง ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง 2 ชั้น เรียงรายอยู่ 8 หลัง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายในที่ตามเสด็จรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองลพบุรี

ทิมดาบหรือที่พักของทหาร รักษาการณ์ เมื่อเดินผ่านประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลาง ข้างประตูทั้งสองด้านตรงบริเวณสนามหญ้าจะแลเห็นศาลาโถงข้างละหลัง นั่นคือตึกซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์ในเขตพระราชวัง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการ ตามอาคารต่างๆ ในบริเวณพระนารายนณ์ราชนิเวศน์ ดังนี้
1. พระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยและแหล่งโบราณคดีจังหวัดลพบุรี โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ภาชนะสำริด เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น ภายในพระที่นั่งแบ่งเป็นห้องต่างๆ ได้แก่
- ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ. 800-1500 รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อถือ หลักฐานที่จัดแสดงได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่าง ๆ
- ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร-ลพบุรี จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นต้น
- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปกรรมที่พบตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ได้แก่ ศิลปะแบบหริภุญไชย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัยลพบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ
- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 -24 ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้น และไม้แกะสลักต่าง ๆ
- ห้องศิลปร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียนและภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย
- ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2399 ได้แก่ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นพระบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีรูปมงกุฎซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นต้น
2. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีศาสนวัตถุต่างๆ ในพุทธศตวรรษที่ 19-24 ห้องด้านหลังจัดแสดงงานประณีตศิลป์สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์
3. หมู่ตึกพระประเทียบ (อาคารชีวิตไทยภาคกลาง) เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องชีวิตไทยภาคกลาง การดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบอาชีพประมง การเกษตร ศิลปหัตกรรมพื้นบ้านของคนไทยในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีที่ใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม บริเวณพิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ส่วนโบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เปิดให้เข้าชม วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 07.00-17.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 1458

ศาลพระกาฬ

ตั้ง อยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณด้วย

ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป

ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงกว่า 300 ตัว ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี กล่าวกันว่าเดิมบริเวณนี้เต็มไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่ มีลิงอาศัยอยู่ เมื่อมีคนนำอาหารและผลไม้มาแก้บนที่ศาลพระกาฬ ลิงป่าเหล่านั้นได้เข้ามากินอาหาร จึงเชื่องและคุ้นเคยกับคนมากขึ้น

ศาลหลักเมือง หรือ ศาลลูกศร

ตั้ง อยู่ถนนสายริมน้ำหลังวัดปืนใหญ่ ใกล้กับบ้านวิชาเยนทร์ ตัวศาลาเป็นตึกเล็กๆ มีเนื้อที่ประมาณ 12 ตารางเมตร มีแท่งหินแท่งหนึ่งโผล่เหนือระดับพื้นดินขึ้นมา สูงประมาณ 1 เมตร เป็นศาลเจ้าหลักเมืองโบราณที่เรียกว่า "ศาลลูกศร" สมเด็จกรมพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับศาลลูกศรไว้ในตำนานเมืองลพบุรี ว่า “หลักเมืองลพบุรี” อยู่ทางตลาดข้างเหนือวัง เรียกกันว่า ศรพระราม จะมีมาแต่ก่อนสมัยขอมฤาเมื่อครั้งขอมทราบไม่ได้แน่ ที่เรียกกันว่า ศรพระรามนั้นเกิดแต่เอาเรื่องรามเกียรติ์สมมติฐานเป็นตำนานของเมืองนี้ คือเมื่อเสด็จศึกทศกัณฑ์พระรามกลับไปครองเมืองอโยธยาแล้ว จะสร้างเมืองประทานตรงนั้น ลูกศรพระรามไปตกบนภูเขาบันดาลให้ยอดเขานั้นราบลง หนุมานตามไปถึงจึงเอาหางกวาดดินเป็นกำแพงเมืองหมายไว้เป็นสำคัญ แล้วพระวิษณุกรรมลงมาสร้างเมือง ครั้นเสร็จแล้วพระรามจึงประทานนามว่า “เมืองลพบุรี” ด้วยเหตุนี้จึงอ้างกันมาก่อนว่า หลักเมืองนั้นคือลูกศรพระรามที่กลายเป็นหิน และเนินดินตามกำแพงเมืองที่ยังปรากฏอยู่เป็นของหนุมานที่เอาหางกวาดทำไว้


ทุ่งทานตะวัน

จังหวัด ลพบุรี มีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000 – 300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการ นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพส่งเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง โดยแหล่งที่ปลูกทานตะวัน จะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง
การเดินทาง จากลพบุรี ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (ลพบุรี-สระบุรี) ถึงกิโลเมตรที่ 4 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3017 (ทางไปตำบลโคกตูม) ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าวัดเวฬุวัน (ด้านซ้ายมือ) เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงทุ่งทานตะวัน สำหรับรถโดยสารประจำทาง มีรถสองแถวลพบุรี – วังม่วง ผ่านทางเข้าวัดเวฬุวัน รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00 – 17.30 น.
นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกทานตะวันกระจัดกระจายไปตามเส้นทางที่จะไปอำเภอพัฒนา นิคม บริเวณช่องสาริกา (เข้าทางวัดมณีศรีโสภณ) ริมทางหลวงหมายเลข 21
สอบถามบริเวณพื้นที่ปลูกทานตะวันก่อนการเดินทางได้ที่ ททท.ภาคกลาง เขต 7 (ลพบุรี)

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ตั้ง อยู่ที่บ้านแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระ ราชทานให้กับเขื่อนแห่งนี้ สร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 4,860 เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด 36.50 เมตร จุดเด่นที่น่าสนใจภายในเขื่อน ได้แก่ จุดชมวิวสันเขื่อพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรม ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของชาวบ้าน เช่น ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดทานตะวัน น้ำผึ้ง ไข่เค็มดินสอพอง มีรถรางวิ่งพาชมทัศนียภาพบริเวณเขื่อนทุกวัน (ให้บริการตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์เวลา 7.30-18.00 น. ค่าบริการผู้ใหญ่ 25 บาท เด็ก 10 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3649 4031-4
การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีใช้เส้นทางลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข 3017) ระยะทาง 48 กิโลเมตร มีบริการรถสองแถวลพบุรี - วังม่วง ผ่านหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00 - 17.30 น.
นอกจากนี้ยังมีบริการท่องเที่ยวทางรถไฟขบวนพิเศษ ไป - กลับ กรุงเทพฯ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2220 4334, 1690 และนักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกใช้บริการนั่งรถไฟชมเขื่อนได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟลพบุรี โทร. 0 3641 1022

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
เขาพญาเดินธง ห่างจากเขื่อน 10 กม. (ตามเส้นทางไปเขื่อนเข้าซอย 15) สามารถใช้รถกระบะขับขึ้นถึงยอดเขาเพื่อชมวิวได้ สอบถาม อบต.พัฒนานิคม โทร. 0 3663 9042


พระปรางค์สามยอด

ตั้งอยู่บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 ปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสาม ปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้งเปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 2510, 0 3641 3779

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา

ตั้ง อยู่ที่บ้านลังกาเชื่อม ตำบลสำสนธิ ตำบลกุดตาเพชร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 96,875 ไร่ เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขา ถูกกั้นด้วยเทือกเขาพังเพย ทิศตะวันตกเป็นเขารวก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 140-846 เมตร ความสำคัญของพื้นที่ คือ ป่าซับลังกามีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำลำสนธิ และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ปัจจุบันยังมีเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนอาศัยอยู่

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ จัดไว้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรก คือ ห้วยพริก-น้ำตกผาผึ้ง-ถ้ำผาผึ้ง ระยะทางไป-กลับประมาณ 3,200 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที เป็นเส้นทางที่ไม่ลำบากเกินไปนักสำหรับนักท่องธรรมชาติหน้าใหม่ ระหว่างเส้นทางจะผ่าน น้ำตกผาผึ้ง ซึ่งเป็นน้ำตกเล็กๆ แต่มีความสวยงามเพราะบรรยากาศรอบข้างที่ร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่นานาพรรณและเหมาะ สำหรับเป็นจุดพักระหว่างทาง และหากชื่นชมธรรมชาติด้วยความสงบอาจมีโอกาสได้เห็นสัตว์เล็กๆ เช่น เต่า และ นกต่างๆ ออกมาให้ได้ยล โฉม จากนั้นเดินต่อไปยังถ้ำผาผึ้งก่อนที่จะต้องใช้ฝีมือในการปีนป่ายหินแหลมคม เพื่อชมดงจันทน์ผาซึ่งเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ที่มีรูปทรงงดงาม และในช่วงปลายฝนต้นหนาวกล้วยไม้รองเท้านารีที่ซ่อนตัวอยู่ในดงจันทน์ผานี้จะ เบ่งบานพร้อมกันในฤดูนี้

สำหรับจุดเริ่มต้นเดินเท้าเส้นทางนี้ คือ ห้วยแม่พริก ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการเป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร ต้องใช้รถที่สภาพดี กำลังดี พร้อมที่จะลุยทางลูกรังที่ค่อนข้างเละ แต่ผู้ที่ไม่มีรถและไปกันเป็นคณะ สามารถว่าจ้างรถอีแต๋นของชาวบ้านซึ่งเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นด้วย โดยติดต่อล่วงหน้าผ่านป่าไม้จังหวัดลพบุรีที่ โทร. 0 3645 1936
เส้น ทางที่ 2 เส้นทางห้วยประดู่ – ถ้ำพระนอก – ถ้ำสมุยกุย เส้นทางนี้สามารถเลือกเดินเท้า หรือล่องแพ เป็นเส้นทางธรรมชาติที่สวยงาม และยังได้ชมความลึกลับของถ้ำพระนอก และถ้ำสมุยกุยอีกด้วย

นอกจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติทั้ง 2 เส้นทาง ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกายังมีไฮไลท์ ที่ให้ทุกท่านเดินทางเข้าชมธรรมชาติด้วยรถอีแต๋น และชมดอกกระเจียวยักษ์อีกด้วย ช่วงเวลาที่เหมาะในการท่องเที่ยวธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จะเป็นในช่วงฤดูฝน เพราะผืนป่าซับลังกาจะสมบูรณ์เต็มที่ อัตราค่าธรรมเนียมเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท

สิ่งที่ควรนำไปด้วย สำหรับการเที่ยวที่ซับลังกา คือ รองเท้าที่กระชับรัดกุมเพื่อความคล่องตัวในการเดินย่ำน้ำตกและโขดหินลื่นหรือปีนป่ายหน้าผาหินแหลมคม ยาทากันยุง

การเดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี ไปตามเส้นทางหมายเลข 21 (สระบุรี – ชัยบาดาล) เลี้ยวขวาเข้าอำเภอชัยบาดาลไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 205 (ชัยบาดาล – ลำสนธิ) อีก 31 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอลำสนธิ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าตำบลวังเชื่อม อีก 37 กิโลเมตร ถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา รวมระยะทางจากกรุงเทพฯประมาณ 260 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการ ตามอาคารต่างๆ ในบริเวณพระนารายนณ์ราชนิเวศน์ ดังนี้

1. พระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยและแหล่งโบราณคดีจังหวัดลพบุรี โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ภาชนะสำริด เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น ภายในพระที่นั่งแบ่งเป็นห้องต่างๆ ได้แก่

- ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ. 800-1500 รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อถือ หลักฐานที่จัดแสดงได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่าง ๆ

- ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร-ลพบุรี จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นต้น

- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปกรรมที่พบตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ได้แก่ ศิลปะแบบหริภุญไชย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัยลพบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ

- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 -24 ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้น และไม้แกะสลักต่าง ๆ

- ห้องศิลปร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียนและภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย

- ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2399 ได้แก่ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นพระบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีรูปมงกุฎซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นต้น

2. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ ศาสนวัตถุต่างๆ ในพุทธศตวรรษที่ 19-24

3. หมู่ตึกพระประเทียบ เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องชีวิตไทยภาคกลาง การดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบอาชีพประมง การเกษตร ศิลปหัตกรรมพื้นบ้านของคนไทยในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีที่ใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

พิพิธภัณฑสถานฯ แห่งนี้ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม

เวลาเปิด-ปิด : บริเวณพิพิธภัณฑฯ เปิดให้เข้าชม วันพุธ-อาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 น. ส่วนโบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เปิดให้เข้าชม วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 07.00-17.30 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 1458

สวนสัตว์ลพบุรี

ตั้ง อยู่หลัง "โรงภาพยนตร์ทหารบก" สร้างเมื่อปี พ.ศ.2483 สมัยจอมพล ป. พิบูล-สงคราม มีบริเวณร่มรื่นกว้างขวาง มีสัตว์ต่าง ๆ มากมาย เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.30 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10.- บาท เด็ก 5.- บาท โทร. (036) 413551

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟ สร้างในสมัยใดไม่ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์สืบมาหลายยุคหลายสมัย ศิลปกรรมที่ปรากฏจึงมีความแตกต่างกันมากเมื่อเข้าไปในวัด จะพบศาลาเปลื้องเครื่องเป็นอันดับแรก

ศาลาเปลื้องเครื่องนี้ใช้เป็นที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน เลี่ยนเครื่องทรงก่อนที่จะเข้าพิธีทาง ศาสนา ในพระวิหารหรือพระอุโบสถ ถัดจากศาลาเปลื้องเครื่อง เป็นวิหารหลวง สร้าง ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทางทิศใต้ของวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถ ขนาดย่อม ประตูหน้าต่างเป็นศิลปะแบบฝรั่งเศสทั้งหมด ห่างไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง เป็น พระปรางค์ประธาน องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูนเครื่องประดับลวดลายเป็นพระพุทธ รูปและพุทธประวัติ อายุประมาณ พ.ศ.1800 ต่อมาได้รับการซ่อมแซมในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลวดลายจึงมี ปะปนกันหลายสมัย ปรางค์องค์นี้ เดิมบรรจุพระพุทธรูปไว้จำนวนมาก ที่มีชื่อเสียง คือ พระเครื่องสมัยลพบุรี เช่น พระหูยาน พระร่วง

เวลาเปิด-ปิด : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เปิดให้เข้าชม ระหว่างเวลา 07.00 - 17.00 น. เว้นวันจันทร์ - อังคาร

อัตราเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมเพื่อเข้าชมโบราณสถานอื่น ได้แก่ โบราณสถานบ้านวิชาเยนทร์
โบราณสถานปรางค์สามยอด โบราณสถานพระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) โบราณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท

สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าดินดำ น้ำตกวังก้านเหลืองนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เนื่องจากมีต้นน้ำเกิดจากตาน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากบริเวณน้ำตกประมาณ 1.5 กิโลเมตร

การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีไปน้ำตกวังก้านเหลืองใช้เส้นทางลพบุรี-โคกสำโรง (ทางหลวงหมายเลข 1) จากนั้นใช้เส้นทางโคกสำโรง-ชัยบาดาล (ทางหลวงหมายเลข 205 ) ถึงบริเวณที่บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 21 แล้วต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 2089 ไปอำเภอท่าหลวงประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าตัวน้ำตกอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกวังก้านเหลืองซึ่งจะอยู่ทางขวามือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3634 7105-6, 0 3634 7446

พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว

อยู่ที่หมู่ 7 ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม อยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 26.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,300-3,500 ปี ประมาณยุค “บ้านเชียงตอนปลาย” มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณถึง 13 โครงกระดูกภายในหลุมเดียวกัน ฝังอยู่พร้อมเครื่องใช้และเครื่องประดับกระจายอยู่ทั่วบริเวณกว้าง จึงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

นอกจากนี้ชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี และทรัพยากรธรรมชาติบ้านโป่งมะนาว ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 6 ประจำปี 2549 เนื่องจากได้อบรมเยาวชนในท้องถิ่นให้เป็นยุวอาสาสมัคร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อนำชมพิพิธภัณฑ์ ส่งผลให้เยาวชนมีความรู้เรื่องท้องถิ่นอย่างถ่องแท้และมีจิตสำนึกในการรักษา หวงแหนแผ่นดินเกิด และรางวัลแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคกลางดีเด่น ประจำปี 2551 สำหรับนักเรียน/นักศึกษา/นักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะและต้องการ วิทยากรบรรยายฟรี ติดต่อได้ที่ สถานีอนามัยตำบลห้วยขุนราม 0 3645 9457, 08 1294 7790, 08 7007 1540 E-mail: somsuan@hotmail.com

การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม - อ.วังม่วง (สระบุรี) เข้าทางเดียวกับน้ำตกสวนมะเดื่อ ไม่มีรถประจำทางผ่าน

 

 


หมู่บ้านทำดินสอพอง

ตั้ง อยู่ที่บ้านหินสองก้อน ชานเมืองลพบุรี เป็นแหล่งผลิตดินสอพอง สินค้ามีชื่อของลพบุรี ตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งแรกสร้างเมือง พระรามแผลงศรมาตกที่นี่ ศรพระรามร้อนแรงเหมือนไฟ ดินแถวนี้จึงสุกพองเป็นสีขาว เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านจะเห็นชาวบ้านหยอดแป้งดินสอพอง แบบดั้งเดิม และสามารถเลือกซื้อแป้งดินสอพองผสมสมุนไพร โดยสถาบันราชภัฏเทพสตรีร่วม พัฒนาผลิตภัณฑ์ ติดต่อได้ที่กลุ่มพัฒนาดินสอพอง บ้านหินสองก้อน โทร. 0 3664 0504, 0 7116 1204 และอบต.ทะเลชุบศร โทร. 0 3661 1438

พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์

ตั้งอยู่ภายในวัดเชิงท่า อำเภอเมือง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องประวัติวัดเชิงท่า พระ พุทธ พระธรรม และสงฆ์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงอัฐบริขาร และเครื่องใช้ในการพระพุทธศาสนาที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของพุทธศาสนา ได้แก่ ไตร จีวร บาตร ตาลปัตร เครื่องเคลือบ ธรรมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก ตู้เก็บพระคัมภีร์ ภาพพระบฎมหาเวสสันดรชาดก และพระพุทธเจ้าในอนาคต ได้แก่ พระศรีอริยเมตไตร พิพิธภัณฑ์หอศิลป์นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 8.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3661 8388



อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี

อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภาคกลาง เขต 7

ตั้งอยู่ด้านข้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2473 โดยท่านพระครูลพบุรีคณาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนแทนตึกโคโรซาน ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดเสาธงทอง โรงเรียนแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า โรงเรียนพระนารายณ์ เป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้ย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน อาคารไม้ 2 ชั้นหลังนี้จึงอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2527 และ ททท.ได้ขออนุญาตใช้เป็นอาคารสำนักงาน จากกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2541

แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร
หน่วยทหารที่ให้เข้าทำกิจกรรม ต่างๆ ภายใน

ค่าย A03
ตั้งอยู่ที่ อ. เมือง ทางเข้าอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ตำบลโคกตูม เป็นรวมกิจกรรมในรูปแบบของการทดสอบกำลังใจ และการดำรงชีวิตแบบทหาร อาทิ การกระโดดหอสูง 34 ฟุต ไต่หน้าฝาจำลอง ยิงปืน สะพานเชือก พายเรือแคนู

สถานที่ติดต่อ กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โทร 0 3641 2192 (ในเวลาราชการ ) หรือ 08 1947 2800 (นอกเวลาราชการ)

กิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้แก่ การสาธิตการดำรงชีพในป่า เช่น การอ่านทิศ การหาอาหาร การป้องกันสัตว์ร้าย เป็นต้น การกระโดดหอสูง 34 ฟุต การฝึกกระโดดร่มจากบอลลูน การยิงปืน ไต่หน้าผา สะพานเชือก พายเรือ ทัวร์ป่าทางทหาร และชมพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ ซึ่งจัดแสดงภาพและอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการ และภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยรบพิเศษ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกรุณาติดต่อล่วง หน้าอย่างน้อย 7 วัน

สถานที่ติดต่อ : สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบกจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์ 0 3641 2192 หรือ www.speial-force-tour.siam4x4.com, www.army.mi.th

แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ได้แก่ สถาปัตยกรรมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แก่ ตึกชาโต้ (ตึกบัญชาการเขาน้ำโจน) ตึกพิบูลสงคราม และยังมีพิพิธภัณฑ์จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิพิธภัณฑ์ทหารปืนใหญ่ พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา และอุทยานพฤกษศาสตร์
สถานที่ติดต่อ : กองยุทธการและการข่าว ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โทรศัพท์ 0 3648 6433-4 ต่อ 39039

แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 13 ได้แก่ สนามกอล์ฟ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เปิดบริการสำหรับบุคคลภายนอก ค่า Green Fee (18 หลุม) วันธรรมดา 250.- บาท วันหยุด 400.- บาท

ติดต่อสอบถามได้ที่ : มทบ.13 โทรศัพท์ (036) 422856-7 ต่อ 37393
แหล่งท่องเที่ยวภายในโรงพยาบาลอานันมหิดล ได้แก่ ห้องแสดงพระราชประวัติรัชกาลที่ 8 อยู่ภายในตึกอำนวยการโรงพยาบาลอานันมหิดล จัดแสดงพระราชประวัติ เมื่อครั้งเสด็จมาเปิดโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2481 สถานที่ติดต่อเข้าชม : โรงพยาบาลอานันทมหิดล โทรศัพท์ (036) 486553 ต่อ สำนักงานผู้บังคับบัญชา

ฟาร์มเห็ดขจรวิทย์

เป็น ฟาร์มเห็ดปลอดสารพิษ โดยพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ในการเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มผลผลิต และคุณภาพ นอกจากเป็นสถานที่เพาะเห็ดเพื่อการค้าแล้ว ยังมีการส่งเสริมการเพาะเห็ด โดยรับทำการฝึก ศึกษาและดูงาน ให้กับนักเรียนและประชาชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีบริการที่พักแบบฟาร์มสเตย์ สนใจติดต่อเข้าชม โทร. 0 3665 2442

ปรางค์นางผมหอม

อยู่ห่างจากตลาดหนองรีประมาณ 4 กิโลเมตร ในเขตบ้านโคกคลี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 205 กม.ที่ 269 ลักษณะของปรางค์นางผมหอมนี้ เป็นปรางค์องค์เดียวโดดๆ ก่อด้วยอิฐไม่ถือปูน เช่นเดียวกับเทวสถานปรางค์แขก สภาพปัจจุบันยอดหักลงมาหมดแล้ว มีประตูเข้าภายในปรางค์ได้ ภายในปรางค์เป็นห้องโถง กรอบประตูสร้างด้วยแท่งหิน รอบๆ ปรางค์ยังมีหินก้อนใหญ่อยู่เกลื่อนกลาด ห่างจากปรางค์นางผมหอมไม่มากนักเป็นด่านกักสัตว์บ้านโคกคลี เป็นเนินดินมีซากอิฐ เข้าใจว่าเป็นฐานวิหาร หรือเจดีย์ ชาวบ้านเรียกโคกคลีน้อย ยังมีเนินกว้างอีกแห่งหนึ่งเรียกโคกคลีใหญ่ ที่ตั้งของปรางค์นางผมหอมมีแม่น้ำมาบรรจบกันสองสาย คือ ลำสนธิกับลำพระยากลาง สันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นเมืองโบราณ และจากการขุดแต่งโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2530 พบหลักฐานเพิ่มเติม คือ ชิ้นส่วนของเครื่องประดับตกแต่งองค์ปรางค์ ทำด้วยหินทรายเป็นรูปสตรีนุ่งผ้าตามศิลปะเขมรแบบบายน สันนิษฐานว่าปรางค์องค์นี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-17 ในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์

ตั้ง อยู่ในท้องที่บางส่วนของตำบล 4 ตำบล คือ ตำบลซับตะเคียนตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลบัวชุม และตำบลนาโสม มีเนื้อที่ประมาณ 13.504 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 8,440 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่า- เขาสมโภชน์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2538 เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เป็นเทือกเขาหินปูนมีลักษณะสูงชันยาวทอดตัวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีถ้ำและหน้าผาจำนวนมาก มีที่ราบในหุบเขา 2 แห่ง และที่ราบบนเขา 1 แห่ง มีแหล่งน้ำซับ กระจาย จึงเป็นป่าซับน้ำ ป่าต้นน้ำที่มีความสำคัญมาก

นอกจากนี้ ภายในบริเวณเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่วัดถ้ำพรหมโลก ค้นพบขวานหินขัด ยุคสมัยหินตอนปลายอายุราว 3,000 ปี ใบหอกสำริด ภาชนะดินเผาในยุคโลหะ อายุประมาณ 2,500 ปีพระพุทธรูปสลักด้วยไม้สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23-24

สถานที่ติดต่อ เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ตู้ ปณ.19 ปทจ.ลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาลจังหวัดลพบุรี 15130 โทร. (036) 451725

เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ มีสภาพป่าไม้และสัตว์ป่าที่สมบูรณ์ มีบริการการจัดเส้นทาง การศึกษาธรรมชาติ อาทิ พรรณพืชชนิดต่าง ๆ นิเวศวิทยา ตลอดจนซากฟอสซิล อายุประมาณ 280 ล้านปี ซึ่งเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาสำคัญ ที่แสดงว่าบริเวณเทือกเขานี้ เคยเป็นไหล่ทวีป อยู่ใต้น้ำมาก่อนนอกจากนี้ยังมีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมที่วัดเขาสมโภชน์ วัดถ้ำพรหมโลก และบริเวณใกล้วัดถ้ำพรหมโลกมีลานยุคหินผุดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้ชมอีก ด้วย

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ถึงทางแยกขวาเข้าอำเภอชัยบาดาล ใช้เส้นทางหมายเลข 205 จากอำเภอชัยบาดาลไปอำเภอลำสนธิ ประมาณ 20 กม. ถึงวัดเขาตำบลด้านซ้ายมือ แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางเข้าสู่วัดถ้ำพรหมโลก ระยะทาง 7 กม. ถึงที่ทำการเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์

ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง

ตั้ง อยู่เลขที่ 280 ซอย 24 สายตรี หมู่ที่ 9 ตำบลพัฒนานิคม เป็นศูนย์อบรมและเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย เป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้ง เกสรผึ้ง เทียนไข ฯลฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3663 9292

การเดินทาง จากตัวเมือง ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนาการ (ทางหลวงหมายเลข 3017) ประมาณ 45 กิโลเมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางด้านซ้านมือ

สวนเหรียญทอง

สวนเหรียญทอง เป็นสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว มีชื่อเสียงด้านการฝากกิ่งมะม่วง เพื่อให้ได้ผลผลิตมากเป็นพิเศษ (กิ่งละประมาณ 20 ผล) กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ชมวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และฝากท้องมะม่วง นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรของกลุ่มแม่บ้าน ต่างๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3649 1172
การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข 3017) อยู่ก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีบริการรถสองแถวลพบุรี - วังม่วง ผ่านทางเข้าสวนเหรียญทอง และจากนั้นต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร

อำเภอบ้านหมี่

เป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงในการทอผ้ามัดหมี่ ราษฎรส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่ เป็นไทยพวนที่อพยพมาจากประเทศลาว เมื่อประมาณ 130 ปีมาแล้ว และได้นำเอาชื่อบ้านเดิม คือ “บ้านหมี่” มาใช้เป็นชื่อบ้านอพยพมาตั้งหลักแหล่งใหม่นี้ด้วย อ

วัดไลย์

อยู่ ริมน้ำบางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จไปวัดนี้ และทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟไว้ว่า "วัดไลย์อยู่ริมน้ำบางขาม พ้นเขาสมอคอนไปทางตะวันตกไม่ห่างนัก เป็นวัดเก่าชั้นแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา แล้วปฏิสังขรณ์เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ยังมีลายภาพของเก่าปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิงามน่าดูนัก ที่วัดไลย์นี้มีรูปพระศรีอาริย์เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือ กันมาแต่โบราณ เมื่อรัชกาลที่ 5 ไฟป่าไหม้วิหารรูปพระศรีอาริย์ชำรุดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานอย่างเดิม ถึงเทศกาลราษฎรยังเชิญออกแห่เป็นประเพณีเมืองมาทุกปีมิได้ขาด” ปัจจุบันทางวัดได้ก่อสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระศรีอาริย์ขึ้นใหม่ ด้านหน้าเป็นรูปมณฑลจตุรมุขแลดูสง่างามมาก นอกจากนี้แล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น พระวิหาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น คือ มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่าง ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิ ซึ่งนับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของ ชาติ

นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถ และวิหารรูปมณฑปยอดปรางค์อยู่ใกล้ ๆ กับพระวิหาร และพิพิธภัณฑ์ประจำวัดซึ่งมีของเก่ามากมายให้ชม เช่น พระพุทธรูป เครื่องหมาย เครื่องลายคราม เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ และอื่น ๆ อีกมากมาย

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (ลพบุรี - สิงห์บุรี) แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3028 ตรงสี่แยกไฟแดง(กม.ที่18) เข้าไปอีกระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางผ่านหลายสาย คือ สายลพบุรี - ท่าโขลง สายโคกสำโรง - บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี - บ้านหมี่

 

เขาสมอคอน

อยู่ในเขตตำบลเขาสมอคอน ไปตามเส้นทางสายลพบุรี - สิงห์บุรี ถึงกิโลเมตรที่ 18 เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออักขรา นุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า “เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชและพระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพะเยา ซึ่งน่าจะเป็นราชวงศ์หนองแส โยนก เชียงแสน ทั้งสองพระองค์ เพราะเมื่อทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ ซึ่งสมัยนั้นกษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน...”
มีวัดที่สำคัญบนเทือกเขานี้ 4 วัดด้วยกัน คือ วัดบันไดสามแสน มีโบราณสถานคือ วิหารอยู่หน้าถ้ำ และพระอุโบสถเก่า สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา มีพระอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2457 ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะแบบพม่า และเจดีย์ทรงเรือสำเภา วัดถ้ำช้างเผือก บริเวณเชิงเขามีทำนบดินและอ่างเก็บน้ำโบราณ ประมาณว่าสร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับอ่างเก็บน้ำและทำนบดินที่ตำบลทะเลชุบศร วัดเขาสมอคอน มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ทำบัวกลุ่มรองรับองค์ระฆังเป็นเจดีย์มีถ้ำเล็กๆ เรียกว่า ถ้ำพระนอน ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสเมื่อปี พ.ศ. 2448
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมาย 311 (สายลพบุรี - สิงห์บุรี) ถึง กม.ที่ 18 เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3028 ตรงสี่แยกไฟแดง เข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางผ่านทางเข้าเขาสมอคอนบริเวณตลาดท่าโขลงหลายสาย คือ สายลพบุรี - ท่าโขลง, สายโคกสำโรง - บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี – บ้านหมี่ หลังจากนั้นต้องเหมารถสองแถว หรือรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าไปจากปากทาง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3652 1159

 

พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร)

พระ ที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร) ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจาก ตัวเมืองประมาณ 4 กม. พระที่นั่งแห่งนี้เป็นที่ประทับในฤดูร้อน ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชณ เมืองลพบุรี องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชุบศร มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ ลักษณะทาง สถาปัตยกรรม เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน สภาพปัจจุบันคงเหลือกำแพงและผนัง ส่วนทะเลชุบศรในสมัยโบราณนั้น เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอด สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ทำทำนบใหญ่กั้นน้ำไว้ เพื่อชักน้ำจากทะเลชุบศรผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี

ปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดินปรากฏอยู่ พระที่นั่งเย็น เป็นสถานที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงใช้เป็นที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 และทอดพระเนตร สุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231 ร่วมกับคณะทูตและบาทหลวง จากประเทศฝรั่งเศสที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมเพื่อเข้าชมโบราณสถานอื่น ได้แก่ โบราณสถานบ้านวิชาเยนทร์ โบราณสถานปรางค์สามยอด โบราณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 3779, 0 3641 2510

บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านหลวงวิชาเยนทร์

ตั้ง อยู่บนถนนวิชาเยนทร์ ห่างจากปรางค์แขกประมาณ 300 เมตร ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สำหรับเป็นที่รับรองราชทูตที่มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมา Constantine Phaulkon (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งเป็นชาวกรีกได้เข้ามารับราชการได้รับความดี ความชอบ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึง “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” และได้พระราชทานที่พักอาศัยให้ทางทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต
พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูตแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนทิศตะวันตก เป็นอาคารที่พักอาศัยของคณะทูต ได้แก่ ตึก 2 ชั้นหลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม
ส่วนกลาง มีอาคารที่สำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้างซึ่งเข้าใจว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสตศาสนา ซึ่งอยู่ทางด้านหลังซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว
ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียวกับทางทิศตะวันตก

ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านหลวงรับราชทูตบางหลัง เป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ ซึ่งเจริญแพร่หลายในสมัยนั้น และที่สำคัญ คือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสตศาสนา ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาวซึ่งเป็นศิลปะไทย โบสถ์เหล่านี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสต์หลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะของ โบสถ์ทางพระพุทธศาสนา

เวลาเปิด-ปิด : นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ระหว่างเวลา 07.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมเพื่อเข้าชมโบราณสถานอื่น ได้แก่ โบราณสถานปรางค์สามยอด โบราณสถานพระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) โบราณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 2510, 0 3641 3779

อ่างซับเหล็ก

อยู่ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเอง ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศตะวันออกประมาณ 16 กิโลเมตร

อ่างซับเหล็กเป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติที่มีมาแต่โบราณ ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดให้ช่างชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาเลียนเป็นผู้วางท่อส่งน้ำจากอ่างซับ เหล็กนำมาใช้ในเขตพระราชฐาน

อ่างซับเหล็กมีเนื้อที่ประมาณ 1,760 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2497 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สร้างเขื่อนดินกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 จังหวัดลพบุรีได้ปรับปรุงอ่างซับเหล็กให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ปลูกต้นไม้และสร้างศาลาพักร้อน

วัดตองปุ

อยู่ หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ตำบลทะเลชุบศร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย ในวัดตองปุนี้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถทรงไทยที่มีฐานอ่อนโค้ง วิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ หน้าต่างและประตูเป็นช่องโค้งแหลม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์หลวงพ่อแสงวัดมณีชลขัณฑ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวในเมืองไทย คือ ที่สรงน้ำพระโบราณ หรือที่เรียกกันว่า น้ำพุสรงน้ำพระ เก็บรักษาไว้ที่วัดแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมี หอไตร คลัง และหอระฆัง ที่ควรชม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 3198

วัดกวิศรารามราชวรวิหาร

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่บนถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน ติดกับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ทางด้านทิศใต้ จากตำนานกล่าวกันว่า เดิมชื่อ วัดขวิด และในประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์ กล่าวว่า สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดพระราชทานนามให้เรียกว่า "วัดกระวิศราราม" ต่อมาได้รับปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ 5 และในปี พ.ศ.2481 พระกิตติญาณมุนี เจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดกวิศราราม" อันมีความหมายว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวกันว่าเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยนั้น ภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีประตูทางเข้าออกทางเดียวกัน หน้าต่างเจาะช่อง ศิลปแบบอยุธยา มีมุขเด็จอยู่ด้านหน้า ที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ต่อออกมาและขยายพัทธสีมาให้ใหญ่กว่าเดิม พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะอู่ทอง จิตรกรรมฝาผนังเป็นลายรูปดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงกลมบนฐานเหลี่ยมองค์ใหญ่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ และหมู่กุฏิซึ่งเป็นตึกในสมัยรัชกาลที่ 4 ตลอดจนหอพระไตรปิฎกที่สวยงามอยู่ภายในวัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3661 8593

วัดมณีชลขัณฑ์

สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตลาดท่าโพธิ์ วัดนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนเพราะมีถนนตัดผ่าตรงกลางพอดี มีโบราณสถานที่น่าสนใจ คือ พระเจดีย์รูปทรงแปลก คือก่อเป็นเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป คล้ายกับเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน (ล้านนา) แต่ตรงมุมมีการย่อมุมไม้สิบสอง ทำเป็นสามชั้น มีซุ้มประตูยอดแหลมอยู่ด้านข้างทั้งสี่ด้านทุกชั้น นอกจากนี้ภายในวัดยังมีต้นโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพาะเมล็ดนำมาปลูกไว้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 1583

 

วัดยาง ณ รังสี และพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน

ตั้ง อยู่หมู่ 2 ตำบลตะลุง ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีด้านตะวันตก เดิมเรียกว่า วัดพญายาง เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีต้นยางยักษ์ต้นหนึ่งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ท่าม กลางดงต้นยาง เดิมชื่อวัดยางศรีสุธรรมาราม แล้วเปลี่ยนเป็นวัดยาง ณ รังสี จนถึงปัจจุบัน

ส่วนพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญไม้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี ศาลาหลังนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. 2536 ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศาลาวัดในชนบทภาคกลางในประเทศไทย ทั้งนี้ผู้สร้างจำลองแบบมาจากภาพศาลาที่อยู่ด้านหลังธนบัตรใบละ 1 บาท ที่พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 8 ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยาก ต่อมาได้มีการบูรณะซ่อมแซมแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 โครงการพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านจึงได้เกิดขึ้น และนับเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านแห่งแรกของประเทศไทย

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายลพบุรี – บางปะหัน (ถนนเลียบคลองชลประทาน) จนถึง กม.ที่ 9 วัดจะอยู่ด้านขวามือ มีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านแพรก ออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 05.30 – 17.30 น.

วัดเสาธงทอง


ตั้งอยู่บนถนนฝรั่งเศสซึ่งตัดเชื่อมระหว่างพระราชวังนารายณ์ฯ กับบ้านหลวงรับราชทูต เป็นวัดเก่าแก่ เดิมแยกเป็น 2 วัด คือ วัดรวก และวัดเสาธงทอง พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้รายงานกราบทูลเสนอความเห็นต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลอยุธยาว่า วัดรวกมีโบสถ์ วัดเสาธงมีวิหาร สมควรจะรวมเป็นวัดเดียวกัน ทรงดำริเห็นชอบให้รวมกัน และให้เรียกชื่อว่า วัดเสาธงทอง

วัดนี้มีโบราณสถานที่ควรชม คือ พระวิหารซึ่งแต่เดิมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาอื่น เพราะจากแผนที่ของช่างชาวฝรั่งเศสทำไว้ ระบุว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่พำนักของชาวเปอร์เซีย พระวิหารหลังนี้อาจเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลามของชาวเปอร์เซียก็เป็น ได้ นอกจากนั้นก็มีตึกปิจู ตึกคชสาร หรือตึกโคระส่าน เป็นตึกเก่าสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักของแขกเมืองและราชทูตชาวเปอร์เซีย

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations