www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

PHICHIT

PHICHIT : General Information

      Situated in the Lower North some 345 kilometres from Bangkok, Pichit is accessible by both road and rail. Nurtured by two rivers, the Yom and the Nan running parallel to one another north to south, the land is agriculturally fertile. Once the site of an ancient town dating back almost a thousand years ago, Phichit has played in a major role in the history of both Sukhothai and Ayutthaya.
avis


       Known as the land of the crocodiles, it has been home to this ferocious reptile which has thrived in its waters. There are today several fresh-water crocodile farms. Phichit features in the Thai epic Krai Thong composed by King Rama II which tells of Chalawa

      Phichit is administratively divided into the following districts: Muang, Pho Prathap Chang, Taphan hin, Bang Mun Nak, Pho Thale, Sam Ngam, Wang Sai Phun, Thap Khlo, Sak Lek, Dong Charoen, Bueng Na Rang and Wachirabarami.

PHICHIT : How to get there

By Car

1. From Bangkok, take Highway No. 1 and Highway No. 32 to Nakhon Sawan, and then proceed to Phichit via Highway No. 1118 (passing Chum Saeng, Bang Mun Nak and Taphan Hin), a total distance of 345 kilometres.

2. From Bangkok, take Highway No. 1 and Highway No. 32 to In Buri, and then use Highway No. 11 to Phichit via Tak Fa, Nong Bua, Khao Sai and Sak Lek, a total distance of 344 kilometres.

3. From Bangkok, take the same route as (2). When arriving Khao Sai, turn into Highway No. 113 to Phichit via Thap Khro and Taphan Hin.


By Bus

Both air-conditioned and non air-conditioned buses depart from Bangkok's Mo Chit 2 Bus Terminal to Phichit every day. Call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information.


By Rail

Regular Trains departs from Bangkok's Hua Lamphong Railway Station to Phichit many times daily. Call 1690 or visit www.railway.co.th for more information.

PHICHIT : Activities

Wat Pho Prathap Chang

An old temple in Pho Prathap Chang district is Wat Pho Prathap Chang, located about 27 kilometres from town on route #1068 to the south. It was built by Phra Chao Sua, an Ayutthaya king, in 1701 at a site reputed to be his own birth-place. Although abandoned for almost 300 years, the remaining traces are indicative of past splendors, such as a huge Vihan with its walls still standing but now roofless, and small Chedis scattered over the site. The entire site is surrounded by double-walls and huge trees, some of which are over 200 years old.  

Wat Tha Luang

Built on the west bank of the Nan River within town limit in 1845, Wat Tha Luang today houses Luang Pho Phet, a Chiang Saen-style Buddhist statue cast in bronze.

Utthayan Mueang Kao Pichit

About 7 kilometres from town on the Phichit-Wang Chick road (no. 1068) is Utthayan Mueang Kao Pichit. The park features an ancient town dating back to more than 900 years. Most of the structures discovered were built during the Sukhothai and Ayutthaya periods. The old town is surrounded by city walls and moats. During the Sukhothai period it was called Muang Sa Luang situated on the original bank of the Nan River before the river changes its course, which was the reason the town itself was moved to the new bank in circa 1881 during the reign of king Rama V. In the town centre is Wat Phra Si Rattana Mahathat with its large bell-shaped Chedi inside of which have been found hundreds of votive tablets. In front of the Chedi are remains of a Vihan. There are score of small Chedis scattered around the site.

Ku Mahathat

The Khmer ruins is located in Ban Khwao. Built in the 13th Century to serve as a hospital during the reign of King Chaivoraman VII, the laterite ruins was created in Bayon style in rectangular shape. With 8 metres high and 4 metres wide, the ruins houses two gods made from terra cotta, sitting legs crossed with conchs in hands. The ruin is situated in the embrace of laterite wall and it can be accessed via eastern gopura (gate) only. There is a small building located southeast of the wall. The eastern gate is the only real gate while other three are fake doors. Door frames and lintels made of sandstone. The site is already excavated and renovated by the Department of Fine Art.

How to get there, From Maha Sarakham city, sue Chaeng Sanit Road (highway 23: Maha Sarakham-Roi-Et), for 13 kilometres.

Wat Nakhon Chum

Wat Nakhon Chum is some 9 kilometres from town on the Phichit - Wang Chik road. Built in the Sukhothai period about 800 hundred years ago, the temple features an old Ubosot built with brick and mortar with the upper parts in wood. Instead of windows, there are narrow openings for ventilation throughout the walls, similar to temples of the Ayutthaya period. In the Ubosot is a large Sukhothai-style Buddha statue once used as the principal statue in oath-taking ceremony pledging allegiance to the monarch.

Bueng Si Fai

Bueng Si Fai is a large fresh-water lake to the south of town. It is a Fishery Department's facility to breed fresh-water. Along the banks is a delightfully landscaped park suitable for rest and recreation. The scenery is at its most scenic in the early morning and late afternoon. On the other side of the park is an aquarium exhibiting species of native fish and local fishing equipment. An eye-catching sight is a gigantic, crocodile-shaped structure within which is a space which could be used for meetings.

Taphan Hin

Taphan Hin is the most commercially advanced district of Phichit. Located on the bank of the Nan River some 30 kilometres south of the provincial seat on Highway No.113, it can also be reached via railways. The most prominent sight of the district is the 34 metre-tall golden Buddha statue, the Luang Pho To, at Wat Thewaprasat on the Nan river bank opposite the Tapan Hin market. There are ferry services across the river.

Wat Khao Rup Chang

Wat Khao Rup Chang is located along the Phichit-Taphan Hin road some 15 kilometres from town. On the hilltop is an old, Ayutthaya-style Chedi built of bricks but with its top part now broken. There is also a Mondop, the wall murals of which have largely faded away. The Mondop house a bronze Holy Relic.


Wat Bang Khlan

About 12 kilometres from the district town of Pho Tha-le, or 60 kilometres south of Phichit town, is Wat Bang Khlan. It was the resident temple of the highly revered monk, the late Luang Pho Ngoen. A statue of the Luang Pho Ngoen continues to receive homage from the public. The Chai Bowon Museum inside the temple collects ancient items such as votive tablets, Buddha statues and earthen-wares for display. It is open only on Saturday-Sunday.

พิจิตร : ข้อมูลทั่วไป

ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี
พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ
ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย
ข้าวจ้าวอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

       พิจิตร เมืองพญาชาละวัน ถิ่นกำเนิดนิทานเรื่อง ไกรทอง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีความหมายว่า "เมืองงาม" ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ ในสมัยสุโขทัยปรากฎในศิลาจารึกหลักที่1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและในศิลา จารึกหลักที่8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ความกว้างจากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกประมาณ 72 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสามง่าม อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ อำเภอวชิรบารมี อำเภอสากเหล็ก อำเภอคงเจริญ และอำเภอบึงนาราง

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ศาลากลางจังหวัด โทร. 0 5661 1199, 0 5661 2319
  2. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5661 1611
  3. ที่ว่าการอำเภอเมืองพิจิตร โทร. 0 5661 1147
  4. สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5661 3436
  5. โรงพยาบาลพิจิตร โทร. 0 5661 1355, 0 5661 1230
  6. สถานีรถไฟ โทร. 0 5661 2136 สถานีขนส่ง โทร. 0 5661 1622
  7. สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร โทร. 0 5661 1206

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดพิจิตร http://www.phichit.go.th


พิจิตร : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. พิจิตร

รถยนต์
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ - ชุมแสง - บางมูลนาก - ตะพานหิน - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 1118) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ 345 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางตากฟ้า - เขาทราย - สากเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข 11) และเข้าสู่จังหวัดพิจิตรที่กิ่งอำเภอสากเหล็ก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 111) รวมระยะทางประมาณ 344 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางสายตากฟ้า - เขาทราย (ทางหลวงหมายเลข 11) แยกเข้าเส้นทางเขาทราย - ตะพานหิน (ทางหลวงหมายเลข 113) แยกเข้าเส้นทางตะพานหิน - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 113) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร ระยะทางประมาณ 338 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ - พิษณุโลก (ทางหลวงหมายเลข 117) ถึงอำเภอสามง่าม แยกเข้าเส้นทางสามง่าม - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 115) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทาง 360 กิโลเมตร

รถไฟ
การรถไฟ แห่งประเทศไทย มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไป - กลับ กรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2220 4334, 0 2220 4444,1690 หรือ www.railway.co.th สถานีรถไฟพิจิตร โทร. 0 5661 2136

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งปรับอากาศและธรรมดา ไป - กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852-66 หรือwww.transport.co.th สถานีขนส่งพิจิตร โทร. 0 5661 1622

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.พิจิตร
การเดินทางจากอำเภอเมืองพิจิตรไปยังอำเภอต่าง ๆ


อำเภอสามง่าม 18 กิโลเมตร
อำเภอสากเหล็ก 20 กิโลเมตร
อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 25 กิโลเมตร
อำเภอวชิรบารมี 26 กิโลเมตร
อำเภอตะพานหิน 28 กิโลเมตร
อำเภอวังทรายพูน 31 กิโลเมตร
อำเภอทับคล้อ 44 กิโลเมตร
อำเภอบางมูลนาก 50 กิโลเมตร
อำเภอโพทะเล 66 กิโลเมตร
อำเภอดงเจริญ 78 กิโลเมตร
อำเภอบึงนาราง 86 กิโลเมตร

พิจิตร : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร อยู่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า สร้างในสมัยพระยาโคตรบอง ประมาณปี พ.ศ. 1601 ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นเมืองโบราณ ประกอบไปด้วย กำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมารซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะเป็นที่พักผ่อน หย่อนใจ และภายในอุทยานยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจ คือ

ศาลหลักเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พ่อปู่

วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนื้เมื่อ พ.ศ.2478 ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆ ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา 2 ชั้น มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่

ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะเป็นช่องขุดลึกลงไปในดิน มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่งก็ ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย

เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยุ่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะแต่ตื้นเขิน สันนิษฐานว่าแต่เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก ทางหลวงหมายเลข 115 และ ทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 6

ร่องุ่นดงเจริญ (ไร่องุ่นขจรฟาร์ม)

ไร่ องุ่นดงเจริญ (ไร่องุ่นขจรฟาร์ม) ตั้งอยู่ที่ ถนนตลิ่งชัน-บึงสามพัน อยู่ห่างจากขจรฟาร์ม (ฟาร์มนกกระจอกเทศ) ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นไร่องุ่นพันธุ์ดี ในพื้นที่ 200 ไร่ พันธุ์ที่มีชื่อเสียงคือพันธ์แบล็คควีน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทิวทัศน์ที่สวยงามของไร่องุ่น ได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกองุ่นทั้งสำหรับทำไวน์ องุ่นทานเป็นผลสดๆ ชมโรงบ่มไวน์ ที่ไร่องุ่นนี้ จะออกผลให้ซื้อทานได้ในช่วง มีค.-เมย. กค-สค. และช่วงที่ออกผลดีที่สุด คือช่วงพย.-ธค. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 5663 3555-6, 0 2673 1153-4, 08 1675 4345

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 ถึงแยกบางมูลนาก-ตากฟ้า-นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 13 กม.

วัดนครชุม

วัด นครชุม ตั้งอยู่บนถนนสายพิจิตร – สามง่าม - วังจิก (ทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 9 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย มีอายุราว 800 ปี ด้านตะวันออกมีพระอุโบสถเก่าแก่มาก ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน เครื่องบนเป็นไม้โดยใช้สลักไม้แทนตะปู มีช่องระบายลมแทนหน้าต่าง พระอุโบสถหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดท่าหลวง ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ลักษณะแบบสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัต ยาในสมัยก่อน

บึงสีไฟ

บึง สีไฟเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง และชมพระอาทิตย์ตก กลางบึ่งสีไฟ ในยามเย็น บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร นอกจากนั้นภายในบึ่งสีไฟยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2527 มีเนื้อที่ 170 ไร่ เป็นสวนพักผ่อนริมบึงสีไฟ มีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่ที่จัดไว้เป็นที่พักย่อน นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารปลาและชมอาทิตย์อัสดง

รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้อยู่ด้านหน้าบึงสีไฟ ที่มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ภายในตัวจระเข้นี้ทำเป็นห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่ง

สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทุกวันไม่เว้นวันหยุด ราชการ วันธรรมดาตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. โทร. 0 5661 1309 www.fisheries.go.th/if-phichit

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ ที่ชาวบ้านผลิตขึ้นเอง เช่น เครื่องสานจากผักตบชวา ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขาวแก้วสี่รส ฯลฯ เปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.

วัดห้วยเขน

วัด ห้วยเขน ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยเขน อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร ไปตามถนนสายบางมูลนาก - วังงิ้ว ภายในวัดมีโบสถ์เก่าซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพของเก่าโบราณที่ยังไม่มีการตกแต่งเพิ่มเติมใดๆ


วัดโรงช้าง

ตั้งอยู่ที่ตำบลโรงช้างทางทิศใต้ของตัวเมือง ติดกับถนนพิจิตร – สามง่าม - วังจิก (ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 5 วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระยาโคตรบองขึ้นครองราชย์ สถานที่แห่งนี้เรียกว่า กองช้าง เพราะเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาได้เรียกกันเพี้ยนไปเป็น คลองช้าง จนกระทั่งทางราชการได้เปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโรงช้าง บริเวณวัดโรงช้างมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่กลางแจ้ง 3 องค์ เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางห้ามญาติ และปางไสยาสน์ สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือเจดีย์องค์ใหญ่ของวัด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 บริเวณรอบองค์เจดีย์มีตู้พระไตรปิฎก จำนวน 108 ตู้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทำบุญใส่ตู้เพื่อเป็นสิริมงคล และภายในองค์เจดีย์ได้สร้างเป็นห้องลับใต้ดินเพื่อใช้สำหรับเก็บแผ่นอิฐ จารึกพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยได้เล็งเห็นว่า ในอนาคตอาจมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่น สงครามนิวเคลียร์ซึ่งอาจทำให้พระไตรปิฏกสูญหายจากโลกได้

วัดท่าหลวง

วัด ท่าหลวงเป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตรเพื่อไปปราบขบถจอมทอง เมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.

วัดโพธิ์ประทับช้าง

วัด โพธิ์ประทับช้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2242-2244 ในสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี(ขุนหลวงสรศักดิ์หรือพระพุทธเจ้าเสือ)พระมหา กษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ณ สถานที่ประสูติของพระองค์
วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำพิจิตรเก่า หน้าวัดมีต้นตะเคียนซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุราว 260 ปี วัดโดยรอบได้ 7 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 7 คนโอบ ภายในวัดมีพระวิหารสูงใหญ่ มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478 นอกจากนี้ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้สร้างอนุสาวรีย์พระพุทธเจ้าเสือไว้เป็นที่ระลึก ข้างที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างอีกด้วย

การเดินทาง วัดนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 27 กิโลเมตร ไปตามถนนสายพิจิตร - วังจิก(ทางหลวงหมายเลข1068) ประมาณ กม.ที่ 12-13 เลี้ยวแยกซ้ายไปทางอำเภอโพธิ์ประทับช้าง (ทางหลวงหมายเลข 1300) ก่อนถึงตัวอำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงวัดโพธิ์ประทับช้าง


วัดพระพุทธบาทเขารวก

วัด พระพุทธบาทเขารวก ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลวังหลุม อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินไปประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีรอยประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี และมี พระอาจารย์โง่น ไสรโย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังจำพรรษาอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธวิโมกข์ปางสมาธิ มอบให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลองที่ทำด้วยไม้ประดู่ใหญ่ที่สุดในโลก และรูปปั้นฤาษีอายุ 1,000 - 1,500 ปี ซึ่งเป็นหินศิลาแลงจากลุ่มแม่น้ำเขิน ภายในวัดยังมีสวนสัตว์ขนาดเล็กซึ่งมีสัตว์หลายชนิดไว้ให้ชมและศีกษาอีกด้วย

พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท

พระ พุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร แท่นสูง 4 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2508 และเสร็จเมือปี พ.ศ. 2513 นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วน และใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกล ทางเข้าวัดอยู่บริเวณเชิงสะพานแม่น้ำน่าน

เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา

เหมือง แร่ทองคำเขาพนมพา บ้านเขาพนมพา หมู่ 7 ตำบลหนองพระ เป็นเนินเขาขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเขาลูกโดดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ เป็นเหมืองทองคำเปิดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดให้ประชาชนเข้าไป ซื้อดินที่ถลุงจากเขาพนมพา นำไปร่อนยังสถานที่ที่ทางองค์การบริหารจังหวัดพิจิตรจัดให้ สำหรับนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมกรรมวิธีการร่อนหาทองคำแบบชาวบ้านได้ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร โทร. 0 5661 6376, 0 5661 2854

วัดหัวดง

วัด หัวดง ตั้งอยู่หมู่ 7 ตำบลหัวดง ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร - ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2413 ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ. 2468 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อวันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง)แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนิลซึ่งมีอายุประมาณ 20 ปีเศษ หลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักและเคารพนับถือเป็น จำนวนมาก

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations