www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

CHAIYAPHUM

CHAIYAPHUM : General Information

      Chaiyaphum is a province in the centre of Thailand. It is well known in tourism terms because it has beautiful flower fields. Chaiyaphum was founded over 2 centuries ago during the early Rattanakosin period by a group of Vientiane people led by Nai Lae.
avis


       Chaiyaphum is 342 kilometres from Bangkok and has an area of 12,778 square kilometres. It consists of the following districts: Mueang Chaiyaphum, Khon Sawan, Kaeng Khro, Ban Thaen, Phu Khiao, Kaset Sombun, Khon San, Nong Bua Daeng, Ban Khwao, Chaturat, Bamnet Narong, Thep Sathit, Nong Bua Rawe, Phakdi Chumphon, Noen Sanga and Sap Yai.


CHAIYAPHUM : How to get there

Car

From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Si Khio, then turn into Highway No. 201 and proceed to Chaiyaphum via Dan Khun Thot and Chaturat, a total distance of 342 kilometres.

Bus

There are many private companies which operate bus services from Bangkok to Chaiyaphum. Buses depart from Mochit 2 Bus Terminal every day. Call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information.

Rail

Regular trains depart from Bangkoks Hua Lamphong Railway Station to Bua Yai Railway Station which is 51 kilometres from Chaiyaphum. Call 1690, 0 2223 7010-20 or visit www.railway.co.th for more information.

Air

Visitors can fly from Bangkok to Nakhon Ratchasima or Khon Kaen and continue the trip by bus to Chaiyaphum. Call Thai Airways at Tel: 1566, 0 2628 2000.

Distances from Amphoe Mueang to Other Districts

Bna Khwao
Noen Sanga
Nong Bua Rawe
Khon Sawan
Chaturat
Kaeng Khro
Nong Bua Daeng
Bamnet Narong
Phu Khiao
Ban Thaen
Phakdi Chumphon
Kaset Sombun
Thep Sathit
Khon San
13
30
33
38
39
45
53
58
77
81
85
90
105
125
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.
kms.


CHAIYAPHUM : Activities

Phra That Nong Sam Muen

From Chaiyaphum, take Highway No. 201 past Phu Khiao to Ban Nong Song Hong for 75 kilometres, then turn left onto Highway No. 2055 and drive for 9 kilometres to Ban Kaeng. There, turn left and drive for a further 5 kilometres. This ancient square-based pagoda is 32 meters wide and 45 meters high. It is one of the most complete and most beautiful pagodas to be found. Incorporating art from the Lanna, Lan Chang and Ayutthaya periods, it is believed to have been built during the 21st-22nd Buddhist century.

The present site of the pagoda used to be the site of an ancient city from the Dvaravati period that flourished during the 12th-16th Buddhist century. Traces of a moat and buildings remain. Many artefacts have been discovered here such as sandstone temple markers and Khmer-style sculptures.

Ban Noen Salao

At Mu 6, Ban Non Salao, Tambon Nong Tum on Highway No. 201, 8 kilometres from Ban Khae, the village is engaged in silk and cotton weaving and local products derived from them such as pillows.

Ban Khae

Decorative trees can be found at Ban Khae, which is about 1 kilometre from Amphoe Phu Khiao on Highway No. 201. The trees are sought after for garden decoration and they constitute the main occupation of the village. Several trees are taken and bent into interesting shapes, then sold to visitors.

Sai Thong National Park

The Sai Thong National Park covers 340 square kilometres of Phang Hoei mountain range. The park headquarters is at Tambon Wang Takhe. To go to the park, take the Chaiyaphum-Nakhon Sawan road (Highway No. 225) to Km. 121-122, turn right and drive for 7 kilometres. The most important attraction of the park is Sai Thong waterfall, 1 kilometre from the park office. Water falls smoothly down rocks, about 100 meters from top to bottom. There is also a wide field of Dok Krachiao that rivals the flowers in Pa Hin Ngam in Amphoe Thep Sathit. The field can be reached only on foot and visitors should stay there overnight.

Pha Koeng

This cliff is part of Lankha Mountain, 36 kilometres from the city on Highway No. 2159. Along the road there is large rock jutting out. At the top is the Chaiyaphum Phithak Buddha image standing 14 feet high. The cliff offers a good view of the area.

Tat Ton National Park

The Tat Ton National Park covers some parts of Phu Laen Kha mountain range. To get there, take Highway No. 2051 for 21 kilometres. Tat Ton waterfall is an important tourist spot. The water here cascades down wide rock plateaus, creating breathtaking scenery, especially in the rainy season when there is plenty of water. The park also has Pha Iang waterfall, which is 32 kilometres from the city on the Chaiyaphum-Nong Bua Daeng road, and Tat Fa waterfall, which is 25 kilometres from the city on the Chaiyaphum-Kaeng Khro road.

Prang Ku

This khmer sanctuary is at Ban Nong Bua, Tambon Nai Mueang, 3 kilometres from the city. Prang Ku is a Khmer-style ancient site built in the 18th Buddhist century. The main pagoda is square with a length of 5 metres on each side. A stone Buddha image in the meditation posture from the Dvaravati period that was moved from elsewhere is beside it. A building is situated in front of the pagoda surrounded by a wall. Everything is made of laterite except for the door and window frames, the lintel and columns that are made of sandstone. Outside the wall is a pool in perfect condition.

Phu Laen Kha National Park

With an area of 200.5 sq.km. in mountainous terrain, the habitat of this protect - forest park range from thick forest to sparse woods. The site contains a variety of natural beauty of cliffs, stone ground, and strange rock formations.

Phraya Phakdi Chumphon monument

This monument is at Sun Ratchakan roundabout on the way into the city. The people of Chaiyaphum built it to honour the citys founder.


Chao Pho Phraya Lae shrine

This shrine is on the bank of Nong Pla Thao, 3 kilometres from the city, on the way to Ban Khwao. There is a large tamarind tree on the bank, which is said to be where Chao Phraya Lae died fighting Vientiane soldiers in 1826.

Phu Khieo Wildlife Reserve

This wildlife reserve is on the same way as Chulabhorn Dam between Km. 24-25. It has an area of 1,560 square kilometres. The geography consists of a sandstone mountain range with high cliffs. The verdant jungle is the watershed of an important river of the Northeast called the Chi and is home to an abundance of wild animals, as well as over 350 bird species. The reserve is ideal for studying flora and fauna. The most interesting spot is Thung Kamang, a grass field that is the grazing ground for many animals. The reserve is open only to persons wishing to study nature. Permission must be obtained from the reserve chief by writing to P.O. Box 3, Chum Phae Post Office, Khon Kaen or contact the Wildlife Reserve Section, Royal Forestry Department, Bang Khen, Bangkok.

Chulabhorn Dam

Chulabhorn Dam is at Tambon Thung Phra and dams the Phrom River. It is a rock-filled dam with an earth core. The dam is 700 metres long and 70 metres high. It is used to generate electricity and irrigation. Boat rentals are available to view the sights of the reservoir. To get to the dam, take the Chaiyaphum-Chum Phae road (Highway No. 201) to Nong Song Hong junction, then turn left onto Highway No. 2055, a total distance of 120 kilometres from Chaiyaphum.

Ban Khwao

Ban Khwao district is famous for silk weaving and cotton of good quality and lovely designs. It is particularly well known for its Mat Mi silk that is popular among those who favour traditional fabrics. The district is 13 kilometres from Amphoe Mueang on Highway No. 225. Another attraction here is the large swamp that is home to waterfowls, which migrate here during October to January.

Phu Phra

Phu Phra is at Ban Kanaisa, Tambon Na Sieo. It is a small mountain with drawings of Buddha images from the U Thong period on the face of a cliff. They date from the 18th-19th Buddhist century, around the early Ayutthaya period. There is a fair to pay homage to the drawings every April for 3 days. To get there, take Highway No. 201 (Chaiyaphum-Phu Khiao) for 13 kilometres, then turn left onto the Na Sieo-Huai Chan road and drive for 6 kilometres.

Narinthawat Farm

Narinthawat Farm is at Km. 28 on the Chaiyaphum-Phu Khiao road. The farm has shelters decorated with an assortment of flora. A distinctive feature is the many carts from the regions of Thailand, some over a century old with beautiful woodcarving designs.


ชัยภูมิ : ข้อมูลทั่วไป

ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล

        ชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี

ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ

ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเนินสง่า และอำเภอซับใหญ่

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัด ขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. โรงพยาบาลชัยภูมิ โทร. 0 4481 1005-8
  2. ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 2516, 0 4481 1376
  3. สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 1418
  4. สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493
  5. สถานีตำรวจ โทร. 0 4481 1242

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ
http://www.chaiyaphum.go.th


ชัยภูมิ : ข้อมูลการเดินทาง
ข้อมูลการเดินทางของ จ. ชัยภูมิ

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี แยกขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว ผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางประมาณ 342 กิโลเมตร

อีกเส้นทางหนึ่ง คือ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านสระบุรี ถึงแยกพุแค แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ถึงอำเภอชัยบาดาล จากนั้นเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 205 ผ่านอำเภอเทพสถิต อำเภอจตุรัส เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ

รถไฟ
จากสถานี รถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถด่วน รถเร็ว กรุงเทพฯ-หนองคาย บริการทุกวันโดยลงที่สถานีบัวใหญ่ จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารประจำทางไปชัยภูมิอีก 51 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ แผนกบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
มีบริการเดินรถ กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร. 0 2936 2852-66 สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493 บริษัท แอร์ชัยภูมิ โทร.0 4481 1556 นครชัยแอร์ โทร. 0 44 81 1739 ชัยภูมิจงเจริญ โทร. 0 4481 1780 ชัยภูมิทัวร์ โทร. 0 4481 6012 www.transport.co.th

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.ชัยภูมิ
จากสถานีขนส่งชัยภูมิมีรถโดยสารประจำทางไปกรุงเทพฯ เลย เชียงใหม่ นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น เพชรบูรณ์-หล่มสัก พิษณุโลก ชุมแพ บัวใหญ่ คอนสวรรค์ หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์ บ้านเขว้า สมอทอด คอนสาร ลำนารายณ์ บ้านไผ่ ติดต่อสอบถามสถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493

การเดินทางจากอำเภอเมืองชัยภูมิไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอเมือง - กิโลเมตร
  2. อำเภอบ้านเขว้า 13 กิโลเมตร
  3. อำเภอเนินสง่า 30 กิโลเมตร
  4. อำเภอหนองบัวระเหว 35 กิโลเมตร
  5. อำเภอคอนสวรรค์ 38 กิโลเมตร
  6. อำเภอจัตุรัส 36 กิโลเมตร
  7. อำเภอแก้งคร้อ 45 กิโลเมตร
  8. อำเภอหนองบัวแดง 49 กิโลเมตร
  9. อำเภอบำเหน็จณรงค์ 58 กิโลเมตร
  10. อำเภอภูเขียว 76 กิโลเมตร
  11. อำเภอบ้านแท่น 92 กิโลเมตร
  12. อำเภอภักดีชุมพล 85 กิโลเมตร
  13. อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 102 กิโลเมตร
  14. อำเภอเทพสถิต 105 กิโลเมตร
  15. อำเภอคอนสาร 120 กิโลเมตร

ชัยภูมิ : วัฒนธรรมประเพณี
งานบุญเดือนสี่ ประเพณีไทคอนสาร
วันที่ 5 - 8 เมษายน 2552
ณ บริเวณวัดเจดีย์ ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

กิจกรรม
สะบ้าแข่งขันกันเพื่อชิงรางวัลในบริเวณวัดเจดีย์ ต.คอนสาร และที่อนุสาวรีย์หมื่นอร่ามคำแหง ประเพณีแข่งขันสะบ้าจะพบเพียงแห่งเดียวเท่านั้นในภาคอีสาน การจัดขบวนพาเหรด การแสดงประกอบแสง สี เสียง การออกร้านสินค้า OTOP

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลตำบลคอนสาร โทร. 0 4487 6688
อำเภอคอนสาร โทร. 0 4489 1101
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4482 2502

ประเพณีรำผีฟ้า
ประวัติ / ความเป็นมา
ปกติการรำผีฟ้าเป็นการรำเข้าทรงเพื่อเป็นการรักษาอาการเจ็บป่วยของชาวบ้าน โดยมีการร่ายรำบูชาแถนหรือผีฟ้า แต่การรำผีฟ้าที่ภูพระแตกต่างไปจากรำผีฟ้าที่อื่นตรงที่ว่าบรรดา “นางทรง” หรือ “ผีฟ้า” ทั้งหลายที่มีความเลื่อมใสศรัทธาพระเจ้าองค์ตื้อที่ภูพระจะมาร่วมชุมนุมกัน กราบไหว้พระเจ้าองค์ตื้อในเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนั่นยังมีการร่ายรำบวงสรวงที่เรียกว่า “รำผีฟ้า” เพื่อเป็นการเซ่นสรวงที่พระเจ้าองค์ตื้อได้ดลบันดาลความร่มเย็นเป็นสุข
พระองค์เจ้าตื้อนั้น เป็นพระพุทธรูปจำหลักเป็นรูปนูนต่ำในหินทรายของเทือกเขาภูแลนคา จึงมีชื่อว่า “ภูพระ” ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ล้านนาไก่เชา ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร
พระพุทธรูปแกะสลักนี้มีพุทธลักษณะแบบอู่ทอง อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-19 นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงค์ ขนาดหน้าตัก กว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต รอบข้างมีรูปพระสาวกแกะสลักด้วยหินอีก 7 องค์ ตามประวัติกล่าวว่าเดิมบริเวณพื้นที่นี้อยู่ในป่ารกชัฎมานานจนมาถึงสมัย พระยาแลมาสร้างเมืองและในครั้งหนึ่งเกิดไฟป่าลุกลามจนพื้นที่ดังกล่าวโล่ง เตียน จึงได้มีคนไปพบเห็นเข้า ต่อมาความทราบถึงเจ้าเมืองจึงได้ขนานนามว่า “ภูพระ” และให้นามพระพุทธรูปว่า “พระเจ้าองค์ตื้อ” ให้เหมือนกับพระเจ้าองค์ตื้อ ณ เวียงจันทน์ เพราะชาวชัยภูมิดั้งเดิมอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ชาวชัยภูมิเคารพนับถือพระเจ้าองค์ตื้อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองสืบมาจนทุกวันนี้ และมีความเชื่อว่าถ้าใครเป็นลูกศิษย์พะระเจ้าองค์ตื้อแล้ว หากเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาไปรำบวงสรวงแล้วจะหายทันที หรือแม้จะไม่เจ็บป่วยแต่เมื่อมารำบวงสรวงแล้วก็จะทำให้อยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนใหญ่จะมารำบวงสรวงกันในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา และวันออกพรรษา แต่ในเดือน 5 จะมากเป็นพิเศษเพราะเป็นเทศกาลสงกรานต์

กำหนดงาน
วันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 ณ ภูพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
บรรดาผีฟ้าซึ่งถือเป็นศิษย์หรือบริวารของพระเจ้าองค์ตื้อที่แยกย้ายกันไป อยู่ต่างถิ่นจะมารวมกันที่ภูพระตลอด 3 วัน แต่งกายแตกต่างไปจากชาวบ้านทั่วไป เช่น โพกหัวด้วยผ้าขาวม้าไหม เคี้ยวหมากพลู บ้างก็กินเหล้า บ้างก็สูบบุหรี่ผสมพริกโดยไม่มีอาการจามหรือไอ มีพานบายศรีเล็ก ๆ และธูปเทียนมากราบไหว้บูชาพระเจ้าองค์ตื้อ รวมทั้งผ้าไตร ตามความศรัทธาที่ว่า พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระจึงต้องมีการกราบไหว้บูชาด้วยผ้าไตร ซึ่งจะนำกลับหลังจากพิธีนี้เสร็จสิ้นลง ในขณะที่ผีฟ้ารำ ก็จะมีการบนบานศาลกล่าวในสิ่งที่ตนปรารถนาต่อพระเจ้าองค์ตื้อ เวลารำก็รำไปเรื่อย ๆ ตามเสียงแคนโดยรำเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เป็นภาพที่น่าดูมาก เมื่อเสร็จพิธีกรรมนี้บรรดาผีฟ้าก็จะแยกย้ายกันกลับไปสู่ท้องถิ่นของตนและจะ กลับมาใหม่ในปีต่อไป

ชัยภูมิ : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

อุทยาน แห่งชาติป่าหินงามตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต บนเทือกเขาพังเหย ภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับซับซ้อน ระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ มีความหลากหลายของระบบนิเวศและมีไม้ดอกจำพวกดุสิตา เอนอ้าและกล้วยไม้ ขึ้นอยู่จำนวนมาก จุดท่องเที่ยวในเขตอุทยานได้แก่

ลานหินงามและลานหินหน่อ เป็นบริเวณที่มีโขดใหญ่รูปร่างแปลกๆ กระจายอยู่เต็มไปหมดในเนื้อที่กว่า 10ไร่ เกิดจากการกัดเซาะของเนื้อดินและหินเป็นรูปลักษณ์แตกต่างกัน สามารถจินตนาการเป็นรูปต่าง ๆ เช่น หินรูปตะปู รูปเรด้าร์ รูปแม่ไก่ รูปถ้วยฟีฟ่า ฯลฯ

ทุ่งดอกกระเจียว หรือ ทุ่งบัวสวรรค์ เหมาะมาเที่ยวชมในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน-สิงหาคม บนท้องทุ่งหญ้าเพ็กสีเขียวจะมีดอกกระเจียวสีชมพูอมม่วงขึ้นแซมอยู่ทั่วไป มองดูสวยงามมาก ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 1 กิโลเมตร

สุดแผ่นดิน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของเทือกเขาพังเหย ห่างจากที่ทำการอุทยานราว 2 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับ น้ำทะเล 846 เมตร เป็นแนวหน้าผาซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน ที่จุดชมวิวสุดแผ่นดินจะมองเห็นทิวทัศน์สันเขาสลับซับซ้อน และมีสายลมพัดเย็นสบายตลอดวัน

ผาก่อรัก อยู่ห่างจากสุดแผ่นดินไปทางทิศเหนือประมาณ 400 เมตร เป็นหน้าผาตัดแนวดิ่ง 90 องศา สูง 30 เมตร ยาว 100 เมตร อุทยานจัดกิจกรรมโรยตัว ปีนหน้าผาไว้บริการนักท่องเที่ยว

บริเวณจุดท่องเที่ยวทั้งสามแห่งมีทางราดยางเข้าถึง โดยทางอุทยานฯได้จัดทำลานจอดรถบริเวณจุดท่องเที่ยวแต่ละแห่ง จากลานจอดรถนักท่องเที่ยวต้องเดินไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่จัดทำไว้ โดยทางเดินไปทุ่งดอกกระเจียวจะเชื่อมต่อกับจุดชมวิวสุดแผ่นดิน ใช้เวลาเดินท่องเที่ยวประมาณ 1 ชั่วโมง


ที่พัก อุทยานแห่งชาติป่าหินงามมีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่ออุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตู้ปณ. 2 ปทจ. เทพสถิต จ. ชัยภูมิ 36230 โทร. 0 4489 0105 หรือ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.dnp.go.th/parkreserve
นอกจากนี้ ยังมีที่พักเอกชนบริเวณใกล้อุทยานฯ อีกหลายแห่ง

การเดินทาง อุทยานแห่งชาติป่าหินงามอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 270 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-พุแค-ลำนารายณ์-เทพสถิต ระยะทาง 240 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายที่วะตะแบก อำเภอเทพสถิตเข้าไปอีก 30 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-สีคิ้ว-ด่านขุนทด (ทางหลวงหมายเลข 2217) ผ่านวัดบ้านไร่ เลี้ยวซ้ายไปอำเภอเทพสถิต

หากเดินทางจากตัวเมืองชัยภูมิ ใช้เส้นทางสายจตุรัส-บำเหน็จณรงค์-เทพสถิต ระยะทางห่างจากชัยภูมิประมาณ 100 กิโลเมตร ถึงบ้านวะตะแบกแยกขวาไปอีก 30 กิโลเมตร นอกจากนี้ จากทางหลวงหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) บริเวณอำเภอหนองบัวระเหวก็มีทางแยกไปซับใหญ่และต่อไปยังอุทยานฯ ได้เช่นกัน
ผู้ที่เดินทางโดยรถประจำทาง สามารถใช้บริการรถสองแถวซึ่งจอดรับส่งนักท่องเที่ยวอยู่ที่ปากทางบริเวณวะ ตะแบกเข้าไปยังตลาดใกล้ที่ทำการอุทยาน ในช่วงเทศกาลดอกกระเจียวบาน มีบริการรถสองแถววิ่งรับส่งนักท่องเที่ยวตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ ภายในบริเวณอุทยานฯ ด้วย


อุทยานแห่งชาติภูแลนคา

อุทยาน แห่งชาติภูแลนคา ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 177 ตารางกิโลเมตร ในเขต 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง บ้านเขว้า หนองบัวแดง และเกษตรสมบูรณ์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่ามีทั้งป่าทึบและป่าโปร่ง เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่ไหลลงสู่แม่น้ำชี มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลากหลายทั้งหน้าผาสันเขา ลานหินและก้อนหินรูปร่างแปลก ๆ รวมทั้งพืชพันธุ์ที่น่าสนใจ เหมาะมาเที่ยวชมในระหว่าง เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม

ทางอุทยานได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผ่านสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของอุทยานได้แก่

ทุ่งดอกกระเจียว เป็นพื้นที่ป่าเต็งรังที่มีต้นกระเจียวขึ้นอยู่ตามซอกหินสลับกับต้นไม้นานา ชนิด มีทั้งดอกสีชมพูและดอกสีขาว เหมาะมาเที่ยวชมในช่วง เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม

ลานหินแตก เป็นลานหินที่แตกเป็นร่องลึกตามธรรมชาติ ทอดตัวยาวตามแนวหน้าผาสันเขา สามารถชมทัศนียภาพพื้นที่อำเภอหนองบัวแดงและเกษตรสมบูรณ์ ใกล้กันเป็นผากล้วยไม้ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวมีกล้วยไม้ที่เกาะตามก้อนหินและคาคบไม้ออกดอกสวยงามมาก
ประตูโขลง เป็นก้อนหินขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายซุ้มประตูหิน บริเวณโดยรอบยังมีก้อนหินลักษณะแปลกพิศดารจำนวนมากสลับกับป่าเต็งรัง เคยเป็นที่ล่ามช้างที่เคยใช้ชักลากไม้จึงได้ชื่อว่าประตูโขลง

ผากล้วยไม้ เป็นหน้าผาสูงลดหลั่นตามลำดับ โดยทอดตัวยาวติดต่อกัน มีพันธุ์กล้วยไม้หายากหลายชนิดขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดหน้าผา มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผากล้วยไม้-ผาแจ้ง ระหว่างทางจะผ่าน หินหงษ์ฟ้า ซึ่งเป็นก้อนหินใหญ่ลักษณะคล้ายหงส์

ภูคี เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เชื่อมต่อกันระหว่างอำเภอเกษตรสมบูรณ์กับอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,038 เมตร เป็นยอดภูที่สูงที่สุดของพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งสามารถมองเห็นภูมิประเทศและบรรยากาศภูหยวก ภูตะเภา เทือกเขาภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และมีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี รวมทั้งพื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้ป่าและสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก

ภูเกษตร เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูแลนคา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 966 เมตร เป็นยอดภูที่สูงเป็นอันดับสองรองจากภูคีของพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งสามารถมองเห็นภูมิประเทศและบรรยากาศของภูคี ภูอ้ม ภูคล้อ ภูกลาง เทือกเขาภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เป็นพื้นที่ที่ภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง เพราะสภาพพื้นที่ป่าไม้บนยอดภูถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ของราษฎรและกลาย เป็นไร่ร้างที่มีพื้นที่กว้างใหญ่บนเทือกเขาภูแลนคา

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ซึ่งมีก้อนหินแปลก ๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่ หินปราสาท หินงามจันทน์แดงและแนวหน้าผาซึ่งเป็นจุดชมวิวสวยงาม รวมทั้งมอหินขาว กลุ่มหินขนาดใหญ่แปลกตาบริเวณตำบลท่าหินโงม อุทยานแห่งชาติภูแลนคามีสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวกางเต็นท์พักแรม สอบถามรายละเอียดได้ที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โทร.0 4481 0902-3 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th

การเดินทาง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวง 2051 ประมาณ 6 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวง 2159 ทางไปหนองบัวแดงอีก 20 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯซึ่งตั้งอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ มีรถสองแถวสายชัยภูมิ-หนองบัวแดง วิ่งผ่านหน้าที่ทำการอุทยานฯ

อุทยานแห่งชาติตาดโตน

อุทยาน แห่งชาติตาดโตน ตั้งอยู่ในตำบลนาฝาย ตำบลท่าหินโหม ตำบลห้วยต้อน และตำบลนาเสียว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาภูแลนคา มีเนื้อที่รวมประมาณ 217 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญ คือ ลำปะทาว และจะไหลรวมกับแม่น้ำชี มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกตาดโตน น้ำตกตาดฟ้า และน้ำตกผาเอียง
น้ำตกตาดโตน เป็นน้ำตกที่สวยงามใกล้ที่ทำการอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูฝนจะสวยงามเป็นพิเศษ มีความสูงประมาณ 6 เมตร และกว้าง 50 เมตร ด้านบนเป็นธารน้ำไหลผ่านลานหินสองฝั่งธารร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ เหมาะที่จะนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติและเล่นน้ำ
ศาลเจ้าพ่อตาดโตน (ปู่ด้วง) และศาลย่าดี ตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกตาดโตน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตน ซึ่งชาวจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดใกล้เคียงเคารพนับถือ ประวัติเล่าว่า ปู่ด้วง ท่านเป็นคนเชื้อสายเขมร ดำเนินชีวิตอยู่ในยุคเดียวกับเจ้าพ่อพญาแล ท่านประพฤติตนเป็นชีปะขาวยึดมั่นในสมถะ กรรมฐาน ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด มีความรู้ความสามารถในการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ประกอบกับคาถาเวทย์มนต์อันศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ได้ช่วยเหลือผู้คนที่บาดเจ็บจนเป็นที่นับถือของราษฎรเป็นจำนวนมาก เมื่อท่านถึงแก่กรรมจึงมีการสร้างศาลขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพสักการะ นอกจากนี้ยังมีศาลปู่ด้วงที่ช่องสามหมอ และที่วัดชัยภูมิพิทักษ์อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันมีประเพณีรำผีฟ้า ผีทรง รำบวง-สรวงเจ้าพ่อปู่ด้วงทุกวันพุธ และมีการบวงสรวงใหญ่ปีละ 4 ครั้ง คือ วันขึ้น 4 ค่ำเดือน 3 วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 4 วันแรม 2 ค่ำเดือน 8 และวันแรม 2 ค่ำเดือน 11

การเดินทาง จากตัวเมืองทางหลวงหมายเลข 2159 และแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2051 ระยะทางจากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางหมายเลข 201 ทางไปอำเภอภูเขียว จะมีเส้นทางแยกซ้ายอีก 21กิโลเมตรไปน้ำตกตาดโตนได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสาร สามารถใช้บริการรถสองแถวสายชัยภูมิ-ท่าหินโงม ลงที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมแล้วเดินเท้าอีก 1 กิโลเมตร
น้ำตกตาดฟ้า อยู่ที่ตำบลนาเสียว ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ประมาณ 13 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 4กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านนาวัง แยกขวาอีก 4 กิโลเมตร เมื่อถึงลานจอดรถต้องเดินเท้าอีก 300 เมตร เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่เชิงเขาภูอีเฒ่า ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตนด้านตะวันออก ลักษณะเป็นลานหินกว้างประมาณ 15-20 เมตร ยาวโดยตลอด 80-90 เมตร ลาดชันประมาณ 30 องศา ลักษณะคล้ายกระดานลื่นธรรมชาติ มีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งน้ำแห้ง ตอนล่างมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้
น้ำตกผาเอียง ตั้งอยู่ที่บ้านชีลอง ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตนด้านตะวันตก เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยชีลอง มีลักษณะเป็นหน้าผาเอียงตัดลำห้วยและทำให้เกิดเป็นน้ำตกไหลเอียงไปด้านหนึ่ง บริเวณโดยรอบเป็นป่าดิบแล้งค่อนข้างหนาทึบและยังมีไม้ขนาดใหญ่อยู่มาก ทำให้บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกสองแห่งในบริเวณนี้คือ น้ำตกผานิต อยู่ก่อนถึงน้ำตกผาเอียง 500 เมตร และน้ำตกผาสองชั้น ซึ่งต้องเดินเท้าประมาณ 1,200 เมตร ฤดูท่องเที่ยวคือช่วงฤดูฝน การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) ประมาณ 27 กิโลเมตร เลี้ยวขวา 2 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถ เดินเท้าต่ออีก 800 เมตร
อุทยานฯมีบริการบ้านพัก สอบถามรายละเอียดได้ที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติตาดโตน โทร. 0 4485 3293,0 4485 3333 www.dnp.go.th

เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม)

เขื่อน จุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนกลางเป็นดินเหนียว ตัวสันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตร เป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและยังอำนวยประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย นอกจากนี้ บริเซรโดยรอบของเขื่อนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกคือ
พระพุทธสิริสัตตราชจำลอง (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ประดิษฐานที่บริเวณหัวเขื่อนฝั่งซ้าย ตรงข้ามสวนเขื่อนจุฬาภรณ์
สวนเขื่อนจุฬาภรณ์ ตกแต่งเป็นป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่ประมาณ 41 ไร่ มีไม้ป่านานาชาติพร้อมศาลาพรมพิสมัยสำหรับนั่งพักผ่อน ทางเดินภายในสวนปูพื้นด้วยหินธรรมชาติ มีพืชโบราณ 325 ล้านปี เป็นพืชตระกูลหญ้ามี 2 สายพันธุ์ คือ สามร้อยยอดและสนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง
ศาลาชมวิวหลุบควน เป็นจุดชมวิวอยู่ที่ระดับความสูง 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและแคมป์ไฟ บริเวณริมอ่างเก็บน้ำ
สถานริมน้ำข้างพระตำหนัก มีบรรยากาศสงบร่มรื่น สามารถมองเห็นสันเขื่อนได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆอีกเช่น ทุ่งกะมัง สถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว สวนรุกขชาติน้ำผุดทับลาว ถ้ำค้างคาวภูผาม่าน เป็นต้น
บริเวณเขื่อนมีทิวทัศน์ที่งดงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ภายในบริเวณเขื่อนมีบ้านพัก ร้านอาหารไว้รับรองนักท่องเที่ยว เรือสำหรับให้ล่องชมอ่างเก็บน้ำ มีจุดชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน ศูนย์ทดลองพืชเมืองหนาว และหอดูดาว ติดต่อบ้านพักรับรองของกฟผ. โทร. 0 2436 6046-8, 0 4486 1669 ต่อ 2287 ,2293 บริการสนามกอล์ฟ ติดต่อได้ที่ โทร. 0 4338 4969 ต่อ 2630
การเดินทางไปเขื่อนจุฬาภรณ์ จากตัวเมืองชัยภูมิ ใช้เส้นทางสายชัยภูมิ-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 201) ถึงทางแยกหนองสองห้อง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2055 รวมระยะทางจากตัวเมืองชัยภูมิประมาณ 120 กิโลเมตร หรือหากเดินทางมาตามเส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เมื่อถึงบริเวณอำเภอคอนสารมีทางแยกไปเขื่อนจุฬาภรณ์อีก 39 กิโลเมตร

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง

เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช มีเนื้อที่ 830 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่างๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลง ทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ

การเดินทาง ไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร การเข้ามาทัศนศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีสองกรณีคือ หากเข้าชมแบบไป-กลับวันเดียว สามารถขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่บริเวณด่านตรวจปางม่วง กรณีพักค้างแรมต้องได้รับอนุญาตจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ กรุงเทพฯโดยตรง ทางเขตฯค่อนข้างเคร่งครัดในกฎระเบียบเพราะสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้ และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาในพื้นที่ก็เสมือนการเข้ามารบกวนธรรมชาติ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าจริงๆ และทางเขตฯ ไม่เปิดให้เข้าทัศนศึกษาในช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน

ถ้ำแก้ว

จากอำเภอภักดีชุมพลไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามทางหลวง 2359 ถึงบ้านซับเจริญมีทางแยกซ้ายไปอีก 5 กิโลเมตร ถ้ำแห่งนี้อยู่ภายในบริเวณวัดถ้ำแก้ว ลักษณะของถ้ำคล้ายห้องโถงลึกลงไปในภูเขา บรรยากาศเย็นและชื้นตลอดเวลา มีไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในถ้ำ จากปากถ้ำมีทางเดินลงลึกไปถึงด้านล่าง ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ และมีหินย้อย อยู่ตามผนังถ้ำ เมื่อต้องแสงเกิดเป็นประกายแวววาวสวยงาม

จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย

จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 225 ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 75 กิโลเมตร เป็นที่แวะพักผ่อนระหว่างเดินทาง มีร้านอาหารของชาวบ้านและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

พระธาตุหนองสามหมื่น

พระ ธาตุหนองสามหมื่น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9 กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5 กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกัน ระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว
พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวาร วดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่ วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก 2 ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18

การเดินทาง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9 กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5 กิโลเมตร

ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้

ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้ อยู่บนทางหลวงหมายเลข ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 76 กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอภูเขียวประมาณ 1 กิโลเมตร สองข้างทางจะเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ดัดรูปร่างลักษณะต่างๆ มากมายหลายขนาด เหมาะที่จะนำไปปลูกตกแต่งสวน การทำไม้ดัดเป็นอาชีพของชาวบ้านแข้โดยเฉพาะ โดยนำไม้ประเภทข่อย มะสัง ตะโกที่มีอยู่มากในบริเวณนี้มาดัดและตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงาม และจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา

ผาเกิ้ง

เป็นส่วนหนึ่งของภูแลนคา หากเดินทางมาตามเส้นทางชัยภูมิ-หนองบัวแดง จะเห็นหน้าผาสูงริมทางคล้ายพระจันทร์เสี้ยวยื่นออกมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า ผาเกิ้ง ซึ่งหมายถึงพระจันทร์ในภาษาอีสาน บนเขามีวัดผาเกิ้งหรือวัดชัยภูมิพิทักษ์ตั้งอยู่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชัยภูมิพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง 14 เมตร ด้านหน้าองค์พระเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมองเห็นทัศนียภาพของทุ่งนาได้กว้างไกล ผาเกิ้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 36 กิโลเมตรบนหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง)

ปรางค์กู่

ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 202 (ชัยภูมิ-บัวใหญ่) ประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวง 2158 เป็นระยะทางอีก 2 กิโลเมตร
ปรางค์กู่เป็นปราสาทหินสมัยขอมที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทอื่น ที่เป็น อโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1 สระ ปรางค์ประธานมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกันแต่ลบเลือนไปมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวารวดี สูง 1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ โดยเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ชาวชัยภูมิให้การเคารพสักการะ มีการจัดงานประจำปีในช่วงกลางเดือน 5 ของทุกปี

วัดศิลาอาสน์ ภูพระ

ตั้งอยู่ที่บ้านนาไก่เซา ตำบลนาเสียว ภายในบริเวณวัดมีเพิงผาหินซึ่งมีภาพจำหลักกลุ่มพระพุทธรูป อันเป็นที่มาของชื่อ ภูพระ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านมาช้านาน ปัจจุบันมีการสร้างหลังคาครอบไว้ ประกอบด้วยพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต สูง ๗ ฟุต พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายพาดอยู่ที่พระชงฆ์ (พระหัตถ์อยู่ในท่าตรงข้ามกับปางมารวิชัย) เรียกกันว่า พระเจ้าตื้อ มีพระพุทธรูปหินทรายขนาดเล็กสูง ๗ นิ้วลักษณะเดียวกันอีก ๑ องค์ตั้งวางอยู่ด้านหน้า ใกล้กันมีพระพุทธรูปอีก ๗ องค์จำหลักรอบเสาหินทราย ประทับนั่งเรียงแถว ปางสมาธิ ๕ องค์ ปางเดียวกับพระเจ้าตื้อ ๒ องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้มีพุทธลักษณะเป็นแบบพระพุทธรูปอู่ทอง มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ร่วมสมัยอยุธยาตอนต้น ทุกปีมีงานนมัสการพระพุทธรูปที่ภูพระปีละ ๒ ครั้ง ๆ ละ ๓ วัน ในช่วงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ และวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งมีประเพณีการรำผีฟ้า เพื่อบวงสรวงในงานเทศกาลช่วงเดือนเมษายนทุกปี การรำผีฟ้าเป็นการรำบวงสรวงโดยชาวบ้านเป็นกลุ่มๆ มีหมอแคนเป่าประกอบการรำเพื่อบวงสรวงและแก้บนต่อพระเข้าองค์ตื้อที่เชื่อกัน ว่าศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
การเดินทาง จากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 201 (ชัยภูมิ-ภูเขียว) ประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามทางสายนาเสียว-ห้วยชันประมาณ 5 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าวัดอีก 1 กิโลเมตร

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

เก็บ รักษาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดกุดโง้ง ตำบลกุดตุ้ม จากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปอีก 3 กิโลเมตรถึงบ้านกุดตุ้ม แล้วแยกขวาเข้าเส้นทางสาย กุดตุ้ม-บุ่งคล้า อีก 4 กิโลเมตร ใบเสมาหินทรายศิลปทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ที่พบเป็นจำนวนมากในบริเวณรอบๆ หมู่บ้านได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในอาคารอย่างเป็นระเบียบ ส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย ลวดลายที่ปรากฏเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล(แล)

อนุสาวรีย์ พระยาภักดีชุมพล (แล) ชาวบ้านเรียกว่าอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ตั้งอยู่กลางวงเวียนศูนย์ราชการ ในตัวเมือง ชาวชัยภูมิได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ตามประวัติเล่าว่า ในปี 2360 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 นายแล ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ได้อพยพครอบครัวและบริวารข้ามลำน้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านน้ำขุ่น บริเวณอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ต่อมาจึงได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่โนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร ได้ส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ต่อมาจึงย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ในเขตอำเภอเมืองปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา ส่งส่วยแก่รัชกาลที่ 3 ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป จึงโปรดเกล้าฯ ยกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้ง ขุนภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ

ครั้น พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ก่อการกบฎ ยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา ขุนภักดีชุมพลพร้อมเจ้าเมืองใกล้เคียงยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงย้อนกลับมาจับขุนภักดีชุมพลประหารชีวิตที่บริเวณ ใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า ด้วยความดีที่ขุนภักดีชุมพลมีต่อแผ่นดินไทยจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระยาภักดีชุมพล (แล)

จังหวัดชัยภูมิจัดงานประจำปีเจ้าพ่อพญาแลในราวเดือนมกราคมของทุกปี

มอหินขาว

มอ หินขาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคาตั้งอยู่ที่บ้านวังคำแคน หมู่ 9 ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง เป็นกลุ่มหินทรายสีขาวขนาดใหญ่กลางทุ่งหญ้าบนเนินเขา มองเห็นได้เด่นชัดในระยะไกล ลักษณะคล้ายสโตนเฮ็นจ์ (Stonehenge) ของประเทศอังกฤษ มีอายุระหว่าง 197-175 ล้านปี เกิดจากการสะสมของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวจากทางน้ำ ต่อมาสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง การตกตะกอนเปลี่ยนเป็นทราย ในสภาวะอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งร้อนชื้นทับถมลงบนตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวที่ เกิดก่อนจึงแข็งตัวกลายเป็นหิน หลังจาก 65 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกจากแรงบีบด้านข้างทำให้มีการคดโค้ง แตกหัก ผุพังและการกัดเซาะทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการของผู้พบเห็น บริเวณรอบๆนั้นยังมีกลุ่มหินอีกหลายแห่งซึ่งสามารถเดินศึกษาธรรมชาติได้ ทั้งยังเป็นพื้นที่ศึกษาสังคมของพันธุ์พืชต่างๆ สัตว์ป่าขนาดเล็ก แมลงและเป็นแหล่งป่าต้นน้ำลำธารภูแลนคาซึ่งชาวบ้านทำฝายกั้นน้ำกักเก็บไว้ ใช้
การเดินทางไปชมแหล่งท่องเที่ยวผามอหินขาว จากตัวจังหวัดชัยภูมิ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2051 ถนนสายชัยภูมิ – ตาดโตน เป็นทางลาดยางระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายก่อนถึงด่านของอุทยานแห่งชาติตาดโตน ตามถนนตาดโตน – ท่าหินโงม เป็นทางลาดยางประมาณ 12 กิโลเมตร แยกซ้ายตามถนนแจ้งเจริญ – โสกเชือก เป็นทางลูกรัง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตรถึงบ้านวังคำแคน จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบ้านวังคำแคน เป็นทางลูกรังใช้สำหรับขนพืชไร่อีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถึง กลุ่มหินชุดแรกของ มอหินขาว รวมระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตรจากตัวเมือง ในช่วงฤดูฝนควรใช้รถยนต์ประเภทรถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ เพื่อความเหมาะสมกับเส้นทาง ถัดจากกลุ่มหินชุดแรกไปเล็กน้อยจะถึงบริเวณลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำบริการ จากจุดนี้มีเส้นทางเดินไปยังกลุ่มหินและจุดชมวิว ได้แก่ หินเจดีย์โขลงช้าง ระยะทางเดินเท้า 650 เมตร ลานหินต้นไทร 900 เมตร สวนหินล้านปี 1,250 เมตร และจุดชมวิวผาหัวนาค 2,500 เมตร

น้ำตกเทพพนา

น้ำตก เทพพนา อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยกระโจนที่ไหลจากเทือกเขาพังเหย แบ่งเป็นสามชั้นลดหลั่นกัน ชั้นบนสุดมีความสูงประมาณ 2-3 เมตร ชั้น 2 สูงประมาณ 2-3 เมตร และชั้นสุดท้ายมีความสูงประมาณ 6 เมตร จะมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน

อุทยานแห่งชาติไทรทอง

อุทยาน แห่งชาติไทรทอง ครอบคลุมพื้นที่ป่าบนเทือกเขาพังเหย ในอำเภอหนองบัวระเหว เทพสถิต ภักดีชุมพล และหนองบัวแดง มีเนื้อที่ 319 ตารางกิโลเมตร เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสายซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำชี สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ผสมกับป่าเบญจพรรณ มีต้นไผ่รวกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม ภายในเขตอุทยานฯ มีสถานที่น่าสนใจคือ

น้ำตกไทรทอง ห่างจากที่ทำการ 1 กิโลเมตรไปตามทางรถยนต์และเดินเท้าอีก 400 เมตร เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ สูงเพียง 5 เมตรแต่มีความกว้างประมาณ 80 เมตร ด้านหน้าเป็นแอ่งน้ำใหญ่ สามารถลงเล่นน้ำได้ เหนือน้ำตกมีวังน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า วังเงือก สายน้ำไหลไปตามแก่งหินที่ลาดต่ำลงที่ละน้อย มีความยาวไม่ต่ำกว่า 100 เมตร ในบริเวณนั้นจะมีต้นกระบากพันปี เป็นต้นไม้ที่ใหญ่มาก นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้

น้ำตกชวนชม อยู่เหนือน้ำตกไทรทองไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 กิโลเมตร น้ำตกมีความสูง 20 เมตร รอบบริเวณมีต้นไม้ร่มรื่น

ผาพ่อเมือง เป็นแนวหน้าผาตามสันเขาพังเหยด้านตะวันตก ตามเส้นทางขึ้นสู่ทุ่งบัวสวรรค์ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700-900 เมตร มองลงไปเป็นตัวอำเภอภักดีชุมพลและเทือกเขาพญาฝ่อ ที่กั้นระหว่างชัยภูมิกับเพชรบูรณ์

ผาหำหด ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสันเขาตรงจุดสูงสุดของเทือกเขาพังเหย สูงจากระดับน้ำทะเล 864 เมตร เป็นจุดชมวิวมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม และมีชะง่อนหินยื่นออกไปจากหน้าผา เป็นจุดที่ถ่ายภาพได้สวยงามน่าหวาดเสียว

ทุ่งบัวสวรรค์ หรือ ทุ่งดอกกระเจียว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กิโลเมตร ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม ต้นกระเจียวจะออกดอกสวยงามเต็มทุ่ง มีทั้งดอกสีชมพูและสีขาว นอกจากนี้ ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคมบริเวณนี้จะมีพรรณไม้จำพวกดุสิตา สร้อยสุวรรณา กระดุมเงิน กระดุมทอง ขึ้นอยู่ทั่วบริเวณ การเดินทางไปทุ่งดอกกระเจียวสามารถขับรถหรือเช่ารถกระบะจากที่ทำการอุทยานฯ ไปยังลานจอดรถและลานกางเต็นท์ ระยะทาง 9 กิโลเมตร ค่าเช่ารถคันละ ประมาณ 500 บาทและจากนั้นเป็นเส้นทางเดินเท้าผ่านผาพ่อเมือง ผาหำหด ผาเพลินใจ ทุ่งบัวสวรรค์ 2 (ดอกกระเจียวสีชมพู) ทุ่งดอกกระเจียวขาว ผาอาทิตย์อัสดง ตามลำดับ ระยะทางเดินเท้าจากลานจอดรถไปผาหำหด 300 เมตร และไปทุ่งบัวสวรรค์สีชมพูและสีขาว เป็นระยะทางอีก 1,300 เมตร และ 700 เมตร ตามลำดับ ช่วงที่มีดอกกระเจียวเป็นช่วงฤดูฝน ควรเตรียมร่มหรือเสื้อกันฝนติดตัวไปด้วย

หินเทิน เป็นก้อนหินขนาดใหญ่ขนาดกว้าง 10 เมตร สูง 5 เมตร ตั้งอยุ่บนก้อนหินที่เล็กกว่ากันมากได้อย่างสมดุลโดยไม่ร่วงหล่น

จุดชมวิวเขาพังเหย อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณกิโลเมตรที่ 70 เป็นที่แวะพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ของผืนป่าและแนวสันเขาสลับซับซ้อนของเขา พังเหย เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นที่ราบภาคกลางในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นบริเวณ กว้าง โดยเฉพาะในช่วงยามเย็นที่อาทิตย์จะอัสดง

อุทยานฯ มีบ้านพักรับรองและสถานที่กางเต็นท์พักแรม และร้านอาหารบริการ ติดต่ออุทยานแห่งชาติไทรทอง ตู้ ปณ. 1 อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ 36230 โทร. 08 9282 3437 www.dnp.go.th

การเดินทาง จากตัวเมืองชัยภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณ 65 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางแยกขวาไปที่ทำการอุทยานฯอีก 7 กิโลเมตร

บ้านเขว้า

บ้าน เขว้าเป็นแหล่งทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของชัยภูมิ โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ผู้ที่นิยมใช้ผ้า พื้นเมืองของไทย มีทั้งลวดลายดั้งเดิมและลายที่คิดขึ้นใหม่ มีจำหน่ายทั้งผ้าผืนและตัดเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผู้สนใจเลือกซื้อหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหล่านี้สามารถติดต่อร้านจำหน่ายผ้า ไหมในตัวอำเภอบ้านเขว้าซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายร้าน

นอกจากนี้นักท่องเที่ยวที่สนใจวิถีชีวิต การทอผ้าของบ้านเขว้าสามารถติดต่อพักในโฮมสเตย์ของชาวบ้านและเยี่ยมชมการทอ ผ้าไหมได้ที่พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลบ้านเขว้า

การเดินทาง อำเภอบ้านเขว้าอยู่ห่างจากอำเภอเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 225 ประมาณ 13 กิโลเมตรมีทางแยกขวามือเข้าตัวอำเภอ

วัดเขาประตูชุมพล

ก่อนถึงอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม 30 เมตร มีทางแยกซ้ายไปยังวัดเขาประตูชุมพล บริเวณวัดมี ศาลาปฏิบัติธรรม หอระฆังสูงตระหง่าน และลานหินที่มีโขดหินน้อยใหญ่มากมาย ร่มรื่นด้วยแมกไม้ เป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม


น้ำตกเทพประทาน

น้ำตกเทพประทาน ตั้งอยู่ตำบลบ้านไร่ อยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๗ กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง ลักษณะค่อนข้างแบน มีหินขนาดใหญ่เป็นลานกว้างลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นเตี้ย ๆ และมีดอนที่สูงชันอยู่แห่งหนึ่ง มีน้ำมากในช่วงฤดูฝน

บ้านนายางกลัก

บ้านนายางกลัก อยู่ในเขตอำเภอเทพสถิต หรือรู้จักกันในนาม "ชาวดง" ซึ่งเรียนรู้การทอผ้าไหมทอมืออันงดงามอย่างลายดอกกระเจียว ที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน การทำนำเส้นใยไหมที่เลี้ยงไว้เอง นำรังไหมมาต้มแล้วสาวไหมออกทีละเส้น จากนั้นฟอกแล้วมาเข็นตีเป็นเกลียวมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ เมื่อแห้งดีแล้วนำมาทอด้วยกี่พื้นบ้านขึ้นเป็นผืนผ้าหลากหลายและสวยงามมี สีสันต่างๆ
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 225 ผ่านอำเภอบ้านเขว้า ไปจนถึงแยกซ้ายต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2354 ประมาณ 38 กิโลเมตร ถึงศูนย์กลางชุมชนบ้านนายางกลัก รวมระยะทางประมาณ 57 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณศรีจันทร์ โทร. 08 1264 4882,0 4487 4093

ภูกุ้มข้าว

ภูกุ้มข้าว อยู่ที่บ้านโนนมะค่า ตำบลกุดเลาะ มีลักษณะคล้ายกุ้มข้าวขนาดใหญ่และภูเขาไฟขนาดเล็ก มีพระธาตุไม้และพระพุทธรูปอยู่บนยอดเขา ภูกุ้มข้าวเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมและศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของชุมชนใน ตำบลกุดเลาะ และชาวอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี จะมีชาวบ้านมาทำบุญ เรียกว่า "เอาบุญภูกุ้มข้าว" ปัจจุบันกรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นสวนรุกขชาติ 100 ปี
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นภูเขาสูงคล้ายภูเขาไฟ บนยอดเขามีรอยขุดลึกประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร มีเทวรูปและพระพุทธรูป ประดิษฐานอยู่บริเวณรอบบ่อและยังมีหมาจิ้งจอกไปอาศัยอยู่ จึงมีคนเรียกว่า "ถ้ำหมาจิ้งจอก" ช่องกลางภูกุ้มข้าวจะเป็นลานหินเดินรอบได้ ชาวบ้านเรียกว่า "เอวขัน" นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ไม้ที่เป็นอาหารที่พบโดยทั่วไป เช่น ผักหวาน ผักสาม มะขามป้อม และสมอไทย การเดินทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางสายชัยภูมิ-ชุมแพ ลงที่อำเภอภูเขียว ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร และต่อรถสายอำเภอเกษตรสมบูรณ์ถึงสวนรุกขชาติ 100 ปี ภูกุ้มข้าว ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร

วัดป่าสุคะโต

วัดป่าสุคะโต ตั้งอยู่บริเวณบ้านใหม่ไทยเจริญ หมู่ที่ 8 ตำบลท่ามะไฟหวาน ห่างจากที่ว่าการอำเภอขึ้นไปบนเขาประมาณ 35 กิโลเมตร ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2519 เป็นวัดที่คงสภาพธรรมชาติของป่าไม้สมบูรณ์ เหมาะที่จะปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยเฉพาะหลวงพ่อคำเขียนสุวรรโณ เจ้าอาวาส เป็นพระนักปฏิบัติที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาบวชเรียนเป็นศิษย์ ท่านเคยไปจำพรรษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาแล้ว การเดินทาง จากจังหวัดชัยภูมิ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 201 ถึงอำเภอแก้งคร้อ ประมาณ 45 กิโลเมตร เลยที่ว่าการอำเภอ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2353 บ้านท่ามะไฟหวาน ประมาณ 35 กิโลเมตร หากไม่มีรถส่วนตัวสามารถเช่ารถสองแถวได้ที่สถานีขนส่งรถประจำทาง ราคาแล้วแต่จะตกลงกัน


เขื่อนห้วยกุ่ม

เขื่อนห้วยกุ่ม ตั้งอยู่ตอนล่างของเขื่อนจุฬาภรณ์(เขื่อนน้ำพรม) เป็นเขื่อนดินสร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำจากเขื่อนจุฬาภรณ์ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ เขื่อนนี้อยู่ในเขตตำบลกุดเลาะ ห่างจากตัวอำเภอเกษตรสมบูรณ์ประมาณ 32 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองชัยภูมิ ประมาณ 102 กิโลเมตร

พระธาตุกุดจอก

พระ ธาตุกุดจอก ตั้งอยู่ที่บ้านยางน้อย ตำบลบ้านยาง ประกอบด้วยเจดีย์ก่ออิฐ 2 องค์ องค์แรกมีเรือนธาตุกลวง ภายในมีพระพุทธรูปหินปูนขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย องค์ที่สอง เป็นธาตุรูปสอบปลายแหลมคล้ายพระธาตุพนม ธาตุเจดีย์องค์นี้มีฐานสูงประมาณ 5 ชั้น เป็นมุขยื่นและเป็นมุมสวยงาม ลักษณะของธาตุทั้งสององค์เป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 ปัจจุบันมีสำนักสงฆ์อยู่บริเวณพระธาตุ พระธาตุกุดจอกอยู่ห่างจากอำเภอเกษตรสมบูรณ์ประมาณ 3 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองชัยภูมิประมาณ 78 กิโลเมตร

เขื่อนลำปะทาว

เขื่อน ลำปะทาว หรือเขื่อนลำประทาว สร้างโดยสำนักงานการพลังงานแห่งชาติ ในเขตอำเภอแก้งคร้อ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่งของชาวชัยภูมิ ซึ่งทางจังหวัดได้มอบให้สำนักงานป่าไม้ร่วมกับอำเภอแก้งคร้อ และองค์การบริหารส่วนตำบลเก่าย่าดี ดูแลในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
บริเวณอ่างเก็บน้ำมีร้านอาหารประเภทปลาเผา บริการนักท่องเที่ยว และระหว่างทางยังสามารถซื้อสับปะรดสดจากไร่ที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายสองข้างทาง
การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 35 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2051 ไปทางอุทยานแห่งชาติตาดโตน ก่อนถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียม ประมาณ 500 เมตร มีทางแยกเลี้ยวซ้ายไปเขื่อนลำปะทาว (ป้ายบอกทางเดียวกับไปมอหินขาว) ที่ตำบลเก่าย่าดี ระยะทาง 17 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย

วัดพระพุทธบาทภูแฝด

วัด พระพุทธบาทภูแฝด ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาเสียว ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๓ กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับวัดศิลาอาสน์ ภูพระ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ (ชัยภูมิ-แก้งคร้อ) เป็นเนินเขาเตี้ยๆมีรอยพระพุทธบาทในก้อนหินคล้ายพระพุทธบาทที่จังหวัด สระบุรี ทางเข้าวัดทั้งสองข้างทางมีต้นไม้เรียงรายตลอดแนว ดูแล้วร่มรื่นยิ่งนัก

ภูคิ้ง

ภู คิ้ง มีลักษณะเป็นภูเขาหินที่มีความสูงที่สุดของป่าภูเขียวซึ่งได้ชื่อว่าเป็น มรดกเม็ดงามแห่งอีสานใต้ มีความสูงถึง 1,214 เมตร จากระดับน้ำทะเล สูงเป็นอันดับ 5 ของยอดเขาในภาคอีสาน รองจากภูหลวง ภูเรือ เขาแหลมและภูกระดึงตามลำดับ ด้านหนึ่งเป็นภูผาสูงที่ให้มุมมองไกลสุดตา มีลานหินกว้างยื่นมาจากหน้าผา สามารถมองเห็นเขื่อนห้วยกุ่ม ภูกระดึง ภูแลนคา ภูเวียง หากมองลงตรงหุบเขาแคบ ๆ ด้านล่างจะเห็นทุ่งนา ไร่สวน เขื่อน อ่างเก็บน้ำ
ยอดภูคิ้ง มีจุดท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น ทุ่งหญ้าสะวันนาที่มีความกว้างคล้ายสนามกอล์ฟบนภูเขาสูง พันธุ์ไม้ กล้วยไม้และสัตว์ป่านานาชนิด แลหินเงิบที่มีลักษณะเป็นหินวางซ้อนทับคล้ายเพิงหมาแหงนบริเวณนี้เป็นแหล่ง กำเนิดพืชกินแมลง "หม้อข้าวหม้อแกงลิง" แลหินจ้อง ห่างจากแลหินเงิบ 3 กิโลเมตร จะเห็นเนินมหัศจรรย์วางซ้อนทับกับก้อนมหึมา แต่มีจุดตั้งเล็กๆเท่ากำปั้นเท่านั้น ชาวบ้านเรียก "หินจ้อง" หมายถึง ร่ม ในภาษาถิ่น เรียกว่า "แหลหินตัง" หรือ "แหลพรานอ่อน" การเดินทางพิชิตยอดภูคิ้ง ดังคำพูดเปรียบเปรยว่า "สี่ภูกระดึงยังไม่เท่าหนึ่งภูคิ้ง"
การเดินทาง จากตัวเมืองชัยภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 2037 หนองบัวแดง-เกษตรสมบูรณ์ วิ่งเข้าเส้นทางสายเกษตร-บ้านกลาง ถึงบ้านบุ่งสิบสี่และบ้านโนนหนองไฮ รวมระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร จากเชิงเขาถึงยอดภูคิ้ง มีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร มีความสูงชันเกือบ 80 องศา บางช่วงต้องโหนเถาวัลย์ขึ้นและใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงในการพิชิตภูคิ้ง
การเดินทางโดยโดยสารประจำทาง ใช้รถโดยสารสายชัยภูมิ-ชุมแพ ลงที่อำเภอภูเขียว ต่อรถภูเขียว-หนองบัวแดง ลงที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ระยะทาง 22 กิโลเมตร ต่อรถสองแถวเกษตรสมบูรณ์-บ้านกลาง ลงที่บ้านบุ่งสิบสี่ 17 กิโลเมตร จากนั้นนั่งเรือแจวข้ามน้ำพรม เดินไปในเชิงเขาประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากบ้านบุ่งสิบสี่ถึงยอดภูคิ้งประมาณ 5 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 1222 0513 หรือ ติดต่อ "กลุ่มอนุรักษ์ภูคิ้ง" 154 หมู่ 4 บ้านบุ่ง 14 ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 36120

สถานีวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว

สถานี วิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียวอยู่ก่อนถึงเขื่อนจุฬาภรณ์ 8 กิโลเมตรด้านซ้ายมือ มีสัตว์ป่าให้ชมหลายชนิด โดยเฉพาะกวางป่า ละอง ละมั่ง เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 8.00-16.00 น.

แหล่งทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา

แหล่ง ทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหนองตูม เป็นแหล่งทอผ้าขิตแหล่งใหญ่ที่สุดของชัยภูมิ จากอำเภอภูเขียวใช้ทางหลวงหมายเลข 2037 ทางไปเกษตรสมบูรณ์ ประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีก 3 กิโลเมตร ชาวบ้านโนนเสลาสืบทอดการทอผ้าขิตมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย โดยทอผ้าใช้เองแทบทุกครัวเรือน มีการตั้งกลุ่มแม่บ้านขึ้นเมื่อปี 2521 และได้พัฒนาลวดลาย สีสัน ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีจำหน่ายทั้งผ้าฝ้ายมัดหมี่ ผ้าขิตไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋าผ้า และหมอนขิต

พระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี

พระ พุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี อยู่ที่วัดคอนสวรรค์ ห่างจากตัวอำเภอคอนสวรรค์ ไปทางทิศตะวันออก 5 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปหินแกะสลักองค์ใหญ่ศิลปทวารวดี สูงประมาณ 3 เมตร ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” ประดิษฐานในวิหารหลังเล็กๆ ให้ผู้คนได้สักการะ มีใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่จำหลักภาพชาดกเก็บรักษาอยู่ด้วยหลายชิ้น รวมทั้งจารึกอักษรมอญ ศตวรรษที่ 14 ด้านนอกยังมีเสมาทั้งที่มีและไม่มีลวดลายวางเรียงรายอยู่อีกจำนวนมาก

บึงแวง

บึง แวง เป็นบึงน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอคอนสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 104 ไร่ มีถนนตัดรอบบึง เป็นพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน จะมีนกเป็ดน้ำอพยพจากที่อื่นมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนนับหมื่นตัว ยามเย็นเวลาโพล้เพล้นกเป็ดน้ำจะโผบินขึ้นเป็นฝูงๆ เต็มท้องฟ้า ตัดกับแสงอาทิตย์อัสดงสวยงามมาก บริเวณรอบบึงมีการสร้างหอสูงสำหรับดูนกอยู่เป็นระยะ เหมาะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 202 (ชัยภูมิ-บัวใหญ่) ถึงบ้านลาดใหญ่ แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2054 ไปอำเภอคอนสวรรค์ รวมระยะทางจากตัวเมือง 38 กิโลเมตร หรือเดินทางไปตามทางหลวง 201 (ชัยภูมิ-แก้งคร้อ) ราว 30 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปอำเภอคอนสวรรค์อีก 14 กิโลเมตร

กู่แดง

กู่ แดง ตั้งอยู่ในวัดกุดยาง ตำบลตลาดแร้ง จากตัวเมืองชัยภูมิ ใช้ทางหลวงหมายเลข 225 ผ่านอำเภอบ้านเขว้าจนถึงบ้านหลุมโพธิ์ประมาณ 30 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปบ้านกุดยางอีก 8 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานสมัยขอม ปัจจุบันคงเหลือเพียงฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ก่อสูงด้วยศิลาแลง มีร่องรอยบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน ผนังก่ออิฐแต่หักพังหมด คงเหลือเสากรอบประตูทั้ง 4 ด้าน พบทับหลังสลักเป็นภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับช้าง ส่วนทางด้านเหนือถูกดัดแปลงโดยทางวัดได้สร้างพระพุทธรูปประทับนั่งพร้อม บันไดทางขึ้นครอบอาคารเดิม โบราณสถานแห่งนี้ประมาณอายุจากลวดลายทับหลังอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปเขมรแบบบาปวน

น้ำตกผาเอียง

น้ำตก ผาเอียง ตั้งอยู่ที่บ้านชีลอง ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตนด้านตะวันตก ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวง 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) ประมาณ 27 กิโลเมตร แยกขวาอีก 2 กิโลเมตรถึงลานจอดรถ และเดินเท้าต่ออีก 800 เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยชีลอง มีลักษณะเป็นหน้าผาเอียงตัดลำห้วย และทำให้เกิดเป็นน้ำตกไหลเอียงไปด้านหนึ่ง บริเวณโดยรอบเป็นป่าดิบแล้งและยังมีไม้ขนาดใหญ่อยู่มาก ทำให้บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกสองแห่งในบริเวณนี้คือ น้ำตกผานิต อยู่ก่อนถึงน้ำตกผาเอียง 500 เมตร และน้ำตกผาสองชั้น ซึ่งต้องเดินเท้า 1,200 เมตร น้ำตกเหล่านี้มีน้ำมากในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งน้ำแห้ง

วัดสระหงษ์

วัด สระหงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเสียว ห่างจากตัวเมือง 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2051 มีทางแยกเข้าทางเดียวกับไปอ่างเก็บน้ำช่อระกา บริเวณวัดเป็นลาดหินเนินเขา มีหินก้อนหนึ่งรูปร่างคล้ายหงส์ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ถัดจากศาลาวัดไปด้านหลังมีสระน้ำโบราณกว้างประมาณ 10 เมตร มีน้ำตลอดปี

ศาลเจ้าพ่อพระยาแล

ศาล เจ้าพ่อพระยาแล ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ประมาณ 3 กิโลเมตรตามเส้นทางสาย ชัยภูมิ-บ้านเขว้า (ทางหลวงหมายเลข 225) มีแยกขวาเข้าสู่หนองปลาเฒ่า เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของพระยาภักดีชุมพล (แล) และเป็นศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวเมืองชัยภูมิ ทุกปีมีงานสักการะศาลเจ้าพ่อในช่วงเดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชา และมีพิธีเซ่นไหว้รำผีฟ้าถวายเจ้าพ่อเป็นประจำ

ตำหนักเขียว

ตั้งอยู่ภายในบริเวณจวนผู้ว่าราชการชัยภูมิ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2493 เดิมเป็นที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ต่อมาใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่าง ๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2498
ปัจจุบันตำหนักเขียว เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าชมโดยมีการจัดแสดงเป็น 2 ส่วน ชั้นล่าง จัดแสดงผ้ามัดหมี่ ซึ่งผ้าบางชิ้นมีอายุมากกว่า 100 ปี ส่วนที่สอง ชั้นบน จัดแสดงห้องต่างๆที่เคยใช้เป็นที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เช่น ห้องพระสุธารส ห้องเสด็จประพาส ห้องเจ้าเมือง ห้องเครื่อง รวมทั้งพระฉายาลักษณ์ที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อการศึกษา
ตำหนักเขียว เปิดให้เข้าชมทุกวันยกเว้นวันหยุดราชการ เวลา 10.00 น. - 12.00 น. และ 14.00 น. - 16.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 1574

 
 

 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations