www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

SARABURI

SARABURI : General Information

Saraburi, the province of historical sites, the holy footprint, the beauty of nature, and famous food, is located some 108 kilometres from Bangkok.       


    Travelling to and around Saraburi could be made in one day. The province is administratively divided into 13 districts: Muang Saraburi, Nong Saeng, Sao Hai, Ban Mo, Phra Phutthabat, Nong Don, Kaeng Khoi, Muak Lek, Wang Muang, Wihan Daeng, Nong Khae, Don Phut, and Chaloem Phra Kiat.

SARABURI : How to get there

Distances from Amphoe Muang to neighbouring Amphoes :

  1. Sao Hai 8 Km.
  2. Kaeng Khoi 15 Km.
  3. Chaloem Phra Kiat 20 Km.
  4. Nong Khae 21 Km.
  5. Nong Saeng 25 Km.
  6. Phra Phutthabat 28 Km.
  7. Wihan Daeng 28 Km.
  8. Ban Mo 30 Km.
  9. Muak Lek 38 Km.
  10. Nong Don 38 Km.
  11. Don Phut 42 Km.
  12. Wang Muang 64 Km.

Distances from Saraburi to neighbouring provinces:

  1. Lop Buri 46 Km.
  2. Nakhon Nayok 58 Km.
  3. Prachin Buri 86 Km.
  4. Nakhon Ratchasima 152 Km.

Car

By Car: From Bangkok, take Highway No. 1 (Phahonyothin) to the traffic roundabout at Bang Pa- In, Phra Nakhon Si Ayutthaya, and then turn right to Mittraphap Road, which is some 60 kilometers from Saraburi town.

Bus

By Bus: There are many daily regular buses and air-conditioned coaches from the Northeastern Bus Terminal (Mo Chit 2) on Kamphaeng Phet II Road. Call : 0-2537-8055 for more information.

Train

By Train: From Bangkok Railway Station (Hua Lamphong), there are daily Bangkok-Saraburi trains. A stop at Kaeng Khoi and Muak Lek could also be made. Call the Travel Service Bureau at 0-2223-7010 or 0-2223-7020 for more information.

SARABURI : Activities

The vineyards in Muak Lek district

At the Muak Lek District, there are vineyards open all year for tourists. Visitors can either taste fresh grapes, processed grape products such as wine, seedless grapes, grape juice, grape candy, grape jam, raisins, preserved grape jam, etc. or join a grape picking activity. The vineyards open to the public are Kamnan Meng’s Vineyard, Tel. 0 3634 4693; Khun Mali’s, Tel. 0 3622 7056-7, 08 1853 5893; or Phu Amon Vineyard and Wine, Tel. 0 3632 7183, 08 1906 9373. Seedless grapes can be purchased at Kamnan Meng’s Vineyard, 101 Mu 5 (the entrance to Ban Bo Tana), Mittraphap Road, Muak Lek District, Tel. 0 3634 4693, 0 3634 1015, Rai Nam Phu Fa at Lam Phaya Klang Sub-district, Muak Lek District, Tel. 08 1216 6419. To get there: The vineyards will be along Highway No. 2089, the Muak Lek - Wang Muang route.

Wat Phra Phutthachai

Wat Phra Phutthachai is situated on the foot of Khao Pathawi, Nong Pla Lai Sub-district, the same entrance as Phra Phutthachai National Park, where Phra Phutthachai or Roi Phra Phuttharup - a shadow of the Buddha is located on the cliff. A mondop - a square building with a crown-like spire - was built to cover it. A staircase was also constructed to lead the way from the temple to the cliff above the Mondop.

Moreover, there are pre-historic line drawings at the foot of the cliff such as the drawing similar to deer. Near the entrance to Phra Phutthachai, there are human hands and symbols. From Tham Ruesi to Phra Phutthachai on the western side, there are drawings of chickens, Buddha images and symbols. Also, on the Cho Po Ro cliff, a gigantic and complicated drawing was found. It is similar to the pre-historic one at Pha Taem, Ubon Ratchathani. Moreover, there is an ancient drawing with latex, aged approximately 3,000 years, symbolising the meaning among the group and probably used as a ceremonial medium or belief of the people in that period of time.

Furthermore, Roi Phra Phutthabat Bueang Khwa - Buddha’s right footprint - was discovered in 1994. The Fine Arts Department renovated the Mondop on the mountain in the area of Wat Phra Phutthachai. When the cement floor was removed, the Buddha’s right footprint appeared under the sand printed on a stone.

Khao Sam Lan National Park

The Khao Sam Lan National Park covers 4 districts: Mueang, Kaeng Khoi, Nong Khae, and Wihan Daeng and occupies an area of 44 square kilometers. It was declared a national park on June 2, 1981. October to January (winter season in Thailand) is the best time to visit.

Namtok Sam Lan National Park originally called “Khao Sam Lan National Park”, covers 4 districts: Mueang, Kaeng Khoi, Nong Khae and Wihan Daeng, and occupies an area of approximately 44 square kilometres or 27,856 rai. It was declared a national park on 2 June, 1981. October to January, which is during winter, is the best time to visit.
The park comprises many tiny and large mountains with a plain in the valley. The highest summit is Khao Khrok with a height of 329 metres. It is the highest sightseeing spot where the panoramic view surrounding the centre of Saraburi and nearby districts can be clearly witnessed. During World War II, the Japanese soldiers used this spot to watch the movements of their opponents through binoculars. The condition of this area is still naturally abundant. Many wild animals can be witnessed such as pheasants, red jungle fowls, barking deer, monkeys, wild boars, and various kinds of birds such as the Asian fairy-bluebirds, the white-crested laughing thrushs, the lineated barbets, the green-billed malkoha, as well as, many types of butterflies.

There are many waterfalls inside the national park such as “Namtok Sam Lan”. It features 3 levels of rock terraces similar to a staircase, and this is the origin of the waterfall’s name. It is 300 metres from the office of the National Park. There is also “Namtok Pho Hin Dat", approximately 300 metres from the park office. It is a single-levelled waterfall, suitable for swimming. In the area of the waterfall is a wide rock terrace with a gigantic Pho or Bodhi tree, extending its branches outward. Moreover, there is “Namtok Ton Rak Sai”, which is 400 metres from the park office and originates from the same stream as Namtok Pho Hin Dat. It is a single levelled waterfall. Its lively stream flows from the 7-metre high stone cliff to the basin below. Around the basin are many big and small rocks which can be used as the place for admiring the waterfall. There is a trail, connecting these waterfalls together, which takes approximately 2-3 hours to get back to the starting point without having to return the same way. The waterfall is most beautiful during the end of July until the beginning of October. Other interesting attractions are as follows:

Khao Ruak Reservoir is a small reservoir with a carrying capacity of 50,000 cubic metres. It is located between Khao Ruak and Khao Daeng and was constructed in 1980 with a sightseeing spot and venue for recreational activities such as kayaking, cycling a punting boat, swimming, etc.

Phra Phutthachai Tunnel is 12 kilometres from the park office. It is a one-way train tunnel which is 7 metres wide, 7 metres high and 1,197 metres long. It was constructed in 1994 and is the longest train tunnel in Thailand built by Thai people. It is at Khao Chong Ling on the border between Tambon Charoen Tham , Amphoe Wihan Daeng and Tambon Nong Pla Lai, Amphoe Mueang, Saraburi.

World War II Memorial of the Japanese Army (Khao Daeng) is 2 kilometres from the park office. It is a historical attraction. During World War II, the Japanese soldiers occupied the area of Khao Daeng as a military base and prison for captives. There remain traces of holes caused by the bombs left behind by the Japanese soldiers. The constructions made by the Japanese soldiers are the commanding tunnel, trenches along the valley, the commanding room, a treasure room, and the bunker lines.

Ancient Chedi on Top of Khao Radar is assumed to have been constructed during the Ayutthaya period but was struck by the thunderbolt. At present, there are some traces left. Another historical importance is that the Japanese soldiers once used this place as a cannon base.

Besides, there are 3 natural study routes; namely, 1) Khao Daeng route, a distance of 1.6 kilometres, 2) Sam Lan – Ton Rak Sai route, a distance of 3.2 kilometres, and 3) Sam Lan – Sap Pla Kang route, a distance of 4.5 kilometres. For the 3rd route, tourists can stay overnight. Please inform the national park officer in advance.

The admission is 100 baht for adults and 50 baht for children.

Accommodation and Facilities: The park has three guesthouses provided for tourists, costing 600-2,400 Baht, a camp for 60 people, costing 6,000 Baht/night, and a camping site for tourists bringing their own camping gear. Besides, there are punting boats and canoes for rent. For more information, please contact the park office at Tel. 0 3622 5171-2 or at the National Park, Wildlife and Plant Conservation Department, Bang Khen, Bangkok, at Tel. 0 2562 0760, or at www.dnp.go.th.

To get there: The park is located on the Bangkok - Saraburi Road, on Highway No. 1, Phahonyothin Road, approximately 16 kilometres south of Saraburi. Departing from Bangkok, turn right to make a U-turn before reaching Km. 102 to Highway No. 3042 and 3046, respectively to the asphalt road for 8 kilometres.


Sunflower Fields

Sunflower Fields are found between Lop Buri and Saraburi along the Phatthana Nikhom-Wang Muang route. From December to January (Thai winter season), the sunflowers along the road attract all passersby when they are in full bloom.

Wat Phra Phutthabat

This temple is located in Tambon Khun Khlon, 28 kilometres north of the town, turn left 1 km. before arriving in Phra Phutthabat district. The important historical site here is Lord Buddha's Footprint that was found on a stone panel near Suwan Banpot Hill or Satchaphanthakhiri Hill. Lord Buddha's Footprint measures 21 inches wide, 5 feet long, and 11 inches deep. The footprint was discovered during the reign of King Songtham of Ayutthaya. The footprint had 108 religious aspects, so he commanded a temporary Mondop be built to cover the footprint and it has been refurbished several times.

The Mondop is a square building, has a seven-tier castle roof and each is roofed with green glazed tiles. Each level is decorated with an arch supported by wood, gold and colored glasses. The external walls are also decorated with gold and coloured glasses in the shapes of mythological gods and lotus top. The pearl inlaid artwork on the Mondop doors represents one of the best craftsmanship in the country. The Mondop entrance has three Naga (mythical serpents) stairs, each conveying the meaning of silver, gold, and glass stairs that stretch from the heavens. A five-headed Naga cast in bronze flanks the stairs. The Mondop is surrounded by bells, which visitors can rap to make merit. The surrounding ubosot and vihara were built according to the architecture of the Ayutthaya and early Rattanakosin periods.

In the temple compound there is the Phra Phutthabat National Museum which displays various precious artifacts including King Songthams attire, ceramics, bronzeware, old weapons, a replica of Lord Buddha's footprint, an old Mondop top, Phat Yot (ecclesiastical fans) from various periods, and the pipe dating from the King Narai period. The Phra Phutthabat Festival is held twice a year, during the eighth day of the waxing moon until the first day of the waning moon in the third month and the fourth month of the lunar calendar.

Bo Phran Lang Nuea is a small stone well near the temple. At the mouth of the well are knee prints. There are stone slopes and a deep hole the size of a milk can near the well. The water that flows from the hole is believed to be holy water. According to legend, Bun, a hunter who found Lord Buddha's Footprint, washed game meat at this well by kneeling down and the small hole was made from his spear which was stuck into the ground. There is a continuous flow of water from the well.

 

Namtok Chet Sao Noi

Namtok Chet Sao Noi is a small waterfall at Tambon Muak Lek, on the same route as Namtok Muak Lek and continue on for another 9 kilometres on an asphalt road. The waterfall flows along a stream and has 7 levels. The height of each level is 4 metres and offers a spacious shady swimming area.

 

Weaving Centre of Tambon Ban Ton Tan

Weaving Centre of Tambon Ban Ton Tan was originated from a group of unemployed women but would like to make use of their free time and create more income for their families. This centre is a complete learning venue for youth and the public. There are various kinds of woven fabric on display such as loincloth, plain coloured cloth, Pha Si Khao, and fabric in the Dok Phikun – bullet wood flower – pattern, which is a traditional Thai Yuan style. To get there: Take Highway No. 3041 and turn right on to Highway No. 3341 until reaching Ban Pak Bang. Enter the same entrance as Wat Ton Tan. The centre is near the temple.

 

Tham Phra Phothisat

This cave is located in the compound of Wat Tham Phra Phothisat, Tambon Thap Kwang, 32 kilometres from Saraburi town, 15 kilometres along Highway No. 2 (Mittraphap Road) to Nakhon Ratchasima and 11 kilometres along the access road following the road sign. The cave is situated in the middle of Khao Nam Phu. It houses a bas-relief Buddha image on the wall, a Lankan pagoda of the Dvaravati period as well as monumental stalactites and stalagmites. The cave is teeming with various kinds of trees. Tham Thammathat, Tham Lumphini, Tham Sangat Chedi and a stone garden can be seen in the area.

 

Sao Ronghai

Sao Ronghai is in Chao Mae Takhian Tong Shrine at Wat Sung, Tambon Sao Hai. It is located 500 meters from Sao Hai District Office. It is a large pillar, which is believed to be a female spirit because offerings people give to this pillar are all female items. According to legend, when Bangkok was built as the capital, there was a decree that the most beautiful pillars from all over the country would be taken to Bangkok for selection to find the City Pillar.

Saraburi sent a nearly perfect pillar by floating it down the Pa Sak River. However, it arrived just after the selection of another pillar was made and it was designated as a secondary pillar instead. If it had arrived in time, it would have been chosen as the city pillar because of its large size and unmatched beauty. The pillar became very sad and floated itself back to Saraburi where it later sank. Afterwards, villagers would report hearing crying sounds. Hence, the name of the Tambon as Tambon Sao Ronghai and its subsequent name of Amphoe Sao Hai.

 

Samnak Song Tham Krabok

Samnak Song Tham Krabok is located at Prong Prap hills, Khun Khlon Sub-district, 25 kilometres from the centre of Saraburi along Phahonyothin Road. It is on the left side if coming from Mueang district of Saraburi. Its entrance is between Km. 132-133. It is a well-known rehabilitation centre for drug addicts. This monastic residence was established by a Buddhist nun, Mian Panchan in 1957. After her death, Luangpho Chamrun Panchan, her nephew, has continued the mission. He was awarded the “Magsaysay Award” on 10 September, 1975.

 

Thanon Phrachao Songtham or Thanon Farang Song Klong

Thanon Phrachao Songtham or Thanon Farang Song Klong is a road constructed during the reign of King Songtham when he came to examine the Buddha’s footprint by his royal barge travelling along the Pa Sak River. As the king arrived at the pier, he continued his trip by an elephant led by Phran Bun. On his way back, he ordered a foreigner to look through a telescope and had a 10-wa (20-metre) road cut as a royal path straight through to the pier.

At present, approximately 9 kilometres of the path remain to be seen, starting from the area opposite Wat Sang Sok. The first kilometre is a dirt path, which is no longer used and the rest is a laterite road passing behind Wat Panchaphirom, Wat Nong Khonthi, crossing Phra Phutthabat – Ban Mo Road in front of Wat Kanlayana Banphot, passing in front of Chaopho Khao Tok Shrine and Phra Tamnak Sa Yo before disappearing. It was transferred into a laterite and concrete road with a width of 6-8 metres.

 

Wat Chanthaburi

Wat Chanthaburi is located at Ban Mueang Kao, Mu 6, Mueang Kao Sub-district, 1 kilometre beyond the District Office. Take Highway No. 3041. The temple is on the right side. There is a clear direction sign to the temple. The admirable points are the Ubosot, constructed in 1893 during the reign of King Rama III in brick and cement with a gable roof, Cho Fa - gable finial - and Bai Raka - crockets - on the roof. The gable is decorated with stucco relief and crockery. Inside are mural paintings of the similar period as the Ubosot which remain perfect and beautiful, depicting the gathering of angels and story of the Lord Buddha.

 

Wat Samuha Pradittharam

Wat Samuha Pradittharam is located in Suan Dok Mai Sub-district, 2 kilometres from the District Office. Its Ubosot was completely constructed in 1897. Inside are very beautiful mural paintings depicting the Khawi folk tale, the main Buddha image taken from Sukhothai’s Ancient City and cast of bronze covering with gold leaves in the posture of subduing Mara, as well as, the images of the Lord’s 2 major disciples: Moggallana and Sariputta residing on both sides. In September every year, a traditional long boat race is organised at this temple.

 

Wat Khao Kaeo Worawihan

Wat Khao Kaeo Worawihan is located in Ton Tan Sub-district, on the right side of the Pa Sak River, 6 kilometres from Sao Hai District Office. When King Rama IV visited Sao Hai District, he ordered the renovation of this temple and promoted it as a royal temple. There has been a rumor that there used to be a bright crystal ball over the Wihan of Wat Khao Khaeo on some nights. It is considered a miracle of the sacred object contained inside the Chedi. Inside the small 5-spired Chedi situated between the bell tower and the main chedi reside the adorned Buddha image, Buddha image in the Palelai (Palilayaka) posture, and the Lord Buddha’s footprint. All of these are beautiful.

 

Wat Phayao

Wat Phayao is located on the bank of the Pa Sak River, Mu 1, Tambon Sala Rithai. At the back of the temple is the Pak Bang – Saraburi Road, passing by the golden Buddha image of the Ayutthaya period. The image originally resided at a deserted temple in Uthai District, Phra Nakhon Si Ayutthaya. Later, King Rama I the Great ordered to take it to reside as the principal Buddha image of Saraburi. The golden Buddha image is the most revered by the people of Saraburi.

This golden Buddha image of Wat Phayao is considered as one of the major sculptures of Ayutthaya period. It is believed to have been constructed during the reign of either Somdet Phra Borommatrailokkanat or Somdet Phra Ramathibodi II. Also, it is believed that the casting of the Buddha image from liquid gold into a gigantic one cannot be done by normal human beings. Only a king who possesses royal charisma would have been able to have constructed a Buddha image like this.

The golden Buddha image of Wat Phayao processes fine characteristics of proportionate body and elegance, sitting in the meditation posture presenting courage and strength.

The believers built a wihan with a cruciform plan as a residence for the Buddha image to enhance its dignity and honour to the people of Saraburi.

To get there: Take the Saraburi – Ban Yang Route and turn right at the opposite site of the Pa Sak River Bridge and proceed further for 100 metres. The overall distance from Mueang district of Saraburi is approximately 9 kilometres.

 

Phra Phuttha Nirarokhantarai Chaiwat Chaturathit

It is the Buddha image of the East and one of the four images made by the Territorial Defense Department to express loyalty to King Rama VI and King Rama IX.

Phra Phuttha Nirarokhantarai Chaiwat Chaturathit resides in the cruciform pavilion of Wat Sala Daeng, Phichai Ronnarong Songkhram Road, opposite the city hall. It is the Buddha image of the East and one of the four images made by the Territorial Defense Department to express loyalty to King Rama VI and King Rama IX. On 27 December, 1968, H.M. the King gave the Buddha image to the people of Saraburi.

Tham Si Wilai

This cave is in Wat Tham Si Wilai at Tambon Na Phra Lan, some 22 kilometres from Saraburi town. The cave houses Phra Phutthanaowarat, a Buddha image of the Chiang Saen period as well as beautiful stalactite and stalagmite formations. From here, visitors could appreciate scenic views of mountain ranges.

Phu Khae Botanical Garden

Phu Khae Botanical Garden
This Botanical Garden is located in Phu Khae district, 17 kilometres from town along the Saraburi-Lop Buri route (Phahonyothin Road). It collects various kinds of plants for study and breeding. The vast expanse of garden and the flowing stream are suitable places for relaxation. The garden is open daily from 08.00-18.00.

This Botanical Garden is located in Phu Khae district, 17 kilometres from town along the Saraburi-Lop Buri route (Phahonyothin Road). It collects various kinds of plants for study and breeding. The vast expanse of garden and the flowing stream are suitable places for relaxation. The garden is open daily from 08.00-18.00.

Muak Lek Arboretum

This arboretum is 37 kilometres from Saraburi town along Mittraphap Road. The entrance is on the left side and opposite the store of the Dairy Farming Promotion Organization of Thailand .It covers an area of 150 acres and is an intermediate forested area between Muak Lek district, Saraburi and Pak Chong district, Nakhon Ratchasima. The lively stream originates from the tributaries in Khao Yai National Park that flow into Pa Sak River that is the border between the two provinces. The stream has rock slopes and a small beautiful cascade. Along the stream are bridges and various kinds of plants and flowers.

 

 

Tham Phra That Charoen Tham

This cave is accessed via 2 routes: Drive for 12 kilometres from the town along Mittraphap Road and turn left to Kaeng Khoi district through the market and 8 kilometres over the Adireksan Bridge (which was built over Pa Sak River). Alternatively, drive for 15 kilometres from the town along Highway No. 1 (Lop Buri route) to Phu Khae Witthaya School and then drive for 10 kilometres from the Phu Khae-Kaeng Khoi Road (opposite the Phu Khae Witthaya School).

Cruising Along the Pa Sak River The Pa Sak River

The Pa Sak River, which runs through the area of Kaeng Khoi district, offers beautiful scenery of forests and mountains along the river, hills and high cliffs, which have animal shapes. Boat trips are operated by some riverside resorts such as the Suphalai Pasak Resort tel. 0-3630-6270-2 and Bangkok 0-2260-2223-6.

Thale Ban Mo

Thale Ban Mo is situated at Tambon Ban Mo and Tambon Sang Sok, covering an area of 1,600 rai. Thale Ban Mo is a deep and wide pond, being a habitat of various water animals with a serene atmosphere. During February to July, a flock of thousands of migratory birds from Siberia will come, and live in this area. Also, around this place are various decorative flowers which create a peaceful atmosphere, as well as, an islet that admirably lies in the middle of the pond.

Bencha Sutthi Khongkha

Bencha Sutthi Khongkha refers to the sacred water from 1 of the 5 important rivers that flows through Sao Hai District, which has been used in the Oath of Allegiance Ceremony from the reign of King Rama IV until the present time. When the king travelled by boat, he dropped by and took a bath at the Rat (Raja) Pier. The king was pleased with the cool, deep-running and calm water and had the water in this area taken to undergo an incantation ceremony at Wat Phra Phutthabat before being used in the coronation ceremony, as well as, other royal rites in the palace. The sacred water was taken from 5 rivers; namely, the Chao Phraya River (from Ang Thong), the Phetchaburi River (from Phetchaburi), the Ratchaburi River (from Samut Sakhon), the Bang Pakong River (from Nakhon Nayok) and the Pa Sak River (from Saraburi) and, therefore, originated the name of “Bencha Sutthi Khongkha” or “five pure rivers”.

Ban Khao Kaeo

Ban Khao Kaeo is a traditional Thai wooden house of approximately 80-100 years old and is the property of Achan Songchai Wannakun. The house is established as the “Thai Yuan Cultural Study Centre”, collecting folk utensils, weapons, living tools, as well as, ancient woven textiles aged more than 100 years old such as Pha Muk Yok Dok, Pha Lai Khit, and Pha Chok. The atmosphere inside the house is relaxing and pleasant.

The Golden Buddha Image.

The Golden Buddha Image resides at Wat Phra Yao. It is a Buddha image in the meditation posture measuring 110 centimetres wide at its lap, 170 centimetres high, round face, smiling lips and a flame-like spire on the head. It was constructed during the late Ayutthaya period. At the second fall of the Kingdom of Ayutthaya to Burma, the locals who immigrated from the Burmese took it along, applied black lacquer and cement to cover it, and left it at a deserted temple in Uthai District, Phra Nakhon Si Ayutthaya. Then, it was taken to be the principal Buddha image at Wat Uthit Samoson before being moved again to reside at Wat Phayao. Later, a monk noticed the black lacquer in between the cement and asked the locals to remove the cement. As a result, the golden Buddha image underneath was discovered. The Fine Arts Department examined it and analysed that there is 70% gold. Therefore, the locals named it “Luangpho Thongkham” (the Golden Buddha image).
=

Crocodile Farm and Zoo

It use the similar route as the entrance to Wat Phra Phutthachai, 1 kilometre prior to reaching the temple. It is a location where crocodiles are raised and bred. Apart from the crocodiles, there are many other kinds of animals such as deer, monkeys, and various species of birds. It is open during 8.30 a.m. – 5.30 p.m. The entrance fee is 30 Baht for adults and 20 Baht for children. For more information, please contact Tel. 0 3621 2958.

World War II Memorial of the Japanese Army (Khao Daeng)

This is located in Khao Sam Lan National Park, next to the south of Wat Phra Phutthachai. There are bomb craters from made by Japanese forces in World War II.

 

Khao Khrok

The park has mountains of various sizes and plains in the valley. The highest peak is Khao Khrok which is some 329 metres high. Visitors can see a clear view of the town and neighbouring districts from here. The park is also home to pheasants, jungle fowls, barking deer, monkeys, wild boars, and birds of various species, especially Princess Sirindhorn Bird or the White-eyed River Martin. Khao Sam Lan National Park offers several waterfalls: Sam Lan waterfall is a wide stone plateau that falls down 3 levels and is similar to stairs. Pho Hin Dat waterfall is 300 metres from the park office and has a wide stone plateau and a single-level waterfall which is suitable for swimming. Ton Rak Sai waterfall is some 300 metres from the park office and 500 metres from Pho Hin Dat waterfall, and originates from the same stream as Pho Hin Dat waterfall. The lively stream flows through Pho Hin Dat waterfall before running into Ton Rak Sai waterfall, a 7-metre one-level waterfall. Touring around these attractive waterfalls can be made within 2-3 hours on walking trails where visitors will not have to use the same trail on their return.

In addition, there are other splendid waterfalls that can be reached by walking for some distance from the park office: Khao Daeng waterfall (800 ms.), Kuak Ma waterfall (2 kilometres), Krok I Wo waterfall (3 kilometres), and Nang Chon waterfall (6 kilometres)

The park offers camping sites for eighty persons (visitors must bring sleeping bags by themselves). For visitors who bring their own tents, the park accommodates campsites. Call the National Park Division, Royal Forestry Department, Bang Khen at 0-2561-4292 ext. 724-725, 0-2579-5734 and 0-2579-7223.

 

Tham Dao Khao Kaeo

This cave is at Tambon Phaya Klang, 35 kilometres from Muak Lek district or 75 kilometres from Saraburi town. To visit the cave, visitors must climb the stairs from the foot of the hill to the mouth of the cave about 100 metres up. When the light shines on the caves cell, it will sparkle like beautiful red, black and brown stars. The beautiful stalactite and stalagmite formations are on the cell and the wall.


สระบุรี : ข้อมูลทั่วไป

พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งท่องเที่ยว หนึ่ง เดียวกะหรี่ปั๊บนมดีประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง

สระบุรี เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งแต่โบราณสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2092 ในรัชสมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ์ การตั้งเมืองนี้ สันนิษฐานว่าพระองค์โปรดเกล้าฯให้แบ่งพื้นที่เขตเมืองลพบุรีกับเมืองนครนายก บางส่วนมารวมกัน ตั้งขึ้นเป็นเมืองสระบุรี ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์ระดมพลเมืองในยามศึกสงคราม เพราะฉะนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา จึงมักพบเรื่องราวของจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับการศึกสงครามอยู่เสมอ สำหรับที่มาของคำว่า “สระบุรี” สันนิษฐานว่า เพราะเหตุที่ทำเลที่ตั้งครั้งแรกมีบึงอยู่ใกล้ คือ “บึงหนองโง้ง” เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงได้นำเอาคำว่า “สระ” มารวมเข้ากันกับคำว่า “บุรี” เป็นชื่อเมือง “สระบุรี”

สระบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 107 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง หนองแซง เสาไห้ บ้านหมอ พระพุทธบาท หนองโดน แก่งคอย มวกเหล็ก วังม่วง วิหารแดง หนองแค ดอนพุด และเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 3,576 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดนครนายก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ประชาสัมพันธ์จังหวัดสระบุรี โทร. 0 3621 1545, 0 3621 1025
  2. โรงพยาบาลจังหวัดสระบุรี โทร. 0 3621 1008, 0 3631 6555
  3. โรงพยาบาลพระพุทธบาท โทร. 0 3626 6111, 0 3632 3291-6
  4. สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสระบุรี โทร. 0 3621 1011, 191 , 0 3621 1014
  5. สถานีขนส่งสระบุรี (บขส.) โทร. 0 3621 1810, 0 3623 0676
  6. สถานีรถไฟสระบุรี โทร. 0 3621 1091
  7. สถานีรถไฟแก่งคอย โทร. 0 3624 4020, 0 3624 5520
  8. สถานีรถไฟบ้านหมอ โทร. 0 3620 1311
  9. ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
  10. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

Link ที่น่าสนใจ

ททท. สำนักงานลพบุรี
http://www.tourismthailand.org/lopburi
ข้อมูลตำบลและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
http://www.thaitambon.com
สำนักงานจังหวัดสระบุรี
http://www.saraburi.go.th
ชมรมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี
http://www.saraburitourism.com
ชมรมธุรกิจท่องเที่ยวอำเภอมวกเหล็ก
http://www.muaklek.in.th

สระบุรี : ข้อมูลการเดินทาง

 

ข้อมูลการเดินทางจากกรุงเทพฯไป จ. สระบุรี

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ผ่านอำเภอวังน้อย อำเภอหนองแค ตำบลหินกอง ถึงสี่แยกสะพานต่างระดับสระบุรี ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพ ตรงไปก็จะถึงตัวเมืองสระบุรี

รถไฟ
มีบริการเดินรถไฟจากสถานีรถไฟหัว ลำโพงไปจังหวัดสระบุรีทุกวัน วันละหลายขบวน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง และบางขบวนยังสามารถแวะลงได้ที่สถานีแก่งคอย และสถานีมวกเหล็กได้ด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 (สำรองตั๋วทางโทรศัพท์ล่วงหน้า 3 วัน ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 60 วัน) หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศของ บริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 วันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.สระบุรี
การเดินทางจากอำเภอเมืองสระบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอเสาไห้ 8 กิโลเมตร
  2. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 8 กิโลเมตร
  3. อำเภอแก่งคอย 15 กิโลเมตร
  4. อำเภอหนองแค 21 กิโลเมตร
  5. อำเภอหนองแซง 25 กิโลเมตร
  6. อำเภอพระพุทธบาท 28 กิโลเมตร
  7. อำเภอวิหารแดง 28 กิโลเมตร
  8. อำเภอบ้านหมอ 30 กิโลเมตร
  9. อำเภอมวกเหล็ก 38 กิโลเมตร
  10. อำเภอหนองโดน 38 กิโลเมตร
  11. อำเภอดอนพุด 42 กิโลเมตร
  12. อำเภอวังม่วง 64 กิโลเมตร
  13. การเดินทางจากสระบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
  14. ลพบุรี 46 กิโลเมตร
  15. นครนายก 58 กิโลเมตร
  16. ปราจีนบุรี 86 กิโลเมตร
  17. นครราชสีมา 152 กิโลเมตร
สระบุรี : วัฒนธรรมประเพณี

วันที่ 28 ธันวาคม 2550 – 6 มกราคม 2551
จังหวัดสระบุรี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ของจังหวัดสระบุรี ลุ้นรับโชคต้นปีชวดกับฉลากกาชาด ชมการออกร้านจาก หน่วยงานราชการและภาคเอกชน เลือกสรรผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเป็นของขวัญปีใหม่ และชม การแสดงต่างๆ อีกมากมาย ติดต่อจังหวัดสระบุรี โทร. 0-3631-3433 เหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี โทร. 0 3621 1911 เทศบาลเมืองสระบุรี โทร. 0 3621 1147

สระบุรี : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท ห่างจากตัวเมืองจังหวัดประมาณ 28 กิโลเมตร มีทางเลี้ยวซ้ายก่อนถึงอำเภอพระพุทธบาทเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ 2167 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปูชนียสถานที่สำคัญคือ " รอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้บนแผ่นดินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรีรอยพระพุทธบาทมีความกว้าง 21 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว ลึก 11 นิ้ว ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรอยพระพุทธบาทตามลักษณะ 108 ประการ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปชั่วคราว ครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาได้มีการสร้างต่อเติมกันอีกหลายสมัย และยังพบรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ที่ก้อนหินขนาดใหญ่ สูงจากพื้น 160 เซนติเมตร เมื่อครั้นเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาท
ลักษณะของพระมณฑป เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบเครื่องยอดรูปปราสาท 7 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว มีซุ้มบันแถลงประดับทุกชั้น มีเสาย่อมุมไม้สิบสอง ปิดทองประดับกระจกโดยรอบฝาผนังด้านนอกปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพพนม พุ่มข้าวบิณฑ์บานประตูพระมณฑปเป็นงานศิลปกรรมประดับมุกชั้นเยี่ยมของเมือง ไทย พื้นภายในปูด้วยเสื่อเงินสาน ทางขึ้นพระมณฑปเป็นบันไดนาคสามสายซึ่งหมายถึง บันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้ว ที่ทอดลงจากสวรรค์หัวนาคที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริด เป็นนาค 5 เศียร บริเวณรอบพระมณฑปมีระฆังแขวนเรียงราย เพื่อให้ผู้ที่มานมัสการได้ตีแผ่ส่วนกุศลแก่เพื่อนทั้งหลาย ส่วนพระอุโบสถ และพระวิหารต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ล้วนสร้างตามแบบศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์
นอกจากนี้ ในบริเวณวัดยังมี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธบาท ( วิหารหลวง ) ซึ่งเป็นเก็บรวบรวมศิลปวัตถุอันมีค่า อาทิ เครื่องทรงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เครื่องลายครามสังคโลก เครื่องทองสำริดโบราณ ศาสตราวุธโบราณ รอยพระพุทธบาทจำลอง ยอดมณฑปพระพุทธบาทเก่าพัดยศของพระสมัยต่างๆ และท่อประปาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วิหารหลวงจะเปิดให้ชมเฉพาะช่วงที่มีงานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ซึ่งปกติจัดให้มีปีละ 2 ครั้ง คือ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงแรม 1 ค่ำ และขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 จนถึงแรม 1 ค่ำ และงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ซึ่งเป็นประจำทุกปี ในวันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 (ประมาณเดือนกรกฎาคม) โดยจะมีการทำบุญตักบาตรด้วยข้าวสุกที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร และจะไปเก็บดอกไม้ที่ชาวบ้านเรียกว่าดอกเข้าพรรษา เพราะมีเฉพาะในเดือน 8 เท่านั้น เพื่อนำไปตักบาตรในตอนบ่ายของวันเดียวกัน

อัตราค่าเข้าชม คนไทย ไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ คนละ 30 บาท เปิดให้สักการะทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.

ความเชื่อและวิธีการบูชา ตามคติของคนโบราณกล่าวไว้ว่าหากได้มานมัสการรอยพระพุทธบาทนี้ครบถึง 7 ครั้ง จะได้ไปจุติในสรวงสวรรค์ แม้แต่ในชาติภพนี้ อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตมีความสำเร็จสมหวังในทุกประการ

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ตำบลท่ามะปราง อำเภอแก่งคอย มีพื้นที่ 13,750 ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ป่านานาชนิด มีพื้นที่ติดต่อกับด้านตะวันตกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วยสังคมป่าหลายชนิด ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า ก่อให้เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืช เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกต่างๆ ในพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่พบมีจำพวกพืชสมุนไพร เช่น พญามีฤทธิ์ ม้ากระทืบโรง กราวเครือ ว่าน รวมทั้งเห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดแชมเปญ เห็ดปากหมูฯ สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณ ได้แก่ ช้างป่า กระทิง หมี กวาง เก้ง นางอาย อีเห็น กระจง หมูป่า และ นกอีกประมาณ 158 ชนิด เช่น โพระดก หัวขวาน กระแตแต้แวด ปรอด ขุนแผน ฯลฯ บินข้ามไปมาระหว่างศูนย์ฯกับเขาใหญ่

จากที่ทำการมีเส้นทางเดินป่าไปยังน้ำตกต่างๆ แบ่งเป็นวงรอบ ได้แก่ รอบเล็ก (น้ำตกเจ็ดคดเหนือ) ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าบริการ 150 บาท / เจ้าหน้าที่นำทาง 1 คน / นักท่องเที่ยว 10 คน รอบกลาง (น้ำตกเจ็ดคดเหนือ กลาง ใต้) น้ำตกเจ็ดคดเหนือ เป็นน้ำตกสูง 4 ชั้น รายล้อมด้วยป่าไผ่ ในช่วงเดือนธันวาคมตามลำห้วยจากน้ำตกจะมีดอกไม้ขึ้นตลอดเส้นทาง เดินลงมาทางทิศใต้ตามลำห้วยเจ็ดคดประมาณ 150 เมตร จะพบ น้ำตกเจ็ดคดกลาง ซึ่งเป็นน้ำตกชั้นเดียว มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้ลงเล่นน้ำได้ หากเดินต่อไปอีกประมาณ 150 เมตร ก็จะถึง น้ำตกเจ็ดคดใต้ เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่มีความสวยงาม สูงประมาณ 40 เมตร เป็นน้ำตกที่ตกลงมาตั้งฉากกับลำห้วยเจ็ดคด สองข้างทางของลำห้วยเจ็ดคดเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เช่น เอื้องหมายนา ดอกพนมสวรรค์ ต้นไคร้น้ำ เฟิร์นก้านดำ กระแตไต่ไม้ ฯลฯ และสัตว์นานาชนิด เช่น ปูหิน แมลงปอ น้ำตก และผีเสื้อหลากสีสัน รวมระยะทางทั้งสิ้น 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ค่าบริการ 200 บาท รอบใหญ่ (น้ำตกเจ็ดคดเหนือ กลาง ใต้ และน้ำตกเจ็ดคดใหญ่) เป็นเส้นทางที่สวยที่สุด น้ำตกเจ็ดคดใหญ่จะมีน้ำตลอดทั้งปี ซึ่งน้ำตกอื่นๆจะมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน เส้นทางนี้มีระยะทางเดิน 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 4 ชั่วโมง ค่าบริการ 300 บาท และมีเส้นทางไปยังน้ำตกอื่นๆ ได้แก่ น้ำตกเขาแรด เป็นเส้นทางที่ค้างคืนได้ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ค่าบริการ 400 บาท น้ำตกโกรกอีดก เป็นน้ำตกที่สวยงามมากและมีความสูงถึง 7 ชั้น หรือประมาณ 350 กว่าเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่รักการผจญภัย ต้องเดินเท้าเข้าไปเนื่องจากเส้นทางเข้าถึงน้ำตกค่อนข้างยากลำบาก ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 - 8 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวต้องมีอุปกรณ์พร้อมและมีร่างกายที่แข็งแรง แต่ก็คุ้มค่าเพราะน้ำตกโกรกอีดก โดยเฉพาะชั้นที่ 6 และ 7 มีความสวยงามเป็นพิเศษ เส้นทางนี้จุดเริ่มเดินอยู่ที่บ้านตะโกด้าน อยู่ห่างจากศูนย์ประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องมาถึงศูนย์ก่อน 7 โมงเช้า สามารถค้างคืนได้ ค่าบริการ 400 บาท

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีอยู่ด้วยกัน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 จากจุดชมวิวซึ่งตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการฯ 12 กิโลเมตร และสามารถชมทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกยามเย็นได้ ไปอ่างเก็บน้ำซับป่าว่าน ระยะทาง 1.5 กม. ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง เส้นทางที่ 2 จากอ่างเก็บน้ำซับป่าว่าน ไปน้ำตกหินดาดเป็นน้ำตกชั้นเดียว แต่กว้าง บริเวณโดยรอบดารดาษด้วยพรรณไม้ที่สวยงาม เช่น กล้วยไม้ ลิ้นมังกร ดอกเทียน เป็นต้น และไปยังน้ำตกคลองผักหนาม กลับมายังอ่างเก็บน้ำซับป่าว่าน ระยะทาง 4 กม. ใช้เวลา 4 ชั่วโมง เส้นทางที่ 3 จากอ่างเก็บน้ำซับป่าว่านไปน้ำตกเจ็ดคดเหนือ เจ็ดคดกลาง เจ็ดคดใต้ กลับมายังอ่างเก็บน้ำซับป่าว่าน ระยะทาง 4 กม. ใช้เวลา 4 ชั่วโมง

น้ำตกอื่นๆที่พบในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงมีความงามแตกต่างกันไป น้ำตกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตกเขาแคบ เป็นน้ำตก 7 ชั้น สูง 30 เมตร สวยงามมาก ช่องที่น้ำตกลงมาเป็นช่องแคบ น้ำจึงทิ้งตัวลงมาเป็นสาย และกระแทกก้อนหินเบื้องล่าง แตกกระจายเป็นฝอย อ่างน้ำตกใหญ่และลึกเห็นน้ำเป็นสีเขียวมรกต น้ำตกโกรกฝาผนัง อยู่ใกล้ๆ กับน้ำตกโกรกอีดก มีความสูงประมาณ 20 เมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาชันเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความโลดโผน น้ำตกซับป่าว่าน เป็นน้ำตกที่ไม่สูงนัก ต้นน้ำเกิดจากอ่างเก็บน้ำของโครงการฯ เหมาะที่จะเดินท่องเที่ยวในช่วงฝนตก หรือช่วงที่มีน้ำมาก เพราะบริเวณเส้นทางของน้ำตกปลอดภัยจากน้ำป่าและเป็นทางราบเดินสบาย แต่ละชั้นของน้ำตกมีลานกว้างให้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากกิจกรรมเดินป่าแล้วทางศูนย์ยังจัดกิจกรรมส่องสัตว์เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร

จุดชมวิวมอเครือ อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 1.8 กม. เป็นจุดที่สามารถมองทิวทัศน์ของพื้นที่ได้ในมุมกว้าง โดยทางทิศตะวันออกจะมองเห็นทัศนียภาพบริเวณที่ตั้งศูนย์ฯ และแนวเทือเขาของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ส่วนด้านทิศตะวันตกมองเห็นทัศนียภาพบริเวณตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพักจำนวน 21 หลัง มีเต๊นท์ให้เช่า ราคา 200-300 บาท/คน/คืน และถุงนอนราคา 50 บาท/คน/คืน นักท่องเที่ยวต้องเตรียมเสบียงมาเอง แต่ห้ามก่อไฟในบริเวณ อนุญาตให้ใช้เตาปิกนิก หรือเตาถ่านได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า หมู่ที่ 5 ต.ท่ามะปราง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โทร. 08 5968 3520, 08 9237 8659 โทรสาร 0 3634 6202 และ www.dnp.go.th

การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านตัวเมืองสระบุรี ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 126(เทศบาลทับกวาง) แล้วกลับรถประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายที่ศูนย์โยเร อีกประมาณ 20 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ นั่งรถโดยสารสายกรุงเทพฯ-ราชสีมา (ป.2) ลงรถที่หน้าวัดทับกวางหรือศูนย์โยเร แล้วข้ามสะพานลอยมาฝั่งขวามือ เพื่อนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้ามาระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร

ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค

ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค หรือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ ฝั่งตรงข้ามกับตลาด อ.ส.ค. สถานที่แห่งนี้ยังถือเป็นประวัติศาสตร์จุดเริ่มต้นการเลี้ยงโคนมของ ประเทศไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระ บรมราชินีนาถได้เสด็จประพาสประเทศเดนมาร์ค ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์คเป็นอย่างมาก ต่อมารัฐบาลเดนมาร์คและสมาคมเกษตรกรโคนมเดนมาร์คได้ร่วมใจกันน้อมเเกล้าถวาย โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม โดยร่วมมือกับรัฐบาลไทยจัดตั้งฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย เดนมาร์คขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและพระเจ้าเฟรดเดอริค พระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 ของประเทศเดนมาร์คได้เสด็จเปิดฟาร์มโคนม เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 ต่อมาได้โอนกิจการทั้งหมดให้รัฐบาลไทยและให้จัดเป็น "องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย" (อ.ส.ค.) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมและรับซื้อนมดิบจากเกษตรกรมา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นม

อ.ส.ค. เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์คเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง เกษตร และจุดเรียนรู้ด้านโคนมอย่างครบวงจรสำหรับประชาชนที่สนใจทั่วไป กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสในการเยี่ยมชมฟาร์มแห่งนี้ ได้แก่ การนั่งรถพ่วงชมทุ่งหญ้ากับฝูงโคนม การปั่นจักรยานเสือภูเขาในสนาม ATV ชมวีดีทัศน์ประวัติ อ.ส.ค. ชมการสาธิตรีดนม ทดลองรีดนม ชมพิพิธภัณฑ์สองกษัตริย์ไทย-เดนมาร์ค ป้อนนมให้ลูกโค บรรยายการเลี้ยงโคครบวงจร การทำอาหารหมักสำหรับโค การแสดงวิถีชีวิตคาวบอย เช่น การบ่วงบาศโค การบังคับโค ชมแปลงสาธิตหญ้าอาหารโคกว่า 35 ชนิด กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์คในทุกขั้นตอน ชมสวนเกษตร สวนสมุนไพร

ในช่วงค่ำยังได้สัมผัสกับงานคาวบอยไนท์ ซึ่งเป็นการสัมผัสชีวิตของคาวบอยในรูปแบบต่าง ๆ ภายในงานมีการแสดงดนตรีในสไตล์คาวบอย การแสดงสาธิตศิลปะของคาวบอยในรูปแบบ ต่าง ๆ และยังสนุกเพลิดเพลินกับกิจกรรมภายในงาน เช่น การยิงธนู การขว้างขวาน การปีนหน้าผาจำลอง การยิงปืน และเลือกซื้อของที่ระลึกของชาวคาวบอยได้อย่างเพลิดเพลิน

รอบการเข้าชมฟาร์ม วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 10.00 น. / 14.00 น. / 16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 น. / 11.00 น. / 14.00 น. และ 16.00 น. จำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกิน 80 คนต่อรอบ มาเป็นหมู่คณะจัดรอบเข้าชมให้ อัตราค่าเข้าชม เด็ก 50 บาท นักศึกษา 80 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท

อัตราค่าบริการของกิจกรรมต่าง ๆ
- แคมป์ปิ้ง ค่าเช่าเต้นท์ 600-1,000 บาท/คน/คืน เช่าพักแรม 2 วัน 1 คืนคิดอัตรา 2,000 บาท/คืน (กลุ่มละ 50 คนขึ้นไป)
- ขี่รถ ATV ค่าบริการ 145-800 บาท/รอบ คิดตามระยะทาง
- จักรยานเสือภูเขา ค่าบริการ 100 บาท/ชั่วโมง มี 2 รอบ 8.00-9.00 น. และ 15.00-18.00 น.
- ขี่ม้า 80-800 บาท/รอบ ขึ้นอยู่กับประเภทและระยะทาง
- ค่ายเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียงกับอาชีพการเลี้ยงโคนม อาชีพพระราชทาน จำนวนขั้นต่ำ 50 คน ไม่เกิน 250 คนต่อคณะ ค่าใช้จ่าย 1,250 บาท (2 วัน 1 คืน) และ 1,760 บาท (3 วัน 2 คืน)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองค่ายได้ที่ โทร. 0 3634 5187 แฟกซ์ 0 3634 5188

นอกจากนี้ อ.ส.ค. ยังจัดงานเทศกาลโคนมแห่งชาติในช่วงประมาณเดือนมกราคมของทุกปี

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี แยกขวาเข้าถนนมิตรภาพ ผ่านทางแยกเข้าอำเภอมวกเหล็ก ตลาด อ.ส.ค. แล้วกลับรถมาอีกฝั่งถนน ฟาร์มโคนมอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาด อ.ส.ค.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3634 1013 อีเมล์ resdev@dpo.moac.thaigov.net เว็บไซต์ www.thaidanskmilk.com

ทุ่งทานตะวัน


ตั้งอยู่ที่บริเวณเขตติดต่อระหว่างจังหวัดลพบุรี และสระบุรี ตามเส้นทางสายพัฒนานิคม-วังม่วง มีการทำไร่ทานตะวันกันมาก ในช่วงฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ริมฝั่งถนนจะสะพรั่งไปด้วยสีเหลืองของดอกทานตะวัน เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ผ่านมาบริเวณนี้เป็นอย่างมาก สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอวังม่วง (ในเวลาราชการ) โทร. 0 3635 9021

ทานตะวันเป็นพืชตระกูลถั่ว ประเภทเดียวกับเบญจมาศ คำฝอย ดาวเรือง บัวตอง ซึ่งเป็นพืชล้มลุกชอบแสงแดดจัด ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ต้องการน้ำน้อย และเป็นพืชอายุสั้น นิยมปลูกหลังฤดูฝนประมาณเดือนกันยายนเป็นต้นไป จึงเหมาะแก่การปลูกทดแทนข้าวนาปรังหรือพืชชนิดอื่นๆ ทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจที่นอกจากจะได้ประโยชน์จากการเก็บเกี่ยวแล้ว ยังนำมาซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยว เพราะเมื่อดอกทานตะวันบานนับพันนับหมื่นไร่ กลายเป็นท้องทุ่งดอกไม้สีทองอร่ามที่งดงามกว้างไกลสุดสายตา สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวนับแสนคนจากทั่วประเทศให้เดินทางมาเที่ยวชมและ ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทานตะวันมีอยู่หลายอย่าง อาทิ เมล็ดทานตะวันอบแห้ง คุกกี้ทานตะวัน ข้าวเกรียบ ข้าวตังทานตะวัน น้ำผึ้งดอกทานตะวัน เกสรผึ้ง นมผึ้ง และเครื่องจักสานใบลานที่ขึ้นชื่อ เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย


อยู่ในเขตตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก ทางเข้าทางเดียวกับน้ำตกมวกเหล็ก เป็นทางลาดยางต่อไปอีก 9 กิโลเมตร จัดตั้งเป็น “วนอุทยานน้ำตกเจ็ดสาวน้อย” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 อยู่ในท้องที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนสลับกับที่ราบ ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งมีหน้าดินตื้น อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางอยู่ระหว่าง 180-402 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่บริเวณโชคชัยพัฒนา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 402 เมตร บริเวณเชิงเขาด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือของพื้นที่ติดคลองมวกเหล็กซึ่งมี น้ำไหลผ่านตลอดปี และไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่อำเภอวังม่วง ส่วนบริเวณตอนกลางของพื้นที่มีลำห้วยเล็กๆ ไหลผ่าน ได้แก่ ห้วยแล้ง ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าปลูก เนื่องจากแต่เดิมเป็นพื้นที่ที่ถูกบุกรุกทำลายมาก่อนและได้รับการปลูกป่า ฟื้นฟู พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตสวนป่าหลังเขา-ท่าระหัด จังหวัดสระบุรีและพื้นที่แปลงปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 บางพื้นที่เป็นป่าที่ฟื้นตัวตามธรรมชาติ พื้นที่โดยรอบทั้งหมดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย มีถนนล้อมรอบ บริเวณที่เป็นป่าดงดิบธรรมชาติจะพบเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดกับลำห้วยเหล็กและ กระจายเป็นหย่อมๆตามแนวลำน้ำ ส่วนป่าเบญจพรรณพบอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าที่ฟื้นตัวเองตามธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติฯ ที่น่าสนใจ ได้แก่
น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ มี 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 2-5 เมตร ไหลลดหลั่นกันมาตามแนวลำธารเป็นแอ่งน้ำกว้าง บรรยากาศร่มรื่น มีบริเวณสำหรับเล่นน้ำ
ลำน้ำมวกเหล็ก เป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลตลอดปี ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร มีเกาะแก่งที่ไม่สูงมากนัก ลดหลั่นกันไป
บริเวณอุทยาน มีบ้านพัก ที่กางเต้นท์ ห้องอาบน้ำ มีร้านอาหารบริการ ห่วงยางให้เช่าเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อล่องแก่งเรือยาง เรือคยัก และรถ ATV ได้ด้วย ติดต่อสอบถามข้อมูล โทร. 0 3622 6431 ติดต่อจองบ้านพักอุทยานแห่งชาติที่ โทร. 0 2562 0760 เว็บไซต์ www.dnp.go.th
การเดินทาง จากตัวเมืองสระบุรี ไปอำเภอมวกเหล็ก ถึงทางแยกถนนสายมวกเหล็ก-หนองย่างเสือ ระยะทาง 41 กิโลเมตร จากทางแยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นระยะทางอีก 12 กิโลเมตร หรือเดินทางโดยรถโดยสาร มีรถสายสระบุรี-แก่งคอย-มวกเหล็ก ผ่านหน้าอุทยานฯ

บนเส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง เส้นทางสาย 2089 มีอุโมงค์ต้นไม้ เกิดจากต้นกระถินใหญ่สองข้างถนนโน้มกิ่งเข้าหากัน ทำให้ถนนร่มครึ้มเป็นระยะทางยาวดูคล้ายอุโมงค์ ถัดไปเล็กน้อยยังมีเนินพิศวง ซึ่งหากจอดรถเข้าเกียร์ว่าง จะเกิดภาพลวงตามองเห็นรถเคลื่อนที่จากที่ต่ำไปยังที่สูง นอกจากนี้ตามเส้นทางสายมวกเหล็ก-หนองย่างเสือ (ทางหลวงหมายเลข 2224) จะมีลำธารไหลเลียบถนนไปตลอดเส้นทางและมีรีสอร์ทของเอกชนหลายแห่งตั้งเรียง รายอยู่ริมธารน้ำตก

อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น

“น้ำตก สามหลั่น” หนึ่งในน้ำตก กว่า 10 แห่งของสระบุรี ที่มีเอกลักษณ์ เป็นลานหินกว้างวางเรียงซ้อนกันเป็นสามชั้น ลดหลั่นกันอย่างละชั้นสูงประมาณ 5 เมตร เหมาะสำหรับการไปพักผ่อนหย่อนใจ มีเส้นทางเดินป่าน้ำตกสามหลั่น-อ่างเก็บน้ำซับปลากั้ง ระยะทางประมาณ 4.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณลานอเนกประสงค์ ผ่านน้ำตกสามหลั่น อ่างเก็บน้ำเขาสามหลั่น อ่างเก็บน้ำเขาไม้นวล น้ำตกแผงม้า อ่างเก็บน้ำซับปลากั้ง ไปสิ้นสุดบริเวณที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พฉ.1 (ซับปลากั้ง)

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง และอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ป่าเขาสามหลั่นอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติป่าเขา น้ำตกที่สวยงาม โดยเฉพาะน้ำตกเขาสามหลั่น ซึ่งนักท่องเที่ยวรู้จักกันเป็นอย่างดี ทางคมนาคมสะดวกสบาย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปกลับได้ในวันเดียว อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น มีเนื้อที่ประมาณ 27,856.25 ไร่ หรือ 44.57 ตารางกิโลเมตร

แต่เดิมอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ได้รับการจัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำตกสามหลั่น อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพระฉายทั้งหมด มีเนื้อที่ 24 ตารางกิโลเมตร ในความรับผิดชอบของป่าไม้เขตสระบุรี ต่อมาเมื่อกรมป่าไม้จัดตั้งกองอุทยานแห่งชาติขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2517 จึงได้โอนวนอุทยานน้ำตกสามหลั่นมาขึ้นกับกองอุทยานแห่งชาติ ซึ่งในอดีตป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ใช้พื้นที่นี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ ทำหลุมหลบภัย มีการตัดไม้ ทำฟืน ทำถ่านหุงหาอาหาร และทำถนน ทำให้ป่าธรรมชาติบางส่วนถูกทำลายลง ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้เริ่มทำการปลูกป่าทดแทนให้สภาพป่าฟื้นตัวขึ้นมา และเมื่อได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติทำให้สภาพป่าฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น

ต่อมา ในปี 2519 กรมป่าไม้ได้ให้กองอุทยานแห่งชาติ พิจารณาป่าพระฉาย กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงให้วนอุทยานน้ำตกสามหลั่นไปทำการสำรวจ ซึ่งวนอุทยานน้ำตกสามหลั่นได้มีหนังสือรายงานผลการสำรวจว่า บริเวณป่าพระฉายเป็นภูเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพป่าสมบูรณ์ดี มีน้ำตกที่สวยงาม และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 เห็นสมควรให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าพระฉายและน้ำตกสามหลั่น ในท้องที่ตำบลหนองนาก ตำบลห้วยทราย ตำบลโคกแย้ อำเภอหนองแค ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมืองสระบุรี ตำบลบ้านลำ ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง และตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 85 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 27 ของประเทศ

ต่อมาในปี 2543 อธิบดีกรมป่าไม้ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมราชการและได้แนะนำว่า ควรเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่นเป็น อุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย โดยกรมป่าไม้พิจารณาแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และสภาพของพื้นที่ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น เป็นอุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน เป็นเทือกเขาสูงที่วางตัวตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาอยู่ทางตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาครก มีความสูงประมาณ 329 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถมองเห็นตัวเมืองสระบุรี และอำเภอใกล้เคียงได้อย่างชัดเจน ป่าแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกหลายแห่ง เป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลไปหล่อเลี้ยงไร่นาของราษฎรที่อยู่ใกล้เคียง สภาพของดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย หินชั้นล่างเป็นพวกหินดินดาน

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน จะร้อนอบอ้าวระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน และฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 28oC มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนได้ตลอดปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ พลวง เต็ง รัง ตะเคียนทอง มะค่า ตะแบก เป็นต้น และพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่ทำการสำรวจไว้กว่า 800 ชนิด ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ตลอดจนหวาย และกล้วยไม้ เป็นต้น

สำหรับสัตว์ที่มีอาศัยอยู่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ไก่ฟ้า ไก่ป่า เก้ง กระจง ลิง หมูป่า กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ซึ่งคาดว่าจะสูญพันธุ์ ไปแล้ว

กิจกรรม : - ชมทิวทัศน์ - ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

การเดินทาง
จากกรุงเทพฯสู่จังหวัดสระบุรี ตามถนนพหลโยธิน ( ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1) ก่อนถึงจังหวัดสระบุรี ประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณ หลักกิโลเมตรที่ 102 U-TURN เลี้ยวขวา เข้าถนนลาดยาง หมายเลข 3042 ประมาณ 5 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าถนนลาดยาง หมายเลข 3046 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึง ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ น้ำตกสามหลั่น รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 110 กิโลเมตร

ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท

บ้านพัก
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่นมีบ้านพัก 8 หลัง ราคา 600-2,400 บาท มีบ้านพักสำหรับค่ายเยาวชน 2 หลัง สามารถรองรับได้ 120 คน ราคาหลังละ 6,000 บาท สามารถจองที่พัก-บริการได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ทาง www.dnp.go.th สามารถ จองล่วงหน้าได้ 60 วัน หรือติดต่องานบริการห้องพัก สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.0 2562 0760

หมายเหตุ : น้ำตกจะมีความสวยงามมากที่สุดในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม-ต้นเดือนตุลาคม

ติดต่อสอบถาม
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น
ตู้ ปณ.10 ต.หนองปลาไหล อ. เมืองสระบุรี จ. สระบุรี 18000
โทรศัพท์ 0 3622 5171-2 โทรสาร 0 3622 5172 อีเมล์ namtoksamlan@thaimail.com
ข้อมูลจาก http://www.dnp.go.th

 

สวนรุกขชาติมวกเหล็ก และน้ำตกมวกเหล็ก

อยู่ห่างจากสระบุรีประมาณ 37 กิโลเมตร ไปตามถนนมิตรภาพ ทางเข้าซ้ายมือตรงข้ามกับร้านขายผลิตภัณฑ์ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่ง ประเทศไทย (อ.ส.ค.) แยกเข้าไปประมาณ 500 เมตร จะพบป้ายเข้าสวนรุกชาติทางด้านขวามือ สวนรุกขชาตินี้มีเนื้อที่ 375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กับอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีลำธารซึ่งมาจากต้นน้ำในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตระหว่างสองจังหวัดดังกล่าว ในลำธารมีแก่งหินลดหลั่น เป็นน้ำตกชั้นเล็ก ๆ บริเวณโดยรอบร่มรื่น ณสองฟากของลำธารมีสะพานแขวน และพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับต่าง ๆ

ไร่องุ่นอำเภอมวกเหล็ก

ไร่องุ่น (ตลอดเส้นทางหลวง 2089)
-ไร่องุ่นกำนันเม้ง ถ.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก โทร. 0 3634 4693, 08 1852 6845
-ไร่องุ่นคุณมาลี 199 หมู่ 7 ถ.มวกเหล็ก-วังม่วง ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก โทร. 0 3622 7056, 08 1853 5893, 08 9547 4126
-ไร่องุ่นภูอมร ไร่องุ่น โรงบ่มไวน์ บริษัท ภูอมรเมรัย จำกัด ถ.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก โทร. 0 3632 7183, 08 1906 9373
-สวนองุ่นแวงเดอร์เรย์ ไร่องุ่น โรงบ่มไวน์ ถ.มวกเหล็ก-วังม่วง อ.มวกเหล็ก ชิมไวน์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปขององุ่น พร้อมชมการสาธิตการผลิตไวน์ นอกจากนี้ ทางสวนยังมีพื้นที่สำหรับกางเต้นท์สำหรับพักค้างคืน ไร่องุ่นเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โทร. 0 3622 7178, 08 1911 5325
-ไร่องุ่นปภัสรา ถ.มวกเหล็ก-วังม่วง อ.วังม่วง โทร. 0 3636 4130, 0 3636 4475
-ไร่ปฎษฏางค์ ถ.มวกเหล็ก-วังม่วง อ.วังม่วง
-ไร่น้ำภูฟ้า ต.ลำพญากลาง โทร. 08 1216 6419

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุทิศ

ประดิษฐาน อยู่ที่ศาลาจัตุรมุข วัดศาลาแดง ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด เป็นพระพุทธรูปประจำทิศตะวันออก หนึ่งในพระพุทธรูป 4 องค์ ที่กรมการรักษาดินแดนสร้างขึ้นเพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานให้แก่ชาวจังหวัดสระบุรี
พระพุทธรูปทั้ง 4 องค์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้โปรดฯ พระราชทานให้นำไปประดิษฐานไว้ตามทิศทั้งสี่ คือ
ทิศเหนือ ประดิษฐานที่จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก ประดิษฐานที่จังหวัดสระบุรี
ทิศใต้ ประดิษฐานที่จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก ประดิษฐานที่จังหวัดราชบุรี
โดยโปรดฯ เกล้า พระราชทานให้พร้อมกันทั้ง 4 จังหวัด ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2511

ไร่ปภัส รา

เป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตั้งอยู่บนถนนสายมวกเหล็ก-วังม่วง อำเภอวังม่วง ใกล้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ มีแปลงองุ่นพันธุ์ดีบนเนินเขา ฟาร์มม้า ฟาร์มนกกระจอกเทศ นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมแปลงองุ่นได้ มีร้านอาหาร และผลผลิตองุ่นสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากองุ่นหลากหลายชนิด รวมทั้งกิ่งพันธุ์องุ่น จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป

ศูนย์การเรียนรู้ทอผ้าตำบลต้นตาล

ชุนชมดั้งเดิมในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน ที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานนานกว่า 200 ปี ยังคงยึดมั่นในอัตลักษณ์และขนบธรรมเนียมไท-ยวน ชาวบ้านต้นตาลมีฝีมือในการทอผ้าและศิลปะหัตถกรรมที่ประณีตสวยงาม จนมีการก่อตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าขึ้น โดยชาวบ้านที่ว่างงานรวมตัวกันใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเพิ่มรายได้ให้ กับครอบครัว และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การทอผ้าที่ครบวงจรให้กับเยาวชน และบุคคลทั่วไป โดยผ้าที่ทอมีหลายแบบ ได้แก่ ผ้าขาวม้า ผ้าพื้น ผ้าสี่เขา (สี่ตะกอ) ผ้าลายดอกพิกุลซึ่งเป็นลายแบบโบราณของคนไท-ยวน ชุมชนบ้านต้นตาลได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมดีเด่น ในปี 2551 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 1744 7227, 0 3672 5267 โทรสาร 0 3672 5167 หรือ www.tontan-prayatod.com.th

การเดินทาง จากตัวอำเภอเสาไห้ ใช้ทางหลวงหมายเลข 3041 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3341 ข้ามแม่น้ำป่าสัก ถึงทางแยกแล้วเลี้ยวขวา จนถึงบ้านปากบาง ให้เลี้ยวขวาเข้าวัดต้นตาล โดยศูนย์จะอยู่ติดกับวัด

ทฤษฎีใหม่ วัดมงคลชัยพัฒนา

ทฤษฎีใหม่ วัดมงคลชัยพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานดำริให้ทำการทดลอง "ทฤษฎีใหม่" ขึ้นที่ วัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ในหลักการง่ายๆโดยเริ่มจากสภาพความจริงที่ว่าราษฎร หนึ่งครอบครัวมีที่ดินประมาณ 10 - 15 ไร่ให้แบ่งที่ดินนั้นออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง ที่ดินร้อยละ 30 ให้ขุดเป็นสระน้ำมีความลึก 4 เมตร ขนาดบรรจุน้ำได้โดยประมาณ 10,000 ม.ส่วนที่สอง ที่ดินร้อยละ 60 สำหรับพื้นที่ทำการเกษตร โดยปลูกข้าวร้อยละ 30 และปลูกพืชไร่พืชสวนร้อยละ 30 ส่วนที่สามที่ดิน ร้อยละ 10 สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

ความหมายของทฤษฎีใหม่ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ที่ได้ทรง พระราชทาน ไว้เนื่องในวโรกาสต่างๆ ทำให้ผู้เขียนมีความเข้าใจว่า "ทฤษฎีใหม่" (New Theory) น่าจะหมายถึง "แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกษตรกรที่มีที่ดินถือครองประมาณ 10 - 15 ไร่สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่าง เพียงพอตลอดปี และใช้น้ำกับที่ดินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีกินแบบตามอัตภาพ คือ ไม่ได้ รวยมากแต่พอกิน ไม่อดอยาก โดยการแบ่งที่ดินที่ถือครองออกเป็นสัดส่วน ดังนี้ ส่วนที่หนึ่งร้อยละ 30 ของพื้นที่สำหรับขุดสระ ส่วนที่สองร้อยละ 60 ของพื้นที่สำหรับทำนาปลูกข้าว และปลูกพืชไร่ทำสวน และส่วนที่สามร้อยละ 10 ของพื้นที่สำหรับเป็นที่บริการ เช่น ทางเดิน ที่อยู่อาศัย หรืออื่น ๆ"

ศูนย์วัฒนธรรมไทยวน

ศูนย์ วัฒนธรรมไทยวน ตั้งอยู่ที่อำเภอเสาไห้ อ.ทรงชัย วรรณกุล ประธานชมรมไทยวน เจ้าของบ้านเขาแก้ว เล่าว่าเดิมทีชาวไทยวนเป็นชาวแคว้นโยนกซึ่งสืบทอดมาเป็นอาณาจักรล้านนา ถูกกวาดต้อนไปยังดินแดนอื่นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือเมื่อ 198 ปีมาแล้วคราวนั้นเชียงแสนยังอยู่ภายใต้การปกครองพม่า ครั้นนั้นเมื่อทัพเชียงใหม่ ผสานจากทัพจากน่าน ลำปาง เวียงจันทน์ ภายใต้การนำทัพของเจ้าพระยายมราชจากกรุงรัตนโกสินทร์เข้าตีชียงแสนแตกพ่าย ได้ทำการกวาดต้อนผู้คนชาวเชียงแสนมาได้ 2 หมื่น 3 พันคน แบ่งออกเป็น 5 ส่วน กระจายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ยังดินแดน เชียงใหม่ น่าน ลำปาง เวียงจันทน์ สระบุรี และราชบุรี เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้างอยู่นาน จนต้องมีการเกณฑ์ชาวไทยเขิน ไทลื้อ และชาวยองไปอยู่ในเวลาตอมา เรื่องชาวไทยยวนจากคำของคนวัย 63 อย่างประธานชมรมไทยยวนนี้ล้วนมาจากคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่รุ่นก่อนหน้า และศึกษาเอกสารด้วยตนเอง ถามใครก็บอกแต่ว่ามาจากทางเหนือ จนสืบเสาะพบว่าผมเป็นชาวไทยวนที่มาตั้งหลักแหล่งที่เสาไห้เป็นรุ่นที่ 5 เฉพาะชาวไทยวนในเขตจังหวัดสระบุรีนั้นกระจายอยู่ในเขต 3 อำเภอ ราว 8 หมื่นคน โดยกลุ่มใหญ่อยู่ที่ อ. เสาไห้

อุโมงค์ต้นไม้

 

เป็นบริเวณทางโค้งที่ต้นไม้สองฝั่งถนนโน้มเข้าหากันทำให้ดูคล้ายอุโมงค์ และให้ความร่มรื่นสวยงามมีความยาวประมาณ 200 เมตร นักท่องเที่ยวมักจอดรถแวะถ่ายรูปเป็นประจำ

การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 แยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2089 อุโมงค์ต้นไม้จะอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 24-25 จะมีป้ายปักไว้ด้วยว่าอุโมงค์ต้นไม้

มวกเหล็ก เอทีวี

ตั้งอยู่บริเวณ กม. 12 ถนนสายมวกเหล็ก - วังม่วง (ทางไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) กิจกรรมขับรถ ATV (เอทีวี) เป็นกิจกรรมที่ตื่นเต้น ท้าทาย ผจญภัยในรูปแบบใหม่ ขับรถลัดเลาะไปตามป่าเขาสวยงามในพื้นที่รอบมวกเหล็กเอทีวี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมผจญภัยน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิ สนามฝึกยิงธนู เกมเพ้นท์บอล (Paint Ball) ล่องแก่งด้วยเรือคยัก กิจกรรมโรยตัวสำรวจถ้ำลุมพินี ต่อมวกเหล็กเอทีวี โทร. 0 3622 7316 เว็บไซต์ www.muaklekatv.com

สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง (พุแค)

ตั้งอยู่ที่ตำบลพุแค ใช้เส้นทางสายสระบุรี-ลพบุรี (ถนนพหลโยธิน) ห่างจากตัวเมืองสระบุรีไปประมาณ 17 กิโลเมตร จะอยู่ตรงทางแยกไปทางหลวงหมายเลข 21 (ไปเพชรบูรณ์) พอดี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพระพุทธบาทพุแค มีพื้นที่ทั้งหมด 4,697 ไร่ ครอบคลุมสองฟากฝั่งถนน หากไปจากสระบุรี ทางซ้ายมือจะเป็นส่วนของอาคารสำนักงานและห้องสมุดพรรณไม้ ทางขวามือมีบริเวณ กว้างขวาง บรรยากาศร่มรื่น และมีลำธารไหลผ่าน เป็นสวนหย่อมรวบรวมพันธุ์พืชไม้ต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นไม้พื้นบ้าน ประกอบด้วยพรรณไม้ต่างๆ 35 วงศ์ พรรณไม้ในวรรณคดี และพรรณไม้สมุนไพร สวนพฤกษศาสตร์จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2484 เป็นส่วนพฤกษศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย เป็นแหล่งรวบรวมและศึกษาวิจัยพันธุ์พืชรวมทั้งเผยแพร่และให้บริการความรู้ใน ด้านต่างๆ เกี่ยวกับพืช และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3634 7457

ถ้ำพระโพธิสัตว์</p>

ตั้งอยู่ในบริเวณวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 32 กิโลเมตร ที่ผนังมีภาพจำหลักนูนต่ำเป็นรูปพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม และภาพเทพเจ้าในศาสนาฮินดู และภายในผนังถ้ำยังมีรอยแกะสลักภาพจำหลัก มีหินงอก หินย้อย บริเวณภายนอกถ้ำมีต้นไม้นานาพรรณ นอกจากนั้นยังพบรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อทรงเสด็จทอดพระเนตรน้ำตก ถ้ำธรรมทัศน์ ถ้ำลุมพินี สวนหิน และถ้ำสงัดเจดีย์ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมาไปประมาณ 15 กิโลเมตร หากไปจากสระบุรีวัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ มีป้ายบอกไปวัดถ้ำพระโพธิสัตว์อีกประมาณ 11 กิโลเมตร

องค์การศาสนาเซไคคิวเซเคียวประจำประเทศไทย

มี เนื้อที่ประมาณ 430 ไร่ ตั้งอยู่ที่ 90/1 หมู่ 1 ตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ มาตามถนนมิตรภาพ 126 กิโลเมตร แยกจากถนนมิตรภาพเข้ามาประมาณ 8 กิโลเมตร มีโครงการจัดทำสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนมิโรคุ โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ศาสนา และศิลปะความงามด้านพืชศาสตร์ ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง มีสระน้ำ ประติมากรรมหินอ่อน รูปทรงต่างๆ และสวนญี่ปุ่น มีภูมิทัศน์ที่สวยงามและอีกฟากหนึ่งของโครงการจะมีแปลงสาธิตเกษตรธรรมชาติ โดยใช้ EM เทคโนโลยี คือ การใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์เพื่อลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์

ตั้งอยู่ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมืองสระบุรี ห่างจากตัวเมืองสระบุรี 12 กิโลเมตรไปตามถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 101 (ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางเข้าวัดพระพุทธฉาย) เป็นสถานที่เลี้ยง ศึกษา ค้นคว้าวิจัยและเพาะพันธุ์จระเข้ นอกจากนั้นยังมีสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กวาง ลิง หมูป่า เม่นและนกพันธุ์ต่างๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน วันธรรมดา ระหว่างเวลา 08.30-18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 20 บาท สอบถามรายละเอียดโทร. 0 3622 5253 หรือ www.wonderlandandzoo.com

วัดพระพุทธฉาย


ตั้งอยู่เชิงเขาปถวี (ปฐวี) ตำบลหนองปลาไหล เข้าทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติพระพุทธฉายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธฉาย หรือ รอยพระพุทธรูป อยู่บนแผ่นหินซึ่งตั้งอยู่บนชะง่อนผา มีการสร้างมณฑปครอบไว้ มีบันไดจากบริเวณวัดด้านล่างขึ้นไปยังมณฑป และต่อไปยังหน้าผาซึ่งอยู่เหนือมณฑปขึ้นไป

บริเวณเชิงผามีภาพเขียนลายเส้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพสัตว์ลายเส้นคล้ายตัวกวาง บริเวณข้างประตูเข้าพระพุทธฉาย พบภาพมือคน และภาพสัญลักษณ์ บริเวณจากถ้ำฤาษีไปทางพระพุทธฉายทางทิศตะวันตก พบภาพเขียนรูปไก่ ภาพพระพุทธรูป และภาพสัญลักษณ์ และบริเวณหน้าผา จปร. พบภาพลายเส้นขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน คล้ายภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยถูกค้นพบที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เขียนด้วยยางไม้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 3,000 ปี โดยเขียนสัญลักษณ์ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจในหมู่เดียวกัน และอาจจะเป็นสื่อทางพิธีกรรม และความเชื่อของคนในยุคนั้น และยังพบ รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา เมื่อ พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมมณฑปบนภูเขาบริเวณวัดพระพุทธฉาย และเมื่อรื้อพื้นซีเมนต์พบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาอยู่ใต้ทรายปรากฏเห็นเป็น รูปรอยประทับในหิน

ประวัติการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า "เงามหัศจรรย์หรือพระพุทธฉาย"
พระพุทธฉาย มีประวัติความเป็นมาจากชาดกในสมัยพุทธกาลว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จออกจากพระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ไปจำพรรษา ณ พระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี ซึ่งพระนางวิสาขา อุบาสิกา สร้างอุทิศถวายพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบท(บวช) พระปิณโฑละฯ ให้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วได้ทรงมอบให้พระโมคคัลลานะพาไปปฏิบัติสมณะธรรม จนกว่าจะได้สำเร็จมรรคผล พระโมคคัลลานะได้นำพาไปปฏิบัติสมณธรรมในชมพูทวีป(อินเดีย) หลายแห่งก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ตามประสงค์ จึงได้พามาปฏิบัติสมณธรรมในปัจจันตชนบท โดยกำหนดเอาประเทศสุวรรณภูมิ(ประเทศไทย) ณ ภูเขาฆาฏกะอันเป็นที่อาศัยของนายพรานฆาฏกะกับบริวาร จึงได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนา ระหว่างที่มาปฏิบัติสมณะธรรมอยู่ ณ สถานที่นี้พระโมคคัลลานะได้ทราบพฤติกรรมของนายพรานฆาฏกะกับบริวารว่าเป็นผู้ ที่มีสันดานหยาบช้า โหดร้าย ทารุณ มีอาชีพทางล่าสัตว์ พระโมคคัลลานะได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายประการ เพื่อจะยังสันดานของนายพรานฆาฏกะให้เลื่อมใสแต่ไม่สำเร็จ ต่อเมื่อได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด และได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หลายอย่างหลายประการด้วยกัน เพื่อให้นายพรานฆาฏกะได้ละทิฏฐิมานะสันดานหยาบช้า จนในที่สุดได้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงกับทูลขออุปสมบทพระบรมศาสดาได้ทรงประทานเอ หิภิกขุอุปสัมปทา (บวชให้ด้วยพระองค์เอง) แล้วตรัสสั่งสอนให้ ปฏิบัติสมณะธรรมจนได้สำเร็จพระอรหันต์เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระบรมศาสดาจะเสด็จกลับบุพพาราม ภิกษุฆาฏกะได้ทูลขอติดตาม พระองค์ได้ทรงห้ามไว้เพื่อให้อยู่ช่วยประกาศพระศาสนา พระฆาฏกะได้ทูลขอสิ่งที่เคารพสักการะ พระองค์จึงได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดไว้ ณ เงื้อมภูเขาแห่งนี้ และได้ประทับ "รอยพระพุทธบาท" ติดไว้ ณ บนยอดภูเขาแห่งนี้ด้วย ซึ่งจะได้เป็นที่สักการะเคารพกราบไหว้บูชาของพระฆาฏกะและบริวาร ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงปรากฏ "พระพุทธฉาย" บนไหล่เขาสระบุรี ตราบเท่าทุกวันนี้

นอกจากนี้บริเวณเขาพระพุทธฉายมีหน้าผาสูงชันจึงมีเอกชนเข้ามาจัดกิจกรรมเชิงผจญภัยปีนหน้าผาโรยตัวอีกด้วย

การเดินทาง จากเส้นทาง กรุงเทพ - สระบุรี (ถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ก่อนเข้าถึงตัวจังหวัดสระบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร หากเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ให้กลับรถ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงไปยังบ้านพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี หรือถ้าท่านเดินทางจากภาคอีสาน และภาคเหนือ ก็สามารถเลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าถนนหมู่บ้านได้ทันที นอกจากนี้หากท่านโดยสารด้วยรถไฟ ให้ลงที่สถานี เมืองสระบุรี แล้วต่อสองแถวไปยังวัดพระพุทธฉาย ด้วยระยะทางเพียง 10 กิโลเมตร เท่านั้น ท่านก็จะได้พบกับ "รอยพระพุทธบาท อันศักดิ์สิทธิ์"

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.watphraphutthachai.com/

น้ำตกโกรกอีดก

“น้ำตก โกรกอีดก” น้ำตกสูงกว่า 7 ชั้น ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ของธรรมชาติ เขียวขจี ยังคงความเขียวสด ใหม่ ของธรรมชาติ เป็นหนึ่งในน้ำตกในเทือกเขาใหญ่ ผืนป่าที่ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ และ เป็นหนึ่งในน้ำตก ที่ดูแล โดย ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

น้ำตกสูงที่ปล่อยสายธารน้ำให้หลากหลั่ง จากที่สูง กว่า 300 เมตร ได้รับการยอมรับ ว่าเป็น 1 ใน 10 ของน้ำตกสูงในภาคกลาง เหมาะสำหรับนักผจญภัยที่นิยมการท่องเที่ยวประเภทเดินป่า เพราะ จะได้มีโอกาสพบ เห็น เรียนรู้ ธรรมชาติ กลางป่าลึก และใช้เวลาในการเดินทางสู่จุดสูงสุด ไม่น้อยกว่า 4 ชม. การเดินทางจำเป็นต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อได้รับการแนะนำ อำนวยความสะดวกในการนำทางเนื่องจากยังคงเป็นป่าปิดที่สมบูรณ์

น้ำตกโกรกอีดก อยู่ในพื้นที่การดูแลของศูนย์ศึกษาธรรมชาติเจ็ดคต-โป่งก้อนเส้า การเดินทางไปเข้าน้ำตกโกรกอีดก
เป็นเส้นทางเดินป่าขึ้นเขาเข้าป่าลึกซึ่งไม่มีเส้นทางเด่นชัดดังนั้นการเข้าไปเที่ยวชมน้ำตกควรติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ศูยน์เจ็ด
คตให้นำทางเข้าไป จ่ายค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยแลกกับความสบายใจและปลอดภัยในการท่องเที่ยว สภาพเส้นทาง
เป็นธรรมชาติมากๆ จะต้องผ่านป่าผ่านลำธารหลายจุด ทรายริมลำธารเป็นโป่งผีเสื้อ ปกติจะมีฝูงผีเสื้อลงที่โป่งให้เห็น
ประจำ เห็ดต่างๆ ก็เยอะ มอส เฟิร์น และพืชพรรณในป่าฝนมีมากมาย เห็นแล้วสบายตาสบายใจรับรองว่าเห็นแล้วจะต้อง
ชอบ แต่เส้นทางเดินสู่น้ำตกไม่ใช่ทางสบายๆ ต้องเดินขึ้นเขาลงห้วย ขึ้นทางชัน ปีนผ่านป่าไผ่ กว่าจะถึงก็เหนื่อยเอา
การ ดังนั้นหากคิดจะไปควรเตรียมความพร้อมของร่างกายด้วย

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ มุ่งสู่จังหวัดสระบุรี ถึงสระบุรีเลี้ยวขวาไปตามถนนมิตรภาพ มุ่งหน้าไปทางมวกเหล็ก ก่อนถึงมวกเหล็กบริเวณโรงงานฟูรูกาวาก่อนถึงทับกวางจะมีป้ายบอกเส้นทางไป ศูนย์ศึกษาธรรมชาติเจ็ดคต-โป่งก้อนเส้า เป็นเส้นทางแยกขวาจะต้องไป U-turn กลับรถแล้วขับไปตามเส้นทางที่มีป้ายบอก ไปไม่ยากมีเส้นทางหลักทางเดียว สภาพเส้นทางเป็นทางลาดยางอย่างดีขับสบาย ระยะทางประมาณ 26 กม.

ติดต่อสอบถาม
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคต-โป่งก้อนเส้า
หมู่ที่ 5 ต.ท่ามะปราง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110
โทรศัพท์ 08 9237 8659, 08 5968 3520, 08 1809 9982 (หัวหน้าอุทยานฯ) โทรสาร.0 3634 6202

วัดศรีบุรีรัตนาราม

วัดนี้จะมีลักษณะเด่นที่ตัวฐานของพระอุโบสถ ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายเรือสำเภาซึ่งสวยงามมากลวดลายต่างๆ รอบอุโบสถก็งดงามเช่นกัน มีความอ่อนช้อยเป็นลวดลายที่วิจิตร บริเวณรอบๆ วัดมีบรรยากาศร่มรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนิกชน มักจะมาสักการะบูชา พระแก้วมรกตพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร "พระแก้วมรกต" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์สำคัญที่สุดของชาติไทย เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงราย ต่อมาย้ายมาอยู่ที่เมืองลำปางและเชียงใหม่ ต่อมาพระไชยเชษฐา (เจ้าลาว) ได้มาอัญเชิญไปประดิษฐานเพื่อเป็นที่สักการะยังเมืองลาวเป็นการชั่วคราวแล้ว ไม่ยอมคืนไทย

ในปี พ.ศ. 2320 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ 1) เป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงได้อัญเชิญ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต กลับคืนมาประดิษฐานไว้ในราชอาณาจักรไทยดังเดิม

ในคราวสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยาตราทัพกลับประเทศไทย เมือเดินทัพมาถึงจังหวัดสระบุรี ได้หยุดพำนักที่วัดศรีบุรีรตนาราม (วัดปากเพรียว) พร้อมกับอัญเชิญ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเตรียมการรับเสด็จและเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่มโหฬาร ณ กรุงธนบุรี

ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช เสด็จขึ้นมารับและอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต โดยขบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค อย่างมโหฬารเป็นประวัติการณ์ เมื่อเดือนยี่ ข้างแรม ปีกุน พ.ศ. 2322 ขบวนแห่พยุหยาตราได้ล่องมาถึงกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 ปี พ.ศ. 2322
วัดป่าสว่างบุญ


หมู่ 7 บ้านคลองไผ่ ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี วัดป่าสว่างบุญ ที่ประดิษฐานเจดีย์เทพพิธากร และเจดีย์ห้าร้อยยอด ภายในวัดยังเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง ภายใต้ร่มไม้ที่ปกคลุมให้ความร่มรื่น ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พระอาจารย์สมชาย ปุญญมโน เจ้าอาวาสวัดป่าสว่างบุญ 08 1916 5338

สำนักปฏิบัติธรรม


นมัสการหลวงปู่ย้า มโนธรรม ณ วัดถ้ำเขาแก้ว และบูชาปี่เซี๊ยะ สัตว์มงคลในตำนานจีน ตามความเชื่อที่ว่า ปี่เซี๊ยะ เป็นสัตว์มงคล ที่มีอำนาจในทางด้านการกำจัดสิ่งชั่วร้าย รวมทั้งการป้องกันคุณไสย์ และมนต์ดำต่าง ๆ ปี่เซี๊ยะ เป็นสัตว์มงคลที่เสริมได้ทุกปีนักษัตร ลักษณะเป็นสัตว์สี่เท้า ตัวเป็นกวาง หางเป็นแมว มีเขา และปีก แต่บางแบบก็ไม่มีปีก ในลักษณะกำลังนั่งอ้าปากโชว์เขี้ยว บางตำราบอกว่า ปี่เซี๊ยะ มีดีครบถ้วนตามหลังเบญจธาตุ คือธาตุ ทอง – น้ำ – ไม้ – ดิน – ไฟ เนื่องจากลักษะพิเศษของ ปี่เซี้ยะ ลักษณะที่ รวมสัตว์มงคล 5 ชนิด 5 ธาตุ ไว้ด้วยกัน กล่าวคือมีลักษณะสี่เท้าของสิงโตอันทรงพลัง (ธาตุทอง) มีเขาและลำตัวเป็นกวางที่อ่อนช้อย (ธาตุน้ำ) มีปีกของพญานกอันแข็งแกร่ง (ธาตุไฟ) มีศีรษะของมังกรอันทรงพลัง (ธาตุไม้) มีหางแมวอันศักดิ์สิทธิ์ (ธาตุดิน) ติดต่อสอบถามได้ที่ วัดถ้ำเขาแก้ว 08 6134 5452 หรือ 08 7929 5846

หมู่บ้านทำไม้ขุดล้อม


ตำบลชะอม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งชาวบ้าน 17 หมู่บ้าน กว่า 290 ครัวเรือนในตำบลชะอมแห่งนี้ทำการปลูกขายไม้ขุดล้อมกันเป็นอาชีพหลัก นับว่าเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ขุดล้อมขนาดกลาง และใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นแหล่งส่งออกที่สำคัญทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

การทำไม้ขุดล้อม หรือไม้ล้อมที่ชาวบ้านทำนั้น คือต้นไม้พันธุ์ที่มีลำต้นเดี่ยวไม่พึ่งพิงกับต้นไม้อื่น ทั้งต้นใหญ่ และเล็ก เมื่อปลูกลงดินแล้วทิ้งระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่ง หรือได้ขนาดลำต้นที่ต้องการ ก็ขุดขึ้นมา ทั้งต้น โดยการขุดจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ การขุดแทงยกที่เหมาะสำหรับไม้เนื้ออ่อน และการขุดแบบล้อมหมัก ในปัจจุบันจะมีพันธุ์ไม้หลายชนิดที่ปลูกไว้เพื่อมาทำไม้ขุดล้อม อาทิ อินทนิล ตะแบก ราชพฤกษ์ นนทรี พญาสัตบัน เหลืองสิรินธร คูน ประดู่ หางนกยุง เป็นต้น

ไม้ขุดล้อมนี้ เหมาะสำหรับทุกท่านที่กำลังหาต้นไม้มาประดับสวน โดยที่สามารถเลือกขนาดของต้นไม้ได้ จากการทำไม้ขุดล้อมของตำบลชะอม จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้เป็นอย่างดีแล้วยังช่วยให้ชาวบ้านบริเวณนั้น ได้รับอากาศบริสุทธิ์ มีพื้นที่ร่มรื่นประกอบด้วยธรรมชาติที่สมบูรณ์ นับเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คุ้มค่าอีกทางหนึ่ง สำหรับทานที่สนใจโดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที คุณสุริยะ อุดมพร หัวหน้ากลุ่มไม้ขุดล้อม 08 1762 6950, 08 9538 7306 หรือคุณสมหมาย อบต. ชะอม 08 9538 7306
ไร่ยานา

 

ตั้งอยู่เลขที่ 116 หมู่ 2 ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของอำเภอวังม่วง ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม มีเลี้ยงสัตว์ประเภทต่าง ๆ เช่น แพะ แกะ กวาง นกกระจอกเทศ ฯลฯ และมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จำหน่ายที่หน้าฟาร์ม อาทิ นมสดจากแพะ ไอศกรีมนมแพะ เนื้อแพะ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากแพะ นอกจากนี้ยังมี เขากวางอ่อน แคนตาลูป องุ่น ฯลฯ สนุกกับกิจกรรมป้อนนมแพะ ขี่จักรยานรอบฟาร์ม เปิดทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น. ติดต่อ โทร. 0 3636 4353 www.yanafarm.com

ไร่องุ่นคุณมาลี

อยู่บนเนินสูง ริมถนนสายมวกเหล็ก-วังม่วง ชมเถาองุ่นเลื้อย ไปตามค้างไม้ที่ปลูกสร้างอย่างเป็นระเบียบ ดูชาวไร่ติดตาเถาองุ่นเพื่อ ขยายพันธุ์และตัดผลองุ่นสุกปลอดสารพิษ ก่อนจะลงมาชิมองุ่นหวานไร้เมล็ด แล้วซื้อน้ำองุ่นเข้มข้นเป็นของฝาก เปิดบริการทุกวัน ถ้ามาเป็นหมู่คณะหรือต้องการวิทยากรนำชม วิธีการขยายพันธุ์ ตัดแต่งต้น และตัดเก็บองุ่น ติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. 0 3634 1159, 0 1893 5893

วัดพะเยาว์

ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำป่าสัก หมู่ 1 ตำบลศาลารีไทย มีถนนสายปากบาง-สระบุรีผ่าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมลักษณะเป็นพระพุทธรูปปูนอยู่บริเวณวัดร้างแห่งหนึ่งในอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้อัญเชิญมาเป็นพระประธาน ที่สระบุรี ต่อมาปูนที่พอกองค์พระกระเทาะออกจึงพบว่าองค์พระเป็นทองคำทั้ง องค์

พระพุทธรูปทองคำวัดพระเยาว์เป็นประติมากรรมอันยิ่งใหญ่ของกรุง ศรีอยุธยาที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก พระวรกายสมสัดส่วน สง่างาม ประทับนั่งในปางสมาธิแบบขัดสมาธิราบ ประทับนั่งในลักษณะที่ดูองอาจ แฝงไว้ด้วยลักษณะเข้มแข็ง มีหน้าตักกว้าง 110 เซนติเมตร สูง 170 เซนติเมตร ปัจจุบันได้มีผู้ศรัทธาพร้อมใจกันสร้างวิหารจัตุรมุขขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ให้เป็นสง่าราศีและเป็นที่เชิดหน้าชูดาแก่ ชาวเมืองสระบุรีสืบไป สอบถามรายละเอียดได้ที โทร.0 3633 3075

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสระบุรี-บ้านยาง (ทาง 3041) ก่อนถึงตัวอำเภอเสาไห้ มีทางแยกขวา (ทาง 3314) ข้ามสะพานแม่น้ำป่าสัก ถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 100 เมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองสระบุรีประมาณ 9 กิโลเมตร ด้านหลังวัดมีถนนสายปากบาง-สระบุรีผ่าน

แม่น้ำป่าสัก เบญจสุทธิคงคา

น้ำ ศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำสายสำคัญ 5 สาย ซึ่งใช้ในการประกอบพิธีมหามงคลต่าง ๆ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา (จากจังหวัดอ่างทอง) แม่น้ำเพชรบุรี (จากจังหวัดเพชรบุรี) แม่น้ำราชบุรี (จากจังหวัดสมุทรสาคร) แม่น้ำบางปะกง (จากจังหวัดนครนายก) และแม่น้ำป่าสัก (จากจังหวัดสระบุรี) อันเป็นที่มาของ “เบญจสุทธิคงคา”

แม่น้ำป่าสักที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอเสาไห้ได้ถูกนำมาใช้เป็นน้ำในพิธีถือน้ำ พิพัฒสัตยาอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณริมแม่น้ำป่าสักฝั่งเหนือ ในท้องที่บ้านท่าราบ ตำบลบ้านตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่ที่หาดทราย ผืนใหญ่ราบเรียบลดหลั่นเป็นแนวยาวประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ มีชื่อเรียกตามสภาพพื้นที่เช่นนี้ว่า ท่าราบปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่า เมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคเลียบลำน้ำป่าสัก เมื่อเสด็จถึงบ้านท่าราบ ได้ทรงพระดำเนินบนหาดทรายและสรงน้ำ เนื่องจากพื้นน้ำบริเวณนั้นเป็นวัง คือมีน้ำที่นิ่งและใสเย็นกว่าแห่งอื่น เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก นับจากนั้นมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญน้ำจากบริเวณนี้ไปประกอบพิธีทำเป็นน้ำมูรธาภิเษก เพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนับตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยจุดประกอบพิธีพลีกรรมอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำป่าสักกำหนดไว้ที่ บริเวณกึ่งกลางแม่น้ำป่าสักระหว่างบ้านท่าราบ ตำบลต้นตาล และบ้านไผ่ล้อม ตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี นอกจากนี้ ในวโรกาสที่มีการเฉลิมฉลอง เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลคราวใด เมื่อมีการพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วพระราชอาณาจักร ก็จะตักน้ำที่บ้านท่าราบนี้ด้วยแห่งหนึ่ง สืบมาจนปัจจุบัน

น้ำตกเหวน้อย

อยู่ ที่บ้านมวกเหล็กใน อำเภอมวกเหล็ก เป็นต้นน้ำของน้ำตกมวกเหล็ก และน้ำตกเจ็ดสาวน้อย เมื่อเดินต่อไปจะพบ น้ำตกเหวราง และน้ำตกโป่งตาลอง ซึ่งเป็นน้ำตกสูงอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ช่วงที่เหมาะในการท่องเที่ยว คือ ช่วงเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน

สวนนกธรรมชาติตำบลไผ่ต่ำ

อยู่บริเวณป่าไผ่ที่บ้านลุงต้อม เหมือนแม้น อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลไผ่ต่ำ มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงนกพันธุ์ต่างๆ กว่า 17 ชนิด อาทิ นกเอี้ยงดำ นกกางเขน นกเขา นกกวัก นกกาน้ำเล็ก นกแขวก และนกกระยาง โดยฝูงนกเหล่านี้จะออกหากินตั้งแต่เช้าตรู่ และจะบินกลับรังในตอนเย็นใกล้ค่ำ การเดินทาง เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ไปจากกรุงเทพฯ จนถึงระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 83-84 ทางด้านซ้ายมือจะมีป้ายบอกทางไปวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไผ่ต่ำ ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 800 เมตร จนพบคลองชลประทานให้เลี้ยวซ้ายเลียบคลองไปอีกประมาณ 150 เมตร

การล่องแม่น้ำป่าสัก

ในเขตอำเภอแก่งคอยมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน ทัศนียภาพธรรมชาติตลอดริมฝั่งแม่น้ำสวยงาม รวมทั้งมีเขาตามแนวตลอดเส้นทางที่ล่องแก่ง บางแห่งมีโขดหิน และหน้าผาที่แปลกตา คล้ายรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ และยังสามารถเที่ยวชมไพรพักค้างที่หาดผาหมีซึ่งมีบริเวณกว้าง 2 ไร่เศษ หรือจะตกปลากระทิงในแม่น้ำ บริเวณอำเภอแก่งคอย ระยะห่างจากจังหวัดประมาณ 15 กิโลเมตร บนเส้นทางมิตรภาพ มีเอกชนดำเนินการจัดแพและเรือยนต์ไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยว ราคาประมาณ 800 บาท 10-15 คน สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่รีสอร์ทต่าง ๆ ริมแม่น้ำป่าสัก เช่น โรงแรมศุภาลัยป่าสักรีสอร์ท โทร. 0 3630 6270-2 หรือ หาดสองแคว รีสอร์ท โทร. 0 3622 7215, 0 3623 7554-5

เขาพระพุทธบาทน้อย


ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระพุทธบาทน้อย ที่ตำบลสองคอน มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนสูงชัน สลับซับซ้อนเรียงรายด้วยยอดเขาแหลม และที่ยอดเขาแหลมนี้จะพบเห็นนกจู๋เต้นเขาปูน ในวงศ์นกกินแมลงจะพบมากที่จังหวัดสระบุรี นอกจากนั้นด้วยลักษณะของหน้าผาที่สูงชันแล้วยังอาจพบเห็นเลียงผา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ม้าพระอินทร์ อาศัยอยู่ในถ้ำสามเขา ภายในวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ประทับลึกลงไปในดินกว้าง 1 ศอกเศษ ยาว 3 ศอก
หน้าผาที่วัดเขาพระพุทธบาทน้อยมีความสูงชัน จึงมีผู้จัดกิจกรรมปีนเขา เหมาะสำหรับนักปีนมือใหม่ ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการปีนผา สามารถร่วมกิจกรรมโรยตัว ชมทิวทัศนืของที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักได้ ด้วยมุมมองที่เปิดโล่งรอบตัว มองเห็นทัศนียภาพของสระบุรี ติดต่อ สระบุรี แอดเวนเจอร์ โทร. 0 3622 2425 หรือ 08 9164 1791
การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร ไปตามถนนมิตรภาพ เส้นทางหลวงหมายเลข 2 ให้เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอแก่งคอย ข้ามสะพานอดิเรกสาร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนอดิเรกสาร จากนั้นเลี้ยวขวาไปตามถนนสองคอน-พระบาทน้อย-พุแค ประมาณ 7.5 กิโลเมตร จนถึงวัดพระพุทธบาทน้อย

วัดจันทบุรี

ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่า หมู่ 6 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ เลยจากที่ว่าการอำเภอไปประมาณ 1 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3041 มีทางแยกขวาเข้าวัดไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจ คือ พระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2436 สมัยรัชกาลที่ 3 มีลักษณะก่ออิฐถือปูน หลังคาจั่ว ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับลายปูนปั้นและเครื่องถ้วย ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยเดียวกับพระอุโบสถซึ่งยังสมบูรณ์อยู่และงดงาม มาก เป็นรูปเทพชุมนุม และพุทธประวัติ

วัดสมุหประดิษฐาราม

ตั้งอยู่ที่ตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร เชิงสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก พระอุโบสถสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2440 ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องคาวีสวยงามมาก พระประธานในพระอุโบสถอัญเชิญมาจากเมืองเก่าสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทองปางมารวิชัย และประดิษฐานพระโมคคัลลา พระสารีบุตร อัครสาวกซ้ายขวา และในเดือนกันยายน ของทุกปีจะมีการแข่งขันเรือยาวประเพณีที่วัดแห่งนี้

การเดินทาง ใช้เส้นทางสระบุรี - เสาไห้ ก่อนถึงตัวอำเภอมีทางแยกขวาไปยังสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก วัดสมุหประดิษฐารามจะอยู่ก่อนถึงสะพานด้านขวามือ

วัดเขาแก้ววรวิหาร

ตั้ง อยู่ที่ตำบลต้นตาล ทางฝั่งขวาของแม่น้ำป่าสัก ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จประพาสหัวเมือง เมื่อถึงอำเภอเสาไห้ ได้โปรดเกล้าฯ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง มีคำเล่าลือกันว่าวันดีคืนดีจะเห็นดวงแก้วสุกสว่างเหนือวิหารวัดเขาแก้ว ถือว่าเป็นการแสดงปาฏิหาริย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุในองค์พระเจดีย์ ในเจดีย์ปรางค์ห้ายอดองค์เล็กซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหอระฆังและเจดีย์องค์ใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพุทธรูปปางป่าเลไลก์ และ พระพุทธบาทซึ่งล้วนมีลักษณะงดงาม

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations