www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

PHRAE

PHRAE : General Information

An old and important community of Northern Thailand, Phrae was founded after Chiang Mai had been established as the capital of the Lanna Thai kingdom. With one of the largest reserves of teak forests in the country, it is located on the banks of the Yom River, 555 kilometres from Bangkok.
avis


       Covering an area about 6,538 square kilometres and surrounded on all sides by mountains with level plains in the middle, Phrae is administratively divided into the following districts: Muang, Sung Men, Den Chai, Long, Wang Chin, Song, Rong Kwang and Nong Muang Khai .

PHRAE : How to get there

By Car

From Bangkok, take Highway No. 1 and Highway No. 11 to Phrae via Nakhon Sawan, Phichit, Phitsanulok and Uttaradit.

By Bus

Transport Co. Ltd. operates regular buses to Phrae at 10 a.m. and 10.30 p.m.. The buses leave Mochit 2 Bus Terminal everyday. For more information, call 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th. Private bus companies are such as Choet Chai Tour; Tel: 0 2936 0199, Phrae Tour, Tel: 0 2936 3720, Sombat Tour, Tel: 0 2936 2496.

By Air

SGA flies from Bangkok to Phrae. Call 0 2644 6099 or visit www.sga.co.th for more information.

PHRAE : AActivities

Wiang Kosai National Park

The Wiang Kosai National Park is about 70 kilometres from the provincial town in Wang Chin district. It can be reached by taking Highway No. 11 (Phrae-Lampang). Then take a left turn toward Wang Chin district and continue for a further 13 kilometres to reach the turn to the park headquarters.

A further 1.5 kilometres onwards are two waterfalls, the Mae Koeng Luang, one kilometer from the headquarters, and the Mae Koeng Noi, 2 kilometres on foot further on. Streams from the falls flow into the Yom River.

Remark : Mae Keng Luang Waterfall close on 1 July - 31 October

Mae Yom National Park

The Mae Yom National Park is in Song district 48 kilometres from town. The terrain is mountainous with deciduous and rich teak forests, probably the densest in the country. Along the Yom River in front of the camping area of the park are the Kaeng Sua Ten rapids, a two-kilometre-long stretch of rock formations and best visited during November-February when the weather is cool and the scenery at its loveliest. Visitors may camp along the river banks.

Remark : Kang Seu Ten close on 1 May - 31 October

Mae Yom National Park

The Mae Yom National Park is in Song district 48 kilometres from town. The terrain is mountainous with deciduous and rich teak forests, probably the densest in the country. Along the Yom River in front of the camping area of the park are the Kaeng Sua Ten rapids, a two-kilometre-long stretch of rock formations and best visited during November-February when the weather is cool and the scenery at its loveliest. Visitors may camp along the river banks.

Remark : Kang Seu Ten close on 1 May - 31 October

Tham Pha Nang Khoi

Another interesting cave is Tham Pha Nang Khoi which is about 40 kilometres north of town on Highway No. 101 at Km. 59 within Rong Kwang district. A 50 metre-long rail leads to the cave mouth. Along the winding tunnels are strangely-shaped stalactites and stalagmites.

At the end of the cave is a stalagmite shaped like a woman holding a small child. In front of the Nang Koi (waiting woman) stone is a heart-shaped stalactite. They are the source of the legend of the love of a woman who waited for her lover until she turned into stone.o:p>

Namtok Huai Rong

Amid cool forested area is the Huai Rong Waterfall. It can be reached by taking Highway No. 101 (Phrae-Rong Kwang) and go on for 60 kilometres northward. Turn left at Km. 78 and proceed on for a further 4 kilometres.

Wat Sa Bo Kaeo

Located on Nam Khu Road next to the city moats is Wat Sa Bo Kaeo, a temple with several exotic Burmese artistic-styled structures and Buddha statues. It is also where Burmese monks who travel to Thailand to study the Buddhist scripture stay.

Wat Phra Non

To the west of Wat Luang is Wat Phra Non near the site of the old city walls. Some of the architectural works include the Chiang Saen-style Ubosot with narrow openings to let in light instead of normal windows. The lintel is made of wood with graceful designs. The eaves over the Vihan are all fretted, a symbol of northern architecture. Inside is a 9 metre-long plaster Reclining Buddha.

Wat Chom Sawan

Just one kilometre from the townhall on Yantrakit Koson Road is Wat Chom Sawan, a Burmese architectural style temple. The building which combines the hall for conducting religious rituals and monk's living quarters is beautifully decorated both in its interiors and exteriors.

The over-lapping roofs are adorned with fine fretworks. Antiquities found here include marble Buddha statues, statues made of woven bamboos coated with lacquer, and Buddha statues made from ivory, as well as ivory scripture slabs with Burmese scripts.

Kaeng Luang Rafting

A leading attraction, Kaeng Luang is located in Tambon Ban Pin, Long district. To get there, go on the Phrae-Lampang road for about 50 kilometres, then take a right turn at Km.69 and continue on for another 7 kilometres. The scenery is lovely and amid the Yom river are rocky formations which create fast-flowing rapids.

On the other side of the river, which can be crossed by ferry, and with a 100-metre walk uphill, will be found the Erawan Cave adorned with elephant-and-female-shaped hanging and protruding crops of rock.

Phra That Phra Lo

This is a 400-year-old Chedi believed to contain the remains of a king named Phra Lo, ruler of Nakhon Maen Suang once located in the vicinity. It is said he died together with his two lovers, Phra Phuean and Phra Phaeng, which gave rise to the legend of a folklore. The Chedi itself is at Tambon Ban Klang, Song district on Highway No. 103 some 45 kilometres north of the provincial town.


Wat Phra That Chom Chaeng

Three kilometres from Phra That Cho Hae is Wat Phra That Chom Chaeng, some 10 kilometres from town. Built in the year 788, the name of the builder was unknown. The golden Chedi is 29 metres tall and enshrines a Holy Relic. There is also a museum of rare ancient relics.

Wat Phra That Cho Hae

This temple is about 8 kilometres to the east of town on Highway No. 1022. A major religious site of the province, it was built since the time of Sukhothai. The 33 metre-tall Chiang Saen-style Chedi houses a Holy Relic. It was built of bricks and covered with bright brass sheets. The name of the temple refers to fine silk woven in Sip Song Panna (in southern China) which was first used to wrap around the Chedi when the temple was first constructed. There is a fair celebrating the Chedi in March every year.


Phraya Chaiyabun Memorial

The Phraya Chaiyabun Memorial is about four kilometres from the Phrae townhall on Highway No. 101. Governor of the town during 1897-1902, he was slain by rebelling Shan tribesmen when he refused to cede the town to them. After the rebellion was put down by government troops, King Rama V ordered a memorial erected in his honors.

Phae Mueang Phi

About 12 kilometres out of town, and with a further 6 kilometres after a right turn, is the Phae Muang Phi, a wide area with no large trees. Because of subsidence and erosion of the soil, the harder elements remain and are formed into the shapes of exotic-looking mushrooms.

Fabric Weaving Village

Long District, some 45 kilometres the provincial town on Highway No. 1023, is the site of a centuries-old community since the time of Hariphunchai Period. The local people are skilled in the craft of weaving, both silk and cotton. The art of making the Tin Chok fabric in particular has been handed down from generation to generation.

Its design has also been developed to meet with new and different preferences, although the original method has been retained. A fair celebrating the Tin Chok is held annually in Long district around November.

Wat Phra That Suthon Mongkhon Khiri

Three kilometres from Den Chai district, or some 2 kilometres from the provincial town, is Wat Phra That Suthon Mongkhon Khiri. Although a comparatively modern temple, it boasts highly eye-catching structures. The Ubosot in particular is noted for its delicate sculptures with fine designs.

There is also the golden teak structure in the Lanna-style which houses valuable relics of the North, including Buddha statues, lacquerware, Lanna musical instruments, ancient weapons and pictures depicting past events.


แพร่ : ข้อมูลทั่วไป
หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลอเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม
         แพร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางภาคเหนือบนฝั่งแม่น้ำยม เป็นนครแห่งวรรณกรรมอมตะลิลิตพระลอที่รู้จักกันทั่วไป แพร่เริ่มก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีแล้ว ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงกล่าวว่า แพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรสุโขทัย มีชื่อเรียกกันหลายชื่อว่า พลนคร เมืองพล เมืองแพล ในสมัยที่ขอมมีอำนาจระหว่าง ปี พ.ศ. 1470–1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบครองในเขตลานนาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศัยนคร หรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่าผ้าแพร แล้วมาเปลี่ยนเป็นเมืองแพร่ในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน

        จังหวัดแพร่มีพื้นที่ประมาณ 6,538 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำยมไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีที่ราบในหุบเขาอยู่ตอนกลางของจังหวัด แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง และอำเภอหนองม่วงไข่

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. สำนักงานจังหวัดแพร่ โทร. 0 5451 1411
  2. ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5567 1466
  3. สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5451 1089, 0 5452 2536
  4. โรงพยาบาลแพร่ โทร. 0 5453 3492-4
  5. ป่าไม่จังหวัดแพร่ โทร. 0 5451 1638
  6. หอการค้าแพร่ โทร. 0 5452 2830

Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดแพร่
http://www.phrae.go.th

แพร่ : ข้อมูลการเดินทาง

       ข้อมูลการเดินทางของ จ. แพร

รถยนต์
จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 11 ที่อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่

รถไฟ
การรถไฟ แห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปยัง อ.เด่นชัยทุกวัน จากนั้นต้องต่อรถประจำทางเข้าตัวเมืองแพร่ ซึ่งอยู่ห่างจากเด่นชัยประมาณ 20 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และปรับอากาศบริการ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีเดินรถสายเหนือ หมอชิต 2 โทร. 0 2936 2852–66 บริษัท ขนส่ง จำกัด จังหวัดแพร่ โทร. 0 5451 1276 website: www.transport.co.th

สำหรับบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดแพร่ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. 0 2936 0199, บริษัท แพร่ ทัวร์ โทร. 0 2936 3720 สาขาแพร่ โทร. 0 5451 1392 และ บริษัท สมบัติ ทัวร์ โทร. 0 2936 2496, 0 2936 2498 สาขาแพร่ โทร. 0 5451 1421

จากตัวจังหวัดแพร่มีรถประจำทางไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงราย นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม ระยอง เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีเดินรถโดยสารประจำทางจังหวัดแพร่ ถนนยันตรกิจโกศล โทร. 0 5451 1800

เครื่องบิน
สายการบิน เอสจีเอ มีบริการเที่ยวระหว่าง เชียงใหม่ - แพร่ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2664 6099 หรือ http://www.sga.co.th

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.แพร่
         การเดินทางจากอำเภอเมืองแพร่ไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอสูงเม่น 11 กิโลเมตร
  2. อำเภอหนองม่วงไข่ 20 กิโลเมตร
  3. อำเภอเด่นชัย 24 กิโลเมตร
  4. อำเภอร้องกวาง 29 กิโลเมตร
  5. อำเภอลอง 40 กิโลเมตร
  6. อำเภอสอง 48 กิโลเมตร
  7. อำเภอวังชิ้น 80 กิโลเมตร

แพร่ : วัฒนธรรมประเพณี
งานดอกลมแล้งบานสงกรานต์เมืองแพร่
วันที่ 12 - 17 เมษายน 2552
ณ สวนสุขภาพเฉลิม พระเกียรติ ร.9 จังหวัดแพร่

กิจกรรม
ชมขบวนแห่นางนพมาศ การแสดงบนเวที การจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลเมืองแพร่ โทร. 0 5451 1406, 0 5451 1060

แพร่ : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น)

ตั้ง อยู่เลขที่ 59 หมู่ 13 ตำบลป่าแมต ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 (แพร่ - ลอง) สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นบ้านไม้สักทั้งหลัง โดยใช้ไม้สักท่อนขนาดใหญ่ ตั้งเป็นเสาบ้านรวม 130 ต้น แต่ละเสามีอายุประมาณ 300 ปี แกะสลักอย่างประณีตวิจิตรบรรจง ตัวบ้านเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ มีเนื้อที่ถึง 1 ไร่เศษ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย 15 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท นอกจากนี้ผู้เข้าชมสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. (054) 511008, 511282


บ้านวงศ์บุรี

เลข ที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่า สี่แยกพระนอนเหนือ) ใกล้กับวัดพงศ์สุนัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 โดยเจ้าพรหม(พลวงพงษ์พิบูลย์) และ เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ช่างที่สร้างบ้านหลังนี้มาจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีน และใช้ช่างไม้พื้นถิ่น เป็นบ้านไม้สักสองชั้นแบบยุโรปประยุกต์ ฐานเป็นอิฐและซีเมนต์สูงจากพื้น 1 เมตร หลังคาสองชั้นมีช่องระบายลมระหว่างชั้นทั้งสอง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศเนื่องจากบ้านหันหน้าเข้าทางทิศตะวันตกเฉียง ใต้ จึงมีลมพัดเย็นในฤดูร้อน บ้านทรงปั้นหยา 2 ชั้น มีเพดานสูง หลังคาสูง จุดเด่นของอาคารนี้คือลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียง ช่องลม ชายน้ำ หน้าต่าง และประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่ เจ้าสุนันทาซึ่งเกิดในปีแพะ ต่อมาได้มีการซ่อมแซม แต่ลวดลายแกะสลักยังคงเป็นของเดิม ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลาย ชั่วอายุ ได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง และตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ นอกจากนี้บ้านวงศ์บุรีได้จัดกิจกรรมเสริม คือการจัดขันโตกสำหรับชาวไทยและต่างประเทศที่มาเป็นคณะ โดยต้องติดต่อล่วงหน้า

วนอุทยานแพะเมืองผี

ตั้ง อยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เช่น ดอกเห็ด หน้าผา ดูแล้วแปลกตา ชื่อ แพะเมืองผี น่าจะมาจากภาษาพื้นเมืองแพะ แปลว่า ป่าละเมาะ ส่วนคำว่า เมืองผี แปลว่า เงียบเหงา วังเวงอาจเกิดจากสภาพภูมิประเทศที่ดูเร้นลับน่ากลัว สถานที่แห่งนี้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524

วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

ตั้ง อยู่ริมถนนเจริญเมือง ใกล้ศาลากลางจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2498 โดยรวมวัดโบราณ 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ปัจจุบันวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนีพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด และมี พระเจดีย์มิ่งเมืองซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน และเป็นที่ตั้งของมูลนิธิยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง ยาขอบหรือนายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย

วัดพระธาตุช่อแฮ

วัด พระธาตุช่อแฮ อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ และเป็นพระธาตุประจำปีขาล ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879 - 1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง
สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี

วัดพระธาตุจอมแจ้ง

วัด พระธาตุจอมแจ้ง อยู่ในท้องที่ตำบลช่อแฮ เลยพระธาตุช่อแฮไป 1 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดราว 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 1331 ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง องค์พระธาตุจอมแจ้งสีทอง สูง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร เดิมเรียกว่า พระธาตุจวนแจ้งเนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่นี้จวนสว่างพอดี ต่อมาเพี้ยนเป็นจอมแจ้ง เชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า ที่นี่มีศาลาเรียกว่าพิพิธภัณฑ์ตำบลป่าแดง หรือพิพิธภัณฑ์ของจังหวัด รวบรวมสิ่งของโบราณที่หาดูได้ยาก

วัดจอมสวรรค์

วัด จอมสวรรค์ ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ตำบลทุ่งกวาว ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดไทยใหญ่ สร้างแบบสถาปัตยกรรมพม่า หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้นประดับประดาลวดลายฉลุ อารามเป็นไม้สัก ใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิ ภายในอารามแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดาน และเสาฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม โบราณวัตถุภายในวัด ได้แก่ หลวงพ่อสาน เป็นพระพุทธรูปที่สร้างโดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นองค์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้าง ซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า คัมภีร์งาช้าง หรือคัมภีร์ปาติโมกข์ โดยนำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบาง ๆ เขียนลงรักแดง จารึกเป็นอักษรพม่า และยังมี บุษบก ลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน วัดจอมสวรรค์นี้สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2437 โดยชาวเงี้ยว ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในพม่า และเดินทางมาค้าขายที่เมืองแพร่ เมื่อเกิดเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ วัดจึงถูกปล่อยให้ทรุดโทรม ต่อมาได้รับการบูรณะจากชาวไทยใหญ่

วัดหลวง

วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนคำลือ ซอย 1 ตำบลในเวียง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง แพร่ วัดนี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุคหลายสมัย

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่
วิหารหลวงพลนคร วิหารเก่าแก่สร้างพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือพระเจ้าแสนหลวง สร้างโดยเจ้าเมืององค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2057
พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ พระเจดีย์ศิลปะเชียงแสน ประดิษฐานพระธาตุที่นำมาจากเมืองหงสาวดี
พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ เป็นสถานที่รวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ที่มีอายุเกือบ 500 ปี และโบราณวัตถุต่าง ๆ ของเมืองแพร่ นอกจากนี้ยังมี คุ้มพระลอ ซึ่งเป็นการจัดแสดงตัวอย่างบ้านแบบล้านนาโบราณ
หอวัฒนธรรม จังหวัดแพร่ สร้างด้วยไม้สักทอง อายุ 200 ปี เป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมากมาย

ถ้ำผานางคอย

ถ้ำ ผานางคอย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่ - ร้องกวาง (ทางหลวงหมายเลข 101) ถึงกิโลเมตรที่ 58 - 59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร ถึงหน้าถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนหน้าผาสูง 50 เมตร เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร กว้าง 10 เมตร ลักษณะของถ้ำโค้งงอเป็นข้อศอกไปทางซ้าย และทางขวาเป็น 3 ตอนด้วยกัน ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ หรือเป็นชะง่อนหินยาวถึงพื้นถ้ำ สุดทางของถ้ำมีก้อนหินรูปร่างคล้ายหญิงสาวนั่งอุ้มลูกน้อยรอคอยคนรัก ชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า หินนางคอย ตามตำนานพื้นบ้านของถ้ำแห่งนี้ เบื้องหน้าของหินนางคอยมีหินย้อย ลักษณะคล้ายรูปหัวใจดูแปลกตาสวยงาม นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นที่เคารพสักการะของชาวแพร่


อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย

มี พื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ของอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 256,250 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2524 ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ตามยอดเขาสูงมีป่าสน และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ และลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ้ง แม่จอก แม่สิน มีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น หมูป่า ไก่ป่า หมี อีเห็น เสือโคร่ง เลียงผา และนกชนิดต่างๆ อุทยานฯ นี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตร การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 จากตัวจังหวัด เมื่อเลยอำเภอเด่นชัยไป 10 กิโลเมตร แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 11 เส้นทางสายแพร่ - ลำปาง ไปอีกประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอำเภอวังชิ้น เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 13 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาไปที่ทำการอุทยานฯ อีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่

น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง และแม่เกิ๋งน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงามไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ คล้ายขั้นบันไดลงมาจากดอยแม่เกิ๋ง คำว่า แม่เกิ๋ง เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง ขั้นบันได น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนน้ำตกแม่เกิ๋งน้อยต้องเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไปประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกทั้งสองสายนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านสบเกิ๋ง อำเภอวังชิ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่สิน น้ำตกแม่จอก น้ำตกแม่ป้าก น้ำตกแม่รัง น้ำตกขุนห้วย เป็นต้น

บ่อน้ำร้อนแม่จอก ตั้งอยู่ในเขตบ้านแม่จอก หมู่ 5 ตำบลแม่ป้าก

การเดินทาง

ไปตามเส้นทางสายลอง-วังชิ้น ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ราว 3 กิโลเมตร จนกระทั่งเข้าเขตบ้านแม่จอก จะพบโรงเรียนแม่จอกอยู่ขวามือ บริเวณสนามหน้าโรงเรียนจะมีบ่อน้ำแร่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในเนื้อที่กว้างประมาณ 10 ไร่ เป็นบ่อน้ำแร่กำมะถันที่ร้อนจัดถึง 80 องศา ในตอนเช้าจะมีหมอกควันที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็ม ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม

สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีเรือนพักสำหรับนักท่องเที่ยว แต่หากต้องการตั้งแคมป์พักแรมในป่า จะต้องนำเต็นท์ หรือเปลสนามไปเอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติ เวียงโกศัย ตู้ปณ. 1 อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160 หรือที่ศูนย์ข่าวอุทยานฯ จังหวัดแพร่ หรือ ติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th

หมายเหตุ : น้ำตกแม่เกิ้งหลวง ปิดให้บริการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี

พระธาตุพระลอ

พระ ธาตุพระลอ อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ห่างจากอำเภอสองประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงความรักอมตะของพระลอแห่งนครแมนสรวง และพระเพื่อน-พระแพงแห่งเมืองสรอง เป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอซึ่งจัดว่าเก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น บทประพันธ์ลิลิตพระลอได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดลิลิตบทหนึ่งเพราะบรรยายได้ อย่างไพเราะ คือ
                      เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใดพี่เอย
                      เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
                      สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
                      สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
การเดินทาง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ประมาณ 24 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 อีกราว 18กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาสู่อำเภอสองใช้ทางหลวงหมายเลข 1154 กม. ที่ 54


มู่บ้านทอผ้าตีนจก

ผ้า ตีนจกของอำเภอลอง เป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง มีความประณีตสวยงาม ทอด้วยผ้าไหม และผ้าฝ้าย โดยเน้นสีดำแดงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านนาตุ้ม บ้านหัวทุ่ง บ้านนามน


วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี

ห่าง จากอำเภอเด่นชัย 3 กิโลเมตร สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ ศาลาพิพิธภัณฑ์สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังรูปทรงล้านนา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุมีค่าของหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้มากมาย เช่นพระพุทธรูปต่างๆ เครื่องเขิน เครื่องดนตรีล้านนา อาวุธโบราณ รูปภาพเจ้านายฝ่ายเหนือ และภาพเหตุการณ์ในอดีตต่างๆ


หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง

หมู่ บ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายแพร่ - น่าน) เป็นแหล่งผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าม่อฮ่อมดั้งเดิมของจังหวัดแพร่

อุทยานลิลิตพระลอ

อุทยาน ลิลิตพระลอ อำเภอสอง จ.แพร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ในเส้นทางไปพระธาตุพระลอสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองสรองมาก่อนเพราะ ยังปรากฏเนินดินเป็นแนวกำแพงให้เห็น มีแม่น้ำกาหลงไหลผ่าน ปัจจุบันแม่น้ำนี้ได้ตื้นเขินไปแล้วจนเกือบไม่เหลือสภาพเดิม

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations