www.AvisThailand.com
Tel. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
Home Get a Quote Know Us Better Contact Us Partner& link
Latest Offers Book Your Car Car & Renting Guide Avis Services Car Leasing Chauffeur Drive Travel Agent Avis used Car
Bangkok Cha am Hua hin Chiang mai Chiang rai Hat yai Khon kaen Krabi Nakhon Si Thammarat
Pattaya Phitsanulok Phuket Samui Suratthani Trang Udon Thani Ubon Ratchathani    

UBONRATCHATHANI

UBONRATCHATHANI : General Information

                         Ubon Ratchathani has been a well established community for hundreds of years. Relatively unknown to the most tourists, the province boasts a number of natural wonders, cultural and historical attractions, national parks, silk producing shops, etc.
avis thailand


    The province is renowned for its strong Buddhist tradition, particularly the practice of forest-dwelling monks and the ancient Buddhist temples, which can still be seen throughout the province today.

A gateway to Laos, Ubon Ratchathani is bordered to the east by the Mekong River and Laos, to the south by Cambodia, to the west by Yasothon and Sisaket Provinces and to the north by Amnat Charoen Province. The provincial capital is approximately 630 kilometers northeast of Bangkok.

The province is unique in its folk culture, which is expressed in the indigenous cuisine, handicrafts, such as silk and cotton products, basketry, and bronze-ware, and traditional events such as the Candle festival held every July. There are natural beauties and historical sites including the 4,000 years old rock formation, prehistoric rock paintings, national parks, waterfalls, and the two-colored river, etc.

The Past

Since the 10th century, Ubon Ratchathani, or simply Ubon, was part of the Khmer Empire until the Kingdom of Ayutthaya conquered it. Towards the end of the 18th century, Laotians immigrated to the northern banks of the Mun River and founded the provincial capital. The Laotian influence is evident in the architectural structure of some of the city’s religious buildings. This incident was told in the provincial seal which features a pond with a lotus flower and leaves in a circular frame. It symbolizes the ancient community of the people who fled the massacre of King Siriboonsarn of Vientiane and came to settle in Nong Bua Lam Phu Province in 1779 during the reign of King Thonburi. This community was established as a province with the name Ubon Ratchathani Srivanalai in 1792 during the reign of King Rama I, the first king of the Chakri Dynasty.

During the reign of King Rama V, Ubon Ratchathani was annexed to Lao Kao town. Later in 1899, the area was under the supervision of Northeastern Monthon, with Ubon Ratchathani serving as an administrative hub. In 1900, the name was changed to Monthon I-San. When the Monthon system was abolished, the city has become Ubon Ratchathani province. During the Vietnam War, Ubon encountered expansive growth due to its proximity to an American air base.

The Present

Today, the province is the largest and one of the most important provinces in northeastern Thailand. Due to the large number of fascinating temples dotting the city, Ubon is a place of pilgrimage at the beginning of Buddhist Lent. Aside from the numerous attractions, festivals and holidays are celebrated with a unique Ubon flair.

Located in the Korat Basin about 68 meters (227 feet) above sea level, most of Ubon Ratchathani is a plateau sloping to the east to meet the Maekhong River, a border between Thailand and the Lao Peoples Democratic Republic. Other major rivers in the area are the Chee River, Moon River, Lum Saybok River, Lum Domeyai River and Lum Domenoi River. There are some high mountain ranges in the south such as Bantad Range and Phanom Dongrak Range which border Ubon Ratchathani and the Lao Peoples Democratic Republic and the Kingdom of Cambodia.

The most important natural resource in Ubon Ratchathani is its forests, such as Teng-Rung forests, Red forests and mixed forests. In the province, there are 50 national preserved forests, 3 national parks, 2 botanical gardens, 1 wild life preservation area and 1 botanical park.

There are highways and rail roads connecting different districts in Ubon Ratchathani with other provinces and there is one international airport located in Muang District.

People of Ubon Ratchathani are engaged in activities related to agriculture and livestock raising. They are religious and still abide by tradition and culture. Locals usually dwell in groups of houses, speak their own dialects and practice their traditionally handed down cultures.

The province covers 15,517 square kilometers and is divided into the following districts: Muang, Warin Chamrap, Det Udom, Buntharik, Na Chaluai, Nam Yuen, Phibun Mangsahan, Khong Chiam, Si Muang Mai, Trakan Phuet Phon, Khemarat, Mung Sam Sip, Khueang Nai, Kut Khaopun, Tan Sum, Pho Sai, Samrong, Sirindhorn, Don Mot Daeng, Thung Si Udom, Na Yia, Na Tan, Lao Suea Kok, Sawang Wirawong and Nam Khun.

 

UBONRATCHATHANI : How to get there

By Car

a)From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Nakhon Ratchasima, then use Highway No.226 and proceed to Ubon Ratchathani via Buri Ram, Surin and Si Sa Ket, for a total distance of 629 kilometers.

b)From Bangkok, take Highway No. 1 and Highway No. 2 unil arriving at Sikhio, then turn into Highway No. 24 and proceed to Ubon Ratchathani via Chok Chai, Nang Rong, Prasat, Det Udom and Warin Chamrap.

By Bus

Buses depart from Bangkok’s Northern Bus Terminal (Mochit 2 Bus Terminal) to Ubon Ratchathani every day. Contact Transport Co. Ltd at Tel: 0 2936 2852-66 for more information.

By Train

Regular trains depart from Bangkok’s Hua Lamphong Railway Station to Ubon Ratchathani every day. Call 1690, 0 2223 7010-20 for more information.

By Air

Thai Airways has several daily flights connecting Bangkok with Ubon Ratchathani. For more information, contact their Bangkok office at tel. 0-2280-0060, 0-2628-2000 or view their website at www.thaiairways.com. Air Asia operates two flights every Tuesday, Thursday and Saturday to Ubon Ratchathani International Airport. The flight time is 1.05 hours. Call 02 515 9999 or visit www.airasia.com for more details.

Getting around the city

Getting around the city is easy with city buses. They usually run along the main avenues, from north to south of the town. The fare is only 5B.

Taking Samlor around the city would cost approximately 30B/kilometre
If you, however, choose to enjoy the ride of a rented car, there are several car rental companies, big names and local names, which provide this kind of service.

They are:

Chaw Wattana. Tel. 0 4521 4906, 0 4524 2202 . Address: 39/8 Suriyat Road, Amphoe Mueang Ubon Ratchathai
Budget Rent a Car. Tel. 045 240507. Address: Arrival Hall, Ubon Ratchathani Airport.

Getting to nearby provinces

By Bus

There are buses departing from a bus terminal located at Chayangkun Road to Ubons neighboring provinces and its own districts. They include: (please note that fares are subject to change without prior notice)

Buriram (ordinary 66B, air-con 148B), Kantharalak (for Khao Phra Viharn ordinary 20B), Khong Chiam (ordinary 40B), Khon Kaen (ordinary 66B, air-con 148B), Khorat (ordinary 149B, air-con 260B), Mukdahan (ordinary 55B, air-con 105B), Phibun Mangsahan (ordinary 22B), Prakhon Chai (for Phanom Rung, ordinary 84B), Roi Et (ordinary 61B, air-con 99B), Sakon Nakhon (ordinary 101B, air-con 1738B), Si Saket (ordinary 29B, air-con 60B), Surin (ordinary 72B, air-con 129B), That Phanom (ordinary 65B, air-con 140B), Udon Thani (ordinary 122B, air-con 219B), and Yasothon (ordinary 43B, air-con 76B),

UBONRATCHATHANI : Activities

Kaeng Tana National Park

This park can be reached on two routes. The first route is by taking Highway No. 2222 where visitors will be presented with a beautiful view of Kaeng Tana. On the other hand, visitors can take the route to the National Park Office along Highway No. 217 (Phibun Mangsahan-Chong Mek route) and turning left onto Highway No. 2173 and proceeding for another 13 kilometers.

Admission Fee : Adult 100 Baht Child 50 Baht

For more information visit www.dnp.go.th

Kaeng Saphue

Kaeng Saphue, which is the most beautiful cataract in Ubon Ratchthani, is in the Mun River near the Phibun Mangsahan District Office, about 45 kilometers from Ubon Ratchathani City center, on the left-hand side of Highway No. 217. This beautiful cataract of natural rocks is visible for half the year during the dry season.

Wat Supattanaram

This is a royal temple of the Dhammayut Sect in the northeast. The temple, built in 1853 on the bank of the Mun River surrounded by beautiful and tranquil scenery. There is a Thai-Chinese-European style ordination hall, which houses the principal serene Buddha image of the temple.


Wat Nong Bua

This is the only temple in this province that has a rectangular Chedi, which is an imitation of Chedi Buddhakhaya of India. The temple is located on the outskirts of Ubon Ratchathani on Highway No. 212 (Ubon-Amnat Charoen). At the 3-km. marker on the highway, turn into a side road and proceed for 800 meters to the temple.

Wat Chaeng

Wat Chaeng, on Sapphasit Road in the municipal area, has one of the oldest ordination halls in the province that is well preserved and illustrates the perfect northeastern style.

Ban Pa Ao

This village is situated at Tambon Nong Khon, 18 kilometers from the city on Highway No. 23. At the 273-km. marker, turn right and travel along the track for another 3 kilometers. This village is one of the oldest villages in Ubon Ratchathani. According to history, the villagers migrated from Vientiane, Laos during the reign of King Siri Bun San. The village is over 200 years old and has a special identity of its own which has been handed down from generation to generation by its ancestors, such as the craft of making bronzeware and weaving beautiful silk.


Lion Pulpit at Ban Chi Thuan

Located in a sermon hall of Wat Si Nuan Saeng Sawang Arom, the pulpit was elaborately crafted in the form of a lion upholding a tower. This Vietnamese-style pulpit was built in 1925 by a Vietnamese artist. The site is located approximately 26 kilometres from the district town. To get there, travel along Highway No. 23 (Ubon Ratchathani Yasothon) for approximately 24 kilometres. Upon reaching the 268-km. marker, turn left to the village and proceed for another 5 kilometres.

Pak Mun Dam

Constructed from stone and reinforced with clay soil, this dam has a width of 17 metres and a length of 300 metres. The dam, which facilitates agriculture and generates electricity, is located approximately 75 kilometers from town, or about 6 kilometers from the area where the Mekong River meets the Mun River. It is possible to travel along the top of the dam wall as a short cut from Khong Chiam District to Amphoe Sirinthon without driving back to Phibun Mangsahan District. Cruising along the beautiful Mun River is possible from the end of the dam to the Bicolored River, where the Mun River joins with the Mekong River.


Pha Taem National Park

This park covers an area of 140 square kilometers, where plateaus and hills dominate the parks landscape. There are sheer cliffs, which resulted from earthquakes. Most trees are of the deciduous dipterocarp forest. Irregular shaped sandstone is found scattered throughout the area. Beautiful flowering plants grow among the rocky ground. Travelling can be made from Khong Chiam District along Highway No. 2134, followed by Highway No. 2112, and then turning right for another 5 kilometers. Places of interest within the park are:

Pha Taem and Pha Kham are located near the national park headquarters. On the cliffs surface are numerous prehistoric cave paintings dating back 3,000-4,000 years ago that offer insight into the way of life that existed during the pre-historic days and reflect the ancient lifestyle of the people who once lived in the area. These painting depict scenes of fishing, rice farming, figures of people, animals, hands and geometric designs. It should be noted that the most extensive site for cave paintings in the country is that of Pha Taem.

Home to one of the world’s oldest agrarian communities, Ubon Ratchathani is also the ’cradle of northeastern civilisation’. Recently discovered archaeological evidence suggests that humans settled in the region between 14,000 to 6,000 years ago.

Admission Fee: Adult 200 Baht Child 100 Baht

For more information, visit www.dnp.go.th


Sao Chaling

Sao Chaliang, which is 11 kilometers from Khong Chaim District on Highway 2112 is a place that is scattered with natural mushroom-like piles of stone slabs with a large amount of shells embedded in their surface. The area is believed by geologists to be a long dried up seabed (over a million years ago).

Wat Tham Khuha Sawan

This temple is on Highway No. 222 about 6 kilometers before reaching Khong Chiam District. The temple was built in 1978 by Luang Pu Kam Khaning Chula Mani and was his residence and place of meditation during his lifetime. Despite the fact that he passed away many years ago, his body remains in perfect condition. Along the route to the temple are numerous scenic spots for visitors to admire the beauty of the Mekong River and the Laotian border.

Tham Heo Sin Chai

This cave is on Highway No. 2222, about 7 kilometers before reaching Amphoe (district) Khong Chiam, turn left and proceed for about 2 kilometers. This cave, which is on the same route as Kaeng Tana, is a Buddhist center with a beautiful reclining Buddha image. In addition, there is a waterfall cascading down the cliff to the area in front of the reclining Buddha image making the place very cool and beautiful.


Maenam Song Si

Maenam Song Si or the Bi-colored River or the Mun Rivers alluvium, is the place where two rivers join: the brown Mekong River and the blue Mun River. It is located in Khong Chiam District, about 84 kilometers from Ubon Ratchathai City centre. Visitors can hire a boat from Khong Chiam district to see the alluvium.

Ban Kan Lueang Archaeological Site

This is situated in Wat Ban Kan Lueang, 3 kilometers from the town along Highway No. 212. Turn right onto Highway No. 2050 and proceed for 2 kilometers. In 1992, the Fine Arts Department excavated the site. Discoveries include artifacts, implements, ornaments, beads, pottery and iron axes. It is believed that this settlement dates back at least 2,000 years.


Phu Chong Na Yoi National Park

This was declared as a national park on 1 June 1987. Covering an area of 687 sq. km over mountainous areas in Ubon Ratchathani, the park is where borders of Thailand, Laos and Cambodia meet. To get superb view of the three countries, visitors are recommended to take hiking trails which lead on to the high plateau. The best view can be seen from the cliffs at Pha Pheung. Interesting attractions include: the 40-metre Bak Tew Yai waterfall, which is located approximately 4 kms from the park office, rock formations at Phlan Yaw and a group of springs in the forest at Bo Nam Sap.

Admission Fee : Adult 200 Baht Child 100 Baht

For more information visit www.dnp.go.th


Namtok Tat Ton

This waterfall is on Highway No. 2173, which is about 6 kilometers off Highway No. 217. This beautiful waterfall is created from Tat Ton Brook flowing past a stone platform and plunging onto the plain forming a basin large enough to swim in that is surrounded by flowering shrubs and forests in the shady area.

Namtok Soi Sawan

This is a big waterfall cascading from two sides of steep cliffs about 20 metres high and is located 30 kilometers from Khong Chiam District.


Namtok Saeng Chan

This waterfall is only 1 kilometer from Thung Na Muang Waterfall. This is a very beautiful waterfall with a special characteristic of its own the small stream of water cascades down the face of the cliff through an opening in the rock resembling a hole. Visitors viewing the waterfall at noon when the sunlight shines through the hole will be presented with a view of the cascading water similar to that of the full moon shining onto the world. Travelling can be made from Highway No. 2134, followed by Highway No. 2112, and then turning right to the waterfall.

Tham Muet

Tham Muet means dark cave. It is at Ban Sa Som, is a cave approximately 4 meters wide and 6 meters high. Within the cave are many carved Buddha images, indicting that it used to be a place for religious ceremonies.

Khong Chiam District

The Khong Chiam district overlooks the Mekhong River and is located 80 kilometers from Ubon Ratchathani. Boat rental services are available here to go to Kaeng Tana cataract and to go sightseeing at Mae Nam Song Si or the bicolor river where the Mekhong and Mun Rivers meet.


อุบลราชธานี : ข้อมูลทั่วไป

เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์

       อุบลราชธานี เป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ที่มีประวัติความเป็นมากว่า 200 ปี เล่ากันว่า ท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม และท้าวคำบุตร พระวอ พระตา หนีภัยสงครามจากพระเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแห่งนคร เวียงจันทน์เจ้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราชและต่อมาได้ สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณดงอู่ผึ้ง ใกล้กับแม่น้ำมูล ครั้นพ.ศ. 2323 พระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาราชสุภาวดี เชิญตราพระราชสีห์มาพระราชทานนามเมืองว่า “อุบลราชธานี” ทรงให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรกซึ่งต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระปทุมวงศา” เมืองอุบลราชธานีมีเจ้าเมืองสืบกันมาถึง 4 คน ตราบจนถึงปีพ.ศ. 2425 จึงได้มีการแต่งตั้งข้าหลวงและผู้ว่าราชการจังหวัดมาปกครองดูแลจนถึงทุก วันนี้

อุบลราชธานีตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 629 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ และมีหน้าผาหินทรายบริเวณชายฝั่งแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ประเทศไทยและลาว

จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 15,744 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ เดชอุดม บุณฑริก นาจะหลวย น้ำยืน พิบูลมังสาหาร โขงเจียม ศรีเมืองใหม่ ตระการพืชผล เขมราฐ ม่วงสามสิบ เขื่องใน กุดข้าวปุ้น ตาลสุม โพธิ์ไทร สำโรง สิรินธร ดอนมดแดง ทุ่งศรีอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอนาตาล อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอสว่างวีระวงศ์และอำเภอน้ำขุ่น

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดอำนาจเจริญ
ทิศใต้ ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวเทือกเขาบรรทัด
ทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดยโสธรและจังหวัดศรีสะเกษ

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ททท.สำนักงานอุบลราชธานี (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร) อ.เมือง อุบลราชธานี โทร. 0 4524 3770, 0 4525 0714
  2. ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 4524 4875
  3. ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 0 4524 5505, 1155
  4. ตำรวจทางหลวง โทร. 0 4531 3220
  5. ท่าอากาศยานอุบลราชธานี โทร. 0 4524 4073
  6. สถานีขนส่งแห่งที่ 1 โทร. 0 4524 4450
  7. สถานีขนส่งแห่งที่ 2 โทร. 0 4531 5346
  8. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โทร. 0 4524 4470
  9. โรงพยาบาลราชเวช โทร. 0 4528 0048
  10. โรงพยาบาลอุบลรักษ์ โทร. 0 4526 6300
  11. โรงพยาบาลเซ็นทรัลเมโมเรียล โทร. 0 4525 4721
  12. สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 4525 5505, 0 4525 4218
  13. สถานีรถไฟอุบลราชธานี โทร. 0 4532 1004

Link ที่น่าสนใจ

ททท. สำนักงานอุบลราชธานี (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร)
http://www.tourismthailand.org/ubonratchathani
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี
http://www.ubonratchathani.go.th


อุบลราชธานี : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. อุบลราชธานี

รถยนต์
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี

รถไฟ
จากสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) และสถานีบางซื่อ มีรถด่วน และรถเร็ว สายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชธานี อีกด้วย รายละเอียดสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกวันสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 2936 2852-66 ที่อุบลราชธานี โทร. 0 4524 1831 www.transport.co.th นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถได้แก่ เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 2936 0611 มงคลทัวร์ โทร.0 2936 3638-9 นครชัยแอร์ โทร. 0 2936 3900 และศิริรัตนพล โทร. 0 2936 0278นอกจากนี้ บริษัทขนส่งยังมีบริการรถโดยสารระหว่างอุบลราชธานีและเมืองปากเซ สปป.ลาวทุกวัน

เครื่องบิน
บมจ.การบินไทย มีเครื่องบินรับส่งผู้โดยสารระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.1566, 0 2628 2000 หรือที่ท่าอากาศยานอุบลราชธานี โทร. 0 4531 3340-3 www.thaiairways.com และสายการบินแอร์ เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com

รถเช่า

เอวิส รถเช่า สาขาสนามบินอุบลราชธานี


การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.อุบลราชธานี
การเดินทางจากอำเภอเมืองอุบลราชธานีไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอวารินชำราบ 2 กิโลเมตร
  2. อำเภอสว่างวีระวงศ์ 23 กิโลเมตร
  3. อำเภอเหล่าเสือโก๊ก 27 กิโลเมตร
  4. อำเภอสำโรง 28 กิโลเมตร
  5. อำเภอตาลสุม 32 กิโลเมตร
  6. อำเภอม่วงสามสิบ 34 กิโลเมตร
  7. อำเภอดอนมดแดง 35 กิโลเมตร
  8. อำเภอนาเยีย 35 กิโลเมตร
  9. อำเภอเขื่องใน 38 กิโลเมตร
  10. อำเภอเดชอุดม 45 กิโลเมตร
  11. อำเภอพิบูลมังสาหาร 45 กิโลเมตร
  12. อำเภอตระการพืชผล 50 กิโลเมตร
  13. อำเภอทุ่งศรีอุดม 74 กิโลเมตร
  14. อำเภอกุดข้าวปุ้น 76 กิโลเมตร
  15. อำเภอสิรินธร 80 กิโลเมตร
  16. อำเภอศรีเมืองใหม่ 83 กิโลเมตร
  17. อำเภอบุณฑริก 87 กิโลเมตร
  18. อำเภอนาตาล 93 กิโลเมตร
  19. อำเภอน้ำขุ่น 97 กิโลเมตร
  20. อำเภอโพธิ์ไทร 99 กิโลเมตร
  21. อำเภอนาจะหลวย 100 กิโลเมตร
  22. อำเภอเขมราฐ 108 กิโลเมตร
  23. อำเภอโขงเจียม 110 กิโลเมตร
  24. อำเภอน้ำยืน 110 กิโลเมตร

อุบลราชธานี : วัฒนธรรมประเพณี

มหาสงกรานต์แก่งสะพือ อุบลราชธานี
วันที่ 13 - 15 เมษายน 2552
ณ แก่งสะพือ อำเภอพิบูล มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรม
ประกวดสาวงาม ประกวดเส็งกลอง

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ โทร. 0 4544 1318

เทศกาลอาหารไทยอินโดจีน และงานมหาสงกรานต์เมืองอุบลฯ
วันที่ 13 - 15 เมษายน 2552
ณ บริเวณท่าน้ำไบเลย์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรม
การออกร้านอาหารพื้นเมือง อาหารอินโดจีน การประกวดแข่งขันตำสัมตำ การประกวดนางงามสงกรานต์

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลนครอุบลฯ โทร. 0 4524 6060 ต่อ 139

ประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์

ประวัติ / ความเป็นมา
เจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานี หรืออาญาสี่ ซึ่งประกอบด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร ถือเป็นราชสกุลมาแต่เมืองเชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า เมื่อท่านเหล่านี้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ให้เชิญศพขึ้น เมรุรูปนกหัสดีลิงค์ (นกหัสดีลิงค์ เป็นนกในวรรณคดีอีสาน มีฤทธิ์อำนาจ ถือเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านาย เชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า ดูรายละเอียดใน บำเพ็ญ ณ อุบล เรื่องประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ เอกสาร พิมพ์ดีด) หรือนกสักกะไดลิงค์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็ญกุศลที่ทุ่งศรีเมืองเป็นเวลา 5 วัน จึงเผาศพ การทำศพแบบนกหัสดีลิงค์นั้นจำกัดเฉพาะกลุ่มเจ้านายเชื้อสายจำปาศักดิ์เท่า นั้น ผู้ไม่ใช่เจ้านายไม่อนุญาตให้ทำศพแบบนี้ ระยะแรกการเผาศพกระทำที่ทุ่งศรีเมือง ต่อมาภายหลังเมื่อกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ ปกครองเมืองอุบล ให้ยกเลิกประเพณีการเผาศพที่ทุ่งศรีเมือง (เข้าใจว่าเกรงจะเป็นการเลียนแบบพระมหากษัตริย์ที่มีการเผาพระบรมศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีนี้เสีย) และอนุญาตให้พระเถระที่ทรงคุณธรรม เมื่อมรณภาพให้จัดประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ได้ด้วย โดยเริ่มจากธรรมบาลผุย หลักคำเมือง เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เนื่องจากกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ทรงศรัทธาเลื่อมใสท่านธรรมบาลว่าเคร่งครัด ในพระธรรมวินัย มีความรู้ในพระปริยัติแตกฉานไม่แพ้พระเถระทางกรุงเทพฯ เมื่อท่านธรรมบาล (ผุย) ถึงแก่มรณภาพ เสด็จในกรมสั่งให้สร้างเมรุรูปนกสักกะไดลิงค์ถวายเป็นเกียรติยศให้เผาที่ ทุ่งศรีเมือง หลังจากนั้นแล้วไม่มีการเผาศพที่ทุ่งศรีเมืองอีกเลย พระสงฆ์ที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ จึงได้รับเกียรติยศให้ขึ้นนกตั้งแต่นั้นมา
สำหรับตำนานการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์กล่าวว่า นครๆ หนึ่งชื่อนครเชียงรุ้งตักกศิลา พระเจ้าแผ่นดินถึงแก่สวรรคต พระมเหสีนำพระบรมศพแห่แหนไปถวายพระเพลิงนอกเมือง นกสักกะไดลิงค์บินจากป่าหิมพานต์มาเห็นเข้าจึงได้โฉบลงแย่งพระศพ พระมเหสีให้ทหารสู้กับนกเพื่อแย่งเอาพระศพคืน ในที่สุดมีหญิงสาวผู้หนึ่งชื่อ นางสีดา เป็นบุตรีของมหาราชครู อาสาต่อสู้นกหัสดีลิงค์ เจ้านางสีดามีวิชายิงศรเป็นเยี่ยม ได้ใช้ศรยิงถูกนกใหญ่ตกลงมาถึงแก่ความตาย พระมเหสีจึงให้ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพร้อมนกใหญ่ จนกลายเป็นธรรมเนียมสำหรับเจ้านายเชื้อสายจำปาศักดิ์ว่า เมื่อถึงแก่อนิจกรรมแล้วให้ทำพระเมรุรูปนกประกอบหอแก้วแล้วเชิญศพขึ้นตั้ง ชักลากออกไปบำเพ็ญพระกุศลครบถ้วน 3 วันจึงเผา ก่อนเผาต้องมีพิธีฆ่านกแล้วเผาทั้งศพทั้งนก

กำหนดงาน
เมื่อเจ้านายเชื้อสายจำปาศักดิ์ ตำแหน่งเจ้าเมืองอุบลถึงแก่อสัญกรรม หรือพระเถระที่ทรงคุณธรรม เป็นที่เคารพนับถือแก่ชาวเมืองถึงแก่มรณภาพ สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.thfestival

กิจกรรม / พิธี
การสร้างนกจะสร้างจากไม้ไผ่มาจักตอก แล้วสานเป็นโครงรูปนก ทำเมรุหอแก้วบนหลังนก สมัยโบราณนิยมสร้างในห้องนกติดพื้นดิน ไม่ยกร้านหรือยกพื้นเหมือนปัจจุบัน เพื่อสะดวกในการเผาศพเมื่อสร้างโครงรูปนกด้วยไม้ไผ่แล้ว ให้นำกระดาษมากรุให้ทั่ว แล้วเขียนลายสีด้วยสีฝุ่นให้เหมือนนกจริงๆ ส่วนสำคัญคือ ส่วนหัวนกจะต้องให้งวงม้วนได้ ตากระพริบได้ หันคอได้ หูแกว่งได้ อ้าปากและร้องได้ สมัยก่อนช่างสำคัญในการทำนก ได้แก่ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (สมจิต บุญรอด) ญาพ่อมหาเสนาวัดทุ่งศรีเมือง ช่างสาย ช่างสี จนถึงช่างคำหมา (พ่อใหญ่คำหมา แสงงาม) การสร้างนกต้องมีการยกครู เครื่องยกครูมีขัน หมากเบ็งคู่ ขันผ้า ขันแพร เงินฮ้อย เงินฮาง เครื่องเงิน เครื่องคาย เหบ้าไห ไก่ตัว หัวหมูบาย ศรี เครื่องพิณพาทย์ ราดตะโบน ฆ้องกลองประโคม เวลายกยอดเมรุ
การเชิญศพขึ้นสู่หลังนกและจัดกระบวนแห่

ในพิธี ญาติพี่น้องจะแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว เมื่อพร้อมกันแล้วญาติผู้ใหญ่ที่เป็นประธานจะนำขันห้า ประกอบด้วย เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ขอขมาศพ แล้วนำศพสู่เมรุนก เมื่อตั้งศพเรียบร้อยแล้วนิมนต์พระเถระทั้งสี่ขึ้นนั่งบนที่นั่งหลังนกเพื่อ อ่านคัมภีร์บนนกนั้นด้วย กระบวนแห่ศพจะนำเชือกหนังอย่างดีผูกมัดเป็นฐานนกซึ่งทำเป็นตะเฆ่ใหญ่ 3 เส้น แล้วจัดคนเข้าแถวตามเส้นเชือกนั้นเป็น 3 แถว กระบวนสุดท้าย คือ ต้นแถวจะมีคนหามฆ้องใหญ่ตีให้สัญญาณนำหน้า แถวถัดมาเป็นกระบวนพิณพาทย์เครื่องประโคมแห่ มีคนถือธงสามหางและธงช่อ ธงชัย กระบวนหอก กระบวนดาบ กระบวนช้าง กระบวนเครื่องยศของผู้ตายแล้วจึงถึงกระบวนชักลากด้วยเชือกสามสายดังกล่าว เมื่อได้สัญญาณแล้วก็จะพร้อมกันดึงนกให้เคลื่อนที่แห่ไปตามถนนจนถึงวัด กระบวนท้ายคือกระบวนผู้ที่จะใช้ท่อนไม้งัดตะเฆ่นกใหญ่หากติดขัด ในการแห่นกใหญ่จะมีคนมาร่วมกระบวนมาก เรียกว่า พร้อมกันทั้งเมืองเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเคารพรักแก่ผู้ตายในครั้งสุดท้าย แม้แต่เจ้านายที่เป็นญาติกันที่อยู่เมืองอื่นก็มาร่วมงานด้วย ประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ถือเป็นงานใหญ่ เจ้าภาพจึงต้องจัดโรงทานไว้ตลอดงาน
สำหรับพิธีฆ่านก ถือตามตำนานว่าผู้ฆ่านกจะต้องสืบสกุลจากเจ้านางสีดา ผู้ฆ่านกในสมัยโบราณ ซึ่งมีการสืบทอดเชื้อสายกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ทายาทคนล่าสุด คือ นางสมวาสนา รัศมี อายุประมาณ 60 ปี เพิ่งได้รับการลง (ทรง)เจ้านางสีดา เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2535
เจ้าภาพมอบให้ผู้มีเชื้อสายเจ้านาย คือ อัญญาชาย 2 คน หญิง 2 คน เชิญผู้ฆ่านกไปฆ่านก เมื่อคนทรงได้รับเชิญแล้วจะเข้าประทับทรงเชิญเจ้านางสีดามารับเชิญ และเรียกค่าบูชาครูก่อนทำพิธีฆ่านกเรียกว่า คายหน้า ค่าบูชาครูมีดังนี้ เงินสด 12 ตำลึง คายเชิญ 1,000 บาท เครื่องแต่งตัว เป็นเครื่องทองรูปพรรณหนัก 10 บาท (ยืมมาเป็นพิธี เสร็จแล้วส่งคืน) ศีรษะสุกรพร้อมขาหางต้มแล้ว 1 ชุด ไก่ต้ม พร้อมเครื่องใน 4 ตัว พาหวาน (ขนมหวาน) 1 พา (ถาด) มะพร้าวอ่อนผ่าแล้ว 4 ลูก กล้วยน้ำว้า 4 หวี สุรา 2 ไห บายศรี 7 ชั้น พิณพาทย์กลองยาว 1 ชุด แคนและคนเป่า 1 คน ฉิ่งและคนตี 1 คน ผู้ไปเชิญเชื้อสายอัญญาสี่ ชาย 4 คน หญิง 2 คน เสลี่ยงทรงแม่นางสีดาพร้อมคนหาม 11 คน
เมื่อคนทรงทำพิธีบวงสรวงในตอนเช้าก่อนเที่ยงแล้วก็เข้าประทับทรง แล้วทรงเครื่อง สวมหมวก ถือศร แล้วร่ายรำไปขึ้นเสลี่ยงเข้ากระบวนแห่ไปบริเวณงานศพที่มีนกใหญ่หรือนก สักกะไดลิงค์ ตั้งอยู่โดยมีคนขึ้นสัปทนแดงให้ มีทหารถือหอกง้าวแห่พร้อมกล้วย อ้อย และบริวารตามไปเป็นแถว เมื่อไปถึงบริเวณงานกระบวนนางทรงฆ่านกก็จะแห่ไปรอบๆ นก และทำท่าล่อหลอกนก ฝ่ายนกเมื่อเห็นคู่ต่อสู้ไปถึงก็จะยกงวงร้องเสียงดังและกลอกตา กระพือปีก แกว่งหู หันหน้าเข้าใส่คนฆ่านกประหนึ่งต่อสู้กัน ฝ่ายข้างนางทรงผู้ฆ่านกพอได้จังหวะก็แผลงศรใส่นกเมื่อศรปักอกนก คนอยู่ข้างในร่างนก ก็จะเทน้ำสีแดงที่เตรียมไว้ออกมาตามรูลูกศรประหนึ่งนกหลั่งเลือด เมื่อนกถูกลูกศรก็จะดิ้นรนจนเงียบไป งวงตก ตาหลับ เป็นสัญญาณว่านกตาย ช่างนกก็จะนำผ้าขาวมามัดส่วนหัวนก แล้วหันหน้านกไปทางที่ศพตั้งอยู่เป็นอันเสร็จพิธีฆ่านก แล้วเตรียมการเผาศพ ก่อนมีพิธีฆ่านก เจ้าภาพจะจัดพิธีทอดผ้าทางศาสนาเสียก่อน
หลังจากเผานกและเมรุแล้ว คืนนั้นจะมีมหรสพสมโภชอัฐิไปด้วย รุ่งเช้าเก็บอัฐิและอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย แล้วนำอัฐิไปก่อธาตุบรรจุต่อไป เป็นอันเสร็จพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์

อุบลราชธานี : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ


หอไตรหนองขุหลุ

ตั้ง อยู่ที่บ้านขุหลุ ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล เป็นหอไตรที่ตั้งอยู่ในหนองน้ำ หนองขุหลุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2459-2461 โดยหลวงปุ่สิงห์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ตัวอาคารหอไตรเป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นอีสาน สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ภายในเป็นห้องทึบสำหรับเก็บคัมภีร์ใบลาน มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศใต้ทางเดียวเท่านั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายแสดงถึงฝีมือของช่างท้องถิ่น


ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร

ตั้ง อยู่ที่ บ้านหนองชาด ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร ริมเส้นทางก่อนถึงอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นสถานที่เลี้ยงและอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านที่เคยใช้เป็นพาหนะในชีวิต ประจำวันในอดีตให้คงอยู่ไม่สูญหายไป ลักษณะเป็นม้าขนาดเล็ก ตัวโตเต็มที่สูงประมาณ 120 เซนติเมตร มีการจัดบริการท่องเที่ยวขี่ม้าชมธรรมชาติ (จำกัดน้ำหนักผู้ขี่ไม่เกิน 65 กิโลกรัม) และให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยง การฝึกม้าพันธุ์พื้นเมือง และบริการโฮมสเตย์ พักในบ้านพัก เต็นท์ หรือกระท่อม และนำเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง ต้องติดต่อล่วงหน้าที่ 111 บ้านหนองชาด ต. คำเขื่อนแก้ว อ. สิรินธร จ. อุบลราชธานี 34350 โทร. 08-1955-8369 หรือ 08-9584-5117

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทรมีพื้นที่ติดกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้มอีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากโขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่

เสาเฉลียง อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปี มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในเนื้อหิน ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน ชาวบ้านบริเวณนี้เรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียง” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “สะเลียง” ที่หมายถึง “เสาหิน”

ผาแต้มและผาขาม เป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ บริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่ เป็นระยะ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่าง ระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 170 เมตร ซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมดประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน ด้านตรงข้ามผาแต้มคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนทำ ให้ผาแต้ม เป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชมพระ อาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย เช่นเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไม่ไกล จากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนัก ซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก

ถ้ำมืด ตั้งอยู่ที่บ้านซะซอม ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งนาเมือง ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักเรียงรายกันมากมาย แสดงว่าคงจะเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน

น้ำตกสร้อยสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่เกิดจากลำธาร 2 สายคือห้วยสร้อยและห้วยไผ่ที่ไหลจากหน้าผาคนละมาบรรจบกันซึ่งสูงประมาณ 20 เมตร มองดูคล้ายสร้อยที่แขวนคอ บริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณมีมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว น้ำตกสร้อยสวรรค์จะสวยงามมากในช่วงปลายฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆ ในบริเวณนี้

น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแยกขวาจากบ้านนาโพธิ์กลางไป 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีความสวยงาม ไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหิน ชั้นบนสูงสุดประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเดือนตุลาคม-ธันวาคม

น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู) ก่อนถึงน้ำตกทุ่งนาเมือง 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาที่บ้านทุ่งนาเมืองไปน้ำตกแสงจันทร์ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ เกิดจากลำห้วยเล็ก ๆ บนลานหินไหลลอดผ่านหน้าผาหินที่มีลักษณะเป็นรูลงสู่เพิงผาด้านล่าง หากเดินทางมาชมตอนช่วงเที่ยงวัน ซึ่งแสงอาทิตย์ลอดผ่านรูพอดีจะมองเห็นสายน้ำตกเหมือนแสงจันทร์


ป่าดงนาทาม อยู่ในบริเวณภูนาทามทางตอนเหนือของอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 36 กิโลเมตร การท่องเที่ยวที่ป่าดงนาทามเป็นลักษณะการเดินป่าชมธรรมชาติป่าไม้ ภูผาและแม่น้ำโขง ซึ่งจุดที่น่าสนใจได้แก่ ลานหิน พลานถ้ำไฮ เสาเฉลียงคู่ สนสองใบ น้ำตกห้วยพอก ผาชนะได (จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม) ผากำปั่น ผาหินแตก น้ำตกกวางโตน หินโยกมหัศจรรย์ (มีน้ำหนัก 50 ตันแต่โยกได้ด้วยคนเดียว) ภูจ้อมก้อม ถ้ำปาติหารย์ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ตามหลืบผา เป็นต้น
สำหรับการท่องเที่ยวตามฤดูกาลต่าง ๆ ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน จะเหมาะในการชมดอกไม้ตามลานหินเช่น เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอนอ้า เหลืองพิสมร และทุ่งดอกไม้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สรัสจันทร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี น้ำตกที่มีน้ำมากช่วงกันยายนถึงธันวาคมและทะเลหมอกริมโขง ส่วนในช่วงเดือนฤดูแล้งมกราคม-มีนาคม จะเหมาะในการชมป่าไม้เปลี่ยนสี ดอกไม้หน้าแล้ง อาทิ ต้นรัง ตะแบกเลือด พุดผา ช้างน้าว และล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำโขงระหว่างบ้านปากลา-คันท่าเกวียน
นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการเดินป่าดงนาทามได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม หรือที่อบต.นาโพธิ์กลาง (โทร. 0 4538 1063)

วัดภูอานนท์ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านซะซอม ห่างจากถนนหมายเลข 2112 ที่บ้านนาโพธิ์กลาง ประมาณ 10 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงสะดวก ภายในบริเวณวัดมีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ลานหิน รอยเท้าใหญ่ ตุ่มหินธรรมชาติ ภาพเขียนสีศิลปะถ้ำ เป็นต้น เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวชมธรรมชาติในช่วงสั้นๆ

ค่าเข้าชมอุทยานฯ คนไทย ผู้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก คนละ 20 บาท ขาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 200 บาท เด็ก คนละ 100 บาท

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยังไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้ประสงค์จะค้างแรมในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มต้องเตรียมอุปกรณ์และเตรียม อาหารในการพักแรมมาเองและต้องกางเต็นท์ในที่ซึ่งอุทยานฯ จัดเตรียมไว้ให้ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตู้ปณ. 5 อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220 โทร. 0 4531 8026, 0 4524 6332 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th


อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 (อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร) แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ผ่านอ.โขงเจียมประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปอีก 12 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางที่ข้ามสันเขื่อนปากมูลก็ได้(กรณีที่เขื่อนเปิด) ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้
ดอนตะนะ เป็นดอนหรือเกาะที่เกิดขวางแม่น้ำมูล มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร มีสะพานแขวนทอดข้ามทั้ง 2 ด้านของเกาะทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อน บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไปเป็นสภาพป่าดงดิบแล้งมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่ม รื่นในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะมีการทำประมงของชาวบ้านรอบๆเกาะ
แก่งตะนะ เป็นแก่งกลางลำน้ำมูลที่ใหญ่ที่สุด กลางแก่งตะนะมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูลที่เกิดจากลำน้ำมูลทั้งสอง สายที่เชี่ยวกรากและจะกัดเซาะลงในแนวหินสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีโพรงถ้ำใต้น้ำหลายแห่งจึงทำให้มีปลามาอาศัยบริเวณแก่งตะนะชุก ชุม ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนมกราคม-พฤษภาคม จุดชมวิวแก่งตะนะที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวแก่งตะนะฝั่งซ้าย (อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำมูล) ที่บริเวณทางไปถ้ำเหวสินธุ์ชัย
สะพานแขวน เป็นสะพานที่เชื่อมจากฝั่งแม่น้ำมูลดอนตะนะโครงสร้างเป็นเหล็กยึดโยงด้วยลวด สลิงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุดชมวิวสองฟากฝั่งของแม่น้ำมูลเหนือแก่งตะนะและใช้เดินข้ามเข้าไป ชมธรรมชาติบนดอนตะนะได้อย่างเพลิดเพลิน
ถ้ำพระหรือถ้ำภูหมาใน เป็นชะง่อนผายื่นออกจากฝั่งแม่น้ำมูล อดีตเคยมีพระพุทธรูปทองคำ เงินและไม้เป็นจำนวนมากแต่ใน ปัจจุบันได้หายไปแล้วมีแท่นศิวลึงค์ (ฐานโยนี)และแนวอิฐซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในราวศตวรรษที่ 12-13
ลานผาผึ้ง เป็นพลาญหินทรายและเป็นหน้าผาชันโดยหน้าผาจะหันหน้าสู่ด้านทิศตะวันออกเหมาะ แก่การชมวิวช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและสามารถมองวิวประเทศลาวได้ ลานผาผึ้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 1.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงหรือจะเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบฝั่งแม่น้ำมูลได้ เช่นกัน

เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกรากไทร อยู่บริเวณหน้าผาริมแม่น้ำมูล ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 500 เมตร มีเส้นทางเดินเลียบผาระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านจุดชมพืชพันธุ์ ไลเคนส์ มอส เฟิร์น ถ้ำพระและน้ำตกรากไทร เหมาะสำหรับการเดินป่าชมธรรมชาติในช่วงเวลาสั้นๆ


น้ำตก ตาดโตน ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2173 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 217 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง เกิดจากลำห้วยตาดโตน ไหลผ่านลานหินแล้วตกลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำเย็นใสสะอาด บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และดอกไม้นานาพรรณ

ค่าเข้าอุทยานฯ ผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด้ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท

บริเวณที่ทำการอุทยานฯมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวรายละเอียดติดต่อกรม อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะโทร. 0 4524 9802, 0 4244 2002 www.dnp.go.th


อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย

มีพื้นที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาหรือที่เรียกว่า สามเหลี่ยมมรกต พื้นที่เป็นภูเขาในเทือกเขาพนมดงรัก สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530

สถานที่น่าสนใจในอุทยานได้แก่
น้ำตกห้วยหลวง(ถ้ำบักเตว) อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯไปทางใต้ 3.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงได้ เป็นน้ำตกสูงประมาณ 50 เมตร ตกลงสู่หุบเขาที่มีลักษณะเป็นอ่างน้ำขนาดเล็ก มีหาดทรายขาวและน้ำเป็นสีมรกตงดงามมาก มีบันไดประมาณสองร้อยกว่าขั้น นักท่องเที่ยวสามารถลงไปชมวิวบริเวณด้านล่างได้ ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีทางเดินเท้าจากน้ำตกห้วยหลวง ไปยังน้ำตกจุ๋มจิ๋ม หรือน้ำตกประโอนละออ ซึ่งเกิดจากสายน้ำที่ไหลลดระดับจากน้ำตกห้วยหลวง
สวนหินพลานยาว เป็นกลุ่มหินรูปร่างแปลกตา ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง
น้ำตกเกิ้งแม่พอง อยู่ห่างจากน้ำตกห้วยหลวงไปทางใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามทางเดินป่า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำโดมน้อย
แก่งศิลาทิพย์ เป็นแก่งขนาดใหญ่ ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร เกิดจากลำธารห้วยหลวงไหลผ่านลานหินทราย ผ่านแก่งหินหักลงเป็นขั้น จนเกิดเป็นน้ำตกขนาดเล็ก บริเวณลานหินกลางลำธาร เกิดปรากฎการณ์ “กุมภลักษณ์” คือ หินเกิดเป็นช่องหลุมรูกลมขนาดเล็กใหญ่ ตื้นลึกแตกต่างกันไป ตามความแรงของสายน้ำ ดูสวยงามแปลกตา
พลาญกงเกวียน ลานหินกว้างที่ด้านหน้ามีกลุ่มหินลักษณะเป็นเพิงตามธรรมชาติ มีดอกไม้ป่าและพันธุ์ไม้ขึ้นสลับกันเป็นหย่อมๆและนักเดินทางในอดีตได้ใช้ ประโยชน์จากเพิงหินเหล่านี้ในการกำบังแดดและฝนในระหว่างการเดินทาง จึงเป็นที่มาของชื่อ “พลาญกงเกวียน” พลาญ หมายถึง บริเวณที่เป็นลานกว้าง กงเกวียน เพี้ยนมาจาก พวงเกวียนที่หมายถึง ประทุนเกวียนหรือกระทุนเกวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนหรือกระทุน เกวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางในสมัย โบราณ
แก่งสามพันปีและแก่งกะเลา อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศใต้ 4 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึง เป็นจุดชมพืชพันธุ์ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
แก่งลำดวน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม บนทางหลวงหมายเลข 2248 (น้ำยืน-นาจะหลวย) ห่างจากอำเภอน้ำยืน 14 กิโลเมตร ถึงบ้านหนองบอน มีทางแยกขวาไปอีก 2.6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลมาตามธารหิน ซึ่งมีต้นไม้ร่มรื่นโดยเฉพาะต้นลำดวนซึ่งมีอยู่มากในบริเวณนี้ สามารถลงเล่นน้ำได้ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผ่านถ้ำและแก่งต่าง ๆ
ภูหินด่าง เป็นจุดชมวิวบนหน้าผาสูงมองเห็นทัศนียภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาซึ่ง อยู่เบื้องล่าง ตามลานหินมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่แปลกจากแหล่งอื่นๆคือบนผนังหน้าผาที่เว้า เข้ามานั้นมีปื้นสีชมพูบ้าง แดงบ้างคล้ายใครเอาสีไปป้ายทาไว้ เป็นภาพจิตรกรรมโดยธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งนักธรณีวิทยาอธิบายว่าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่แห้งแล้วเมื่อ ประมาณหลายร้อยล้านปี จึงส่งผลให้มีการตกตะกอนของแร่ธาตุบางอย่างในน้ำทะเลก่อให้เกิดลักษณะทาง ธรณีวิทยาเช่นนี้ นอกจากนี้ยังมีทะเลหมอกในช่วงฤดูหนาว การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2248 (บุณฑริก-นาจะหลวย) จากอำเภอบุณฑริกประมาณ 15 กิโลเมตร ผ่านบ้านหนองเม็กไปจนถึงแซลำดวน ซึ่งเป็นจุดจอดรถแล้วเดินเท้าไปอีก 2 กิโลเมตร


ที่ ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านแก้งเรือง อำเภอนาจะหลวย ห่างจากตัวเมืองอุบลฯประมาณ 150 กิโลเมตร การเดินทาง ไปยังอุทยานฯ มี 2 เส้นทาง คือ 1.ใช้เส้นทางสายอุบลราชธานี-เดชอุดม-น้ำยืน-นาจะหลวย 140 กิโลเมตร ก่อนถึงนาจะหลวย 10 กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีก 8 กิโลเมตรและเส้นทางที่ 2. ใช้เส้นทางอุบลราชธานี-เดชอุดม-บุณฑริก-นาจะหลวย เลยนาจะหลวยไป 10 กิโลเมตร มีทางแยกซ้าย 8 กิโลเมตร

ค่าเข้าชมอุทยานฯ คนไทย ผู้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก คนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 200 บาท เด็ก คนละ 100 บาท

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย มีบริการบ้านพักและจุดกางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว แต่นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์ไปเอง รายละเอียดสอบถามที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร.0 2562 0760 www.dnp.go.th หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี 34280

เขื่อนสิรินธร

ตั้ง อยู่ห่างจากตัวเมือง 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 แยกขวาที่กิโลเมตร 71 ไปอีก 500 เมตร เป็นเขื่อนหินแกนดินเหนียว สร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ตัวเขื่อนสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร อำนวยประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน บริเวณริมทะเลสาบมีสวนสิรินธร ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มีรูปปั้นและน้ำพุสวยงาม มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โทร. 0 2436 6046-8 หรือ ที่เขื่อนสิรินธรโทร. 0 4536 6081-3

วัดภูหล่น

ตั้ง อยู่ที่ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ ห่างจากตัวอำเภอ 20 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 78 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2135 บริเวณกิโลเมตรที่ 31-32 เส้นอำเนาจเจริญ-ศรีเมืองใหม่ เป็นสถานที่ที่หลวงปู่มั่นเริ่มฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานกับหลวงปู่เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์ มีบันไดศิลาแลงทอดขึ้นไปบนยอดเขา ซึ่งมีเพิงผาหินและร่มครึ้มด้วยแมกไม้

วัดดอนธาตุ

ตั้ง อยู่บนเกาะกลางลำน้ำมูลที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวอำเภอไปตามทางหลวงหมายเลข 2222 (พิบูลฯ-โขงเจียม) ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์เคยจำพรรษา ปัจจุบันยังมีเวชนียสถานและอัฐบริขารของท่านที่หลงเหลืออยู่ เช่น กุฎิ แท่นหินนั่งสมาธิ

วัดป่าโพธิญาณ

ตั้ง อยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีไปตามทางหลวงหมายเลข 217 (สายอุบล-ช่องเม็ก) ประมาณ 90 กิโลเมตร โดยก่อนถึงด่านช่องเม็กประมาณ 2 กิโลเมตร ด้านขวามือมีถนนเข้าสู่วัดระยะทาง 3 กิโลเมตร เป็นวัดป่าสาขาที่ 8 ของวัดหนองป่าพง

วัดป่าไทรงาม

ตั้ง อยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47 กิโลเมตร ทางเข้าวัดอยู่เยื้องกับทางเข้าสถานีขนส่งอำเภอเดชอุดม เป็นวัดป่าสาขาที่ 10 ของวัดหนองป่าพง และเป็นวัดที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม

บ้านคำปุน

บ้าน คำปุน เป็นร้านออกแบบ ผลิตและจำหน่ายผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของเมืองอุบลฯ มีโรงเรือนนผลิตผ้าทอ ตั้งอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ ซึ่งเป็นเรือนไทยอีสานประยุกต์ที่งดงามและมีเอกลักษณ์ ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและด้านการตกแต่งภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองอีสาน ที่อนุรักษ์สั่งสมผ้าโบราณสูงค่ามากมาย บ้านคำปุนจะเปิดโรงเรือนผลิตผ้าทอให้บุคคลภายนอกได้ชื่นชม ปีละครั้ง ในช่วงงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

แก่งสะพือ

เป็น แก่งหินที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กิโลเมตร คำว่า “สะพือ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ซำฟืด” หรือ “ซำปึ้ด” ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม เป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน เกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะสำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจนสวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้านขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี

ตั้ง อยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช เป็นอาคารปั้นหยาชั้นเดียว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 เดิมใช้เป็นศาลากลางจังหวัด ต่อมาทางจังหวัดได้มอบอาคารหลังนี้ให้กรมศิลปากร เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ภายในมีการจัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่น ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติการตั้งเมือง โบราณวัตถุซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านศิลปโบราณคดี หัตถกรรมพื้นบ้าน การละเล่นพื้นเมือง และเครื่องใช้ของเจ้าเมืองอุบล

เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4525 5071 หรือ www.thailandmuseum.com

หมายเหตุ - ตลอดเดือนกรกฎาคม 2550 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี มีกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของเมืองอุบลมากมาย รวมทั้งเป็นที่จัดงานแกะสลักประติมากรรมเทียนนานาชาติอีกด้วย ดูรายละเอียดที่ www.tatubon.org

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

อยู่ ถนนสุปัฏน์ เป็นวัดธรรมยุติ วัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานี จัดสร้างโดยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้เริ่มสร้างวัดในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า “วัดสุปัฎนาราม” อันหมายถึง วัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสม เป็นท่าเรือที่ดี สิ่งสำคัญในวัดคือพระอุโบสถ ซึ่งมีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร สถาปนิกผู้ออกแบบคือ หลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธุ์) นายช่างทางหลวงแผ่นดิน ลักษณะของพระอุโบสถแบ่งเป็นสามส่วน คือ ส่วนหลังคาเป็นศิลปะแบบไทย ส่วนกลางเป็นศิลปะตะวันตก และส่วนฐานเป็นศิลปะแบบขอม ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานของวัด คือพระสัพพัญญูเจ้า เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

วัดพระธาตุหนองบัว

อยู่ ชานเมืองอุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตรตามถนนเลี่ยงเมือง จะมีทางแยกตลาดหนองบัว (จากถนนใหญ่) เข้าไปประมาณ 700 เมตร ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500 โดยได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย นับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มีเจดีย์แบบนี้ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ร่มรื่น

วัดบูรพาราม

วัด บูรพาราม ตั้งอยู่ถนนบูรพาใน เป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาของอาจารย์ชื่อดังทาง วิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ อาจารย์สี ทาชยเสโน อาจารย์มั่น ภูริทัตโต อาจารย์ลี ธัมมธโร อาจารย์เสาร์ กันตสีโล และอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ปัจจุบันคงมีแต่รูปเหมือนทำจากหินบริสุทธิ์จากลำน้ำต่างๆ เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมือง

แก่งลำดวน

ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน ณ ผืนป่าสมบูรณ์ปลายล่างสุดของภาคอีสานในเขตอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ใกล้รอยต่อเขตแดน 3 ประเทศ คือ ไทย ลาวและกัมพูชาหรือที่รู้จักกันดีในนาม “สามเหลี่ยมมรกต” จะปรากฏเหตุการณ์ที่แสนมหัศจรรย์เมื่อบรรดากุ้งน้ำจืดนับล้านๆตัวต่างพากัน พร้อมใจเดินพาเหรดผ่าน ลานหินเลียบแก่งน้ำมุ่งหน้าสู่ยอดเขาสูงแห่งสามเหลี่ยมมรกต ปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน” เกิดขึ้นที่แก่งลำดวน บริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี อำเภอน้ำยืน โดยจะเดินขบวนในช่วงกลางคืนหลังฝนตกหนักหรือสายน้ำในแก่งลำดวนมีความเชี่ยว กราก นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
แก่งลำดวน อยู่ห่างจากตัวอำเภอน้ำยืน 16 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 160 กิโลเมตร สามารถเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับน้ำตกห้วยหลวงได้สะดวก
ติดต่อสอบถาม ได้ที่ ที่ว่าการอำเภอน้ำยืน โทร. 0 4537 1089 , 0 4537 1442 สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี หมู่ 5 บ้านหนองขอน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 5491 9848, 0 9286 0935

หมายเหตุ - เนื่องจากในช่วงที่มีกุ้งเดินขบวนอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน มีฝนตกชุก อาจทำให้เกิดภาวะน้ำป่าไหลหลากได้ จึงควรระมัดระวังอันตรายและรับฟังการเตือนภัยจากสถานีพัฒนาและส่งเสริมการ อนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี ทั้งนี้ ทางสถานีฯ ได้ ติดตั้งหอกระจายข่าว บริเวณสถานีฯ และแก่งลำดวน สามารถแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวได้ทันทีที่ได้รับรายงานสภาวะน้ำจากจุดเฝ้า ระวัง และจัดเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เผ้าระวังสภาวะน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยมีจุดเฝ้าระวังอยู่เหนือปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวนขึ้นไป 7 กิโลเมตร สามารถแจ้งเตือนได้ล่วงหน้า 1 ชั่วโมง

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย

เป็น แหล่งรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน และคลังอาหารตามแนวทฤษฎีใหม่ บนเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ อันร่มรื่นบริเวณกิโลเมตรที่ 31 ริมทางหลวงสายอุบลราชธานี – ยโสธร ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน มีจุดท่องเที่ยวที่ควรค่าแก่การชื่นชมศึกษามากมาย อาทิ
- ฟาร์มตัวอย่างตามแนวทฤษฎีใหม่ เป็นพื้นที่ทดลองการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ หลายประเภท เช่น พืชสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ การปลูกพืชหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตไหมคุณภาพระดับ Royal Thai Silk ได้รับตรานกยูงทอง และการผสมข้าวกล้องปรุงเสริมภูมิต้านทาน “เบญจกระยาทิพย์” เป็นต้น
- ศูนย์แสดงนิทรรศการผ้าพื้นเมืองอีสานและศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน ภายใต้อาคารที่งดงามด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่นี้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการผ้า ทอพื้นเมืองอีสานหลากหลายประเภท รวมทั้งประวัติความเป็นมา และขั้นตอนการดำเนินการตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งเรื่องราวนำเสนอเรื่อง ผ้าด้วยเทคนิค และรูปแบบที่ทันสมัย
นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่โดดเด่นของสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย อาทิเช่น ผ้ากาบบัว เครื่องทองเหลือง เครื่องปั้นดินเผา และข้าวเบญจกระยาทิพย์ เป็นต้น ศูนย์ฯแห่งนี้เปิดบริการทุกวัน ระหว่างเวลา 08.30 -17.30 น.
ติดต่อ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย โทร. 0 4547 3592, 0 4547 3547

เส้นทางท่องเที่ยวใกล้เมืองอุบลฯ ที่คุ้มค่าในการไปเยือน

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย แหล่งท่องเที่ยวเปิดทองหลังพระหนึ่งเดียวในอีสานใต้แห่งนี้ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ เพียง 31 กิโลเมตร และตามเส้นทางสายนี้นักท่องเที่ยวสามารถแวะเยือนจุดท่องเที่ยวระรายทางได้ หลายแห่ง อาทิเช่น เยือนบ้านปะอาว แหล่งผลิตเครื่องทองเหลืองแบบดั้งเดิม และผ้าทอที่มีชื่อเสียง เยือนบ้านชีทวน กราบพระธาตุสวนตาล และชื่นชมธรรมมาสน์สิงห์เทินปราสาท ศิลปะไทย-เวียดนามแห่งเดียวของประเทศ ตลอดจนแวะชิมมะพร้าวเผาบ้านท่าวารีที่เลื่องชื่อ ดังนั้นเส้นทางสายนี้จึงเป็นเส้นทางท่องเที่ยวระยะใกล้ที่คุ้มค่าและน่าสนใจ ยิ่ง

หาดสลึง

เป็น หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ - ตระการพืชผล - โพธิ์ไทร) ในฤดูแล้ง ประมาณมกราคม-มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง จะมีหาดทรายที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ในบริเวณใกล้เคียงกัน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น ปากบ้อง ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขง กว้างประมาณ 56 เมตร, หินหัวพะเนียง, แก่งสองคอน, หาดหงษ์และสวนเกษตร (สวนลำไย สวนมะขามหวาน) นอกจากนี้ ชาวบ้านสองคอนยังมีงานประเพณีที่น่าสนใจ คือ ประเพณีตักปลาในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ และประเพณีสงกรานต์


แก่งสองคอน สามพันโบก

ที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ชุมชนเล็ก ๆ สงบร่มรื่นฝั่งโขงด้านตะวันออกสุดสยาม เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะกับแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนมกราคม -เมษายน
ปากบ้อง ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุด ตลอดระยะทางยาวกว่า 700 กิโลเมตร โดยมีความกว้างของแม่น้ำเพียง 56 เมตร
หินหัวพะเนียง เกาะ หินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขง รูปลักษณ์แปลกตาที่ขนาบข้างด้วย 2 แก่งน้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
หาดหงส์ เนินทรายชายโขงขนาดมหึมา
หาดหินสี หลักศิลาเลข เป็นการวัดระดับน้ำโขงในสมัยฝรั่งเศส
ทุ่งหินเหลื่อม ทุ่งก้อนหินมันวาวราวกับเซรามิคธรรมชาติ
แก่งสองคอน สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลาก แก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล ด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3,000 โบก และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้ง
การเดินทางท่องเที่ยวทางเรือไปยังแก่งสามพันโบก นิยมนั่งเรือจากหาดสลึง ที่บ้านสองคอน ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน "ปากบ้อง" จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง และ หินหัวพะเนียง เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
นอกจากนี้ยังมีสวนเกษตรลำไย และมะขามหวาน ให้ชิมตามฤดูกาล มีที่พักและร้านอาหารไทยและอีสาน ไว้รองรับนักท่องเที่ยวริมหาดสลึงหาดทรายยาวเหยียดอีกด้วย
การเดินทาง จากจังหวัดอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านอำเภอตระการพืชผล ไปยังอำเภอโพธิ์ไทร ด้วยระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังบ้านสองคอนเข้าไปหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต. สองคอน อำเภอโพธิ์ไทร โทร. 0 4533 8057 , 0 4533 8015

ถ้ำเหวสินธุ์ชัย

ตั้ง อยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงโขงเจียมประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณถ้ำมีพระพุทธไสยาสน์บรรยากาศสงบเงียบ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม รอบๆวัดมีก้อนหินขนาดใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย มีต้นไม้และดอกไม้ตามฤดูกาลสวยงาม นอกจากนี้ยังมีน้ำตกไหลจากหน้าผาด้านบนผ่านลงมาบริเวณด้านหน้าพระนอนเป็น ก่อนที่จะตกลงสู่หุบเหวเบื้องล่างสร้างบรรยากาศให้ร่มเย็น จะมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน

วัดถ้ำคูหาสวรรค์

วัด ถ้ำคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียมประมาณ 6 กิโลเมตร วัดนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดย "หลวงปู่คำคนิง จุลมณี" ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษา ปัจจุบันหลวงปู่ท่านได้มรณภาพแล้ว แต่ร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพของลำน้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่าง ชัดเจน

แม่น้ำสองสี

แม่ น้ำสองสี หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงเกิดเป็นสีของแม่น้ำที่ต่างกันจึง เรียกกันอย่างคล้องจองว่าโขงสีปูน มูลสีคราม จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่งหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่ น้ำ ชมแม่น้ำสองสี 200 บาท / แก่งตะนะ 400 บาท/ บ้านเวินบึก 400 บาท/ ผาแต้ม 800 บาท) โดยสามารถแวะซื้อของที่ระลึกที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อีกด้วย

วัดทุ่งศรีวิไล

วัด ทุ่งศรีวิไล อยู่ที่บ้านชีทวน การเดินทางทางเดียวกับวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ วัดนี้มีหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงแกะสลักปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่เคารพสักการะของชาวบ้านชีทวน นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีใบเสมาหลายชั้นล้อมรอบอุโบสถและวิหารหลังเก่าไปจน ถึงกำแพงรอบวัดทุกทิศตลอดทั้งสระน้ำใหญ่ รวมทั้งหอไตรและธรรมาสน์ซึ่งก่อด้วยอิฐในสมัยนั้น

บ้านท่าข้องเหล็ก

บ้าน ท่าข้องเหล็ก ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 226 สายอุบล-ศรีสะเกษ ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 3 กิโลเมตร (ข้างโรงเรียนวารินชำราบ) เป็นหมู่บ้านซึ่งทำหม้อดินกันทั้งหมู่บ้าน โดยใช้ดินเหนียวในลุ่มแม่น้ำมูล นำมานวดให้เข้าเนื้อ แล้วผสมกับแกลบและอื่นๆ กรรมวิธียังเป็นแบบดั้งเดิมคือไม่มีเครื่องจักรมาเกี่ยวข้องเลย

วัดป่านานาชาติ

ตั้ง อยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 จะมีป้ายบอกทางขวามือ ทางเข้าเดียวกับวัดป่ามงคล วัดป่านานาชาติเป็นวัดป่าสาขาที่ 19 ของวัดหนองป่าพง ในวัดจะมีชาวต่างประเทศบวชจำพรรษาเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระภิกษุชาวต่างประเทศในวัดเกือบทุกรูปสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

หาดคูเดื่อ

หาด คูเดื่อ เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 231(ถนนเลี่ยงเมือง) ประมาณ 12 กิโลเมตร บริเวณหาดคูเดื่อจะมีแพร้านอาหารเป็นจำนวนมากให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม แก่นักท่องเที่ยว

หาดวัดใต้

หาด วัดใต้ อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ลักษณะเป็นเกาะหาดทรายกลางลำน้ำมูล ในฤดูแล้งจะมีหาดทรายขาวเนียน น้ำใสสะอาด บนเกาะมีต้นไม้เขียวชอุ่มให้ความร่มรื่น นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารบนแพ ให้บริการแก่ผู้ที่มาพักผ่อนและชมบรรยากาศแม่น้ำมูล

วัดบ้านนาเมือง

ตั้ง อยู่ที่บ้านนาเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ด้านทิศเหนือของสนามบิน เป็นวัดที่มีพระอุโบสถแปลกตา สร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ประดับตกแต่งด้วยเซรามิค โดยมีอาจารย์บุญมีเป็นเจ้าอาวาส เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง

เขื่อนปากมูล

เป็น เขื่อนหินถมแกนดินเหนียวสร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเหว่ อำเภอโขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 75 กิโลเมตร ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงประมาณ 6 กิโลเมตร กรณีเขื่อนเปิดทำการสันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากอำเภอ โขงเจียมไปอำเภอสิรินธรได้

น้ำตกห้วยทรายใหญ่

(แก่ง อีเขียว) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน เป็นน้ำตกที่สวยงาม ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทางหมายเลข 2369 ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร ถึงกม.ที่ 29 มีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลดหลั่นลงไปด้านล่าง บริเวณร่มรื่นมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน

ช่องเม็ก

อยู่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 90 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 เป็นจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว ที่มีถนนเชื่อมต่อสู่แขวงจำปาสักซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางภาคใต้ ของประเทศลาว ในบริเวณด่านนอกจากจะเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการแล้วยังมีตลาดสินค้าชายแดน ร้านค้าปลอดภาษีในเขตประเทศลาว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมและจับจ่ายสินค้าได้ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในแขวงจำปาสัก ได้แก่ เมืองปากเซ ปราสาทขอมวัดพู มหานทีสีทันดอน หรือสีพันดอน ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงแผ่กว้างกว่า 7 กิโลเมตร ทำให้มีเกาะแก่งจำนวนมาก และจุดที่น่าสนใจมากคือ น้ำตกหลี่ผี และน้ำตกคอนพะเพ็ง
การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศลาวผ่านด่านช่องเม็กนั้นในส่วนของชาว ต่างประเทศจะต้องใช้หนังสือเดินทาง และทำวีซ่า สำหรับคนไทยทำใบอนุญาตผ่านแดนที่สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานีหรือที่ว่าการ อำเภอสิรินธรได้โดยใช้สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0 4525 5507 ที่ว่าการอำเภอสิรินธร โทร. 0 4536 6092 หรือนักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวแบบ 3 วัน 2 คืน สามารถติดต่อบริษัทนำเที่ยวภายในตัวเมืองอุบลได้

ปราสาทบ้านเบ็ญ

ตั้ง อยู่ที่บ้านหนองอ้ม ตำบลหนองอ้ม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 63 กิโลเมตร บนเส้นทางเดชอุดม-น้ำยืน ปราสาทบ้านเบ็ญเป็นศาสนสถานขอมขนาดย่อมประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่สร้างแยกกัน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งในปี พ.ศ. 2533 ได้พบทับหลังรูปเทพนพเคราะห์ หรือเทวดาประจำทิศทั้ง 9 องค์ และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จากลักษณะแผนผังทางสถาปัตยกรรมและภาพสลักบนทับหลังที่พบอาจกำหนดอายุปราสาท หลังนี้ได้ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16

วัดภูเขาแก้ว

อยู่บนเนินเขา ตามทางหลวงหมายเลข 217 ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี 44 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูนสูงอยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไป เป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย

ธรรมาสน์สิงห์ศิลปะญวนที่บ้านชีทวน

ตั้ง อยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (อุบลราชธานี-ยโสธร) ประมาณ 24 กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าวารี (กม.268) มีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านอีก 5 กิโลเมตร เป็นธรรมาสน์ที่แตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปกล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ธรรมาสน์นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยช่างชาวญวน และถือเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง

วัดหนองป่าพง

ตั้ง อยู่ที่บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 หลวงปู่ชา (พระโพธิญาณเถร) ได้ทำการบุกเบิกปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมแก่การปฎิบัติธรรมและได้จัดตั้ง เป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปีนั้น และเปลี่ยนสภาพเป็นวัดในโอกาสต่อมา วัดแห่งนี้เป็นต้นแบบของวัดป่าสายหลวงปู่ชาอีกกว่า 100 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ บริเวณวัดสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นอาคารที่จัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท เปิดให้เข้าชม ตอนเช้า เวลา 10.30-12.00 น. ตอนบ่าย เวลา 14.00-18.00 น. และภายในมีเจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชา การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2178 (สายอุบล-กันทรลักษ์)ประมาณ 6 กิโลเมตรมีทางแยกขวาอีก 2 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านก้านเหลือง

ตั้ง อยู่ในบริเวณวัดบ้านก้านเหลืองจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 231 (ถนนเลี่ยงเมือง) ไปอีก 2 กิโลเมตร วัดบ้านก้านเหลืองอยู่ทางซ้ายมือ กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นเมื่อปี 2539 พบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา กระพรวนสำริด ขวานเหล็ก และแกลบข้าวจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุระหว่าง 1,500-2,500 ปีมาแล้ว

บ้านปะอาว

ตั้ง อยู่ที่ตำบลปะอาว หมู่ 5 ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 23 ทางไปยโสธร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 273 เลี้ยวขวาไปอีก 3 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ตามประวัติศาสตร์นั้น ได้อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าสิริบุญสาร มายังหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน จนกระทั่งถึงบ้านปะอาวแห่งนี้ ฉะนั้น หมู่บ้านปะอาว จึงมีอายุประมาณ 200 กว่าปี และเป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้านซึ่งได้รับการสืบ ทอดมาจากบรรพบุรุษคือการทำเครื่องทองเหลือง กรรมวิธีการผลิตยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม นอกจากนี้แล้วในหมู่บ้านยังมีศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองเหลือง และทอผ้าไหม ผ้าฝ้ายที่สวยงามอีกด้วย

ทุ่งศรีเมือง

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมือง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้งดการทำนาที่ทุ่งศรีเมือง เพื่อรักษาไว้ให้เป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และเป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ ทุ่งศรีเมืองมีประตูทางเข้า 4 ทิศ คือ ประตูอุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในทุ่งศรีเมือง มีปฏิมากรรมจำลองเทียนพรรษาแกะสลักที่งดงาม สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น เปิดตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น. นอกจากนี้ภายในทุ่งศรีเมืองมีสถานที่น่าสนใจที่สำคัญคือ
ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือนซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2515 เปิดระหว่างเวลา 05.00-19.00 น.
อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีปกครองเมืองระหว่าง พ.ศ. 2321-2338
ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
อนุสาวรีย์แห่งความดี เป็นอนุสาวรีย์ที่เชลยศึกชาวต่างประเทศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณีและคุณงามความดีของชาวเมือง อุบลราชธานี
ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึงความ

วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง)

ตั้ง อยู่ทางด้านทิศใต้ของศาลากลางจังหวัด ถนนอุปราช สร้างเมื่อ พ.ศ. 2398 วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือ “พระแก้วบุษราคัม” เป็นพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุศราคัม ตามตำนานเล่ากันว่า พระวรราชภักดี(พระวอ) พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตาคือ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหมและท้าวก่ำ บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี ได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เดิมทีพระแก้วบุษราคัมประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนมดแดง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนารามในเวลาต่อมา ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ทางราชการได้ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดศรีอุบลรัตนาราม พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเป็นองค์ประธานในพิธี โดยถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสืบกันมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวอุบลราชธานีจะร่วมใจกันอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการกราบไหว้และสรงน้ำกันโดยถ้วนหน้า
นอกจากนี้ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม เป็นอาคาร 2 ชั้นขนาดใหญ่ เดิมทีเป็นศาลาหอแจก ซึ่งหมายถึงสถานที่ในการทำบุญทำทานของคนในสมัยก่อน ปัจจุบันได้มีการบูรณะขึ้นใหม่โดยใช้วัสดุและการตกแต่งแบบเดิม และได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่ปี 2549 โดยชั้นบนของอาคารใช้เป็นที่เก็บและจัดแสดงวัตถุโบราณต่างๆ ซึ่งมีอายุนับร้อยปี ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น ตู้เก็บพระไตรปิฎก ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ตู้เก็บคำภีร์ไบลาน ถุงผ้าใหมสำหรับเก็บคัมภีร์ บาตรและเชิงบาตรสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมทั้งฮางฮด (รางน้ำทำจากไม้ แกะสลักเป็นรูปพญานาค) ที่ใช้ในการสรงน้ำพระแก้วบุษราคัมของวัดศรีอุบลรัตนาราม พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชม ในวันพุธ-วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 09.00 น. – 16.00 น. โดยไม่คิดค่าบริการ


วัดแจ้ง

ตั้ง อยู่ที่ถนนสรรพสิทธิ์ ตามประวัติเล่ากันว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการดำริของเจ้าราชบุตร(หนูคำ) หนึ่งในคณะอาญาสี่ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น โบราณสถานที่สำคัญคือ พระอุโบสถที่สร้างเสร็จในราวปี 2455 หรือหลังจากการตั้งวัด 24 ปี ได้รับการยกย่องว่ารูปทรงสวยงาม และมีงานจำหลักไม้ที่มีฝีมือแบบพื้นฐานโดยแท้ ซึ่งนับวันจะหาดูเป็นตัวอย่างได้ยาก อุโบสถมีลักษณะไม่ใหญ่มาก กว้างประมาณ 6 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 10 เมตร ฐานเตี้ยหลังคาชั้นเดียวเดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีบันไดอยู่ด้านหน้า ราวบันไดปั้นเป็นรูปจระเข้หมอบ ส่วนหน้าบันหน้าอุดปีกนก และรวงผึ้งสลักไม้เป็นลายดอกบัว กอบัวอย่างสวยงาม โดยเฉพาะหางหงส์ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ทำเป็นรูปหัวนาคตรงหงอนสะบัดปลายเป็นนกเปลว อุโบสถวัดแจ้งได้รับการบูรณะเรื่อยมาโดยพยายามให้คงสภาพเหมือนเดิมที่สุด ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เคยได้รับเกียรติบัตรในงานนิทรรศการ “สถาปนิก 30” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วัดมหาวนาราม

ตั้ง อยู่ที่ตำบลในเมือง ถนนสรรพสิทธิ์ ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดป่าใหญ่” เป็นวัดเก่าแก่ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐานตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการ สร้างเมืองอุบลราชธานี ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์(ท้าวทิศพรหม) ได้ยกฐานะเป็นวัดและถือเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สองด้วย จึงให้ชื่อว่าวัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามสมัยนิยมเป็นวัดมหาวนาราม จากหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงปูชนียวัตถุ ที่สำคัญของวัดระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับพ.ศ. 2350 โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป พระอินทร์แปง หรือพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทองลักษณะศิลปะแบบลาว ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรเทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations