www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    


CHIANGRAI

CHIANGRAI : General Information

          

          Chiang Rai, the northernmost province of Thailand is about 785 kilometers north of Bangkok. Situated on the Kok River basin, Chiang Rai covers an area of approximately 11,678 square meters with an average elevation of 580 meters above sea level. The province, which is located within the renowned Golden Triangle area where Myanmar, Laos and Thailand converge, is also known as the gateway to Myanmar, Laos and Southern China.


avis_chiangrai
avis chiangrai


          Chiang Rai, which was founded in 1262 by King Meng Rai, was the first capital of the Lanna Thai Kingdom (Kingdom of a million rice fields), which was later conquered by Burma. It was not until 1786 that Chiang Rai became a Thai territory and was proclaimed a province during the reign of King Rama VI in 1910.

          Today, Chiang Rai is a travelers paradise endowed with abundant natural tourist attractions and antiquities; the province itself is evidence of past civilization. Attractions range from magnificent mountain scenery, ruins of ancient settlements, historic sites, Buddhist shrines and ethnic villages as the province is also home to several hill tribes who maintain fascinating lifestyles. For those interested in the natural side of Chiang Rai, jungle trekking is recommended along various trails.

          Chiang Rai which tends to be a little more ’laid back’ now competes with Chiang Mai as a tourist attraction and is fast becoming a popular escape for tourists wanting to get away from the troubles they left behind.

CHIANGRAI : How to get there

Bangkok - Chiang Rai 

By Air
           Thai Airways has daily flights connecting Bangkok with Chiang Rai. For more information, contact their Bangkok office at tel. 0 2280 0060, 0 2628 2000, the Chiang Rai Office tel. 0 5371 1179, 0 5371 5207, or view their website at www.thaiairways.com
           One-Two-Go offers daily flights from Bangkok to Chiang Rai. Call 1126 or book online at http://www.fly12go.com

          SGA offers flights to Chiang Rai. Call 0 2664 6099 or visit: www.sga.co.th

By Bus

          The coach ride from Bangkok to Chiang Rai is probably best made overnight since passengers can avail themselves of sleep prior to an early morning arrival. There are both air-conditioned and non-air-conditioned bus services from Bangkok's Northern Bus Terminal (Mochit 2 Bus Terminal) on Kamphaengphet 2 Road. The journey may take approximately 9-11 hours.

By Car

          Take Highway No. 1 (Phahonyothin Road), turn to route No. 32 passing Ayutthaya, Angthong and Singburi Provinces and change to route No. 11 passing Phitsanulok, Uttaradit and Phrae Provinces then turn left to Highway No. 103, drive through to Ngao District and turn right onto Highway No. 1 which takes you to Phayao and Chiang Rai Provinces. The total distance is 785 km.

By Rail

        There is no direct train to Chiang Rai. You have to take a train to Lampang
(9 hrs. from Bangkok) or Chiang Mai (11 hrs.) and then take a bus to Chiang Rai. (2 hrs. from Lampang and 1.30 hrs. from Chiang Mai) For more details, call the State Railway of Thailand, 1690 (hotline), or 0 2223 7010 or 0 2223 7020.

By Boat

    The capital may also be reached from Tha Thon in Chiang Mai province by a scenic 4-6 hour (depending on climatic conditions, such as rain, and other factors such as high waters and fast currents) long-tail boat ride along the Mae Kok River. 



Chiang Mai - Chiang Rai 
  
 By Bus

         Chiang Rai is 182 kilometers north of Chiang Mai. Air conditioned buses leave 12 times daily from Chiang Mai Arcade Bus Terminal to Chiang Rai. Some buses continue to Mae Sai and Chiang Saen. 
    
By Air

         Airlines have numerous daily flights servicing the Bangkok-Chiang Mai route and the Chiang Mai-Chiang Rai route.

CHIANGRAI : Festival & Event

         Aka Hill Tribes Mini Light and Sound Presentation
         Aka Hill Tribes Mini Light and Sound Presentation
         Date :
 Saturday 10 January / 14 Febuary / 14 March /11 April 2009
         Venue : Chiang Rai Social Development Centre 12 on the Doi Mae Salong road 
             in Pa Sang Sub-district of Mae Chan, Chiang Rai

         Chiang Rai province hosts its annual light and sound show that presents insights into the culture and daily life of the Aka hill tribes, resident in hilltop villages in Mae Chan District. 

         First introduced in 1999, the show is now staged once a month during the tourist high season from January to April.
This month, the show will be presented, 10 January, 14 Febuary, 14 March and then finally on 11 April, at the Chiang Rai Social Development Centre 12 on the Doi Mae Salong road in Pa Sang Sub-district of Mae Chan.

         Aka hill tribe villagers perform at the centre demonstrating authentic renderings of their culture and lifestyle to visitors. There are also handicrafts on display. 

         The centre is also considering the introduction of home-stay accommodation that will focus on international tourists to encourage community-based tourism. It will allow visitors, who are interested in Aka traditions, to study the village up close with village elders providing instruction and insights into cottage industry and cultural activities.
The light and sound show is presented in both Thai and English, and runs from 1730 to 1930. Tickets cost Bt150 per person and the show with dinner is priced at Bt300 per person.

         For more information, please call

         TAT Chiang Rai Office
         Tel. 66 (0) 5374 4674-5, 66 (0) 5371 7433

         Chiang Rai Social Development Centre 12
         Tel. 66 (0) 5391 4471

CHIANGMAI :Activities

      Phu Chi Fa
          Phu Chi Fa is approximately 25 kilometers to the south of Doi Pha Tang in Thoeng District. The cool climate produces colorful flowering shrubs and the large meadow on the top provides breathtaking views of Laos. In addition, spectacular scenery can be seen from the sheer cliff of Phu Chi Fa, especially the sea of mist at sunrise. Visitors can stay overnight at Ban Rom Fa Thong and Ban Rom Fa Thai.

     Wat Rong Khun
          Wat Rong Khun is also known as the White Temple. Whereas most temples visited by tourists have a history going back many centuries, this magnificent place of worship was built only recently. It is the realization of a dream for Thailands noted artist, Mr Chalermchai Kositpipat, who designed and is supervising the construction of this
beautiful white temple and its many statues of figures based on religious beliefs. The construction started in 1998 and is expected to be completed in 2008. In addition, there is a gallery nearby exhibiting his paintings. To get there from the city of Chiang Rai, drive north along Asia Highway.

     Doi Tung
          Doi Tung is located in Mae Fa Luang District and can be reached by taking Highway No.110 for about 48 kilometers and turning left onto Highway No. 1149, an asphalt road leading directly to Doi Tung. The route winds through beautiful scenery with many interesting sites
including the Doi Tung Palace (Pra Tamnak Doi tung), the Mae Fa Luang Garden and Akha and Muser tribal villages. IN addition to scenic lookouts, the most notable attraction is the Phra That Doi Tung Holy Relic, an old religious site atop the mountain.
          Also located on Doi Tung Mountain is a beautiful royal residence known as Phra
          Tamnak Doi Tung. The royal villa, situated on the slopes of the adjacent Pa Kluay Reservoir, was to serve as a royal winter retreat for the Princess Mother, who passed away in 1995 and was originally built on the theory that the local hill tribes would be honored by the royal presence and thereby cease their opium cultivation.
          The main attraction for visitors to Phra Tamnak Doi Tung is 'Suan Mae Fa Luang', the beautiful landscaped gardens filled with hundreds of different kinds of plants and flowers, named in honor of the Princess Mother and the Doi Tung Development Project established by the late Princess Mother in 1987.


เชียงราย : ข้อมูลทั่วไป
เหนือสุดยอดในสยาม
ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา

       เชียงราย
              เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯเป็นระยะทาง 829 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอป่าแดด อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ลาว อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอดอยหลวง

     หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1.   ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5371 1870
  2. สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5371 1444
  3. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 0 5371 7779, 0 5371 7796, 1155
  4. ท่าอากาศยานเชียงราย โทร. 0 5379 3048
  5. บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. 0 5371 1179
  6. สถานีขนส่งจังหวัด โทร. 0 5371 1224
  7. โรงพยาบาลเชียงราย โทร. 0 5371 1300

      Link ที่น่าสนใจ 
     ททท.สำนักงานเชียงราย
     http://www.tourismthailand.org/chiangrai  
     สำนักงานจังหวัดเชียงราย
     http://www.chiangrai.go.th  
     ศูนย์บริหารจัดการ การท่องเที่ยว จ.เชียงราย
     http://www.tourismchiangrai.com
     http://www.chiangraifocus.com

เชียงราย : ข้อมูลการเดินทาง
      การเดินทางจากเชียงรายไปยังจังหวัดใกล้เคียง 
           จากสถานีขนส่งเชียงราย มีรถโดยสารไปเชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง แม่สอด พิษณุโลก พัทยา นครราชสีมา นครพนม อุดรธานี และขอนแก่น ติดต่อสถานีขนส่งเชียงราย โทร. 0 5371 1224 

     รถยนต์
สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่

  1. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่จังหวัดลำปาง แล้วตรงไปจังหวัดพะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร
  2. เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกขวามือไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) จากจังหวัดพิษณุโลก ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงอำเภอเด่นชัย ให้เลี้ยวไปทางจังหวัดแพร่ ตามทางหลวงหมายเลข 101 (แพร่-น่าน) จนถึงอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 103 ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่อำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา แล้วตรงต่อไปจนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร
  3. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 จนไปถึงจังหวัดลำปาง จึงเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เชียงใหม่) ผ่านไปจังหวัดลำพูน แล้วเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ผ่านดอยสะเก็ต แม่ขะจาน เวียงป่าเป้าเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 900 กิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูนมาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้

     รถไฟ 
          จากรถไฟหัวลำโพง มีรถไฟไปลงที่จังหวัดลำปางหรือเชียงใหม่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ ไปจังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

     รถโดยสารประจำทาง
           มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของ บ.ข.ส. และของเอกชน ไปเชียงรายทุกวัน แบ่งเป็นหลายเส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ – เชียงราย, กรุงเทพฯ – แม่สาย, กรุงเทพฯ – เชียงแสน, กรุงเทพฯ – เชียงของ โดยจะมีรถออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2852-66 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1369 หรือบริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2954 3601-7 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1882 บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495 สำนักงานเชียงราย บริษัท อินทราทัวร์ โทร. 0 2936 2492 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1235 บริษัท คฤหาสน์ทัวร์ โทร. 0 2936 3531 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 7083 นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารสายเชียงราย–เทิง-เชียงคำ ทั้งรถปรับอากาศและรถพัดลม รถออกจากเชียงรายและเชียงคำ ทุก 30 นาที รถออกตั้งแต่เวลา 06.00 น. และรถโดยสารสายเชียงราย–เทิง–ภูซาง–ภูชี้ฟ้า เป็นรถพัดลม มีรถออกวันละ 2 เที่ยว รถออกจากเชียงราย เวลา 12.30 น. และ 13.30 น. ทุกวัน และรถออกจากภูชี้ฟ้า เวลา 07.30 น. และ 8.30 น. ทุกวัน สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท ก.สหกิจเดินรถ จำกัด โทร. 0 2940 9421-2 หรือ 0 1646 7427www.transport.co.th

     เครื่องบิน
          
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย และเที่ยวบินไป-กลับ ระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่ ทุกวัน วันละ 2 เที่ยว สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1179, 0 5371 5207 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044 www.thaiairways.com
           สายการบิน วัน-ทู-โก บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1126 หรือ http://www.fly12go.com 
           สายการบิน SGA เส้นทางระหว่าง เชียงใหม่-เชียงราย สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2664 6099 หรือ http://www.sgaairlines.com 
           สายการบินไทย แอร์ เอเชีย บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ -เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com 
           สายการบิน นกแอร์ บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1318 หรือ  www.nokair.com 
การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.เชียงราย
การเดินทางจากอำเภอเมืองเชียงรายไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง

กิโลเมตร

  • อำเภอแม่ฟ้าหลวง

- กิโลเมตร

  • อำเภอขุนตาล

- กิโลเมตร

  • อำเภอแม่ลาว

-กิโลเมตร

  • อำเภอเวียงชัย

12 กิโลเมตร

  • อำเภอแม่จัน

20 กิโลเมตร

  • อำเภอเวียงเชียงรุ้ง

35 กิโลเมตร

  • อำเภอพาน

46 กิโลเมตร

  • อำเภอพญาเม็งราย

48 กิโลเมตร

  • อำเภอป่าแดด

52 กิโลเมตร

  • อำเภอแม่สรวย

53 กิโลเมตร

  • อำเภอเชียงแสน

60 กิโลเมตร

  • อำเภอแม่สาย

63 กิโลเมตร

  • อำเภอเทิง

64 กิโลเมตร

  • อำเภอดอยหลวง

67 กิโลเมตร

  • อำเภอเวียงป่าเป้า

91 กิโลเมตร

  • อำเภอเวียงแก่น

127 กิโลเมตร

  • อำเภอเชียงของ

141 กิโลเมตร

เชียงราย : วัฒนธรรมประเพณี
           งานเทศกาลสงกรานต์หาดเชียงราย
    งานเทศกาลสงกรานต์หาดเชียงราย
         วันที่ 13 - 15 เมษายน 2552
         ณ หาดเชียงราย จังหวัดเชียงราย

     กิจกรรม
          ขบวนแห่นางสงกรานต์  การแข่งขันก่อเจดีย์ทราย การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

     สอบถามรายละเอียด
           เทศบาลเมืองเชียงราย โทร. 0 5371 1333 ต่อ 304-305

     ประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสน
         ประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสน
         วันที่ 16 - 18 เมษายน 2552
         ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย

     กิจกรรม
          การแข่งเรือ 3 ชาติ ชมขบวนแห่ และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง

     สอบถามรายละเอียด
          อำเภอเชียงแสน โทร. 0 5377 7188

       เทศกาลโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ
           ประวัติ / ความเป็นมา
                    ชาวเขาเผ่าอีก้อ หรือเรียกตนเองว่า "อาข่า"  มีเชื้อสายจากจีนธิเบต เดินทางอพยพลงมาอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือลำน้ำแม่กกเป็นถิ่นที่มีชาวอีก้ออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตอำเภอแม่จัน และแม่สาย ของเชียงราย อีก้อมีวิถีชีวิตและอุปนิสัยรักอิสระ และความสนุกสนานบันเทิงจึงเป็นชนชาวเขาที่มีประเพณีและเทศกาลงานรื่นเริงมาก มายตลอดทั้งปี แม้ในยามปกติชีวิตประจำวัน อีก้อยังกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งของหมู่บ้านไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นลาน เกี้ยวพาราสีสำหรับหนุ่มสาว และประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เรียกว่า "กาลาล่าเซอ" หรือที่ชาวสังคมเมืองเรียกว่า "ลานสาวกอด"  หรือในข้อเท็จจริงน่าจะรียกว่า ลานเอนกประสงค์ เพราะที่นั้น เป็นแหล่งชุมนุมของหนุ่มสาวในยามแดดร่มลมตกหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการงานใน ไร่ เป็นที่วิ่งเล่นของเด็กๆ ลานสำหรับร้องรำทำเพลงของชาวอีก้อ หนุ่มสาวชาวอีก้อนั้น เป็นกวี  ทุกคนสามารถร้องรำทำเพลงเกี้ยวพาราสีโต้ตอบซึ่งกันและกัน ลานกาลาล่าเซอแห่งนี้จึงถือว่าเป็นเสมือนศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของหมู่บ้าน
               เทศกาลโล้ชิงช้า (หละเฉอะปิ)  ของชาวอีก้อเป็นการรำลึกถึงพระคุณแห่งเทพธิดา "อื่มซาแยะ" เทพธิดาแห่งสรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรจากสรวงสวรรค์ เพื่อเทพธิดา "อื่มซาแยะ" จะได้ประทานพรกลับลงมา

      กำหนดงาน
          ขึ้นอยู่กับผู้จัด ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

      กิจกรรม / พิธี         
          เมื่อหัวหน้าหมู่บ้านหรือ "ซยือมะ" และหมอผีประจำหมู่บ้าน หรือ "ยีผ่า" กำหนดวันจัดเรียบร้อยแล้ว ใน 2 วันแรกของงานเป็นการเตรียมงาน โดยเริ่มจากสาวๆ อีก้อเตรียมตำข้าวสารไว้ให้พอกินในช่วงเทศกาล เพราะในวันงาน 2 วันหลัง จะห้ามทำงานทุกชนิด การงานในร่มก็จะเตรียมให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่ต้องไปดูแลในช่วงวันงาน หญิงสาวอีก้อจะทำงานหนักในช่วง 2 วันของการเตรียมงาน ซึ่งในสังคมอีก้อถือว่าผู้ชายเป็นผู้ที่มีเกียรติในสังคม เป็นผู้นำในเรื่องที่ต้องใช้ความคิด ส่วนผู้หญิงเป็นเพศที่ต้องใช้แรงงาน ผู้หญิงอีก้อจะทำงานทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ตื่นนอน ก็จะตำข้าวหุงอาหาร ปลุกผู้ชายมากินข้าว หากมีแขกผู้ชายมาเยี่ยมเยือน ฝ่ายหญิงจะแยกสำรับไปกินกับลูกๆ จากนั้นจะเข้าไร่นา เย็นต้องหาฟืน กลับบ้าน ตักน้ำจากลำธาร นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องในสังคมที่อีก้อยึดถือปฏิบัติ   แต่อย่างไรก็ตาม   ผู้หญิงอีก้อมีอิสระอย่างยิ่งในเรื่องความรัก และการเลือกคู่ครอง   การแต่งงานจะเกิดขึ้นจากพื้นฐานของความรักและความพึงพอใจของหญิงสาว โดยไม่มีการบีบบังคับ
          ระหว่างการเตรียมงานฝ่ายชายจะออกป่า เพื่อตัดไม้มาทำชิงช้า ชิงช้าจะถูกสร้างขึ้นเป็น 3 แบบแบบแรกเป็นชิงช้าใหญ่ประจำหมู่บ้าน สูงราว 15-20 เมตร ทำจากไม้ลำต้นตรงปักเสาลงตรงมุมของแต่ละมุมของพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วรวบมุมยอดทั้ง 4 เข้าหากัน ผูกสายโยงลงมา ชิงช้าประจำหมู่บ้านจะเป็นที่รวมให้คนในหมู่บ้านมาโล้เล่นกัน ซึ่งมักจะปลูกสร้างอยู่ริมผาสูงชันเพื่อเพิ่มความตื่นเต้นสนุกสนาน         
แบบ ที่ 2 เป็นชิงช้าประจำหมู่บ้านอีกเช่นกัน แต่เป็นชิงช้าที่สร้างคล้ายชิงช้าสวรรค์ คือ มีเสาหลัก 2 เสา มีแกนกลางบนยอดเสาเชื่อมกันเป็นแกนหมุน และจะมีที่นั่งยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน โดยวางตำแหน่งคำนวณน้ำหนักให้เท่ากัน ตอนโล้จะขึ้นไปนั่งพร้อมๆ กันทั้ง 4 คน แล้วใช้คนหมุนคล้ายกับชิงชาสวรรค์ตามงานวัด         
แบบที่ 3 เป็นชิงช้าเล็กๆ ประจำบ้าน ทุกหลังคาเรือนจะต้องมีเพื่อให้เด็กๆ เล่น เพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะคุ้มครองให้เด็กมีพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์         
          ในวันที่ 3 ของงาน หรือวันโล้ชิงช้า  จะเป็นวันที่สนุกที่สุด หนุ่มสาวชาวอีก้อจะแต่งกายกันอย่างสวยงามเต็มที่ บางคนเริ่มชุดแต่งกายด้วยชุดใหม่ของตนในวันนั้น หญิงสาวอีก้อมีเครื่องแต่งกายที่งดงามไม่แพ้สาวชาวเขาเผ่าใด หญิงสาวอีก้อสวมกระโปรงสั้นเหนือเข่า ปักลวดลายหลากสีบนพื้นเสื้อสีดำสนิท ที่คอคล้องสร้อยเงินระย้า สวมหมวกที่ประดับประดาด้วยพู่ขนนกย้อมสีแดงสดพลิ้วไหวไปมาเมื่อต้องลม มีเหรียญเงินประดับเป็นแถวบนหมวก หญิงสาวและชายหนุ่มจะมารวมกันที่ชิงช้าประจำหมู่บ้าน ต่างฝ่ายต่างผลัดกันขึ้นไปโล้ชองช้า โดยมีอีกฝ่ายเป็นผู้แกว่งไกว กระโปรงสั้นๆ ของสาวอีก้อพลิ้วไหวไปตามลมยามโล้ชิงช้า ชายหนุ่มในหมู่บ้านสนุกสนานจ้องตาเป็นมัน และเมื่อชายหนุ่มขึ้นโล้บ้าง สาวอีก้อ จะช่วยกันไกวชิงช้าให้แรงและสูงที่สุด และเมื่อโล้ลงมาใกล้ถึงพื้นดินก็จะถูกสาวๆ แกล้งดึงรั้งให้ตกลงมาจากชิงช้า รอยยิ้มและเสียงหัวเราะอบอวลไปทั้งแดนดอย สลับกับบทเพลงรักที่หนุ่มส่งร้องโต้ตอบกัน ผสมกับเสียงอันร่าเริงสนุกสนานของเด็กๆ ที่วิ่งเล่นเต็มลานกว้างของหมู่บ้าน
          จากนั้นพอพลบค่ำก็จะมีการสุมไฟขึ้นบริเวณชิงช้า และกาลาล่าเซอ หนุ่มสาวต่างพากันร้องเพลง สาวอีก้อจะจับมือล้อมเป็นวงร้องเพลงประสานเสียงเต้นไปตามจังหวะ งดงาม โดยมีชายหนุ่มเป็นผู้เล่นดนตรีให้จังหวะ แต่ก็ยังมีการไกวชิงช้าท่ามกลางความมืดสลัว พอตกดึกหนุ่มสาวบางคู่อาจหายหน้าจากผู้คนไปหามุมสงบ เพื่อไปพรอดพร่ำพรรณนาความรักกันตามประสาคู่รักพึงทำ แต่บทเพลงแห่งความรื่นรมย์ยังคงดังขับขานอยู่ตลอดทั้งคืน
พอถึงวันที่ 4 จะมีการฆ่าหมูเพื่อทำพิธีเซ่นผี แล้วลี้ยงผู้คนในหมู่บ้าน ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน แห่งการสิ้นสุดเทศกาลโล้ชิงช้า ยังมีการละเล่นเช่นวันวาน เลิกงานในวันรุ่งขึ้นชิงช้าทุกอันจะถูกเก็บเหลือไว้เพียงชิงช้าประจำหมู่ บ้านเท่านั้น แต่หมอผีประจำหมู่บ้านจะทำการถอดสายออกเก็บรักษาไว้ที่บ้านหัวหน้าหมู่บ้าน หลังจากเทศกาลผู้ใดจะทำการโล้ชิงช้าหรือจับต้องเสาชิงช้าไม่ได้เป็นอันขาด จนกว่าจะถึงวันโล้ชิงช้าในปีต่อไป


      งานวันลิ้นจี่และของดีจังหวัดเชียงราย
          ประวัติ / ความเป็นมา
              การส่งเสริมการเกษตร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้เริ่มมีการส่งเสริมให้มีการปลูกลิ้นจี่ในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ซึ่งในระยะแรกชาวบ้านไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักแต่หลังจากที่ทดลองปลูกใน 4 ปี ให้กลังต่อมา ชาวเชียงรายเริ่มเห็นคุณค่าในการปลูกลิ้นจี่ ทำให้พันธุ์ต้นลิ้นจี่ ขายดีมาก จนถึงปี 2520 สวนลิ้นจี่ในจังหวัดเชียงรายก็เพิ่มมากขึ้นเป็น 5,000 ไร่ และพอถึงปี 2524 ก็มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ไร่
          พันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกกันอยู่ในจังหวัดเชียงราย เป็นพันธุ์ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและระดับความสูงของพื้นที่ พันธุ์ที่รสชาติดีและมีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ พันธุ์ฮงฮวย และ โอเฮียะ ซึ่งในช่วงประมาณปลายเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นช่วงที่ลิ้นจี่ออกผล เหมาะที่จะตัดจำหน่าย เพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับลิ้นจี่ จึงมีการจัดงานวันลิ้นจี่ขึ้น

     กำหนดงาน
          ขึ้นอยู่กับผู้จัด สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

     กิจกรรม / พิธี
          งานวันลิ้นจี่ครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่สวนสาธารณะเทศบาลหลังพระราชานุสาวรีย์ พ่อขุนมังรายมหาราช ต่อมาย้ายมาจัดที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย ภายในงานมีการประกวดลิ้นจี่  จัดตลาดนัดลิ้นจี่ และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ พร้อมกันนั้นทุกๆ ปีก็จะมีการประกวดธิดาลิ้นจี่อีกด้วย

เชียงราย : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

     วนอุทยานภูชี้ฟ้า
         เป็นส่วนหนึ่งของดอยผาหม่น อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามราวภาพวาด ด้วยทิวทัศน์ของภูเขาสลับซับซ้อนดูกว้างไกล การจะเดินขึ้นไปชมทะเลหมอกควรจะขึ้นไปยอดภูตั้งแต่ฟ้ายังมืด เพราะเมื่อฟ้าเริ่มสว่างจะทำให้เห็นสายหมอกค่อย ๆ ก่อตัวเป็นภาพต่าง ๆ ดูสวยงามราวกับมีช่างวาดฝีมือมาแต่งแต้ม สร้างความประทับใจไปอีกนาน ภูชี้ฟ้า มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงที่มีดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะบานระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนมกราคม การเดินทาง อยู่ห่างจากเชียงราย 111 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 เข้าสู่อำเภอเทิง จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 จนถึงทางแยกขวาขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า หรือใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายเชียงราย-เทิง ลงรถที่อำเภอเทิง จากนั้นเช่ารถขึ้นไปภูชี้ฟ้า การเดินทางไปภูชี้ฟ้าโดยรถตู้ประจำทางสาย2402 เชียงราย-บ้านร่มฟ้าไทย(ภูชี้ฟ้า) ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงราย ทุกวัน เวลา 7.15น.และ13.15น. คนละ 80 บาท [บริษัท ก.สหกิจเดินรถ จำกัด โทร. 0 5374 2429-31

      วัดร่องขุ่น

          ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลคลองน้ำไหล ตำบลโป่งน้ำร้อน และตำบลสักงาม อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 13 กม. ออกแบบและก่อสร้าง โดยอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2540 โดย บนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ และขยายออกเป็น 12 ไร่ อุโบสถ ประดับกระจกสีเงินแวววาววิจิตรงดงามแปลกตา ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์หลังพระประธานซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่งดงามมาก

      พระตำหนักดอยตุงและสวนแม่ฟ้าหลวง
           เชียงราย อารยนครอายุกว่า 700 ปี มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกของวัฒนธรรมล้านนา กลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่า ที่เริ่มคืนความเขียวชะอุ่มภายหลังเกิดโครงการพัฒนาดอยตุงฯ กว่า 30 ปีที่ผ่านมาด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชาวเขาและชาวพื้นราบในบริเวณรายรอบดอยตุง ยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย-พม่า ได้เปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่น ถางป่าตัดไม้ และทำไร่เลื่อนลอย หันมาทำเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาว ทำไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย สร้างผลงานเย็บปักถักทอที่เชื่อมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่น และหัตถศิลป์พื้นเมืองสู่การใช้งานในชีวิตประจำวันแบบสากล ในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์ ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบ ตามไหล่เขาและบนดอยสูง แนบแน่นอยู่กับประเพณีดั้งเดิมของตน โดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน
           วันนี้...ดอยตุงพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนสู่วิถีชุมชนสัมมาชีพโอบล้อมของสวน ป่าและอุทยานที่แวดล้อมด้วยไม้ดอกไม้ประดับอันงดงามเกินบรรยาย
รำลึกถึง "แม่ฟ้าหลวง" ณ หอพระราชประวัติ เรียนรู้ปรัชญาในการดำรงพระชนม์ชีพ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงให้ชีวิตใหม่แก่ดอยตุง ราษฎรพากันขานพระนามพระองค์ว่า "แม่ฟ้าหลวง" นิทรรศการจัดแสดงด้วยเทคนิคทันสมัยน่าตื่นใจและสะเทือนอารมณ์นับแต่เสด็จสู่ สวรรคาลัย ก่อนจะย้อนกลับไปยังช่วงต้นของพระชนม์ชีพ แรกพบสมเด็จพรบรมราชชนก พระราชพิธีอภิเษกสมรส ทรงร่วมใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ทรงอภิบาลพระประมุขของชาวไทย 2 พระองค์ พร้อมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงงานด้านการศึกษา ศาสนา สาธารณสุข สาธารณกุศล และทรงได้รับยกย่องจากยูเนสโกเป็นบุคคลดีเด่นแห่งศตวรรษที่ 20

          เพลินชมพระตำหนักดอยตุง เรือนไม้ 2 ชั้นบนเนินต่างระดับ สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างบ้านปีกไม้ ศิลปะล้านนา กับชาเลต์แบบสวิส (Swiss Chalet)สามารถมองเห็นทิวท้ศน์เทือกเขาสลับซับซ้อน กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์เพื่อผู้มาเยือนได้สักการะ    เพดานดาวเป็นภาพระบบสุริยะและกลุ่มดวงดาวอยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่เคยปรากฎ ณ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 วันพระราชสมภพ  รอบพระตำหนักประดับด้วยไม้ดอกนานาพันธุ์ สามารถชมห้องบรรทมและห้องทรงงานที่สะท้อนพระราชจริยวัตรอันงดงามเรียบง่าย
เดินชมดงกุหลาบพันปี ณ สวนรุกขชาติดอยช้างมูบ สงบสุขในเส้นทางธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยกลิ่นไม้สน เข้าสู่ดงกุหลาบพันปีนานาพันธุ์ แล้วแวะชม ธารน้ำพระทัย ธารน้ำผุดที่รินไหลสู่เบื้องล่าง
รื่นรมย์ชมไม้เมืองหนาว ณ สวนแม่ฟ้าหลวง ละลานตาด้วยแปลงไม้ดอก และไม้พุ่มจากทุกมุมโลก หมุนเวียนกันเบ่งบานตลอดปี สวยสดราวผืนพรมธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ชมสวนหิน สวนน้ำพุ น้ำผุด ที่จะปรับเปลี่ยนไปทุกปีในช่วงงานห่มหนาว ราวเดือนตุลาคมถึงเมษายน
เยือนหมู่บ้านชาวเขา ชมวิถีชีวิตชาวเขาเผ่าอาข่า (อีก้อ) ลาฮู่ (มูเซอ) ไทยใหญ่ (ฉาน) และจีนอพยพ ที่ยังคงรักษาพิธีกรรมเก่าแก่ไว้ได้ในพื้นที่รำรวยอารยธรรมชนเผ่าซึ่งหาได้ ยากในปัจจุบัน
งานฝีมือจากดอยตุงสู่ตลาดโลก ณ ศูนย์งานฝีมือ ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ มีสินค้าดีไซน์เฉพาะ เหมาะสำหรับผู้พิถีพิถันเลือกสินค้า นับแต่ผ้าทอมือ พรมทอมือ ผลิตภัณฑ์กระดาษสา งานปั้นและเครื่องเคลือบดินเผา ไปจนถึงกาแฟดอยตุง และแมคคาเดเมีย และผลิตภัณฑ์ที่ดอยตุงได้รับตราสินค้า UNODC (United Nations Office on Drugs and Crime) เป็นสินค้าสื่อความหมายยับยั้งยาเสพติด และบรรเทาความยากจน ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์โครงการที่ดอยตุงได้รับ แสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถบรรเทาปัญหาความยากจน และยุติกระบวนการผลิตยาเสพติด
ที่พัก ดอยตุง ลอด์จ ห่างจากพระตำหนักดอยตุงระยะเดิน 15 นาที สามารถมองเห็นหมู่บ้านชาวเขา ทุ่งนาป่าสน และดอยตุงในมุมกว้าง ท่ามกลางเสียงใบไม้ และนกร้อง มีห้องพักปรับอากาศเตียงคู่ และเดี่ยว 47 ห้อง พร้อม ทีวี ตู้เย็น เครื่องเป่าผม บริการซักรีด ร้านขายของที่ระลึก ห้องประชุม สัมมนา ร้านอาหารครัวตำหนัก บริการอาหารไทยพร้อมผักปลอดสารพิษเก็บสดจากไร่ในโครงการ
 
 
        การเข้าชม พระตำหนักดอยตุงเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00 - 18.00 น. เก็บค่าเข้าชมพระตำหนัก คนละ 70 บาท สวนแม่ฟ้าหลวง 80 บาท และหอพระราชประวัติ 30 บาท หากซื้อตั๋วรวมทั้งสามแห่งจะได้ราคา 150 บาท การเข้าชมจะมีเจ้าหน้าที่นำชมอธิบายความเป็นมาของพระตำหนัก ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ โครงการพัฒนาดอยตุง  อาคารเอนกประสงค์ พระตำหนักดอยตุง โทร. 0 5376 7015 - 7 หรือ http://www.doitung.org   E-mail: tourism@doitung.org
การเดินทาง  พระตำหนักดอยตุงอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีม่วง บริเวณปากทาง รถออกตั้งแต่ 07.00 น. มีรถออกทุก 20 นาที

 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations