www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

NAKHONSITHAMMARAT

NAKHONSITHAMMARAT : General Information

     Nakhon Si Thammarat, the second largest province of the South and the land of predominant Buddhism during the Srivijaya Period, is 780 kilometres from Bangkok.
avis thailand


    Nakhon Si Thammarat, the second largest province of the South and the land of predominant Buddhism during the Srivijaya Period, is 780 kilometres from Bangkok.

NAKHONSITHAMMARAT : How to get there

Boundary

North Borders Surat Thani and Gulf of Thailand
South Borders Phatthalung and Songkhla
East Borders Gulf of Thailand
West Borders Trang and Krabi 

Distances from Amphoe Muang to Other Districts :
  • Pak Phanang 36 kilometres
  • Cha-uat 71 kilometres
  • Chian Yai 52 kilometres
  • Hua Sai 66 kilometres
  • Chaloem Phra Kiat 22 kilometres
  • Ron Phibun 32 kilometres
  • Chulabhorn 50 kilometres
  • Bang Khan 94 kilometres
  • Chawang 71 kilometres
  • Tha Sala 32 kilometres
  • Sichon 66 kilometres
  • Khanom 100 kilometres
  • Phrom Khiri 21 kilometres
  • Lan Saka 21 kilometres
  • Phipun 93 kilometres
  • Thung Song 55 kilometres
  • Thung Yai 102 kilometres
  • Tham Phannara 107 kilometres
  • Chang Klang 50 kilometres
  • Nopphitam 50 kilometres

Distances from Nakhon Si Thammarat to Nearby Provinces :

  • Surat Thani 134 kilometres
  • Trang 123 kilometres
  • Phatthalung 112 kilometres
  • Songkhla 161 kilometres
  • Krabi 233 kilometres
  • Phuket 366 kilometres

Car

Take Highway No. 4 on the Bangkok-Prachuap Khiri Khan-Chumphon route and then Highway No. 41 past Surat Thani-Thung Song until arriving in Nakhon Si Thammarat or Amphoe Phun Phin in Surat Thani, then take Highway No. 401 along the coast to Nakhon Si Thammarat.


Bus

Regular and air-conditioned buses of the Transport Co. and private companies depart from Bangkok's Southern Bus Terminal. The trip takes about 12 hours. Air-conditioned buses, varying in 3 types, leave Bangkok at the following times:

VIP Bus: 5.15 p.m. and 7 p.m.

Standard 1 Bus: 9 a.m., 6 p.m. and 8.30 p.m.

Standard 2 Bus: 6.40 a.m., 6 p.m., 8 p.m. and 10 p.m.

For more information, contact tel. 0 2435 1199-200 (air-conditioned buses). Nakhon Si Thammarat Bus Staiton tel: 0 7534 1125.

Travel within the province is easy with mini-bus service around the city. Transport to nearby provinces includes vans, taxis, buses, and trains.


Train

There are rapid and express trains departing from Bangkok Railway Station to Nakhon Si Thammarat at 5.35 p.m. and 7.15 p.m. respectively. For more information, contact tel. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 or call Nakhon Si Thammarat train station at tel. 0 7535 6364, 0 7534 6129.


Air

PB Air provides daily flight services from Bangkok to Nakhon Si Thammarat. For more information, contact their Bangkok office at tel. 0-2261-0220 5.

Thai Airways has daily flights connecting Bangkok with Nakhon Si Thammarat. For more information, contact their Bangkok office at tel. 0 2280 0060, 0 2628 2000, the Nakhon Si Thammarat Office tel. 0 7534 2491, 0 7534 3874, or view their website at www.thaiairways.com

Nok Air offers three daily flights from Bangkok to Nakhon Si Thammarat. Call 1318 or book online at www.nokair.com

NAKHONSITHAMMARAT : Festival & Event

Nakhon Si Thammarat Songkran Festival

Southern Grand Songkran Festival
Date : April 11 – 15, 2009
Venue : Wat Phra Boromthat temple and Si Thamma Sokarat Park, Sanam Na Meuang, Phra I-suan Hall, and Phra Narai Hall, Nakhon Si Thammarat Province

Nakhon Si Thammarat has been a centre for Buddhism and culture in Southern Thailand since ancient times. The province is dotted with many architectural treasures, some centuries old, a testament to its long history. The Phra Boromathat Nakhon Si Thammarat, the main wat or temple, houses the presiding Buddha image known as the Phra Buddha Singh.

For hundreds of years, it has been the tradition to pour lustral water onto this image during the fifth month of the Thai calendar. The present day Songkran Festival has evolved from this practice. A procession escorting the Phra Singh Buddha image from the Provincial Hall to Tung Tha Lat; the Phra Singh Buddha image is bathed with lustral waters. Respect is show to elderly folk by pouring lustral waters over their hands.

Activities
- Paying respects to relics of Lord Buddha
at Sanam Na Meuang plaza and Si Thamma
Sokarat Park, Phra Isuan Hall and
Phra Narai Hall
- Procession of the Phra Buddha Sihing
Buddha image
- Phra Buddha Sihing Buddha image bathing
ritual
- Merit-making activities.
Offerings are made to Buddhist monks.
- Miss Songkran Procession
- Nang Kradan Procession
- Cultural and folk performances
- Live demonstrations of traditional dishes
and desserts
- Free Rice Vermicelli Food Fest
- Amulets contest

Contact information:
TAT Nakhon Si Thammarat Office Tel: +66 (0) 7534 6515-6
E-mail : tatnksri@tat.or.th
Website : www.songkran.net

NAKHONSITHAMMARAT : Activities

Namtok Yong National Park

Namtok Yong National Park, or locally known as Yong Sai Yai waterfall, has a total area of 49,403.25 acres. Covering the areas in Thung Song, Na Bon, and Chawang, it was proclaimed a national park on December 10, 1987. The parks pristine nature includes the Yong Waterfall where streams converge into one giant rope-like waterfall dropping from a high cliff to the large pool below. There is also the Plieu Waterfall at Pa Praek, a smaller waterfall measuring 25 metres high. An ascent from Ban Nam Ron to the top takes about 1 hour. To get to the park, take the Nakhon Si Thammarat-Thung Song Road for 50 kilometres, turn right, and drive for 3 kilometres to the park. Tents are available for tourists. For more details, please contact the park at Moo 2, Tambon Tham Yai.

 

Hat Sichon, or Hua Hin Sichon

Hat Sichon, or Hua Hin Sichon as known to locals, is a well-known destination of the district. Rocks line the beach all the way to a curved sandy stretch where people can swim. There is accommodation and restaurants for tourists.

Hat Hin Ngam

Hat Hin Ngam has a unique characteristic in that it is littered with round rocks of various striking colors, hence its name. There are no services here.

 

Namtok Phrom Lok

Namtok Phrom Lok is in Tambon Phrom Lok. It can be reached via Highway No. 4016 (Nakhon Si Thammarat-Phrom Khiri) to the 20-km marker, then turn left onto Highway No. 4132 for 5 kilometres. This is a large waterfall with wide and lovely rock platforms. It originates from the Nakhon Si Thammarat mountain range and flows down 4 levels, which are Nan Bo Nam Won, Nan Wang Mai Pak, Nan Wang Hua Bua, and Nan Wang Ai Le. The water flows past many kinds of flora before going to Khlong Tha Phae and ending in the Gulf of Thailand in Tambon Pak Phun.

 

Namtok Ai Khiao, or Nai Khiao Waterfall

Namtok Ai Khiao, or Nai Khiao Waterfall, is in Tambon Thon Hong. It is 30 kilometres from the city on Highway No. 4016, on the same route as Phrom Lok waterfall. At the 26-km marker, turn left onto the road and continue for another 3 kilometres. Originating from Khao Luang, this waterfall has 9 levels, which are Nan Chong Sai, Nan Bang Bai, Nan Mai Phai, Nan Sua Phan, Nan Buppha Sawan, Nan Hin Kong, Nan Hua Chang, Nan Sai Kwat Lan, and Nan Fa Faet. The surrounding area is still a dense jungle. Both sides of the falls are covered with betel gardens. The locals call the betel Phlu Pak Sai because of its hot flavor and sweet scent. The view of Khao Luang is best viewed from here.

Pak Phanang Coast and Talumphuk Cape

Pak Phanang Coast and Talumphuk Cape are the sites of a severe storm in Nakhon Si Thammarat in 1962. The coast of Pak Phanang is a long beach with the Talumphuk cape to the north jutting out into the Gulf of Thailand like a crescent moon. Some villages are located on the part that is connected to Nakhon Si Thammarat Bay, while the gulf coast has a beautiful, pine-lined beach. To get to both places, take Highway No. 4013 (Nakhon Si Thammarat-Pak Phanang), and then 16 kilometres on a road to Pak Phanang. Both sides of the road are lined with shrimp farms and mangrove forests.

Wat Phra Mahathat Woramahawihan

Wat Phra Mahathat Woramahawihan is located on Ratchadamnoen Road in Tambon Nai Mueang. This is a royal temple of the first class. Formerly named Wat Phra Borom That, this is one of the most important historical sites in southern Thailand and in all of Thailand. According to the legend of Phra Borom That Nakhon Si Thammarat, Prince Thanakuman and Queen Hem Chala brought Buddha relics to Hat Sai Kaeo and built a small pagoda to mark the location. Later on, King Si-Thamma Sokarat established the city of Nakhon Si Thammarat and built a new pagoda. The present pagoda has a distinctive Sri Lankan style, measuring 55.78 metres high (measured by the Fine Arts Department during the renovation of the gold top in 1995). The height from the lotus base to the gold top is 6.80 metres. The top is entirely covered by pure gold. Inside the temple are many buildings of importance, especially the royal building which has beautiful architecture from the Ayutthaya period and the Sam Chom building where the Buddha image attired in royal wardrobe, Phra Si Thamma Sokarat , is housed. There are also the Phra Maha Phinetkrom (the equestrian image) building and the Thap Kaset building, while the Khian and Pho Lanka buildings are used to display artifacts that were donated to the temple by Buddhists.

 

Phra Wihan Sung

Phra Wihan Sung, or Ho Phra Sung, is an important historical site located just outside the ancient city wall to the north in the area of Sanam Na Muang, on Ratchadamnoen Road. The site is so called because of its high location on a hill, 2.10 metres above level ground. There is no exact historical evidence but it is believed that its architecture and wall murals are from the early Rattanakosin period. The building houses plaster images with a thick, clay core. The images are either from the 18th-19th century or from the late Ayutthaya period.

 

Phra Phutthasihing

Phra Phutthasihing is housed in the Phra Phuttha Sihing hall near the Provincial Hall. This sacred image was believed to have been ordered by the king of Lanka in 157 AD and was brought to Thailand during the reign of King Ramkhamhaeng the Great. There are currently 3 similar images in Thailand. One is housed at the National Museum in Bangkok, another at Wat Phra Sing in Chiang Mai and this image in Nakhon Si Thammarat. The hall housing the image was originally the Buddha image hall of the palace of Chao Phraya Nakhon (Noi). The hall is divided into 2 parts; the front portion houses Phra Phuttha Sihing, Phra Lak Ngoen and Phra Lak Thong and the back portion houses the ashes of the ancestors of the Na Nakhon family.

Nakhon Si Thammarat National Museum

Nakhon Si Thammarat National Museum occupies the area of the former Wat Suan Luang Tawan Ok. The museum was opened in 1974 and displays artifacts found in the 4 southern provinces of Nakhon Si Thammarat, Phatthalung, Surat Thani, and Chumphon. Of interest are the local handicrafts display room. The national library building opened to the public in 1976. There is a good collection of rare books and important books sent by the National Library in Bangkok for locals to study.

 

Ho Phra Isuan

Ho Phra Isuan is on Ratchadamnoen Road. It is a historical site of the Brahman religion. On display is the Shiva Linga , the symbol of the Brahman god Shiva. There are also several bronze images, such as the Siwa Nattarat image, Phra Uma and Phra Phikkhanet. The bronze images in this hall are replicas of the real images that are in Nakhon Si Thammarat National Museum.

 

Khao Luang National Park

Khao Luang National Park covers Amphoe Muang, Amphoe Phipun, Amphoe Phrom Khiri, Amphoe Lan Saka, Amphoe Chawang, King Amphoe Chang Klang, and King Amphoe Nop Phitam. Having a land area of 597 square kilometres, it was declared a national park on December 18, 1974. The park has a winding mountain range, with the Khao Luang peak the highest of the peaks in southern Thailand at 1,835 metres above sea level. It is the watershed of more than 15 streams and rivers. The parks rainforest is home to a multitude of tropical flora and fauna. There is a route that takes visitors around the park to see unspoiled natural scenery, the variety of wildlife and rare animal and plant species, some of which can only be found in the park. The beauty and completeness of the park, its fascinating nature, the parks efforts to encourage the local community and tourists to be aware of the importance of nature, and its excellent tourist service system have all combined to help the park win the 1998 Thailand Tourism Award in the natural destination category. For more information and accommodation bookings, please contact Khao Luang National Park at Karom waterfall, Tambon Khao Kaeo, P.O. Box 51, Amphoe Muang, Nakhon Si Thammarat 80000, tel. 0- 7530-9047.

 

Tham Talot

Tham Talot is 500 metres from Thung Song district office. This is a small cave in Chai Chumphon Mountain. The cave can be traversed from one exit to the other, hence, its name of Talot or Lot (cut-through) cave. Inside is a huge reclining Buddha image stretching the length of the cave. This sacred image is decorated with murals of Lord Buddha's life drawn by Mr. Naep Thichinnaphong, a famous artist of Nakhon Si Thammarat. The area around the cave has been developed into a park with a store selling food and drinks.

Kuan Im Goddess Image

Kuan Im Goddess Image is a large white plaster image of the popular Chinese goddess. Standing at a height of 19 metres, it is easily visible from afar. She is posed in the benevolence gesture, with the left hand holding a vase containing magic water while the right holds a Lew tree branch. The image stands on a large lotus beside a boy and a girl statue. A big dragon is paying homage to the image. The image is situated in the middle of a large pond surrounded by fountains. You can find this spectacular piece of art at Sam Po Kong Foundation (Luang Pho To), Moo Ban Phatthana Road, Tambon Pak Phraek, approximately 1 kilometre from Thung Song market.

 

Wat Mokhlan Archaeological Site

Wat Mokhlan Archaeological Site is in Tambon Don Kha and is 10 kilometres from the district office. To get there, take Highway No. 401 to Ban Na Thap, turn left onto Highway No. 4022 and drive for 6 kilometres. Originally a religious place for Brahmans of the Sawai Nikai sect, the artifacts found here date from the 7th-9th century. Items that can be seen here include traces of stone pillars, carvings around doorways, religious stones, an ancient pond, and statue bases. The Fine Arts Department declared this area an archaeological site in 1975.

 

Sunantha Waterfall

The parks main attraction is the small but lovely Sunantha Waterfall. Water drops down a steep cliff to the pool below before flowing into Khlong Klai, the main waterway of Tha Sala. Rafting can be done in the canal during the rainy season, when the water level is high.

Pottery Village

Pottery Village is just 50 metres from Wat Mokhlan. The village still adheres to the old technique of making pottery by hand. The pots made here are large, thick, and have little design.

Khao Nan National Park

Khao Nan National Park is 30 kilometres from Amphoe Tha Sala. The park covers areas in Amphoe Tha Sala, Amphoe Sichon and King Amphoe Nop Phitam. In addition, the park has areas in Pa Khao Nan National Forest Reserve and Pa Krung Ching National Forest Reserve. The total area of the park is 436 square kilometres. The main topography is a high mountain range extending from Khao Luang National Park. The park itself is a watershed of many waterways. From the city, travel by Highway No. 401 across Khlong Klai, and past Ban Sa Kaeo in Amphoe Tha Sala. Upon reaching the 110-km marker, turn left into Ban Pak Chao and drive 15 kilometres to the park office.


นครศรีธรรมราช : ข้อมูลทั่วไป

เราชาวนคร อยู่เมืองพระมั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอรปกรรมดี มีมานะ
พากเพียรไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด

เมืองคนดีนครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าไปเยือนมากเมืองหนึ่งนอกจาก จะมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม เช่นเขาหลวง หรือชุมชนพัฒนาตัวอย่างที่บ้านคีรีวง ที่เมืองนครฯก็ยังเป็นแหล่งศิลปะวัฒนธรรม ทั้งหนังตะลุง โนรา ที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม และเป็นเมืองพุทธในแดนใต้ ดังมีพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มรดกทางวัฒนธรรมที่เมืองนครมีอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการสะสมมาจากประวัติ ศาสตร์อันยาวนานกว่า 1800 ปี

“ตามพรลิงค์” คือแคว้นที่เคยตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารมิลินทปัญหาของอินเดียตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 5 และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้าจากอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ด้วยเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรที่กั้นน่านน้ำทั้งสองด้าน จึงเหมาะที่จะเป็นเส้นทางแลกเปลี่ยนสินค้าจากทั้งสองฝั่งสมุทร และประกอบกับมีอ่าวที่เป็นท่าจอดเรือได้ พร้อมกันนั้นศาสนาพราหมณ์ก็ได้แพร่เข้ามาด้วย พบหลักฐานมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-14

ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 14-16 อาณาจักรศรีวิชัยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองครหิ ไชยา มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนแถบคาบสมุทร พุทธศาสนานิกายมหายานจึงได้แพร่เข้ามาที่แคว้นตามพรลิงค์ด้วย

เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 17-18 แคว้นตามพรลิงค์รุ่งเรืองสูงสุด ผู้ครองแคว้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงนามพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พร้อมกันนั้นได้สถาปนาราชวงศ์ปทุมวงศ์ และแผ่อิทธิพลรวมทั้งพุทธศาสนาไปยังเมืองต่างๆในภาคใต้ จนเป็นที่ยอมรับว่านครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น

เมืองนครศรีธรรมราช หรือ นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม รุ่งเรืองอยู่ประมาณร้อยกว่าปี และเสื่อมลงเมื่อยกทัพไปตีเมืองลังกา และโจรชวาถือโอกาสเข้าปล้นเมืองถึง 3 ครั้งประกอบกับเกิดไข้ห่าระบาด จึงเป็นเหตุให้บ้านเมืองถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งสมัยอยุธยา ผู้คนเริ่มกลับมาตั้งบ้านเมืองใหม่อีกครั้ง และนครศรีธรรมราชได้กลายมาเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรอยุธยา

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ นครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2439 จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ยุบมณฑลนครศรีธรรมราชและเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดพัทลุง สงขลา
ทิศตะวันออก ติดกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดตรัง และกระบี่

Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช
http://www.nakhonsithammarat.go.th
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของอำเภอขนอม
http://www.khanomtravel.com
สำนักงาน ททท. นครศรีธรรมราช
http://www.tourismthailand.org/nakhonsithammarat

นครศรีธรรมราช : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ.นครศรีธรรมราช
การเดินทางจากนครศรีธรรมราชไปยังจังหวัดใกล้เคียง

กระบี่
336 กิโลเมตร
ตรัง
123 กิโลเมตร
พัทลุง
112 กิโลเมตร
สงขลา 161 กิโลเมตร
สุราษฎร์ธานี 134 กิโลเมตร

รถยนต์
เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 780 กิโลเมตร

รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถเร็ว และรถด่วน ไปนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 832 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือจองบัตรโดยสารรถไฟได้ที่ โทร. 0 2220 4444 website: www.railway.co.th สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช โทร. 0 7535 6364, 0 7534 6129

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02 894 6122 จองตั๋ว บขส. โทร. 02 422 4444 website: www.transport.co.th สถานีขนส่งนครศรีธรรมราช โทร. 0 7534 1125 อำเภอขนอม มีรถวี ไอ พี ปรับอากาศ ชั้น 1 ขนอม-กรุงเทพฯ รถออกจากขนอม เวลา 17.30 น. และ 18.00 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 04.00 น. และกรุงเทพฯ-ขนอม มีรถออกจากกรุงเทพฯ เวลา 19.30 น. และ 20.30 น. ถึงขนอม เวลา 05.30 น. และ 07.00 น. ตามลำดับ สอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท ทรัพย์ไพศาล จำกัด โทร. 0 7552 8323

เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินไป/กลับนครศรีธรรมราชทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1566, 0 2356 1111, 0 2280 0060, 0 2628 2000 หรือ www.thaiairways.com หรือ สำนักงานนครศรีธรรมราชโทร. 0 7534 2491, 0 7534 3874 และ พีบี แอร์ (PB Air) ก็มีเที่ยวบินไป-กลับ นครศรีธรรมราช ออกทุกวันช่วงเย็น สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0 2261 0220-5 หรือ www.pbair.com

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.นครศรีธรรมราช

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด
มีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร และรถไฟ

การเดินทางจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
  2. อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
  3. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 กิโลเมตร
  4. อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
  5. อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
  6. อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
  7. อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
  8. อำเภอช้างกลาง 50 กิโลเมตร
  9. อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
  10. อำเภอนบพิตำ 52 กิโลเมตร
  11. อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
  12. อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
  13. อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
  14. อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
  15. อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
  16. อำเภอนาบอน 72 กิโลเมตร
  17. อำเภอพระพรหม 75 กิโลเมตร
  18. อำเภอพิปูน 93 กิโลเมต
  19. อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
  20. อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
  21. อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
  22. อำเภอถ้ำพรรณรา 103 กิโลเมตร

การเดินางจากนครศรีธรรมราชไปยังจังหวัดใกล้เคียง

  1. กระบี่ 336 กิโลเมตร
  2. ตรัง 123 กิโลเมตร
  3. พัทลุง 112 กิโลเมตร
  4. สงขลา 161 กิโลเมตร
  5. สุราษฎร์ธานี 134 กิโลเมตร

นครศรีธรรมราช : วัฒนธรรมประเพณี

งานเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนคร

กำหนดจัดงาน
วันที่ 11 - 15 เมษายน 2552

พื้นที่จัดงาน
บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมในงาน
บริเวณวัดพระบรมธาตุ ประเพณีบูชาพระธาตุปีใหม่สงกรานต์
บริเวณสนามหน้าเมือง สวนศรีธรรมโศกราช หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ ขบวนแห่นางดาน และพิธีโล้ชิงช้าตรียัมปวาย
งานมหกรรมกินขนมจีนฟรี การประกวดพระเครื่อง ไหว้พระ ชมเมือง และเล่นน้ำสงกรานต์

กิจกรรม Hi-Light
วันที่ 14 เมษายน 2552 เวลา 18.00 น. ประเพณีแห่นางดานที่หอพระอิศวร

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลนครศรีธรรมราช โทร. 0 7534 2880-2
ททท. สำนักงานนครศรีธรรมราช โทร. 0 7534 6515-6

ประเพณีสงกรานต์และประเพณีสรงน้ำพระธาตุ

ประวัติ / ความเป็นมา
สงกรานต์ มีความหมายตามพจนานุกรม คือ เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกำหนดสุริยคติ ตกวันที่ 13-14-15 เมษายน
ประเพณีสงกรานต์ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น มีความแตกต่างไปจากจังหวัดอื่นๆ ทั้งนี้ เพราะสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป โดยมีความเชื่อดังนี้

ในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งถือเป็นวันมหาสงกรานต์นั้น ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า “วันเจ้าเมืองเก่า” หรือ “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” เชื่อกันว่าในวันนี้เทวดาผู้ทำหน้าที่รักษาดวงชะตาบ้านเมืองและไพร่ฟ้าข้า แผ่นดิน ต้องละทิ้งบ้านเมืองที่ตนคุ้มครองอยู่ กลับไปชุมนุมพร้อมเพรียงกันบนสวรรค์ ในวันที่ 14 เมษายน ซึ่งเป็นวันเนานั้น ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า “วันว่าง” เนื่องจากเทวดาต่างๆ กลับขึ้นไปสถิตอยู่บนสวรรค์ ทางโลกมนุษย์จึงไม่มีเทวดาเหลืออยู่เลย เทวดาจากเมืองต่างๆ จะเข้าประชุมเทวสมาคม เพื่อรายงานความเป็นไปในรอบปีของเมืองที่ตอนลงมารักษาอยู่ว่า ประชาชนทุกข์อย่างไรบ้าง ทำความดีหรือความชั่วอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้เทวสมาคมได้พิจารณาขจัดทุกข์ให้หมดไปจากมนุษยโลก และเทวสมาคมจะพิจารณาโยกย้ายเทวดาผู้รักษาเมือง โดยสับเปลี่ยนให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น เมื่อเลิกประชุมแล้วเทวดาทั้งหมดก็จะสังสรรค์ร่วมกันในคืนนั้น ในวันที่ 15 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของประเพณีสงกรานต์ ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า “วันเจ้าเมืองใหม่” หรือ “วันรับเจ้าเมืองใหม่” เชื่อว่าเทวดาซึ่งถูกย้ายไปประจำเมืองใหม่แล้วจะร่ำลาซึ่งกันและกันกลับลงมา ยังโลกมนุษย์ เพื่อไปประจำรักษาเมืองที่ตนได้ย้ายไป

กำหนดงาน
ประเพณีสงกรานต์ของชาวนครศรีธรรมราช จัดให้มีขึ้นในวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี

กิจกรรม / พิธี
ในวันที่ 13 เมษายน ชาวนครศรีธรรมราชจะทำความสะอาดบ้านเรือน เครื่องใช้ไม้สอย เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย และทำความสะอาดร่างกาย ซ่อมแซมบ้านเรือนหรือเครื่องใช้ที่ชำรุด และตกแต่งให้สวยงาม นอกจากนั้นยังมีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือที่เรียกว่า “ลอยเคราะห์” หรือ “ลอยแพ” โดยนำหยวกกล้วยมาตัดเป็นท่อนๆ ใช้ไม้เสียบทำเป็นแพ นำกระทงที่ใส่สิ่งต่างๆ เช่น อาหาร หมากพลู ธูป เทียน ดอกไม้ ลงในแพ และปักธงรอบๆ แพนั้น หรือบางคนอาจจะตัดเล็บหรือใส่เงินลงไปในแพก็ได้ จากนั้นนำแพลอยลงน้ำพร้อมอธิษฐานให้เคราะห์กรรมทั้งหลายลอยไปกับกระแสดน้ำ หรือการฝากเคราะห์ไปกับสัตว์โดยนำสัตว์มาประพรมเครื่องหอม แล้วอธิษฐานฝากเคราะห์ แล้วปล่อยสัตว์ไป

นอกจากนั้นนครศรีธรรมราชจะทำพิธีแห่พระพุทธสิหิงค์ อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองโดยอัญเชิญจากหอพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งอยู่ในศาลากลางจังหวัด ขึ้นบุษบกที่ประดับอย่างสวยงาม แห่ไปตามถนนสายต่างๆ โดยมีเทพีสงกรานต์และขบวนแห่เข้าร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาสรงน้ำประจำปี

ในวันที่ 14 เมษายน ประชาชนทุกคนจะยุติการงานอาชีพทุกชนิด เพราะถือว่าวันน้ำม่มีเทวดาคุ้มครองรักษาทุกสิ่งในโลก จึงอยู่ในสภาพที่ว่าง ชาวบ้านจะเก็บสิ่งของเครื่องใช้ โดยนำสากและครอกที่ตำข้าวมาแช่น้ำ ประมาณ 3 วัน จึงนำมาใช้อีก ในวันนี้ประชาชนส่วนใหญ่จะภัตตาหารและเครื่องสักการะบูชาต่างๆ ไปทำบุญที่วัด เมื่อกลับจากวัดแล้วก็ไปนมัสการและสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ที่สนามหน้าเมือง และนิยมรองน้ำจากการสรงพระนี้กลับไปบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคล
ต่อจากนั้นจะนำอาหารเครื่องใช้และเครื่องบูชาไปแสดงความเคารพแก่ญาติผู้ใหญ่ หรือพระสงฆ์ที่ตนเคารพ โดยถือโอกาสขอรดน้ำด้วย เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ในวันนี้มีการเล่นกันอย่างสนุกสนาน และมีการละเล่นมากมาย เช่น มโนห์รา หนังตะลุง เพลงบอก มอญซ่อนผ้า อุบลูกไก ชักเย่อ สะบ้า จระเข้ฟาดหาง หรือฟาดทีง ยับสาก เตย ปิดตาลักซ่อน วัวชน ไก่ชน และการเล่นเชื้อยาหงส์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า “เล่นว่าง”
ในวันที่ 15 เมษายน ชาวนครศรีธรรมราชจะเตรียมตัวต้อนรับเทวดาเจ้าเมืององค์ใหม่โดยแต่งกายด้วย เสื้อผ้าใหม่อย่างสวยงาม นำภัตตาหารไปทำบุญที่วัดแต่เช้า เสร็จแล้วก็รดน้ำผู้ใหญ่ ญาติผู้ใหญ่และพระสงฆ์ นอกจากนั้นมีการทำพิธีรดน้ำที่เรียกว่า “ขึ้นเบญจา” หรือ “ขึ้นปัญจา” จะทำในตระกูลที่มีญาติพี่น้องมากๆ การขึ้นเบญจานี้เป็นประเพณีที่ทำกันมานาน คือลูกหลานผู้จัดพิธีขึ้นเบญจาจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระปริตร เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ แล้วผสมกับน้ำธรรมดามในโอ่งใหญ่ เติมของหอมนานาชนิด จากนั้นญาติอาวุโสที่สุดของตระกูลจะนั่งบนแท่นในโรงเบญจา ลูกหลานช่วยกันเอาน้ำที่เตรียมไว้ในโอ่งมารดและขัดถูร่างกายของญาติผู้ใหญ่ พร้อมกันนั้นพระสงฆ์สวดชยันโตให้พระไปด้วย เสร็จแล้วลูกหลานเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ให้ ผู้อาวุโสกล่าวให้พรแก่ลูกหลาน เสร็จแล้วบรรดาญาติที่อาวุโสถัดไปจะขึ้นนั่งบนแท่นในโรงเบญจา และเริ่มพิธีรดน้ำกันใหม่จนกระทั่งหมดญาติอาวุโสก็เป็นอันเสร็จพิธี

ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีตักบาตรธูปเทียน เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า ประเพณีนี้เริ่มขึ้นที่นครศรีธรรมราชก่อนและถ่ายทอดสู่สุโขทัย ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ถือเป็นประเพณีถวายสังฆทานเนื่องในโอกาสเข้าพรรษา
ประเพณีตักบาตรธูปเทียนนี้ เดิมจัดให้มีที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเแม้ในสมัย ที่ยังไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ก็ตามที เมื่อถึงวันเข้าพรรษาประชาชนจำนำเครื่องสังฆทาน ซึ่งประกอบด้วยเทียนพรรษาขนาดใหญ่ ดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าอาบน้ำฝน ตั่ง เตียง ตะเกียง ยา และอาหารแห้ง เป็นต้น ไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระมหาธาตุ ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์ประจำวัดพระมหาธาตุรับถวายมามีมากใช้ตลอดพรรษาก็ไม่หมด สิ้น ชาวเมืองเห็นว่าธูปเทียนเหล่านั้นจะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงแบ่งปันไปให้วัดต่างๆ ในระยะต่อมา

กำหนดงาน
เริ่มการจัดงานตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ แต่พิธีทำในวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ณ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
เดิมเมื่อถึงวันเข้าพรรษา ในเวลาประมาณ 14.00 น. เป็นต้นไป พระสงฆ์จากวัดต่างๆ ที่อยู่ไม่ห่างจากวัดพระมหาธาตุมากนักทั้งในเมืองและนอกเมือง จะมายืนเรียงกันเป็นแถวยาวหน้าวิหารทับเกษตร วัดพระมหาธาตุ เพื่อรอรับบิณฑบาตดอกไม้ธูปเทียนที่ชาวบ้านมัดเป็นช่อ มาถวายตามลำดับ รูปละมัด จึงเรียกว่า ตักบาตรธูปเทียน
เมื่อตักบาตรธูปเทียนแล้ว ประชาชนจะพากันไปจุดเปรียง หรือจองเปรียง ซึ่งถือเป็นพิธีจุดโคมรับเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ตามหน้าพระพุทธรูปและฐาน เจดีย์ทุกฐานในวัดพระมหาธาตุ โดยการนำด้ายดิบใส่ลงไปในภาชนะเล็กๆ ส่วใหญ่เป็นเปลือกหอยแครงแล้วหยดนำมันสัตว์หรือน้ำมันมะพร้าวลงไปในเปลือก หอย แล้วจุดไฟที่ด้าย เพื่อให้ไฟสว่างไสวไปทั่ววัด แต่ประเพณีการตักบาตรธูปเทียนในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่เคย ปฏิบัติมา คือ
เดิมพระสงฆ์จะเข้าแถวเพื่อรอรับบิณฑบาตธูปเทียนเฉพาะหน้าวิหารทับเกษตรเท่านั้นแต่ในปัจจุบันพระสงฆ์จะเข้าแถวที่ลานวัดพระมหาธาตุ
นอกจากตักบาตรธูปเทียนที่วัดพระมหาธาตุอย่างเดิมแล้ว ยังมีการตักบาตรธูปเทียนตามถนนอีกด้วย
แต่เดิมชาวนครศรีธรรมราชจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียนไว้สำหรับตักบาตรด้วยตนเอง แต่ในปัจจุบันนี้ทั้งดอกไม้และธูปเทียน มีวางขายทั่วไปสำหรับประเพณีนี้โดยเฉพาะ จึงเป็นการประหยัดเวลาและสะดวกมากขึ้น
แต่เดิมเมื่อตักบาตรธูปเทียนเสร็จแล้ว ประชาชนพากันไปจุดเปรียง เพื่อบูชาพระบรมธาตุพระเจดีย์ และพระพุทธรูป แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นจุดเทียนไขแทน เพราะการจุดเปรียงทำให้เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณวัดเสมอๆ และกำหนดให้จุดเทียนไขได้ในเฉพาะในวิหารพระม้าเพียงแห่งเดียวเท่านั้นแต่ เดิมการจุดเปรียงถือเป็นประเพณีที่ทุกคนต้องทำหลังจากตักบาตรธูปเทียนจะขาด เสียไม่ได้ แต่ในปัจจุบันนี้ประเพณีนี้ได้ลดความสำคัญและปฏิบัติกันน้อยมาก

ประเพณีให้ทานไฟ

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีให้ทานไฟ เป็นประเพณีหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติกันมานานของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและที่ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเพณีนี้สันนิษฐานว่าเกิดจากอากาศหนาวมากๆ ในช่วงฤดูหนาว พระภิกษุสามเณรนุ่งห่มจีวรเพียงบางๆ และภัตตาหารที่บิณฑบาตมาได้ก็มักจะเย็นชืดหมด เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาพระธรรมด้วยอากาศหนาว ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนจึงคิดอยากให้ความอบอุ่นแก่พระภิกษุสามเณรจึงคิดการทำ บุญโดยการให้ทานไฟขึ้น

ข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่ง กล่าวว่า มูลเหตุสำคัญของประเพณีนี้มาจาก “คัมภีร์ขุททกนิกาย” ซึ่งได้กล่าวถึงเศรษฐีคนหนึ่งแห่งแคว้นสักกะ ชื่อ โกสิยะ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักบวช ญาติมิตร ชาวเมืองทั่วไป ทาสบริวาร บุตรภรรยา หรือแม้กระทั่งตัวเอง มีอยู่วันหนึ่งเศรษฐีโกสิยะเดินผ่านร้านขายขนมเบื้องในตลาด เห็นชาวเมืองนั่งกินขนมเบื้อง จึงคิดอยากกินบ้าง แต่ด้วยความตระหนี่จึงไม่ยอมซื้อกิน แต่ถึงอย่างไรความอยากกินขนมยังคั่งค้างอยู่ภายในจิตใจ จึงมีอาการผิดปกติไป ภรรยาเศรษฐีทราบเรื่องจึงรับอาสาจะทำขนมเบื้องให้เศรษฐีกิน แต่เศรษฐีเป็นคนตระหนี่ กรงว่าจะสิ้นเปลืองเงินทองเพราะใครๆ ก็คงต้องกินด้วย จึงไม่อยากให้ภรรยาทำขนม ภรรยาเศรษฐีก็สัญญาว่าจะไม่กินขนมด้วย พระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่ ณ เชตุวันมหาวิหาร ทรงทราบด้ายญาณว่าเศรษฐีคนนี้ตระหนี่เกินไป ควรจะให้เลิกนิสัยอย่างนี้เสีย จึงรับสั่งให้พระโมคคัลลานะไปแก้นิสัยเศรษฐี พระโมคคัลลานะจึงเหาะตรงไปยังชั้น 7 ของบ้านเศรษฐี ยืนสำรวมอยู่ที่ประตู เมื่อเศรษฐีเห็นจึงคิดว่าพระโมคคัลลานะจะมาขอขนมกิน จึงคิดรังเกียจและออกปากไล่ พระโมคคัลลานะได้ทรมานเศรษฐีอยู่นาน จนเศรษฐีต้องยอมถวายขนมเบื้องให้พระโมคคัลลานะบ้าง พระโมคคัลลานะจึงแสดงธรรมเรื่องประโยชน์ของการให้ เศรษฐีและภรรยาเกิดเลื่อมใส จึงนิมนต์พระโมคคัลลานะไปรับอาหารที่บ้านตน แต่พระโมคคัลลานะไม่รับ และบอกว่าถ้าจะถวายอาหารควรไปถวายพระพุทธองค์และพระสาวก จำนวน 500 รูป ณ เชตวันมหาวิหาร เศรษฐีและภรรยาจึงทำขนมเบื้องถวายพระพุทธองค์และพระสาวก จำนวน 500 รูป แต่ทำเท่าไหร่แป้งที่เตรียมไว้เพียงเล็กน้อยก็ไม่หมด สุดท้ายพระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาสั่งสอนเศรษฐีและภรรยา จนทำให้เศรษฐีและภรรยาเกิดความอิ่มเอิบในการทำบุญบริจาคทานและบรรลุโสดา ปัตติผลในที่สุด ด้วยมูลเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการทำบุญด้วยการให้ทานไฟในปัจจุบัน

กำหนดงาน
ประเพณีการทำบุญให้ทานไฟ มักทำกันในช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวมากเป็นพิเศษในตอนเช้าตรู่ของวันใดวัน หนึ่งในเดือนอ้ายต่อเดือนยี่ ซึ่งจะเป็นวันที่เท่าไหร่นั้นทางวัดและชาวบ้าน อุบาสก อุบาสิกา จะทำความตกลงกันเป็นปีๆ ไป สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
ในตอนเช้าตรู่ของวันนัดหมาย ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนทุกคนจะพร้อมใจกันไปยังวัดใกล้บ้านโดยจัดแจงเอาเครื่อง ประกอบทำขนมและอุปกรณืไปด้วย เมื่อถึงวัดก็ช่วยกันก่อกองไฟและทำขนมกันทันที ขนมที่นิยมทำกัน เช่น ขนมเบื้อง ขนมครกและขนมกรอก ส่วนกองไฟจะก่อกี่กองก็ได้ตามจำนวนพระภิกษุสามเณรในวัด และจำนวนผู้ร่วมทำบุญ เมื่อก่อกองไฟเสร็จแล้วจะนิมนต์พระภิกษุสามเณรมาผิงไฟเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น และขนมที่ทำสุกแล้วก็สามารถถวายพระภิกษุสามเณรให้ฉันได้ทันที เมื่อพระสงฆ์ฉันขนมอิ่มทุกรูปแล้วก็จะให้พร เมื่อให้พรเสร็จแล้วพระสงฆ์จะกลับไปปฏิบัติกิจของสงฆ์ต่อไป ส่วนชาวบ้านพุทธศาสนิกชนผู้ร่วมทำบุญก็จะร่วมรับประทานขนมที่เหลือ และช่วยกันขนของกลับบ้าน เป็นอันเสร็จพิธีการทำบุญปัจจุบันการทำขนมในงานนี้มักทำสำเร็จมาจากบ้านแล้ว ไม่ค่อยนิยมมาทำที่วัดอย่างอดีตเพราะสะดวกกว่า และประเภทของขนมก็มากขึ้นตามสมัยนิยม และในบางที่ก็อาจมีของคาวเลี้ยงพระในงานนี้ด้วย

งานมังคุดหวานและของดีเมืองนคร

ประวัติ / ความเป็นมา
นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยที่มีภูมิอากาศเหมาะสำหรับการปลูกมังคุด เป็นอย่างดี เนื่องจากมีความชื้นสูงและมีฝนตกชุกตลอดปี ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีมังคุดออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก มังคุดจึงเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงและทำรายได้ให้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราช มากกว่าผลไม้อื่นๆ

ชาวนครศรีธรรมราชนอกจากจะนิยมมังคุดที่เป็นผลสุกแล้ว ยังดัดแปลงผลที่ยังดิบมาเป็นของกินเล่น ที่เรียกว่า “มังคุดคัด” โดยนำมังคุดมาคัด (งัด) เอาเปลือกออกโดยให้เนื้อและเมล็ดคงรูปเดิมไม่แต่กระจายออกจากกัน จากนั้นนำมาล้างให้สะอาด และแช่น้ำเกลือที่มีความเค็มอ่อนๆ ทิ้งไว้ให้น้ำเกลือดูดซืมเข้าในเนื้อจนทั่วแล้วใช้ไม้เสียบเรียงเป็นตับๆ ในแต่ละไม้จะมีมังคุดประมาณ 5-7 ผล มังคุดคัดจะมีสีขาวสะอาด กรอบ และรสชาติหวานมันอร่อย รับประทานได้ทั้งเนื้อและเมล็ด นิยมทำจำหน่ายกันมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช

เหตุที่เรียกว่ามังคุดคัดนั้น เป็นเพราะมังคุดที่นำมาทำแบบนี้ชาวสวนเห็นว่าไม่อาจเจริญสมบูรณ์ได้ เพราะดกเกินไปหรือมีขนาดผลเล็กกว่าปกติ จึงคัดเลือกออกจากต้นเสีย เพื่อให้ผลที่เหลืออยู่เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเมื่อนำมาทำเป็นมังคุดคัดแล้วทำให้มีมังคุดรับประทานก่อนฤดูกาล รวมทั้งมีรสชาติแปลกกว่ามังคุดสุก นอกจากนั้นมังคุดยังมีสรรพคุณเป็นยากลางบ้านได้อีกด้วย

ดังนั้น จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงได้จัดงานมังคุดหวานและของดีเมืองนครขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมังคุดเมืองนคร รวมทั้งผลไม้อื่นๆ และของดีของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมและเพิ่มพูนรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง ด้วย

กำหนดงาน
งานมังคุดหวานและของดีเมืองนคร จัดให้มีขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม
กิจกรรมภายในงาน มีดังนี้
- การประกวดมังคุด
- การออกร้านจำหน่ายผลไม้ และสินค้าพื้นเมืองต่างๆ
- การจัดนิทรรศการทางการเกษตร
- การแสดงมหรสพนานาชนิด / พิธี

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ</p>

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจนำผ้าลักษณะเป็นแถบยาวนับร้อยเมตร และพากันแห่ผ้าดังกล่าวไปยังวัดพระมหาธาตุมหาวิหาร และใช้ผ้าแถบนั้นไปพันรอบฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวนครศรีธรรมราชและชาวใต้

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นประเพณีที่รับมาจากอินเดียเหมือนกับประเพณีอื่นๆ คือ ในสมัยก่อนพุทธกาล ชาวอินเดียส่วนใหญ่มีความเชื่อในสิ่งเหนือจริง โดยเฉพาะศาสนาฮินดู หรือศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าทั้งหลาย ดังนั้นการบูชาทุกสิ่งทุกอย่างของชาวฮินดูก็จะต้องนึกถึงเทพเจ้าก่อนอื่นและ การบูชาที่ดีที่สุดเพื่อให้ถูกใจเทพเจ้าก็คือ การเซ่นสรวงบูชากราบไหว้เทพเจ้า ซึ่งต่อมาได้เป็นวัตรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ครั้นในสมัยพุทธกาล คำสอนของพระพุทธองค์มุ่งจะทำลายความเชื่อมั่นที่ไม่เป็นสาระ แต่ไม่อาจลบล้างการเซ่นสรวงลงไปได้ทันทีทันใด เพราะชาวพุทธส่วนใหญ่เคยนับถือศาสนาฮินดู เช่น การบูชาเทพเจ้าประจำต้นไม้ เพื่อให้ประทานโชคลาภ ความสงบสุข ประทานบุตร และพืชผลให้แก่ตน โดยการกราบไหว้บูชา และการหาผ้าแพรพรรณมาพันรอบต้นไม้ ก็ยังคงปฏิบัติสืบกันมา วัตรปฏิบัติของชาวพุทธที่เคยเป็นพราหมณ์มาก่อนมีอิทธิพลต่อชาวพุทธสมัยต่อมา ที่นิยมปฏิบัติตามประเพณีและความเชื่อเดิม

ดังนั้น ประเพณีการแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครศรีธรรมราช จึงน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้ เพราะเมืองนครศรีธรรมราชรับเอาประเพณีต่างๆ มาจากอินเดีย และยึดถือว่าการทำบุญหรือกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริงๆ จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์ของพระพุทธองค์ เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้ก็เท่ากับกราบไหว้พระพุทธองค์ด้วย และการที่ชาวนครศรีธรรมราชนำเอาผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ โดยการพันรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ก็ถือว่าเป็นการบูชาที่สนิทแนบกับพระ พุทธองค์เช่นกัน

แต่ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุที่ปฏิบัติกันที่เมืองนครศรีธรรมราชนั้น ไม่สามารถทราบแน่ชัดว่ามีขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่เท่าที่ปรากฏหลักฐานในตำนานพระธาตุ กล่าวคือ ประมาณ พ.ศ. 1773 พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังเตรียมการสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์อยู่นั้น คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบใหญ่ยาวผืนหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องพุทธประวัติ อันเรียกว่า “พระบฏ” ขึ้นทีชายหาดปากพนัง เมืองนครศรีธรรมราช ก่อนที่จะถึงวันสมโภชพระบรมธาตุไม่มากนัก ชาวปากพนังได้เก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช พระองค์ได้รับสั่งให้ซักผ้า “พระบฏ” จนสะอาด แต่ลายเขียนภาพพุทธประวัติไม่ลบเลือน ยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่งจำนวนราวน้อยคนจากเมืองอินทรปัตมีผะขาวอริยพงษ์ เป็นหัวหน้า จะเดินทางไปลังกาเพื่อนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาทในลังกา แต่ถูกพายุพัดเรือแตกมาขึ้นทีฝั่งเมืองนคร มีคนรอดชีวิตราวสิบคน พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏนั้นไปห่มพระบรมธาตุ เจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของผ้าพระบฏซึ่งรอดชีวิตก็ยินดี ต่อมาจึงเกิดเป็นภารกิจประจำปีของกษัตริย์และเจ้าเมืองนครทุกสมัย ในอันที่จะต้องจัดให้มีการสมโภชพระบรมธาตุ และแห่แหนพระบฏขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครฯ เพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่องค์พระมหากษัตริย์หรือเจ้าเมือง ตลอดจนพลเมืองและพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งชาวเมืองผู้เป็นพุทธศาสนิกชนก็นิยมศรัทธาร่วมด้วยอย่างแข็งขันคับคั่ง ทุกปี ต่อมากลายเป็นธรรมเนียมประเพณี เป็นสัญลักษณ์เมืองนครฯ ทั้งนี้เพราะว่ามีกระทำอยู่ที่นี่ที่เดียว

ธรรมเนียมหรือประเพณีเจ้าเมืองแห่พระบฏขึ้นธาตุที่กล่าวนี้ แม้ในรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นระยะที่เจ้าเมืองนครฯ ถูกลดศักดิ์ลดฐานะ ที่ปรากฏเป็นหลักฐานก็เมื่อตอนลดฐานะจากกษัตริย์เมืองขึ้นเป็นเจ้าเมือง ในสมัยรัชกาลที่ 2 และครั้งจัดระบบปกครองหัวเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พร้อม ณ นคร) เป็นเจ้าเมือง ท่านผู้นี้เป็นเจ้าเมืองทั้งในระบบเก่าและต่อเนื่องมาเป็นผู้ว่าราชการคนแรก ในระบบใหม่ของเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดเวลาที่ท่านเป็นเจ้าเมืองทั้งสองระบบ จนกระทั่งเกษียนอาจุและถึงอนิจกรรม ในที่สุด ท่านแห่ผ้าขึ้นธาตุสืบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด และเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนใกล้ไกลเข้าร่วมอย่างคับคั่งเอิกเกริกทุกปีเสมอ มา

พระเถระผู้ใหญ่ของเมืองนครศรีธรรมราชหลายท่านเล่าว่า ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุของเจ้าคุณนครฯ (พร้อม ณ นคร) นอกจากผ้าอันเป็นประธานแล้วยังมีสำรับคาวหวาน และกระบุงกระจาดตกแต่งด้วยของสดของแห้งปักธงผ้าสีเล็กๆ ทูนหัวหาบคอนร่วมขบวนดูสวยงามเป็นแถวยาวเหยียด เพื่อไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในวัดพระบรมธาตุโดยวิธีสลากภัตด้วย

เมื่อเจ้าคุณนครฯ สิ้นบุญแล้ว ทายาทของท่านเจ้าคุณยังสืบประเพณี “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” ต่อมาอีกหลายปี แม้จะทำโดยนัยสืบธรรมเนียมตระกูลโดยบ้านเมืองไม่ร่วมมือสนับสนุนเหมือนสมัย ก่อนพุทธศาสนิกชนชาวนครฯ ก็ยังสมทบด้วยศรัทธาเสมอมา การแห่ผ้าขึ้นธาตุโดยนัยสืบธรรมเนียมตระกูลของทายาทอดีตเจ้าเมืองนครที่เลิก ทำไป หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2475 นี้เอง ผู้คุ้นเคยไปมาหาสู่ “ท่านกลาง” ทายาทคนหนึ่งของท่านเจ้าคุณเล่าว่า ที่ห้องเก็บของบ้านท่านกลาง ยังมีสาแหรก ไม้คาน ไม้คอน กระจาด กระบุง และสิ่งของที่ใช้ในการแห่ผ้าขึ้นธาตุเก็บรักษาอยู่เป็นอันมาก

กำหนดงาน
ตามประวัติมีการจัดเป็นประจำทุกปี แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ากระทำวันไหน ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมี 2 วัน กล่าวคือ มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (ในวันมาฆบูชา) และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ในวันวิสาขบูชา) แต่ในปัจจุบันจะกระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหมือนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้เพิ่มเติมอีกตามโอกาสที่เห็นสมควร เช่น โอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และที่ 6 เสด็จเมืองนครฯ เป็นต้น
สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม ผ้าพระบฏที่ใช้ส่วนใหญ่เขียนเรื่องพุทธประวัติ เมื่อเขียนภาพแล้วประดับพระบฎด้วยลูกปัดสีต่างๆ ที่ขอบผ้าแถบโดยตลอดทั้งผืน แต่ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป เวลาว่างมีน้อย หรืออาจเป็นเพาะไม่มีช่างผู้ชำนาญ จึงทำให้การประดับประดาและการเขียนภาพที่พระบฏสูญหายไปและผ้าที่ใช้กันทุก วันนี้มีเพียง 3 สี คือ สีขาว แดง เหลือง ภัตตาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคที่เคยจัดไปถวายพระภิกษุสงฆ์ตอนแห่ผ้าขึ้น ธาตุในปัจจุบันก็ไม่มี
นอกจากนี้แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุกระทำกันโดยพร้อมเพรียง เป็นขบวนเอิกเกริกเพียงขบวนเดียว แต่ปัจจุบันประชาชนที่มาร่วมงานมาจากหลายแห่ง แต่ละคนก็จะเตรียมผ้ามาเอง ทำให้เกิดความไม่พร้อมเพรียงในขบวนเดียวกัน หมายความว่า ใครต้องการแห่ผ้าขึ้นธาตุก็ทำได้สะดวก

เมื่อขบวนมาถึงวัดมหาธาตุฯ จะทำการเวียนประทักษิณรอบพระบรมธาตุ 3 รอบ แล้วนำผ้าพระบฏเข้าสู่วิหารพระม้าหรือวิหารพระทรงม้า และผู้ที่ร่วมมากับขบวนจะส่งผู้แทนเพียง 3-4 คน สมทบไปกับเจ้าหน้าที่ของวัด นำผ้าพระบกขึ้นไปโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะทางวัดได้กำหนดให้ลานภายในกำแพงแก้วเป็นเขตหวงห้าม เมื่อนำผ้าพระบฏไปโอบล้อมองค์พระบรมธาตุเรียบร้อยแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ยังฝังแน่นอยู่ในจิตใจของชาวนครศรีธรรมราช และชาวเมืองอื่นทั้งใกล้ไกล โดยยึดถือเอาพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นเสมือนพระพุทธองค์ ประชาชนจึงมุ่งหมายมาสักการะจากทั่วสารทิศ ประกอบกับระยะดังกล่าวเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ประชาชนจึงมุ่งหมายมาสักการะจากทั่วสารทิศ ประกอบกับระยะที่เก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ประชาชนจึงมุ่งไปทำบุญ เพื่อความสงบสุขแห่งครอบครัว และความเจริญของพืชผลปีต่อไปตามคตินิยมที่มีมาแต่โบราณ ด้วยเหตุนี้ในวันแห่ผ้าขึ้นธาตุแต่ละปีจึงมีประชาชนไปร่วมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้อาจเป็นเพราะทุกคนถือว่าพระบรมธาตุเป็นจุดรวมแห่งความอยู่รอดของตน และสังคมด้วย

ความเปลี่ยนแปลงของประเพณีนี้ ในปัจจุบันไม่มีการเขียนรูปพุทธประวัติ เนื่องจากช่างที่เขียนให้โดยหวังกุศลไม่คิดค่าจ้างหมดไป ถ้าจะเป็นพระบฏให้ถูกต้องตามคติโบราณก็ต้องจ้างด้วยราคาแพงซึ่งประเพณีก็ เปลี่ยนจาก “แห่ผ้าพระบฏขึ้นธาตุ” เป็น “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” ซึ่งก็คงเนื่องจากไม่มีพระบฏดังกล่าวแล้ว และในการแห่แหนก็มีแต่เพียงช่วยกันจับชายผ้า เทินผ้าไปตามถนนเป็นขบวน ไม่มีสำรับอาหาร ไม่มีกระบุง กระจาดของสดของแห้ง บางกลุ่มมีการตั้งขบวนเดินเข้าสู่วัดมหาธาตุฯ อย่างเงียบๆ พอเป็นพิธี บางขบวนมีทายกทายิการ่วมแห่แหนมากมาย บ้างก็มีเครื่องประโคม มีการร่ายรำนำขบวนอย่างเอิกเกริก ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ บางอย่างอาจจะเป็นสิ่งธรรมดา เพราะแก่นหรือสาระไม่เปลี่ยนไป แต่บางอย่างเป็นสาระได้เปลี่ยนแปลงไป เช่น การไม่มีสำรับของสดของแห้งเช่นแต่ก่อน น่าจะต้องมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เพื่อที่จะให้คงไว้ซึ่งสาระสำคัญอันเป็น เอกลักษณ์ของประเพณีนี้ให้คงอยู่ตลอดไป / พิธี

ประเพณีสมโภชพระบรมธาตุฯ

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีสมโภชพระบรมธาตุฯนี้ เป็นประเพณีร่วมเทศกาลกันกับการแห่ผ้าขึ้นธาตุ และเทศกาลวันวิสาขบูชา ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันเป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง ประชาชน และพืชพันธุ์ธัญญาหาร สัตว์เลี้ยงต่างๆ
จากตำนานพระบรมธาตุฯเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีการกล่าวถึงประเพณีสมโภชพระบรมธาตุฯว่า “ประเพณีนี้มีสืบมาจากสมัยพญาศรีธรรมโศกราชจันทรภาณุ ทรงประกอบพระราชพิธีวิสาขะสมโภชพระบรมธาตุฯครั้งแรก หลังจากบูรณะพระเจดีย์องค์เดิมเป็นทรงลังกาสมบูรณ์แล้ว”

สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ปรากฏหลักฐานว่า เจ้าเมืองและกรมการเมืองทุกสมัยในยุคนั้น เป็นประธานนำพุทธศาสนิกชนชาวเมืองจัดพิธีกันอย่างเอิกเกริกใหญ่โต
ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นระบบเทศาภิบาล ทำให้อำนาจการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ของเจ้าเมืองในตระกูล ณ นคร เสื่อมลง ผู้มีอำนาจปกครองซึ่งมาจากส่วนกลางไม่ให้ความสำคัญกับประเพณีท้องถิ่น จึงทำให้ประเพณีนี้เป็นการทำสืบธรรมเนียมของตระกูล ณ นคร ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองเก่าจนถึง พ.ศ. 2475 หลังเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใหม่ จึงเลิกไป ปล่อยให้เป็นประเพณีของพระสงฆ์ภายในวัดมหาธาตุและประชาชนทั่วไปจนปัจจุบัน

กำหนดงาน
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันวิสาขบูชา (เป็นประเพณีเดือนหก – วิสาขมาส) สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
1. พระสงฆ์สวดพระปริตรสมโภชพระบรมธาตุ (เป็นกิจของสงฆ์โดยเฉพาะ)
2. วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ บรรดาพุทธศาสนิกชนจัดสำรับกับข้าวคาวหวานสำหรับประเคนพระสงฆ์ และจัดอาหารสดอาหารแห้งลงในกระบุงหรือกระจาด ตกแต่งประดับประดาให้สวยงามด้วยธงสีขนาดเล็ก สำหรับเป็นสลากภัตถวายพระสงฆ์ ในเวลาเลี้ยงเพลพระสงฆ์
3. เวลาบ่าย ประชาชนนำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายพระ เรียกว่า “ใส่บาตรดอกไม้ธูปเทียน” เพื่อให้พระสงฆ์นำไปเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุฯ
4. เวลาค่ำ มีการเวียนเทียนทักษิณาวัตร 3 รอบ รอบองค์พระบรมธาตุฯ
5. มีงานออกร้านขายของ และมีมหรสพสมโภช จัดงาน 5 วัน 4 วัน โดยรวมงานสมโภชพระบรมธาตุฯ แห่ผ้าขึ้นธาตุ แล้ววันวิสาขบูชาเข้าไว้ด้วยกัน

นครศรีธรรมราช : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ตั้ง อยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วน วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวาย เป็นพุทธบูชา

พุทธภูมิ

โครงการ พุทธภูมิเป็นการก่อสร้างพุทธสถาน ในพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 โดยจำลองสิ่งก่อสร้างจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบล ในประเทศอินเดีย และประเทศเนปาล มาประดิษฐานให้สมจริงมากที่สุดและสร้างพระพุทธรูปปางลีลาไว้เป็นประธานท่าม กลางสังเวชนียสถานดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชย์ครบ 60 ปีแล้ว โครงการนี้ยังเป็นการถวายเป็นพุทธบูชาตามเจตนารมย์ของพุทธศาสนิกชนชาว จังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย และพุทธภูมิแห่งนี้จะเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ ยั่งยืนต่อไป
ติดต่อสอบถาม บริการนำชมได้ที่พิพิธภัณฑ์เมือง โทร 0 7535 8261 โทรสาร 0 7535 6164

อ่างเก็บน้ำกะทูน

เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของชาวบ้านที่ต้องประสบเหตุการณ์สูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ไปกับอุทกภัยเมื่อปี 2531 จึงทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้น แล้วเสร็จในปี 2540 ครอบคลุมพื้นที่ 12,500 ไร่ นับว่าเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่มากและใต้อ่างเก็บน้ำในอดีตก็คือหมู่บ้านกะทูน ในอดีตนั่นเอง

อ่างเก็บน้ำแห่งนี้มีทิวทัศน์ของทะเลสาบและขุนเขาที่สวยงาม ได้รับการขนานนามว่าเป็น สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้ ใครที่ได้มานอนค้างและฟังประวัติชุมชนที่นี้จะรู้สึกว่าที่นี้มีหลายสิ่ง ที่น่าประทับใจ เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บริเวณริมอ่างเก็บน้ำ มีร้านอาหารเรียงรายตามถนนเส้นคลองกะทูนใต้ รวมถึงรีสอร์ทน่าพักหลายแห่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ
1.กิจกรรมเข้าค่ายพักแรม ชุมชนมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดแคมป์ไฟเดินป่า พร้อมกับมีวิทยากรนำชมพื้นที่ประวัติศาสตร์ชุมชนที่เคยเป็นค่ายคอมมิวนิสต์ และพื้นที่เคยโดยน้ำท่วมในอดีต
2. กิจกรรมล่องเรือชมภูมิทัศน์และฟังประวัติชุมชน
3. กิจกรรมตกปลารวมถึงฝึกให้อาหารปลาด้วย
นอกจากนี้ยังได้แวะชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิตจากโครงการเซรามิค สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มี จาน ชาม ถาด แจกันสวยงามที่มีลายหายาก
สอบถามรายละเอียด ได้ที่ ศูนย์ประสานงานการจัดการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมบ้านกะทูนใต้ โทร 08 6050 9784 หรือสถานที่พักบริเวณอ่างเก็บน้ำกะทูน

ชุมชนกลุ่มทะเลหมอกกรุงชิง

ชุมชนกลุ่มทะเลหมอกกรุงชิง ชุมชนได้ร่วมมือจัดตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อจัดกิจกรรมท่องเที่ยวชมทะเลหมอกยาม เช้า โดยให้บริการจิบกาแฟยามเช้า พร้อมรับฟังบรรยายประวัติเขาเหล็ก และประวัติพื้นที่กรุงชิง พื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ด้านความคิดการปกครองในพื้นที่ผืน ป่ากรุงชิง ถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ต่อมาฝ่านรัฐบาลสามารถยึดพื้นที่ได้ป่ากรุงชิงคืนในปี 2524 ปัจจุยันยังคงทิ้งร่องรอยประวัติศาสตร์การต่อสู้ เช่น ถ้ำหลบภัย หลุมขวาก สนามบาสเก็ตบอล ให้นักท่องเที่ยวได้ไปศึกษาหาความรู้ หากสนใจติดต่อได้ที่ คุณกาญจนา โทร. 08 1080 1441

บ้านหนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน

 

เลขที่ 10/18 ถนนศรีธรรมโศก ซอย 3 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Thailand Tourism Awards) ประจำปี 2539 รางวัลดีเด่นประเภทวัฒนธรรมและโบราณสถาน บริเวณบ้านหนังตะลุงได้จัดแบ่งเป็นพิพิธภัณฑ์หนังตะลุง จัดแสดงหนังตะลุงประเภทต่างๆ สาธิตการแกะรูปหนังตะลุง มีเวทีสาธิตหนังตะลุงอย่างครบวงจร นักท่องเที่ยวและผู้สนใจสามารถเข้าชมและศึกษาศิลปวัฒนธรรมได้ทุกวัน โทร. 0 7534 6394

กุฏิทรงไทย

 

กุฏิ ทรงไทย หรือ กุฎิร้อยปี ตั้งอยู่ในวัดวังตะวันตก ริมถนนราชดำเนิน ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้งเจ้าจอมมารดาปรางประทับอยู่ที่วังตะวันออก โปรดให้ปรับปรุงป่าขี้แรดตรงข้ามกับวังตะวันออกให้เป็นอุทยานวังตะวันตก ครั้นเจ้าจอมมารดาปรางสิ้นชีพิตักษัยลง เจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้บุตรได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ปลงพระศพ และสร้างขึ้นใหม่ให้เป็นวัดวังตะวันตกคู่กับวังตะวันออก ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2431 พระครูกาชาด (ย่อง) พร้อมด้วยสานุศิษย์ได้สร้างกุฎิขึ้นหมู่หนึ่ง ด้วยประสงค์เพื่อ “เปลื้องธุระสงฆ์ที่วังวนด้วยจากฟากฝา แลจะได้อยู่อาไสยเอาเรียนพระธรรม์บำรุงพุทธศาสนาให้จิรัง” โดยใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 13 ปี เป็นกุฎิไม้ทรงไทยเรือนเครื่องสับ 3 หลัง มีหลังคาจั่ว แต่ละหลังคาคลุมเชื่อมต่อกัน ตัวเรือนฝาปะกน ตามประตู หน้าต่างและช่องลม ประดับด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนคร ปี พ.ศ. 2535 สมาคมสถาปนิกสยามคัดเลือกกุฏิวัดวังตะวันตกให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม

น้ำตกท่าแพ

อยู่ หมู่ที่ 14 ตำบลช้างกลาง สามารถเดินทางจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปตามเส้นทางสายนครศรีธรรมราช-จันดี -ฉวาง-บ้านส้อง (ทางหลวงหมายเลข 4015) ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร และมีทางแยกขวามือมีป้ายบอกทางเข้าน้ำตกประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกท่าแพมีความสวยงามไม่แพ้ที่อื่น มีทั้งหมด 10 ชั้น ชั้นที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำได้ คือ หนานแพน้อย หนานนางครวญ และหนานเตย

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง


อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเมือง อำเภอพิปูน อำเภอพรหมคีรี อำเภอลานสกา อำเภอฉวาง กิ่งอำเภอช้างกลาง และกิ่งอำเภอนบพิตำ มีเนื้อที่ประมาณ 570 ตารางกิโลเมตร ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2517 ประกอบด้วยเทือกเขาที่สลับซับซ้อน มียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาสูงสุดประมาณ 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งสูงที่สุดในภาคใต้เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารและคลองต่าง ๆ กว่า 15 สาย มีสภาพเป็นป่าดงดิบชื้นและป่าดิบเขา เส้นทางการเดินในอุทยานเป็นวงรอบ มีธรรมชาติที่สวยงามและมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีพืชและสัตว์ที่หายากอยู่มากมาย อุทยานแห่งนี้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ( Thailand Tourism Awards) ประจำปี 2541 รางวัลยอดเยี่ยมประเภท แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ช่วงเวลาที่เหมาะในการเดินทางมาท่องเที่ยว คือเดือนมกราคม-เดือนกรกฎาคม
นอกจากในเขตอุทยานจะมีน้ำตกแล้ว อุทยานยังมีน้ำตกที่อยู่ในอำเภอต่าง ๆ เช่น น้ำตกพรหมโลก น้ำตกอ้ายเขียว หรือน้ำตกในเขียว ในอำเภอพรหมคีรี น้ำตกกรุงชิง กิ่งอำเภอนบพิตำ น้ำตกท่าแพ อำเภอลานสกา น้ำตกสวนอาย อำเภอฉวาง
สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจบริเวณอุทยาน ได้แก่

น้ำตกกะโรม ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ไหลลงมาจากยอดเขาลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ มีหนานหรือชั้นถึง 19 ชั้น เช่น หนานผึ้ง หนานน้ำรวง หนานดาดฟ้า และหนานสอยดาว เป็นหนานที่สูงสุดประมาณ 1,300-1,400 เมตร พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ของไทยเคยเสด็จประพาสน้ำตกแห่งนี้ คือพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 คือ “จปร.” และ “วปร.”
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4016 ประมาณ 9 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4015 ไปอีก 20 กิโลเมตร ทางเข้าน้ำตกอยู่ทางขวามือ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกะโรม ระยะทาง 2 กิโลเมตร และเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกรุงชิง ระยะทาง 3.8 กิโลเมตร ทั้ง 2 เส้นทางสามารถเดินเองหรือมีเจ้าหน้าที่นำก็ได้
อุทยานมีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์บริการ สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80230 โทร. 0 7535 4839

น้ำตกพรหมโลก

 

อยู่ตำบลพรหมโลก ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4016 (นครศรีธรรมราช-พรหมคีรี) ถึงกิโลเมตรที่ 20 มีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวง 4132 อีกประมาณ 5 กิโลเมตร จัดว่าเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีลานหินกว้างและสวยงามแห่งหนึ่ง มีต้นน้ำจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลลงมาบนแผ่นหิน 4 ชั้น (หนาน) ได้แก่ หนานบ่อน้ำวน หนานวังไม้ปัก หนานวังหัวบัว หนานวังอ้ายแล สายน้ำไหลผ่านหมู่ไม้นานาพันธุ์ริมเชิงเขา แล้วไหลไปเป็นคลองท่าแพและลงสู่อ่าวไทยที่ตำบลปากพูน

น้ำตกอ้ายเขียว หรือในเขียว

อยู่ ตำบลทอนหงส์ ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 30 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 4016 ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกพรหมโลก แต่เลยไปจนถึงกิโลเมตรที่ 24 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากเขาหลวงเช่นกัน มีทั้งหมด 15 ชั้น เช่น หนานช่องไทร หนานบังใบ หนานไม้ไผ่ หนานเสือผ่าน หนานบุปผาสวรรค์ หนานหินกอง หนานหัวช้าง หนานไทรกวาดลาน หนานฝาแฝด สภาพทั่วไปยังคงเป็นป่าทึบ สองข้างทางเข้าน้ำตกเป็นสวนพลู ชาวนครเรียกว่า “พลูปากหราม” เพราะมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม การเดินทางไปชมน้ำตกควรจะไปในช่วงหน้าฝนเพราะน้ำจะไหลแรงเป็นสายสีขาวจากผา สูง ดูสดชื่น และหากจะชมทิวทัศน์ยอดเขาหลวงซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร ควรไปชมที่น้ำตกแห่งนี้

พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติเพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง


เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่ดำเนินโครงการพื้นที่ลุ่มน้ำปาก พนัง ประกอบด้วยห้องทรงงานส่วนพระองค์ ห้องประชุมและห้องนิทรรศการปากพนังในอดีต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ โทร. 0 7551 7933, 0 7551 7534

ชายทะเลปากพนังและแหลมตะลุมพุก

เป็น สถานที่ซึ่งอยู่บริเวณตอนบนของอำเภอปากพนัง ด้านที่ติดกับทะเลด้านใน (อ่าวนครฯ) มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่ ส่วนด้านนอกที่ติดกับอ่าวไทยเป็นหาดทรายและมีต้นสนขึ้นเป็นแนวยาว เป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์มหาวาตภัยครั้งใหญ่จากพายุโซนร้อนแฮร์เรียตพัดถล่ม แหลมตะลุมพุก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ระดับน้ำสูง 5 เมตร กำลังลม 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คลื่นสูง 6.8 เมตร มีชาวแหลมตะลุมพุกสูญหายกว่า 1,300 คน ลักษณะของชายหาดปากพนังเป็นชายหาดยาวไปตามชายฝั่งทะเล มีแหลมตะลุมพุกเป็นแหลมทรายรูปจันทร์เสี้ยวยื่นไปในอ่าวไทย สามารถขับรถไปจนถึงปลายแหลมได้ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4013 (นครศรีธรรมราช-ปากพนัง) มีทางแยกเข้าสู่แหลมตะลุมพุก ประมาณ 16 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางมีการทำนากุ้งสองข้างทางสลับกับแนวป่าชายเลน

อุทยานแห่งชาติเขานัน

 

ห่างจากอำเภอท่าศาลา 30 กิโลเมตร อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 436 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล และกิ่งอำเภอนบพิตำ นอกจากนี้ ยังมีอาณาเขตที่ครอบคลุมเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขานัน และเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิงบางส่วน ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแนวติดต่อมาจากอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นป่าต้นน้ำของคลองหลายสาย อุทยานมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
น้ำตกสุนันทา เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความงดงามตามธรรมชาติ สายน้ำไหลจากหน้าผาชันลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง และไหลลงสู่ลำคลองกลาย ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญในเขตอำเภอท่าศาลา สามารถจัดกิจกรรมล่องแพตามลำน้ำได้ในช่วงฤดูน้ำหลาก
น้ำตกกรุงนาง เป็นน้ำตก 3 ชั้น ขนาดกลาง แต่ละชั้นสูงประมาณ 30 เมตร ตั้งอยู่ที่บ้านสวนปราง แยกจากเส้นทางไปบ้านปากลง เป็นทางลูกรังใช้ได้ตลอดปี
น้ำตกคลองปาว เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ เป็นต้นกำเนิดของคลองกลาย ตลอดลำคลองกลายมีโขดหินสวยงาม การเดินทางใช้เส้นทางไปบ้านปากลงเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขานัน ที่ ขน. 1(คลองกลาย) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อประมาณ 1 กิโลเมตรถึงน้ำตก
อุทยานมีสถานที่กางเต็นท์บริการนักท่องเที่ยว โดยทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน ตู้ ป.ณ. 51 อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 จนข้ามคลองกลายผ่านบ้านสระแก้ว อำเภอท่าศาลา หลักกิโลเมตรที่ 110 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านปากเจา เข้าสู่ที่ทำการอุทยานประมาณ 15 กิโลเมตร
ยอดเขาหลวง

มีกิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติตามเส้นทางบ้านคีรีวง-ยอดเขาหลวง ซึ่งมีความสูง 1,835 เมตร ใช้เวลาในการเดินศึกษาท่องเที่ยว 3 วัน 2 คืน เสียค่าใช้จ่ายคนละ 1,500 คน การเดินไม่ควรจะเกินครั้งละ 15 คน ช่วงเดือนที่เหมาะจะเดินป่ายอดเขาหลวง คือเดือนมกราคม-มิถุนายน ผู้สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานบ้านคีรีวง โทร. 0 9501 2706

อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้<br />

เนื้อที่ ของอุทยานฯ ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเล เกาะแก่ง ภูเขา และพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอำเภอขนอมทั้งหมด รวมทั้งพื้นที่ทางทะเลสาบบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ประกอบไปด้วยเกาะน้อย เกาะวังใน เกาะวังนอก เกาะแตน เกาะราบ เกาะท่าไร่ เกาะผี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอ่าวขนอม อ่าวท้องท่าค่ำ อ่าวท้องหลาง อ่าวท้องหยี อ่าวท้องยาง และภูเขาต่างๆ เช่น เขาพลายดำ เขาผีหงาย เขาคอ เขาเพลา เขาดาดฟ้า เป็นต้น

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่
จุดชมทิวทัศน์เขาดาดฟ้า สามารถชมวิวดวงอาทิตย์ขึ้นและตกได้ ชมวิวหมู่เกาะแตน ชมวิวสภาพสัณฐานของเกาะสมุย ชมวิวสภาพป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ของเขาดาดฟ้า ดูนกป่านานาชนิด มีถนนราดยางเข้าถึงจุดชมวิว น อยู่ห่างจากอำเภอขนอม 15 กิโลเมตร

ถ้ำเขาวัง ทางเข้าถ้ำเป็นโพรงเล็กๆ แต่ภายในจะพบกับหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกๆ แตกต่างกันมากมาย สร้างความตื่นตาตื่นใจ การเดินทางจากอำเภอขนอมใช้เส้นทางขนอม-ดอนสัก ไปประมาณ 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตรงสภาตำบลควนทองเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร เลี้ยวขวาอีก 700 เมตร ถึงเชิงเขา เดินขึ้นบันไดไปราว 100 เมตรก็จะถึงปากถ้ำ

น้ำตกน่านไผ่ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมี 3 ชั้น ไหลลดหลั่นลงมามีแอ่งน้ำที่ลึกและกว้าง อยู่ห่างจากอำเภอสิชล 9 กิโลเมตร

เกาะในพื้นที่อุทยานฯ ประกอบด้วย เกาะต่าง ๆ 8 เกาะ มีชายหาดที่สวยงาม บางเกาะมีปะการังที่สวยงาม เช่น ปะการังก้อน ปะการังเขากวางแบบแผ่น ปะการังแบบกิ่ง สามารถดำน้ำตื้นดูปะการังได้
ป่าชายเลนคลองขนอม ป่าชายเลนคลองขนอม ในเขตตำบลขนอม ตำบลควนทอง และตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน การเดินทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4014 สู่อำเภอขนอม เมื่อผ่านตลาดบ้านบางโหนด เลี้ยวซ้ายประมาณ 100 เมตร ก็จะถึงบริเวณที่ทางอุทยานแห่งชาติจัดให้มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชาย เลนให้ชมพรรณไม้แปลกๆ ของป่าชายเลน หรือจะนั่งเรือของชาวประมงเข้าไปตามคลองขนอมเพื่อชมป่าชายเลนผืนใหญ่และ หิ่งห้อยสองฝั่งคลอง

หาดขนอม อยู่ห่างจากตัวอำเภอขนอมประมาณ 1.5 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4041 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 401 ประมาณ 17 กิโลเมตร ผ่านตลาดสุขาภิบาลขนอมประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นจึงเลี้ยวขวาเข้าถึงตัวหาดขนอม ซึ่งเป็นชายทะเลที่สวยงาม ยาวติดต่อกัน 2-3 หาด คือ หาดในแปร็ด หาดในเพลา และหาดปากน้ำ ซึ่งรวมกันเรียกว่า “หาดหน้าด่าน” เป็นหาดทรายยาวสลับโขดหินตั้งอยู่ระหว่างเขาที่ยื่นไปในทะเลทั้งด้านเหนือ และด้านใต้ ริมฝั่งขนอมมีชายหาดน้อยใหญ่เรียงรายอยู่หลายแห่ง มีน้ำทะเลใสสะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำมาก ถ้าใช้ตำแหน่งที่ปากคลองขนอมไหลลงสู่ทะเลเป็นหลัก บริเวณทางตอนเหนือคลองขึ้นไปมีหาดทรายที่ต่อเนื่องกันได้แก่ หาดท้องชิง หาดแฝงเภา หาดท้องโหนด หาดท้องเนียน หาดนางกำ ส่วนทางตอนใต้ของคลองมีชายหาดที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองนคร คือ หาดในเพลา เป็นหาดทรายสีขาวหม่นยาวโค้งเป็นวงพระจันทร์ ยาวถึง 18 กิโลเมตร บริเวณหาดมีรีสอร์ทที่พักเอกชนตั้งอยู่เรียงราย

บ่อน้ำจืดธรรมชาติในทะเล อยู่บริเวณเกาะท่าไร่ เป็นบ่อน้ำจืดธรรมชาติอยู่ใต้ทะเล ตั้งอยู่ในเขตตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่องรูเล็ต ในเขตตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นรอยต่อของอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด เหมาะแก่การเที่ยวชมธรรมชาติของสัตว์นานาชนิด บางครั้งสามารถพบเห็นปลาโลมาในบริเวณนี้
การเดินทาง
• จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช) ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าสู่อำเภอขนอมตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4041 ไปประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
• จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (นครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี) ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าสู่อำเภอขนอมตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4041 ไปประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ หมู่ 1 ต.ขนอม อ. ขนอม จ. นครศรีธรรมราช 80210 โทรศัพท์ 0 7568 5269 หรือเว็บไซต์ www.dnp.go.th

หมายเหตุ : น้ำตกท่าน้อย น้ำตกหินลาด น้ำตกหนานไผ่ น้ำตกกลางทอง และเกาะต่างๆ เช่น เกาะแตน เกาะราบ เกาะวังนอก เกาะวังใน ปิดให้บริการระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม ของทุกปี

เขาพลายดำ


แหล่ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งทะเลใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งใน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช 86 กิโลเมตร มีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง คือ หาดหินงาม หาดในเพลา เขาพลายดำวันนี้ยังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ สถานที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าและสัตว์ป่า

แหล่งท่องเที่ยวเขาพลายดำ ได้แก่

- สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่านครศรีรรมราช
- ทุ่งใสนุ่น จุดชมนกนานาชนิดในยาวเช้า - เย็น
- หินงามรางทัด แหล่งตกปลาและสถานที่พักผ่อน
- หาดทุ่งใส หาดทรายที่ขาวสะอาดมีทิวสนเรียงเป็นแนวยาวตลอดริมหาด
- ผาพลายดำ จุดชมวิวทิวทัศน์ที่งดงามตระการตา
- น้ำตกหนานไผ่ ลักษณะเป็นทางลาดซึ่งเรียกว่า 'หนาน' ด้านบนของน้ำตกเป็นป่าไผ่เรียกติดปากกันว่า 'หนานไผ่'
- น้ำตกหนานเตย ก้อนหินเรียงตัวกันมองเห็นเป็นรูปร่างต่าง ๆ
- อ่าวท้องยาง อ่าวที่มีความสวยงามท่ามกลางหุบเขา
- วังโลมา อ่าวที่ติดกับภูเขาสูงชัน ก้อนหินน้อยใหญ่เรียงรายเป็นทางยาว
- หินกอง เป็นลักษณะการเรียงตัวของหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่บนอ่าวท้องยาง มีปลาชุกชุม
- จุดชมผีเส้อ เป็นจุดที่รวบรวมผีเสื้อหลายชนิดไว้ด้วยกัน เหมาะสำหรับการศึกษาทางธรรมชาติของผีเสื้อ
- เขาหลัก เป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็ก มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ภายในเขาหลักประกอบด้วย ถ้ำ 3 แห่ง ได้แก่ ถ้ำสว่าง ภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดกลาง มีหินงอก หินย้อยที่เพดาน มีช่องให้แสงสว่างเข้า สามารถมองเห็นลักษณะภายในถ้ำได้ดีบางส่วน ถ้ำไม้ค้ำ มีขนาดเล็ก ความเชื่อก่อนเข้าถ้ำ ต้องหาไม้แข็งแรงมาค้ำปากถ้ำเอาไว้ เพื่อป้องกันการปิดของปากถ้ำ ถ้ำน้ำย้อย ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย ที่สวยงาม ซึ่งเกิดจากชั้นหินปูน ทางขึ้นจะเป็นทางชัน
-เขาฑูคาน เป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็ก เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์เขาฑูคาน มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

สัมผัสกิจกรรมบนเขาพลายดำ ได้แก่
- สัมผัสแสงตะวันยามรุ่งอรุณ
- ขับรถกินลม ชมวิว สัมผัสทัศนียภาพที่งดงาม
- ขับขี่จักรยานเสือภูเขา บนเส้นทางที่ท้าทาย
- ขี่ม้าชมวิว บนสันเขา แสนเพลินใจ
- เช่าเรือไปตกปลา หรือ ลัดเลาะชมชายหาด ตามมุมต่าง ๆ ของทะเลไทย
- ชมฝูงผีเสื้อหลากชนิด หลายเผ่าพันธุ์
- ชมนกป่า สีสันสดสวย
- ชมฝูงปลาโลมา เล่นน้ำตามริ้วคลื่น
- ชมและศึกษาพันธุ์ไม้ เขตป่าดิบชื้นที่หายาก
- เดินป่าผจญภัย ด้วยเส้นทางที่ธรรมชาติสรรสร้างมาให้อย่งท้าทาย
- เล่นน้ำตก ชมนกน้ำ ยามบ่ายขึ้นเขา นั่งห้าง ส่องสัตว์ป่ายามค่ำคืน
- นอนตากลม ชมดาวทะเล ยามอัสดง

ที่พักบริเวณเขาพลายดำ

สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่านครศรีธรรมราช (บ้านพัก / เต็นท์) โทร. 0-1396-2854
เขาพลายดำรีสอร์ท (บ้านพัก / เต็นท์) โทร. 0-7535-4490

การเดินทางสู่เขาพลายดำ

- จากสุราษฎร์ธานี ตามทางหลวงหมายเลข 401 ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง, รถตู้, รถยนต์ ถึงบ้านตลาดเสาร์ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนตลาดเสาร์ - ชายทะเล ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงสี่แยกทุ่งใส แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 5 กิโลเมตร
- จากนครศรีธรรมราช ใช้ทางหลวงหมายเลข 401 นครศรีธรรมราช –สุราษฎร์ธานี ถึงอำเภอสิชล ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ผ่านตลาดสิชล ประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เขาพลายดำ ระยะทาง 15 กิโลเมตร

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใส ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80120 โทรศัพท์ 0-7537-6110, 0-7537-6115 โทรสาร 0-7537-6110, 0-7537-6115 ต่อ 104
พระพุทธสิหิงค์

ประดิษฐาน ภายในหอพระพุทธสิหิงค์บริเวณศาลากลางจังหวัด เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากษัตริย์ลังกาโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และมาอยู่ประเทศไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ในประเทศไทยมีอยู่ 3 องค์ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หอพระพุทธสิหิงค์นี้เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าพระยานคร (น้อย) ภายในหอแบ่งเป็นสองตอน ตอนหน้าเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธสิหิงค์และพระลากเงิน พระลากทอง ส่วนหอตอนหลังเป็นที่บรรจุอัฐิของสกุล ณ นคร

พระวิหารสูง หรือหอพระสูง

เป็น ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือในบริเวณสนามหน้าเมือง ใกล้สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนราชดำเนิน เรียกชื่อตามลักษณะของการก่อสร้างของพระวิหารซึ่งสร้างบนเนินดินที่สูงกว่า พื้นปกติถึง 2.10 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงประวัติอย่างแท้จริง แต่สามารถสันนิษฐานจากลักษณะของสถาปัตยกรรม และจิตรกรรมฝาผนังว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 23–24 หรือในสมัยอยุธยาตอนปลาย

กำแพงเมือง

อยู่ ริมถนนราชดำเนิน เป็นกำแพงที่ซ่อมขึ้นใหม่ตามรูปเดิมในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับการบูรณะเพิ่มเติมขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2533 เป็นแนวขนานไปกับคูเมือง ตั้งแต่ป้อมประตูชัยเหนือ หรือประตูชัยศักดิ์ ไปทางตะวันออก ยาวประมาณ 100 เมตร

อนุสาวรีย์วีรไทย (ค่ายวชิราวุธ)

ตั้งอยู่ในค่ายวชิราวุธ (กองทัพภาคที่ 4) ถนนราชดำเนิน เป็นอนุสาวรีย์ที่หล่อด้วยทองแดงรมดำ เป็นรูปทหารเตรียมรบสองมือจับปืนติดดาบเตรียมแทง ชาวบ้านเรียกว่า “จ่าดำ” หรือ “เจ้าพ่อดำ” สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ของทหารไทยในภาคใต้ที่เสียชีวิตในการปะทะกับทหาร ญี่ปุ่น ในสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484
นอกจากนี้ ในค่ายวชิราวุธยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ
พิพิธภัณฑ์วีรไทยเฉลิมพระเกียรติ เฉลิมพระชนมายุ 72 พรรษา ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับอนุสาวรีย์วีรไทย เป็นอาคารชั้นเดียวที่ใช้ในการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามมหาเอเชีย บูรพา ครั้งกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ของไทย เมื่อ พ.ศ. 2484

สอบถามเพิ่มเติมที่ กองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร 0 7538 3444-5

สนามหน้าเมือง

ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นสนามรบในอดีต ต่อมากลายเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมทั้งของรัฐและราษฎร เช่น เคยใช้เป็นที่สร้างพลับพลารับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลต่าง ๆ เป็นที่ประกอบพิธีสงกรานต์ ฝึกทหาร และยุวชนทหาร และจัดงานประเพณีที่สำคัญของชาวนครรวมทั้งงานรื่นเริงอื่น ๆ บริเวณที่อยู่ใกล้หอพระสูงมีอาคารสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่สร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2469 ชื่ออาคารศรีธรรมราชสโมสร ปัจจุบันคือ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 2 สมาคมสถาปนิกสยามได้มอบรางวัลดีเด่นด้านอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ประจำปี 2537 และทางด้านหลังสำนักงาน ททท. คือ ถนนท่าช้าง ได้ชื่อว่าเป็นถนนหัตถกรรม เพราะมีอาคารร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมนานาชนิด อันเป็นเอกลักษณ์ เก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราชมาช้านาน

สำนักศิลปและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช

ตั้ง อยู่ในสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางนครศรีธรรมราช-พรหมคีรี (ทางหลวงหมายเลข 4016) ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีที่ขุดค้นพบในนครศรีธรรมราช ซึ่งได้จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านในอดีต ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมืองในสมัยต่างๆ จนมาเป็นอาณาจักรศรีวิชัย ทั้งยังเป็นศูนย์อนุรักษ์และฟื้นฟูมหรสพพื้นบ้าน เป็นแหล่งค้นคว้ารวบรวมทางด้านภาษาและวรรณกรรม รวมทั้งคติชนวิทยาที่สำคัญได้แก่ข้อความจากศิลาจารึกที่ค้นพบที่เขาช่องคอย และโบราณวัตถุที่ชุมชนโบราณวัดโมคลาน เป็นหลักฐานที่สำคัญที่ระบุว่าเมืองนครศรีธรรมราชสร้างขึ้นเมื่อใด ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้แห่งนี้เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00–16.00 น. โทร. 0 7539 2089 สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดชายนา

ตั้ง อยู่ที่ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง หลังวัดท้าวโคตร เป็นสถานที่ที่มีการสอนวิปัสสนากรรมฐานแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้เริ่มดำเนินการ เพื่อให้เป็นสาขาของวัดสวนโมกข์ บรรยากาศในวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่

ศาลาโดหก หรือศาลาประดู่หก

อยู่ ริมถนนราชดำเนิน เดิมเป็นศาลานอกกำแพงเมืองตรงประตูชัยเหนือ อันเป็นที่พักของคนเดินทาง ซึ่งเข้าเมืองไม่ทัน เพราะประตูเมืองปิดเสียก่อน ศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างต้นประดู่ (ต้นโด) หกต้น ชาวนครเรียกว่า “หลาโดหก” ศาลาหลังที่มีอยู่ทุกวันนี้สร้างขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยอยู่ริมถนนราชดำเนิน ส่วนต้นประดู่ทั้งหกต้นได้ตายไปหมดแล้ว ทางเทศบาลจึงปลูกขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงประดู่ทั้งหกต้น
หอพระนารายณ์

ตั้ง อยู่ถนนราชดำเนิน ตรงข้ามหอพระอิศวรเป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์อีกแห่งหนึ่ง อาคารหอพระนารายณ์เดิมไม่สามารถสืบทราบรูปแบบได้แล้ว สิ่งที่พบภายในหอพระนารายณ์ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์สลักจากหินทรายสีเทาทรงหมวกรูปกระบอกปลายสอบและพระหัตถ์ขวา ทรงสังข์ มีอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 10–11 นับเป็นเทวรูปที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช โบราณวัตถุที่ตั้งแสดงอยู่ในหอพระนารายณ์ขณะนี้คือ เทวรูปพระนารายณ์จำลองจากองค์จริงที่พบในแหล่งโบราณคดีแถบอำเภอสิชล

หอพระอิศวร

อยู่ริมถนนราชดำเนิน เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวร และฐานโยนิ รวมทั้งเทวรูปสำริดอีกหลายองค์ อาทิ เทวรูปศิวนาฏราช พระอุมา และพระพิฆเนศ ปัจจุบันเทวรูปสำริดในหอพระอิศวรเป็นของจำลอง ของจริงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด)

อยู่ ที่ถนนราชดำเนิน เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 1,257 ไร่ ตั้งอยู่หลังสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ “สวนราชฤดี” ในสมัย ร.5 ภายในสวนมีสวนสัตว์เปิด สวนนกนานาชนิด สวนสุขภาพ รวมทั้งทะเลสาบซึ่งเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำที่อพยพมาจากถิ่นอื่นในช่วง มกราคมถึงมีนาคม ของทุกปี และยังมีอาคารที่มีการจัดแสดงเป็น "พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ"

วัดสวนป่าน</p>

อยู่ ใกล้สามแยกหอนาฬิกา ถนนศรีธรรมโศก ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับ สมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จมาประทับที่วัดสวนป่าน เมื่อครั้งเสด็จกลับจากประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2441 และภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ผลงานของ แนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปของนครศรีธรรมราช วาดเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ผู้สนใจชมต้องติดต่อกับทางวัดเพื่อเปิดประตูโบสถ์

วัดสวนหลวง

ตั้ง อยู่ริมถนนราชดำเนิน ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อยู่ภายในเขตเมืองพระเวียงอันเป็นเมืองโบราณ วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามนามว่า สมเด็จเจ้าแม่ลาวทอง ปางอุ้มบาตร และเป็นพระพุทธรูปสำคัญในงานประเพณีลากพระในเทศกาลออกพรรษา โดยจะอัญเชิญสมเด็จเจ้าแม่ลาวทองประดิษฐานบน “นมพระ” หรือ “พนมพระ” (บุษบก) และชักลากไปทั่วเมืองเพื่อให้พุทธศาสนานิกชนได้ร่วมบุญด้วยการ “ลากพระ” ตามประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมา และพระอุโบสถในวัดสวนหลวงนั้นเป็นพระอุโบสถสมัยอยุธยา โดยมีภาพปูนปั้นฝีมือช่างท้องถิ่นเกี่ยวกับพุทธประวัติประดับอยู่ผนังภายใน พระอุโบสถ
เจดีย์ยักษ์

อยู่ ริมถนนศรีปราชญ์ ข้างสำนักงานเทศบาลนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์สูงใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเจดีย์พระบรมธาตุ ทรงเจดีย์เป็นแบบลังกา สันนิษฐานว่าชาวลังกาที่สร้างพระบรมธาตุเป็นผู้สร้าง ราวพ.ศ. 1800–1900 มีการซ่อมสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ก่อนองค์เจดีย์ทรุดโทรมมากและยอดหัก กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมในปี พ.ศ. 2518–2522 ด้านหน้าพระเจดีย์มีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นนั่งองค์ใหญ่ สมัยอยุธยา เรียกพระเงินหรือหลวงพ่อเงิน
เก๋งจีนวัดประดู่

ตั้ง อยู่ในบริเวณวัดประดู่ ถนนราชดำเนินใกล้สนามกีฬาจังหวัด สร้างสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีนเช่นเดียวกับเก๋งจีนวัดแจ้ง โดยเป็นที่ประดิษฐานอัฐิเจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้เป็นบุตรของเจ้าพระยานคร (หนู)

เก๋งจีนวัดแจ้ง

ตัว อาคารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปทรงอย่างอาคารจีนภายในประดิษฐานบัวบรรจุอัฐิ ของเจ้าพระยานคร (หนู) และหม่อมทองเหนี่ยวผู้เป็นชายา ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณซึ่งอยู่ในวัดแจ้ง ถนนราชดำเนิน

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations