www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

YASOTHON

YASOTHON : General Information

      Yasothon is famous for its boisterous Rocket Festival every May,when giant home-made missiles are launched into the air in a symbolic rain-making gesture.
avis thailand


    In the town at Wat Mahathat,Phra That Yasothon is a much-visited Lao-style chedi,said to be over 1,200 years old. It enshrines holy relics of Phra Ananda,one of Lord Buddha's chief disciples. That Kong Khao Noi is an ancient Khmer chedi with a much revered brick and stucco Buddha that is ritually bathed every April. The handicraft village of Ban Si Than is famed for the triangular pillows used in most Thai households.

Yasothon has an area of 4,161 square kilometres. It is divided into the following districts: Muang, Kham Khuean Kaeo, Maha Chana Chai, Pa Tio, Loeng Nok Tha, Kut Chum, Kho Wang, Sai Mun and Thai Charoen.

YASOTHON : How to get there

By Car

From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Ban Phai, then take Highway No. 23 to Yasothon via Borabue and Maha Sarakham and Roi Et, a total distance of 531 kilometres.

By Bus

Bangkok-Yasothon buses depart from Mochit 2 Bus Terminal every day. Contact Transport Co.Ltd at Tel: 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information.

By Rail

There is no direct train running to Yasothon. Visitors can take a train to Ubon Ratchathani, then continue the trip by bus to Roi Et. Call 1690, 0 2223 7010-20 for more information.

By Air

There is no direct flight to Yasothon. Visitors can fly from Bangkok to Ubon Ratchathani and continue the trip by bus to Yasothon.

Distances from Amphoe Mueang to Other Districts

Sai Mun
Kham Khuean Kaeo
Pa Tio
Kut Chum
Maha Chana Chai
Loeng Nok Tha
Kho Wang
18
23
28
37
41
69
70
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.

 

YASOTHON : Activities

Phra Phutthabat Yasothon

Situated in Wa Phra Phutthabat Yasothon, the hall enshrines the Lord Buddha's Footprint in the form of a white sand dune at the fertile ara of the Chi River.

Wat Maha That

Wat Maha That is an important temple of the province in the town. The building of importance here is Phra That Yasothon or Phra That Anon, an ancient square pagoda with the top similar to that of Phra That Phanom. The architecture is in the Laotian style which was popular in the late Ayutthaya to early Rattanakosin periods. The pagoda houses the relics of Phra Anon. A state minister from Si Sattana Khanahut (Vientiane) who took migrants to settle here about 200 years ago constructed it around 1778.

Another historical site within the compound is the scripture hall that is in the Isan art style. The doorway and the door are beautiful carved woods with exquisite lacquer designs. The designs on the walls show a mixture of art from the Central Region. Built during the reigns of Rama IV and Rama V of the Rattanakosin period, the hall stores scriptures on dried palm leaves and art objects from Vientiane.

Phra That Kong Khao Noi

Phra That Kong Khao Noi is at Tambon Tat Thong. Take the Yasothon-Udon Thani route for 2 kilometres to get to the site. Built during the 23rd-25th Buddhist century in the late Ayutthaya period, the small, square brick pagoda has a distinctive top. The middle part has designs of doorways on all 4 sides. A brick wall surrounds the pagoda. A sacred Buddha image is behind the pagoda. Legend has it that it was built by a young farmer who was repentant after killing his mother because he was upset with hunger.

Ku Chan

Located at Ban Ngew, Tambon Ku Chan, 12 kms. from Amphoe Kham Khuen Kaeo, KuChan is an ancient pagoda similar to Phra That Phanom. Legend says it has been built in the same period to Phra That Phanom in Nakhon Phanom province.


Ban Song Puey Archeological Site

The significant attractions include Big Buddha Image, Pagodas, etc.

Situated 25 kms. from Yasothon City, via highway 23 (Yasothon-Kham Khuen Kaeo-Ubon Ratchathani Rd.) and 10 kms. off the main road on the right. Its significant attractions include

Big Buddha Image. Made of brick, the principle Buddha of Wat Song Puey is 3 metres wide and 8 metres high. This sacred image can be dated back to more than 200 years. Pagodas containing soil from holy sites of Buddhism.

The old pagoda, more than 200 years old, was renovated in 1955 by Field Marshal Plaek Pibulsongkram. It houses soil from holy site of Buddha, namely the place of birth, enlightenment, the first sermon, and nirvana, brought from India by a Buddhist monk, Khien Ammaphand. The replica of Buddha Footprint.

The footprint was built by sponsoring of Field Marshal Plaek Pibulsongkram and his lady. Lots of local people come to bath the footprint During Songkran Festival.

Antique Museum. The museum features antiques found from Dong Muang Toey, an ancient Khmer town. The antique include stone bed of the mayor, and stone inscription in ancient Khmer letter.

Dong Muang Toey Ancient town.The remaining of ancient town Dong Muang Toey is found a kilometre south of Song Puey Village, 7 kms. from Amphoe Kham Khuen Kaeo. Foundation of temple, pond, and town wall are found. Altough they are ruined, their remaining indicated that it once was settlement in Chenla-Dhavaravadi period or in the 7th Centiry. Chenla King’s inscription indicated that this ancient site is religious place for Shivism. Dong Muang Toey and nearby community, proably satellite town of Chenla Kingdom, was called ‘Sangkha Pura’. Chenla Kingdom developed into Khmer Empire later and extended its territory into Moon and Chee River Basin during such period.

The old building of Ban Singha Tha

Ban Khum Singha Tha, in Muang municipality, is the old area whose name is found in the city’s history. The area is rich of beautiful old-fashioned buildings which is well preserved, making a nice place to enjoy the cultural rich area.

Hor Trai

Hor Trai, or library of Wat Sra Trinurak. Hor Trai is located in Wat Sra Trinurak, Ban Na Wiang, Moo 1, Tambon Na Wiang, 25 kms. from Yasothon City. The ancient pavilion, over a century old, located amidst pond is housing Buddhist scriptures since ancient time. The Burmese-style wooden architecture is 8.30 metre wide and 10.50 metre long, with 4-level metal-sheet roof and long eaves at all sides. The front door is delicately carved.

Ban Si Than

Ban Si Than is where typical pillows are made. The village is 20 kilometres from Yasothon on the way to Amnat Charoen. Villagers make Khit pillows and weave after the harvest is done. They are famous products of the province.


Phaya Thaen Public Park

Phaya Thaen is a rain god according to the belief of Isan people. Phaya Thaen Public Park is on Chaeng Sanit Road in the municipality. The large area is surrounded by a small waterway and is decorated with flowers and decorative plants. It also has a health park. The park is the venue of various provincial fairs like the Rocket Festival, the annual boat race and the Songkran Festival.

Phu Tham Phra

This large cave, located to the west of the mountain, houses countless sacred Buddha images

Wat Song Yae Catholic Church

Located in Ban Song Yae, Amphoe Thai Charoen. Initially, the church was a tiny hut, and it was rebuilt many times. This is the fourth church built in 1947 by wood contribution by the villagers. Built in Thai traditional style, the country’s biggest wooden church is 16 metres wide and 57 metres long. How to get there: From Yasothon, use highway 2169, turn left after passing Amphoe Kut Chum for 7-8 kms, and keep going for 600 metres. The school and the church share the compound.

Located in Ban Song Yae, Amphoe Thai Charoen, the Catholic Church is actually called Father Dechanel is the first rector of the church. The church serves villagers of Ban Nong Song Yae, all of who are Catholics.

Initially, the church was a tiny hut, and it was rebuilt many times. This is the fourth church built in 1947 by wood contribution by the villagers. Built in Thai traditional style, the country’s biggest wooden church is 16 metres wide and 57 metres long. It is made of 80,000 wooden roofs, 360 wooden piles in different sizes, floor made from huge pieces of Malabar ironwood and jamba timber, wooden benches which can accommodate over a thousand people. The 260 wooden piles in the middle row are the biggest, with over 10 metres long. The church bell, 2 feet long in diameters, is in bell tower in Thai style, but it is separated from the church. Huge amount of remaining wood is enough for building Ban Song Yae Pittaya School.

How to get there: From Yasothon, use highway 2169, turn left after passing Amphoe Kud Chum for 7-8 kms, and keep going for 600 metres. The school and the church share the compound.

History of Ban Song Yae Church. It was said that in 1908, five families sought a refuge in this area, this was lush jungle, after being hurted and evicted as they were blamed as zombie. They have met Father Dechanel and Ombrocio , Ban Se Song, Tambon Chiang Peng, Amphoe Pa Tiew of Yasothon, and asked them to get rid of devel in their bodies. After the success, they become Catholics. More people migrated to Ban Nong Song Yae. In 1909, a small hut was built for Catholic rites and that was the beginning of Song Yae Church.

Ban Thung Nang Oak

The village is famed for its bamboo basketry for household use and souvenir. The village is located in Amphoe Muang, 8 kms. from Yasothon City via highway 2169 (Yasothon-Kud Chum Rd.)

Chi River Beach

This is a natural beach formed by the receding water level in the Chi River in the dry season, which is never higher than 70 centimetres. The beach is nearly 2 kilometres long. Locals like to come here to relax and have a meal.


ยโสธร : ข้อมูลทั่วไป

เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

        จังหวัดยโสธรจากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับ เจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า “บ้านสิงห์ท่า” หรือ “เมืองสิงห์ท่า” ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะบ้าน สิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น “เมืองยโสธร” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา

ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515

จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้ว เลิงนกทา กุดชุม ค้อวัง ทรายมูล และไทยเจริญ

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. โรงพยาบาลยโสธร โทร. 0 4571 2580, 0 4572 2486-7
  2. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4571 1093
  3. สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4571 2722
  4. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร โทร. 0 4571 1683–4

Link ที่น่าสนใจ

ททท.สำนักงานอุบลราชธานี
http://www.tourismthailand.org/ubonratchathani
สำนักงานจังหวัดยโสธร
http://www.yasothon.go.th

ยโสธร : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไป จ. ยโสธร

รถยนต์
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอพิมาย ผ่านอำเภอหนองสองห้อง และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ แล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง

รถไฟหรือเครื่องบิน
สำหรับผู้โดยสารโดยรถไฟและเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาลงที่ยโสธรอีกประมาณ 99 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตารางรถไฟ โทร.1690,0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th และตารางการบิน โทร. 1566,0 2628 2000 ,0 2356 1111 www.thaiairways.com

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ยโสธร ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 0 2936-2852-66 www.transport.co.th


ยโสธร : วัฒนธรรมประเพณี

งานแข่งเรือยาวประเพณียโสธร
วันที่ 6 ตุลาคม 2552
ณ ท่าคำทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

กิจกรรม
การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน การแข่งขันเรือยาวประเภทฝีพายต่าง ๆ

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลเมืองยโสธร โทร. 0 4572 0951 ต่อ 306

หมายเหตุ
- กำหนดการจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนเดินทาง

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประวัติ / ความเป็นมา

ประเพณีบุญบั้งไฟ กำเนิดจากไหนนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ก็ยังปรากฏประเพณีนี้ในภาคเหนือ (เรียกว่า ประเพณีจิบอกไฟ) ส่วนหลักฐานเอกสารในภาคอีสาน ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ผาแดง – นางไอ่ ซึ่งกล่าวถึงตำนานบุญบั้งไฟบ้าง
ส่วนความเป็นมาและตำนานเกี่ยวกับบุญบั้งไฟมีหลายประการ ด้วยผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้เช่น…สิริวัฒน์ คำวันสา ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับต้นเหตุความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟในแง่ ต่างๆ ไว้ว่า..
ด้านศาสนาพราหมณ์ มีการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟเป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์ การจุดบั้งไฟ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งและเป็นการบูชาเพื่อให้พระองค์บันดาลในสิ่งที่ตนเอง ต้องการ
ด้านศาสนาพุทธ เป็นการฉลองและบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชามีการนำเอาดอกไม้ไฟแบบต่างๆ บั้งไฟ น้ำมัน ไฟธูปเทียนและดินประสิว มีการรักษาศีล ให้ทาน การบวชนาค การฮดสรง การนิมนต์พระเทศน์ ให้เกิดอานิสงส์
ด้านความเชื่อของชาวบ้าน ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล มนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของเทวดาการรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างแห่งการแสดงความ นับถือเทวดา คือ “แถน” “พญาแถน” เมื่อถือว่ามีพญาแถนก็ถือว่ามีฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของพญาแถน หากทำให้พญาแถนโปรดปรานหรือพอใจแถนก็จะบันดาลความสุข จึงมีพิธีบูชาแถน การใช้บั้งไฟเชื่อว่าเป็นการบูชาพญาแถน ซึ่งแสดงความเคารพและแสดงความจงรักภักดีต่อแถน ชาวอีสานส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนพญาแถน และมีนิทานปรัมปราลักษณะนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่ง คือ เรื่องพญาคันคาก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนตกลงมายังโลกมนุษย์
พระมหาปรีชา ปริญญาโน เล่าถึงมูลเหตุการทำบุญบั้งไฟไว้ว่า บนสวรรค์ชั้นฟ้ามีเทพบุตรนามว่า วัสสการเทพบุตร เทพบุตรองค์นี้เป็นผู้บันดาลให้ฝนตกลงมายังโลกมนุษย์ สิ่งหนึ่งที่เทพเจ้าองค์นี้ชอบก็คือ การบูชาไฟ ใครบูชาไฟถือว่าบูชาท่าน แล้วท่านจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อาศัยเหตุนี้คนจึงพากันทำการบูชาไฟด้วยการทำบุญบั้งไฟและถือเป็นประเพณีจน ทุกวันนี้
จารุบุตร เรืองสุวรรณ กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการทำบั้งไฟว่าเป็นการทดสอบความพร้อมของประชาชนว่ามี ความสามัคคีหรือไม่ และเตรียมอาวุธไว้ป้องกันสังคมของตนเอง เพราะสิ่งที่ใช้ทำบั้งไฟนั้นคือดินปืน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมกันเพื่อเปิดโอกาสให้มีการแสดง การละเล่นจนสุดเหวี่ยง ให้มีความสนุกสนานก่อนที่จะเริ่มทำงานหนักประจำปี คือการทำนา
บุญเลิศ สดสุชาติ กล่าวถึงการทำบั้งไฟว่า มีตำนานเล่าถึงเมืองธีตานครของท้าวพญาขอมเกิดแล้งหนัก ท่านจึงป่าวประกาศให้เมืองต่างๆ ทำบั้งไฟมาแข่งกันของใครขึ้นสูงสุดจะเป็นผู้ชนะได้อภิเษกสมรสกับ นางไอ่ ผู้เป็นพระราชธิดา ผลการแข่งขันจุดบั้งไฟปรากฏว่าท้าวผาแดงเป็นผู้ชนะเลิศ เมื่อพญาขอมสิ้นพระชนม์ ท้าวผาแดงได้ครองเมือง สืบต่อมาด้วยความสงบสุขร่มรื่น กล่าวถึงท้าวภาคีบุตรพญานาค เคยเป็นคู่ครองของนางไอ่ในชาติปางก่อน ยังมีอาวรณ์ถึงนางจึงได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือกมาให้นางไอ่เห็นก็อยากได้ กระรอกนั้นเป็นกำลัง นางได้สั่งบริวารให้ช่วยกันจับ บังเอิญบริวารยิงธนูถูกกระรอกเผือกถึงแก่ความตาย ก่อนตายท้าวภาคีได้อธิษฐานให้ร่างกายของตนใหญ่โต แม้คนจะเชือดเพื่อไปกินมากมายอย่างไรก็อย่าได้หมด ใครที่กินเนื้อตนจงถึงแก่ชีวิต พร้อมกันทั้งแผ่นดินถล่ม เมืองธีตานครถึงแก่จมหายไปกลายเป็นหนองหาน ท้าวผาแดงและนางไอ่พยายามขี่ม้าหนี แต่ไม่รอดได้เสียชีวิตในคราวนี้ด้วย จากผลแห่งกรรมดีที่สร้างไว้ ท้าวผาแดงได้ไปจุติเป็นเทพเจ้า ชื่อว่าพญาแถน ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟก็เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน
จารุวรรณ ธรรมวัตร กล่าวถึงมูลเหตุการทำบั้งไฟดังนี้ พญาแถนเป็นเทพยดา ผู้มีหน้าที่ควบคุมฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล หากทำการเซ่นบวงสรวงให้พญาแถนพอใจ ท่านก็จะอนุเคราะห์ให้การทำนาปีนั้นได้ผลสมบูรณ์ ตลอดจนบันดาลให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมู่บ้านใดทำบุญบั้งไฟติดต่อกันมาถึงสามปี ข้าวปลาอาหารในหมู่บ้านนั้นจะบริบูรณ์มิได้ขาด
พระยาอนุมานราชธน เขียนเล่าไว้ในเรื่อง “อัคนีกรีฑา” ว่าด้วยวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของไทยว่า เรื่องบ้องไฟนี้โบราณเรียกว่า กรวดหรือจรวด เป็นการเล่นไฟของชาวบ้าน โดยอ้างถึงหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมื่อพุทธศักราช 1835 ว่า “เมืองสุโขทัยนี้มีสีปากประตู หลวงเทียรญ่อมคนเสียดคนเข้าดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก” เป็นหลักฐานว่า การเล่นไฟประดิษฐ์จรวด กรวด หรือบ้องไฟ รวมทั้งพลุ ตะไล และไฟพะเนียงได้รู้จัก และทำเล่นกันมานานเกือบ 700 ปีแล้ว เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน ผู้คนเบียดเสียดกันเข้ามาดูแทบว่ากรุงสุโขทัยแตก
ส่วนงานประเพณีบั้งไฟ เมืองยโสธรได้มีมานานแล้ว โดยมีหลักฐานว่า มีมาก่อนที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล คือ เรื่องของกบฏผีบุญ หรือกบฏชาวนา กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงห้ามการเล่นบั้งไฟ
จุดประสงค์ของการทำบุญบั้งไฟ มีหลายอย่าง เช่น
1. การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ขอน้ำฝน เชื่อมความสมัครสมานสามัคคีแสดงการละเล่นการบูชาคุณของพระเจ้า ชาวอีสานส่วนมากนับถือพระพุทธสาสนา เมื่อถึงเทศกาลเดือน 6 ซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวอีสานจะจัดดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาพระพุทธรูป การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน
2. การสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เนื่องจากการทำบุญบั้งไฟ มีการบวชพระและบวชเณรในครั้งนี้ด้วย จึงถือว่าเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา
3. การขอฝน การทำนาไม่ว่าจะเป็นภาคใดก็ต้องอาศัยน้ำฝน ชาวอีสานก็เช่นกันเนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้จึงมีความเชื่อ เดียวกันกับสิ่งเหนือธรรมชาติ จากตำนานเรื่องเล่าของชาวอีสานเชื่อว่า มีเทพบุตรชื่อ โสกาลเทพบุตร มีหน้าที่บันดาลน้ำฝนให้ตกลงมา จึงทำบุญบั้งไฟขอน้ำจากเทพบุตรองค์นั้น
4. การเชื่อมความสามัคคี คนในบ้านเมืองหนึ่งที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกัน ถ้ามิได้ทำกิจกรรมร่วมกันก็จะมีฐานะต่างคนต่างอยู่เมื่อบ้านเมืองเกิดความ ยุ่งยากจะขาดกำลังคนแก้ไข ดังนั้นเมื่อทำบุญบั้งไฟก็จะเปิดโอกาสให้คนทั้งหลายได้มาร่วมแรงร่วมใจกัน ประกอบกิจกรรมสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้น
5. การแสดงการละเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนมาแสดงการละเล่น คนเราเมื่อได้เล่นได้กินร่วมกัน จะเกิดความรักใคร่ใยดีต่อกัน การเล่นบางอย่างจะสุภาพเรียบร้อย บางอย่างหยาบโลน แต่ก็ไม่ถือสาหาความ ถือเป็นการเล่นเท่านั้น

กำหนดงาน
ชาวอีสานส่วนใหญ่จัดประเพณีบุญบั้งไฟช่วงทำนา เพื่อเป็นการขอฝนหรือเปรียบเสมือนประเพณีแห่นางแมวของทางภาคกลาง
สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
ขั้นตอนการเตรียมบั้งไฟ เริ่มจากทางบ้านในคุ้ม (เป็นหน่วยย่อยของชุมชนหมู่บ้าน) ซึ่งแต่ละคุ้มในเมืองยโสธรมีวัดอย่างน้อยหนึ่งวัดในบริเวณ จึงเรียกชุมชนเหล่านี้ว่า คุ้มวัดหรือคุ้มบ้าน ฝึกหัดฟ้อนรำประกอบขบวนแห่บั้งไฟ การปลูกปะรำที่พักอาศัยเพื่อแขกที่เชิญมาร่วมงานจากหมู่บ้านอื่นมีการเตรียม อาหาร บ้านใดที่มีลูกสาวก็จะเตรียมตัดชุดรำเซิ้ง อุปัชฌาย์จะเตรียมนาคเพื่อบวชในงานเป็นช่วงที่ครึกครื้นมาก สถานที่จัดงานสมัยก่อนจะใช้วัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวมราษฎรมาช่วยกันทำบั้งไฟ บั้งไฟแต่ละบั้งใช้เวลาในการทำประมาณสองถึงสามเดือน ในปัจจุบันงานบุญบั้งไฟได้กลายเป็นงานที่ทางจังหวัดเป็นผู้จัด ดังนั้นทางเทศบาลจะจ่ายให้คุ้มละ 30,000 บาท (เมื่อปี 2535) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำบั้งไฟและขบวนแห่ ทั้งนี้ทางเทศบาลจะเป็นผู้กำหนดนางรำที่จะร่วมขบวนแห่ ซึ่งเท่าที่ผ่านมางบประมาณที่ได้จาก จังหวัด 1 ใน 3 เป็นค่าใช้จ่ายในการทำบั้งไฟ ที่เหลือใช้จ่ายในขบวนแห่ ซึ่งเท่าที่ผ่านมางบประมาณไม่พอก็ต้องทำการเรี่ยไรกันในคุ้ม
ขั้นตอนการทำบุญบั้งไฟต้องมีการศึกษา และเรียนรู้สืบทอดต่อๆ กันมาคนที่เป็นช่างทำบั้งไฟเรียกว่า “ช่างบั้งไฟ” โดยทั่วไปจะถ่ายทอดต่อกันนับพ่อกับลูก ลูกกับหลาน หรือครูกับลูกศิษย์ เป็นคนๆ เท่านั้น ไม่ใช่คนทั่วไปอยากเรียนก็จะเรียนได้หมด ครูจะเลือกถ่ายทอดให้ตัวต่อตัว สำหรับศิษย์ที่ครูเห็นว่ามีไหวพริบและมีพรสวรรค์ด้านการทำบั้งไฟเท่านั้น ก่อนลงมือทำบั้งไฟต้องจัดหาอุปกรณ์ไว้ให้ครบเพื่อความสะดวกในการทำบั้งไฟ ในปัจจุบันกับสมัยโบราณจะต่างกันในเรื่องระยะเวลา
ชนิดของบั้งไฟมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับจุดหมายในการทำ อาจจะแยกเป็นแบบใหญ่และนิยมทำกันมากมี 3 แบบ คือ แบบมีหาง แบบไม่มีหาง และบั้งไฟตะไล
บั้งไฟมีหางเป็นแบบมาตราฐาน เรียกว่า “บั้งไฟมีหาง” มีการตกแต่งให้สวยงามเมื่อเวลาเซิ้งเวลาจุดจะพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สูงมาก ควบคุมทิศทางได้เล็กน้อย
บั้งไฟแบบไม่มีหางเรียกว่า “บั้งไฟก่องข้าว” รูปร่างคล้ายกล่องใส่ข้าวเหนียว ชนิดมีขาตั้งเป็นแฉก ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดก็คล้ายกับจรวดนั่นเอง
บั้งไฟตะไล มีรูปร่างกลม มีไม้บางๆ แบนๆ ทำเป็นวงกลมรอบหัวท้ายของบั้งไฟ เวลาพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจะพุ่งไปโดยทางขวาง
บั้งไฟทั้งสามแบบที่กล่าวมา ถ้าจะแยกย่อยๆ ตามเทคนิคการทำและลักษณะรูปร่างของบั้งไฟจะแยกเป็นประเภทได้ 11 ชนิด ดังนี้คือ บั้งไฟโมดหรือโหมด บั้งไฟม้า บั้งไฟช้าง บั้งไฟจินาย บั้งไฟดอกไม้ บั้งไฟฮ้อยหรือบั้งไฟร้อย บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟตะไล บั้งไฟตื้อ บั้งไฟพลุ
การแห่บั้งไฟจะกำหนดไว้ 3 วัน คือ วันสุกดิบ วันประชุมเล่นรื่นเริง และวันจุดบั้งไฟ ในวันสุกดิบ คณะเซิ้งบั้งไฟแต่ละคุ้ม แต่ละคณะจะนำบั้งไฟของตนพร้อมด้วยขบวนแห่มายังหมู่บ้านที่แจ้งฎีกาโดยจะแห่ ไปรวมกันที่วัด และที่วัดจะมีการทำบุญและเลี้ยงแขกที่จะมาประชุมกัน ทุกๆ คนที่มาร่วมงานกันล้วนแต่งกายอย$