www.AvisThailand.com
โทร. 662-2511131-2
662-2555300-4
668-1-3785697
หน้าหลัก เกี่ยวกับราคา รู้จัก Avis ติดต่อ ลิงค์
ข้อเสนอล่าสุด บริการจองรถเช่า คู่มือเช่ารถ บริการ Avis เช่ารถระยะยาว รถเช่าพร้อมคนขับ บริษัททัวร์ Avis used Car
กรุงเทพฯ ชะอำ หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช
พัทยา พิษณุโลก ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี ตรัง อุดรธานี  อุบลราชธานี  

SAKONNAKHON

SAKONNAKHON : General Information

      Sakon Nakhon is in the upper Northeast. It is on the Phu Phan mountain range and has many forest temple retreats for meditation. These temples are also where famous monks well known in meditation circles reside.
avis thailand


    Sakon Nakhon is 647 kilometres from Bangkok and has an area of 9,605 square kilometres. Sakon Nakhon consists of the following districts: Muang Sakon Nakhon, Waritchaphum, Kut Bak, Kusuman, Ban Muang, Phanna Nikhom, Sawang Daen Din, Wanon Niwat, Phang Khon, Akat Amnuai, Song Dao, Kham Ta Kla, Tao Ngoi, Khok Si Suphan, Nikhom Nam Un, Charoen Sin, Phon Na Kaeo and Phu Phan.

SAKONNAKHON : How to get there

Car

From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Ban Phai which connects Highway No. 23 to Maha Sarakham, then continue the journey along Highway 213 via Kalasin to Sakon Nakhon, a total distance of 647 kilometres.

Bus

Bangkok-Sakon Nakhon buses depart from Bangkoks Mochit 2 Bus Terminal every day. Contact Transport Co.Ltd at Tel: 0 2936 2852-66 or visit www.transport.co.th for more information

Rail

There is no direct train from Bangkok to Sakon Nakhon. Visitors can take a train to Udon Thani and continue the journey by bus to Udon Thani. Call 1690, 0 2223 7010-20 for more information.

Air

Thai Airways flies from Bangkok to Sakon Nakhon every day. Call 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 or visit www.thaiairways.com for more information.

Distances from Amphoe Mueang to Other Districts

  1. Khok Si Suphan 22 kms.
  2. Tao Ngoi 28 kms.
  3. Phu Phan 33 kms.
  4. Phon Na Kaeo 35 kms.
  5. Phanna Nikhom 39 kms.
  6. Kusuman 40 kms.
  7. Phang Khon54 kms.
  8. Akat Amnuai 57 kms.
  9. Kut Bak 69 kms.
  10. Waritchaphum 69 kms.
  11. Sawang Daen Din 84 kms.
  12. Wanon Niwat 85 kms.
  13. Charoen Sin 90 kms.
  14. Nikhom Nam Un 99 kms.
  15. Kham Ta Kla 109 kms.
  16. Song Dao 109 kms.
  17. Ban Muang 120 kms

Distances from Sakon Nakhon to Neighbouring Provinces

  1. Nakhon Phanom 93 kms.
  2. Mukdahan 119 kms.
  3. Kalasin 128 kms.
  4. Udon Thani 159 kms.

SAKONNAKHON : Activities

Wat Tham Kham

Wat Tham Kham used to be where the famous monks Achan Fan and Luang Pu Thet meditated. A pagoda housing the relics of the latter is here.


Wat Kham Pramong

Wat Kham Pramong is at Ban Kham Pramong in Tambon Sawang, 40 kilometres from Amphoe Muang on Highway No. 22, then take Highway No. 2355 to Akat Amnuai. The temple is the meditation centre of the famous monk Luang Pu Sim.

Phra That Phu Phek

Phra That Phu Phek is on a mountain in Tambon Na Hua Bo. To get there, take the Sakon Nakhon-Udon Thani road for 22 kilometres and take a road on the left for 14 kilometres, then ascend 491 steps. The laterite pagoda is on a square base. Seemingly unfinished because it has no roof or pagoda top, it was built in the 16th-17th Buddhist century.

Moreover, this Khmer Ruins is special as it houses solar calendar, cube-shape rock, in its stupa. The ancient people used it for indicating position of the sun to indicate date for religious rites and agricultural seasons.

Phra That Si Mongkhon

Phra That Si Mongkhon at Tambon Ban That is 2 kilometres from the district office. This pagoda has a square base and is decorated with fired clay designs. The present pagoda encases the original one which is made of laterite.

Nam Un Dam

Nam Un Dam is 57 kilometres from Amphoe Muang en route to Udon Thani and a left for 6 kilometres en route to Waritchaphum. The dam is at its loveliest at sunset over the reservoir.

Phra That Narai Cheng Weng

This khmer sanctuary is 5 kilometres from town on the way to Udon Thani. The sandstone pagoda is on a laterite base. Ornate designs adorn the lintel, doorway and windows. It is believed the site was entirely constructed by women who competed with the men who built Phra That Phu Phek. It dates from the 16th-17th Buddhist century.

Phra That Choeng Chum

Phra That Choeng Chum is an historical site that has always been with Sakon Nakhon. This plaster-covered brick pagoda has a square base and is 24 metres high. The chapel houses the holy Luang Pho Ong Saen.

Ban Kut Na Kham Arts and Crafts Centre

Her Majesty the Queen has initiated to set up Kut Na Kham Art and Crafts Centre in 1983 in Ban Kut Na Kham, Tambon Charoen Sin, Amphoe Chaoreon Sin. The centre is established to train craftsmanship for Isan people who generally have excellent skill for handicraft. The handicrafts produced form this centre will help the poor earn some extra. The centre becomes model for other 30 something Art and Crafts Centres established later nationawide.

Presently, the centre is a major quality terra cotta products producer of Isan. Visitor can enjoy witnessing the delicate process in demonstration room featuring casting and painting and enjoy shopping finished products in the show room. Terra cotta products from Kut Na Kham is famed for its high quality and unique design. Today its handicrafts portfolio expands to wood carving, silk weaving, artificial flower producing, basketry and etc. Delicates handicrafts from the centre are always displayed and sold in the province’s souvenir fairs, and festivals countrywide. The centre is open from Tuesday to Saturday between 8.00 am. to 4.30 pm.

How to get there: From Sakhon Nakhon City, use highway 22 (Sakhon Nakhon-Udon Thani) for 85 kilometres. Turn right at Amphoe Sawang Daen Din into highway 2091 and turn left into highway 2280 to Amphoe Charoen Sin. The centre is 20 kilometres away.

Phu Pha Lek

Phu Pha Lek is a mountain in the Phu Phan range. Some parts of the area are rock plateaus that are covered with flowers toward the end of the rainy season. Tourist spots here are the observation point on the high cliff, Kaeng Kula waterfall, Kao Chan waterfall that has water only in the rainy season, and prehistoric drawings at Phak Nam cave that are over 3,000 years old.


Achan Wan Uttamo Museum

Achan Wan Uttamo Museum is on Phu Pha Lek. To get there, take the Sakon Nakhon-Udon Thani road for 84 kilometres to Sawang Daen Din, then a road on the left to Song Dao for 32 kilometres. The museum features paintings of the monk and his personal items.

Phu Phan Ratchaniwet Palace

Phu Phan Ratchaniwet Palace is on Phu Phan mountain range on the Sakon Nakhon-Kalasin road, 13 kilometres from the district office. It is the residence of Their Majesties when they visit the Northeast.

Phu Phan National Park

Phu Phan National Park covers a wide jungle area in the upper Northeast. The park headquarters is on Highway No. 203 on the way to Kalasin, 25 kilometres from the district office. Tourist spots in Kalasin include Pha Nang Moen, an observation point 700 metres by foot from the park office, and Lan Sao E, a natural rock plateau on a cliff 2 kilometres away.

Admission Fee: Adult 200 Baht Child 100 Baht For more information visit www.dnp.go.th


Khong Ping Ngu

Khong Ping Ngu is 14 kilometres from Amphoe Muang. It is part of the Sakon Nakhon-Kalasin route. This snake-like road is interesting for the largest kilometre marker in Thailand. Many waterfalls like Heo Sin Chai, Tat Ton and Kham Hom, are nearby with easy access.


Achan Fan Acharo Museum

Achan Fan Acharo Museum is at Wat Pa Udom Somphon in Tambon Phanna Nikhom en route to Udon Thani. The museum has a wax figure of the famous monk, as well as his personal items and biography.

Saphan Khom

Saphan Khom is just before entering the town on the Sakon Nakhon-Udon Thani Road. It is believed to have been a route of the Khmer people.

Sakon Nakhon Cultural Centre

Sakon Nakhon Cultural Centre is in Sakon Nakhon Rajabhat Institute, about 6 kilometres from town on the Sakon Nakhon-Udon Thani Road. Exhibits include utensils of various tribes in the province and information on Sakon Nakhon in the old days.

Pottery Village

Sakon Nakhon's pottery village is at Ban Chiang Khrua, 15 kilometres away on the way to Nakhon Phanom. Products made here are jars, pots, containers, and flowerpots. All are sold to tourists at reasonable prices.

Phra That Dum

Phra That Dum is at Tambon Ngew Don, 3 kilometres from town on the way to Phatthana Suksa School. There were originally 3 brick Khmer pagodas on the same laterite base but only one stands today. The pagodas were built in the 16th Buddhist Century.

Phra Archan Man Phurithatto Museum

This museum is opposite the Provincial Government Centre on Suk Kasem Road in Wat Pa Sutthawat. The museum is built of fired clay tiles. On display are a wax figure of Phra Achan Man who was a famous monk, his personal items and his biography.


Nong Han

Nong Han is a large freshwater lake with an area of 123 square kilometres. It is where many waterways converge and is also a major agricultural and fishery centre of the province. Nong Han's shorefront has been developed into a public park. In addition, there is Sa Phang Thong, an ancient pool believed to have been constructed at the same time as Phra That Choeng Chum.

Namtok Pricha Suksan

This waterfall is on Phu Phan mountain range, 17 kilometres away on the Sakon Nakhon-Udon Thani route and 10 more kilometres on the left. The waterfall is a rock plateau with water coming down like a slide. It is suitable for swimming.

Isan Freshwater Aquarium

This aquarium is at the Sakon Nakhon Fishery Station on Sai Sawang Road. The centre has on display freshwater fish and animal species found in the Northeast.

 

Huai Huat National Park

Huai Huat National Park has many interesting spots. The park can be accessed via either taking the Sakon Nakhon-Kalasin road for 5 kilometres and then Highway No. 2339 on the left for 35 kilometres, or taking the Sakon Nakhon-Na Kae road for 14 kilometres and then a road on the right for 18 kilometres. The park is noted for the visual beauty of the reservoir, the waterfall and the rock plateau covered with flowers at the end of the rainy season. There are also prehistoric cave drawings.


สกลนคร : ข้อมูลทั่วไป

พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร
แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวกูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

      สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน” และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองสกลทวาปี” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2373 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น “เมืองสกลนคร” ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่สำคัญเป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยหลาย ท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้นจังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 9,605 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอ พรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

  1. ททท. สำนักงานนครพนม (นครพนม สกลนคร มุกดาหาร) อ.เมือง จ.นครพนม โทร. 0 4251 3490-1
  2. สำนักงานจังหวัดสกลนคร ถ.ศูนย์ราชการ โทร. 0 4271 1065, 0 4271 1763
  3. โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร ถ.เจริญเมือง โทร. 0 4271 1636, 0 4271 1615
  4. สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง ถ.รัฐพัฒนา โทร. 0 4271 2860

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดสกลนคร
http://www.sakonnakhon.go.th
ททท. สำนักงานนครพนม ( นครพนม,มุกดาหาร,สกลนคร)
http://www.tourismthailand.org/nakhonphanom
วีดีโอ 4 อีสานสนุก สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ (8.58 นาที)
http://thai.tourismthailand.org/movie-clip-video/clipvideo-detail-310.html
วีดีโอ เส้นทางธรรมะทัศนาจร นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมืองสกลนคร (5.38 นาที)
http://thai.tourismthailand.org/movie-clip-video/clipvideo-detail-303.html
วีดีโอ เส้นทางศรัทธา ย้อนรอยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จ.สกลนคร (4.39 นาที)
http://thai.tourismthailand.org/movie-clip-video/clipvideo-detail-304.htm

สกลนคร : ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทางของ จ. สกลนคร
การเดินทางจากสกลนครไปยังจังหวัดใกล้เคียง

  1. นครพนม 93 กิโลเมตร
  2. มุกดาหาร 119 กิโลเมตร
  3. กาฬสินธุ์ 128 กิโลเมตร
  4. อุดรธานี 159 กิโลเมตร

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา แล้วเลี้ยวแยกเข้าทางไปอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ทางหลวงหมายเลข 2 ไปจนถึงบ้านท่าพระ แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ทางหลวงหมายเลข 213 เข้าสู่จังหวัดสกลนคร

รถไฟ
การรถไฟารแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปลงที่จังหวัดอุดรธานีทุกวัน แล้วเดินทางต่อไปโดยรถประจำทางไปจังหวัดสกลนครอีกประมาณ 159 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด และ บริษัทเอกชน มีรถประจำทางไปจังหวัดสกลนครทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 0657, 0 2936 1880, 0 2936 2852-66www.transport.co.th

เครื่องบิน
บริษัท พีบี แอร์ จำกัด มีบริการเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดสกลนครทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่โทร. 0 2261 0220-5 www.pbair.com สำนักงาน พีบี แอร์ จังหวัดสกลนคร โทร. 0 4271 6217

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.สกลนคร
นอกจากนั้นการคมนาคมภายในตัวจังหวัดสกลนครมีรถเมล์เล็ก รถสามล้อถีบ และรถสามล้อเครื่องรับจ้างวิ่งบริการในตัวเมือง ตกลงค่าโดยสารก่อนเดินทาง

การเดินทางจากอำเภอเมืองสกลนครไปยังอำเภอต่าง ๆ

  1. อำเภอโคกศรีสุพรรณ 22 กิโลเมตร
  2. อำเภอเต่างอย 28 กิโลเมตร
  3. อำเภอภูพาน 33 กิโลเมตร
  4. อำเภอโพนนาแก้ว 35 กิโลเมตร
  5. อำเภอพรรณานิคม 39 กิโลเมตร
  6. อำเภอกุสุมาลย์ 40 กิโลเมตร
  7. อำเภอพังโคน 54 กิโลเมตร
  8. อำเภอกุดบาก 56 กิโลเมตร
  9. อำเภออากาศอำนวย 57 กิโลเมตร
  10. อำเภอวาริชภูมิ 69 กิโลเมต
  11. อำเภอสว่างแดนดิน 84 กิโลเมตร
  12. อำเภอวานรนิวาส 85 กิโลเมตร
  13. อำเภอเจริญศิลป์ 90 กิโลเมตร
  14. อำเภอนิคมน้ำอูน 99 กิโลเมตร
  15. อำเภอคำตากล้า 109 กิโลเมตร
  16. อำเภอส่องดาว 109 กิโลเมตร
  17. อำเภอบ้านม่วง 120 กิโลเมตร


สกลนคร : วัฒนธรรมประเพณี

มวยโบราณ

ประวัติ / ความเป็นมา
“มวย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นการต่อสู้ด้วยพละกำลัง ใช้อวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกาย ทั้งมือ เท้า เข่า ศอก รวมทั้งหัวด้วย มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว ในสมัยก่อนนิยมฝึกหัดกันในหมู่นักรบโบราณ เป็นที่นิยมชมชอบของชนทุกชั้น แม้แต่พระเจ้าแผ่นดินก็มีปรากฏในพงศาวดาร ครั้งกรุงศรีอยุธยา ขุนหลวงสรศักดิ์ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม พระเจ้าเสือ ทรงนิยมชมชอบมวยมาก ถึงกับปลอมพระองค์ไปชกมวยตามหัวเมืองบ่อยครั้ง”
ข้อความเบื้องต้นมาจากหนังสือเชิดชูเกียรติ อาจารย์จำลอง นวลมณี (เป็นครูมวยโบราณของสกลนคร เป็นผู้ที่สืบสานศิลปะการร่ายรำมวยโบราณ) ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ อาจารย์จำลอง นวลมณีได้เล่าไว้อย่างน่าสนใจมาก คือ…. เมื่อปี พ.ศ.2331 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีนักมวยฝรั่งสองพี่น้อง ล่องเรือกำปั่นท้าพนันชกมวยมาหลายหัวเมือง และชกชนะมาทั้งสิ้น ครั้นมาถึงกรุงเทพฯ ก็มาท้าพนันชกมวยกับคนไทย พระยาพระคลัง กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงทราบ จึงรับสั่งให้รับท้าพนัน วางเดิมพันเป็นเงิน 50 ชั่ง หรือ 4,000 บาท (สมัยนั้นก็มากแล้ว) สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทราชอนุชา จึงจัดหานักมวย ชื่อ หมื่นผลาญ ซึ่งมีความรู้ทั้งมวยต่อยและมวยปล้ำและดำรัสให้ปลูกพลับพลาใกล้โรงละครด้าน ทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประทับทอดพระเนตร ผลการชกปรากฏว่า นักมวยฝรั่งแพ้ไม้เป็นท่า เป็นที่น่าอับอายมาก
นางศาสตร์ พรหมสาขา ณ สกลนคร ได้เขียนไว้ในหนังสือเชิดชูเกียรติ อาจารย์จำลอง นวลมณี ว่า
“ในสมัย 50 ปีมาแล้ว จะมีงานแห่ต่างๆ โดยเฉพาะงานประเพณีที่เรียกว่า งานบุญพระเวส ชาวสกลนคร 10 คุ้ม ก็มีการแห่กัณฑ์เทศน์ และแห่บั้งไฟไปตามถนสายต่างๆ เพื่อทอดถวายองค์พระธาตุเชิงชุมโดยมีคณะนักมวยรำมวยออกหน้า มีปี่ ฆ้อง กลองประโคม เป็นเครื่องประกอบ เมื่อขบวนไปพบกันจะไม่มีใครหลีกทางให้กัน จึงมีการต่อสู้กันขึ้น”
ดังนั้น มวยโบราณจึงเป็นการต่อสู้ด้วยมือ เท้า เข่า ศอก มีมาก่อนมวยคาดเชือก (มวยคาดเชือกใช้ผ้าดิบ หรือบางครั้งใช้เชือกพันมือ สันนิษฐานว่า มีขึ้นในสมัยอยุธยา)
พ.ศ.2472 เป็นปีที่เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดใจเกิดขึ้น เมื่อนายเจีย แขกเขมร ขอขึ้นทาบรัศมีกับ นายแพ เสียงประเสริฐ และผลการต่อสู้ในครั้งนั้น นายเจีย ถูกนายแพ ต่อยถึงแก่ความตายที่สนามมวย หลักเมือง ของพลโท พระยาเทพหัสดิน ตั้งแต่นั้นมวยคาดเชือกจึงต้องเลิกไป

กำหนดงาน
เล่นในงานบุญพระเวส สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
ท่ารำของมวยโบราณ เป็นที่อ่อนช้อยแต่เข้มแข็งทะมัดทะแมงอยู่ในที การรำมวยโบราณเช่นนี้มิได้มีแต่เฉพาะภาคอีสานเท่านั้น แต่ทางภาคเหนือก็มีศิลปะการต่อสู้แบบโบราณที่เรียกว่า “ฟ้อนเจิง” ภาคใต้ก็มีการรำมวยโบราณที่เรียกว่า “ชีละ” ท่ารำมวยโบราณนั้นทั้งหมดมี 14 ท่า คือ..
1. ท่าเสือออกจากเหล่า (หมายถึง เสือออกจากถ้ำหรือออกจากป่า) เป็นท่าเริ่มต้น
2. ท่าย่างสามขุม คือ การเหยาะย่างอย่างทะมัดทะแมง
3. ท่ากุมภัณฑ์ถอยทัพ ลีลาท่าทางในเชิงถอย
4. ท่าลับหอกโมกขศักดิ์ ท่าแสดงจินตนาการเหมือนกุมภัณฑ์ลับหอกโมกขศักดิ์
5. ท่าดาบยามปราบมาร แสดงความเข้มแข็งให้เป็นที่ยำเกรงของคู่ต่อสู้
6. ท่าทะยานเหยื่อเสือลากหาง เป็นท่าที่แสดงจินตนาการวาดท่าของลูกเสือที่หยอกล้อกัน
7. ท่าเหยียบไก่เล้า เป็นท่าเลียนแบบการเลาะเลียบของไก่ที่จะเข้าเล้า
8. ท่าน้าวคันศร เป็นท่าพระรามน้าวคันศร
9. ท่ากินนรเข้าถ้ำ
10. ท่าเตี้ยต่ำเสือหมอบ
11. ท่าทรพีชนพ่อ เป็นลีลาแสดงความดุดันของทรพีที่โหดร้ายต่อทรพาผู้เป็นพ่อ
12. ท่าล่อแก้วเมขลา เมขลาล่อแก้วให้รามสูรขว้างขวาน
13. ท่าม้ากระทืบโรง
14. ท่าโขลงทะยานป่า เป็นท่าที่มีลีลาเหมือนช้างป่าเมามัน รุกไล่ศัตรูอย่างฮึกเหิม
นอกจากนั้นยังมีท่ารำมวยโบราณแบบที่รำเป็นขบวนแห่อีก 9 ท่า คือ
1. ท่ากาเต้นก้อนไถ
2. ท่าหวะพราย
3. ท่าย้ายสามเสา
4. ท่าน้าวเฮียวไผ่
5. ท่าไล่ลูกแตก
6. ท่าช้างม้วนงวง
7. ท่าทวงฮัก กวักชู้
8. ท่าแหวกถลา ถาถากปีก
9. ท่าเลาะเลียบตูบ
การแต่งกายของมวยโบราณ
มวยโบราณนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คือ ดึงชายกระเบนให้สูงขึ้น เพื่อให้เห็นลายสักที่ขา สีของผ้าโจงกระเบนนิยมสีแดงหรือสีน้ำเงิน ปล่อยชายหางกระเบน ห้อยลงมาพองาม มีผ้าคาดเอวสีแดงหรือ น้ำเงิน (ใส่สลับกับผ้านุ่ง คือ ถ้าผ้านุ่งสีแดง ผ้าคาดเอวก็สีน้ำเงิน) ผ้าคาดเอวนี้จะช่วยรัดให้ผ้าโจงกระเบนแน่นกระชับ ที่สำคัญอีกอย่างก็คือ มีผ้าประเจียดโพกศีรษะ (ผ้าประเจียดคือ ผ้าลงยันต์ บรรจุมนต์ขลังของเกจิอาจารย์) นอกจากนั้นก็มีผ้ารัดต้นแขนทั้งสองข้าง เป็นผ้าสีแดง มีตะกรุดหรือเครื่องรางของขลังอยู่ข้างใน
การสักหรือการเขียนลาย จุดเด่นของมวยโบราณนิยมสักลวดลายตามตัวทั่วร่างกาย ทั้งแขน ขา สมัยก่อนสักด้วยน้ำว่าน น้ำยาศักดิ์สิทธิ์สักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ที่เลื่อมใสว่ามีกำลังอำนาจ นอกจากนั้นยังสักเป็นลวดลายและลงอักษรโบราณที่เป็นคาถาอาคม
เล่ากันว่า ในสมัยโบราณผู้ชายที่ไม่สักลายผู้หญิงจะไม่รัก และไม่แต่งงานด้วย ถึงกับมีคำพังเพยว่า “ขาบ่ลายบ่ให้ก่าย” ก่ายก็หมายถึง กอดก่าย การสักนี้มีจุดมุ่งหมายเหมือนกับมีเครื่องรางของขลังติดตัวไปด้วย ทำให้อยู่ยงคงกะพันแคล้วคลาดและเป็นมหาเสน่ห์ สมัยก่อนการสักลงยันต์ทำกันเป็นเรื่องใหญ่เพราะต้องสักลงไปบนผิวหนัง ฝังลงไปในเนื้อโดยให้เหล็กแหลมเหมือนปากกา สักด้วยหมึกดำ หมึกแดง ผสมกับรงและว่าน รอยสักนี้จะติดไปบนผิวหนังตลอดชีวิต
ในปัจจุบันนี้ ไม่มีผู้นิยมสักลาย นักมวยโบราณจึงได้พัฒนาการสักลายมาเป็นการเขียนลายแทน และเขียนด้วยปากกาเมจิก หรือสีเคมีแห้งเร็ว เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็ใช้แป้งผงที่ทาตัวเด็ก โรยลงไปให้ทั่วเพื่อไม่ให้สีที่เขียนเลอะเทอะเมื่อเหงื่อออก
ดนตรีประกอบการแสดง เป็นสิ่งจำเป็นมากในการแสดงมวยโบราณ เพราะจะช่วยสร้างอารมณ์ให้เกิดความคึกคักให้กับนักมวย และผู้ชมยิ่งเป็นดนตรีพื้นเมืองของอีสานด้วยแล้วยิ่งสนุก คึกคัก เร้าใจ นักมวยโบราณได้ฟังเสียงแล้วก็ฮึกเหิม ร่ายรำได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย คนดูก็สนุกไปด้วย
เครื่องดนตรีของมวยโบราณ เป็นดนตรีพื้นบ้านทั้งสิ้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1. เครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ (พิณ) เป็นเครื่องดนตรีหลัก
2. เครื่องสี ได้แก่ ซอกระบอกไม้ไผ่
3. เครื่องตี ได้แก่ กลองตุ้ม (กลองสองหน้า) หมากกระโหล่ง โปงลาง ฆ้อง ฯลฯ
4. เครื่องเป่า ได้แก่ แคน อาจเพิ่มโหวตเข้าไปด้วย
ส่วนเพลงที่ใช้ตีประกอบนั้น มวยโบราณจะอาศัยจังหวะจากเสียงกลองและเครื่องตีประกอบ จังหวะอื่นๆ เป็นตัวทำจังหวะให้นักมวยเต้นเหยาะย่างตามลีลาท่ารำ สำหรับบทเพลงที่เหมาะที่สุด คือ เพลงขารเลงลายผู้ไทย ซึ่งอาจเป็นผู้ไทยน้อยสำหรับเสียงสูง หรือผู้ไทยใหญ่สำหรับเสียงต่ำ


สกลนคร : สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาฯการพัฒนาภูพานฯ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง มีเนื้อที่ 2,000 ไร่ เป็นศูนย์ทดลองงานพัฒนาการเกษตรสาขาจ่างๆ บนพื้นที่ดินปนทราย เค็ม ขาดแคลนน้ำและนำผลการทดลองที่ได้เป็นแบบอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติในที่ดิน ของตนเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ ผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จมีหลายด้าน เช่น การผลิตข้าวพันธุ์ดีเหมาะกับท้องถิ่น การปลูกพืชไร่ปลอดสารเคมี การเพาะเห็ด การปลูกยางพารา หวายดง การเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ เช่น สุกรเหมยชานและไก่พื้นเมือง การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ระบบการทำฟาร์ม การบำรุงดินอย่างถูกวิถีฯ,ฯ ตลอดจนการให้ความรู้อาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนเพื่อพัฒนาอาชีพของราษฏรใน พื้นที่ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 042 712 975, 042 711 008

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม

ศูนย์ ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อยู่ในท้องที่บ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ เดินทางไปตามเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ระยะทาง 84 กิโลเมตร ถึงอำเภอสว่างแดนดิน แยกขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2091 และแยกซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 2280 เป็นเส้นทางสู่อำเภอเจริญศิลป์ ไปอีกประมาณ 23 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกมาก ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขามที่เป็นแหล่งผลิตศิลปหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม มีห้องแสดงการปั้นเขียนสี แสดงผลิตภัณฑ์ ฝีมือในการผลิต ออกแบบสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่นิยมใช้ของไทย ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ได้นำมาจัดแสดงให้ชม และจำหน่ายในงานนิทรรศการที่เกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกประจำจังหวัด รวมทั้งงานออกร้านในเทศกาลต่าง ๆ ในต่างจังหวัด และในกรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ทุกวันอังคาร-วันเสาร์ โทร. 0 4270 9162 โทรสาร 0 4270 9162 เว็บไซต์ http://www.khutnakham.com

หมู่บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค)

หมู่ บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค) ตั้งอยู่ริมหนองหาร บนทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-นตรพนม) ต.ท่าแร่ อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 21 กม. หมู่บ้านท่าแร่ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่ สุดในประเทศไทย เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนนับถือศานาคริสต์ ในอดีตประมาณปี พ.ศ.2427 ประชากรชาวท่าแร่เป็นคริตชน อพยพมาจากประเทศเวียตนามประมาณ 40 คน อาศัยอยู่ในตัวเมืองสกลนคร และมีบาทหลวงเกโก(มิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศส) เป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ แต่เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขี้น กอปรกับมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน จึงได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านท่าแร่ ซี่งเต็มไปด้วยป่าไม้มีหินลูกรังทั่วไป และคนพื้นเมืองเรียก "หินแฮ่"
และยังเป็นที่ตั้งของอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง หรือสำนักมิสซังท่าแร่ฯ หมู่บ้านนี้มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทาง ในถนนสายหลักของหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก
ดังน้น ในทุกๆ วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี ชุมชนแห่งนี้จะจัดเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส โดยจัด "ขบวนแห่ดาวคริสต์มาส" ที่ อ.เมือง โดยเชื่อว่า "ดาว" เป็นสัญลักษณ์ของการเสด็จลงมาประสูติบนโลกมนุษย์ของพระเยซู ขบวนรถจะตกแต่ง ด้วยดาวขนาดใหญ่ ประดับประดาด้วยดวงไฟวิทยาศาสตร์หลากสีสันอย่างสวยงาม และจะสื่อถึงเรื่องราวการประสูติของพระเยซู ในทุกปีจะมีรถดาวเข้าร่วมขบวนประมาณ 200 คัน ชาวบ้านก็จะตกแต่งโคมไฟรูปดาวไว้ที่หน้าบ้าน จากนั้นเป็นการเฉลิมฉลองในหมู่ชาวคริสต์ มีการร้องเพลงประสานเสียง การประกวดร้องเพลงคริสต์มาส มีการจำหน่ายสินค้าและมีมหรสพทั้งคืน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักมิสซังท่าแร่ โทร. 0 4271 1272

โค้งปิ้งง

โค้ง ปิ้งงู เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 213 (สกลนคร-กาฬสินธุ์) ช่วงที่ผ่านเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน เป็นทางที่คดเคี้ยวบนเนินเขาเหมือนงูเลื้อย ริมทางมีหลักกิโลเมตรยักษ์เป็นที่สังเกต และมีน้ำตกในบริเวณนี้หลายแห่งที่น่าเที่ยวชม อาทิ น้ำตกเหวสินธุ์ชัย น้ำตกสามหลั่น น้ำตกสาวไห้


วัดใต้ต้นลาน

อยู่ ที่ตำบลไร่หลักทอง เส้นทางสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2448 มีสถาปัตยกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นที่น่าสนใจ ทั้งศาลาการเปรียญไม้เก่าแก่ เสาหงส์คู่ และปูนปั้นรูปยักษ์หน้าอุโบสถ พื้นอุโบสถปูด้วยกระเบื้องกังไสเก่าแก่ของจีน และมีหอไตรกลางน้ำสร้างด้วยไม้สัก

อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก

อุทยาน แห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ในส่วนของอำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร อำเภอสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และอำเภอสมเด็จ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ 261,875 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูอ่างสอ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ไผ่หลายชนิด และสมุนไพรชนิดต่าง ๆ สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆแหล่งท่องเที่ยวบนยอดภูผาเหล็กโดยเฉพาะบริเวณหน้าผาต่าง ๆ หอส่องดาว สามารถใช้รถยนต์ขึ้นไปตามถนน รพช. จากที่ทำการอุทยานฯ ถึงหอส่องดาวระยะทาง 5.5 กิโลเมตร และใช้เส้นทางเดินเท้าสู่จุดท่องเที่ยว
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่
ผาสุริยันต์ เป็นหน้าผาสูงอยู่บนยอดเขาสูงสุดของภูผาเหล็ก เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า
ผาดงก่อ เป็นหน้าผาสูงอยู่บนยอดภูผาเหล็กอันเป็นยอดสูงสุดของเทือกเขาภูพาน มีก้อนหินขนาดใหญ่วางพาดอยู่ริมหน้าผาที่ดูเหมือนจะหล่นลงไปข้างล่าง หากยืนบนภูเขาแห่งนี้จะมองเห็นทิวเขาอันสลับซับซ้อนของภูพาน และมองเห็นภูผาหัก ภูไม้ ภูซากลาก อยู่ในเขตอำเภอวังสามหมอ ของจังหวัดอุดรธานี
ผาน้ำโจ้ก เป็นหน้าผาสูงที่อยู่ยอดภูผาเหล็ก สามารถมองเห็นอ่างเก็บน้ำห้วยหวด และมองเห็นวิวทิวทัศน์ของจังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่นได้
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน อยู่ที่บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๑๘ กิโลเมตร เป็นภาพเขียนโบราณ มีอายุประมาณ ๓,๖๐๐ ปี อยู่บนก้อนหินใหญ่เป็นภาพลักษณะคล้ายผู้หญิงยืนเรียงกันเป็นแถวโดยใช้มือ เกาะไหล่กัน
ลานอุษาสวรรค์ เป็นบริเวณที่ราบบนยอดภูผาเหล็ก มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๕๕๐ ไร่ มีสภาพเป็นทุ่งป่าละเมาะ เขา และโขดหิน สลับกับทุ่งหญ้า ดูคล้ายสวนประดิษฐ์ มีดอกไม้ป่าขึ้นมากมาย เช่น สารดอย เอนอ้า ดาวเรืองภูม้าวิ่ง หญ้าข้าวก่ำ กระดุมเงิน ดุสิตา ฯลฯ
สุสานไดโนเสาร์ ตั้งอยู่บริเวณกลางเขาภูผาเหล็ก อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร และบริเวณชายป่าภูพาน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะเป็นกระดูกสัตว์ที่กลายเป็นหินมีอายุหลายล้านปีทับถมกันจำนวนมาก บางส่วนยังฝังอยู่ในหินและดิน บางแห่งเป็นฟอสซิลของพืช เช่น ไม้กลายเป็นหิน
หอส่องดาว ตั้งอยู่บนยอดภูผาเหล็กมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๗๐๐ เมตร สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้รอบด้าน หอส่องดาวจึงเป็นที่สำหรับศึกษาดวงดาวในเวลากลางคืน สามารถชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้ชัดเจนมาก
ทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพักและบริเวณกางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว สอบถามรายละเอียดได้ที่
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ๔๗๑๙๐ โทร. ๐ ๑๘๔๙
๙๕๔๖ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ www.dnp.go.th
การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒ (สกลนคร-อุดรธานี) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ ๙๕ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านต้าย-ดอนส้มโฮง ถึงทางแยกบ้านโพนสว่าง หลักกิโลเมตรที่ ๑๗ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านโพนสว่าง-ภูผาเหล็ก อีก ๖ กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

 

ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน

อยู่ ที่บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 18 กิโลเมตร เป็นภาพเขียนโบราณ มีอายุประมาณ 3,600 ปี อยู่บนก้อนหินใหญ่เป็นภาพลักษณะคล้ายผู้หญิงยืนเรียงกันเป็นแถวโดยใช้มือ เกาะไหล่กัน

สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบริการ บ้านพัก ไว้บริการนักท่องเที่ยว และในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ไปเองเสียค่าพื้นที่ 30 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร 47190 โทร. 0 1849 9546 หรือสอบถามข้อมูลที่พักเพิ่มเติมได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
การเดินทาง ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร คล้อยมาทางจังหวัดอุดรธานี เส้นทางที่สะดวกที่สุดที่จะเข้าสู่พื้นที่ คือ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ใช้เส้นทางจังหวัดอุดรธานี-สกลนคร มาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 22 จนถึงทางแยกหลักกิโลเมตรที่ 95 ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านต้าย-ดอนส้มโฮง ถึงทางแยกบ้านโพนสว่าง หลักกิโลเมตรที่ 17 ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านโพนสว่าง-ภูผาเหล็ก อีก 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

ปราสาทบ้านพันนา

ตั้ง อยู่ที่บ้านพันนา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กิโลเมตร ในเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี ลักษณะของปราสาทมียอดเดียว ฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง บริเวณใกล้กับตัวปราสาทมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงเป็นชั้น ๆ มีน้ำขังตลอดปี เชื่อว่าสร้างสมัยเดียวกับปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบางส่วนยังคงสภาพสมบูรณ์

ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง หรือ ภูผาทอง)

ตั้ง อยู่ที่ตำบลค้อเขียว ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณถ้ำมีลักษณะนำเพิงหินมาดัดแปลงก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นศาลาการเปรียญ บริเวณใกล้ถ้ำมีหินธรรมชาติรูปร่างแปลก ๆ มากมาย

ภูอ่างศอ

อยู่ ที่ตำบลคำบ่อ ห่างจากศูนย์ราชการ 18 กิโลเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบตั้งแค้มป์เป็นหมู่คณะ โดยเฉพาะในฤดูหนาวนั้นมีความงามไม่แพ้ภูกระดึง

เขื่อนน้ำพุง

อยู่ เลยพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ไปประมาณ 30 กิโลเมตร จากตัวเมืองไปตามถนนสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ประมาณ 37 กิโลเมตร จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนแบบหินทิ้ง แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาว 1,720 เมตร สูง 40 เมตร ผลิตกระแสไฟฟ้าแจกจ่ายให้ประชาชนในเขตจังหวัดสกลนคร และนครพนม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนน้ำพุงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 บรรยากาศภายในเขื่อนเงียบสงบ เย็นสบาย

เขื่อนน้ำอูน

อยู่ ในความดูแลของกรมชลประทาน ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ก่อนถึงอำเภอพังโคน ประมาณ 5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าถนนสายพังโคน-วาริชภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 227) เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดประมาณ 57 กิโลเมตร เขื่อนแห่งนี้เป็นเขื่อนดิน สร้างกั้นลำน้ำอูนซึ่งเป็นสายหนึ่งของแม่น้ำสงคราม ซึ่งมีต้นน้ำมาจากเทือกเขาภูพาน เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการชลประทาน บรรยากาศเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ สภาพโดยทั่วไปเป็นอ่างเก็บน้ำกว้างใหญ่ รายล้อมด้วยเทือกเขาภูพาน และป่าไม้ที่สวยงาม บริเวณใกล้กับสันเขื่อนเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากการระบายน้ำออกจากเขื่อน


สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปู่มเหศักดิ์ และ พิพิธภัณฑ์ไทยโส้

ตั้ง อยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร อยู่ทางด้านขวามือ ตามเส้นทางสายสกลนคร-นครพนม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะบูชาของชาวไทยโส้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพซึ่งช่วยคุ้มครองชาวไทยโส้ ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษร และสำเนียงการออกเสียง

วัดคำประมง

ตั้ง อยู่ที่บ้านคำประมง ตำบลสว่าง เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 22 สายสกลนคร-พรรณานิคมประมาณ 37 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาไปทางอำเภออากาศอำนวยอีกประมาณ 10 กิโลเมตร อาคารต่าง ๆ สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ วัดนี้เป็นที่วิปัสสนาของพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทธาโร) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของไทย

อุทยานแห่งชาติภูผายล

ตั้ง อยู่บนเทือกเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และอำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร มีพื้นที่ประมาณ 825 ตารางกิโลเมตร หรือ 517,850 ไร่ เป็นอุทยานฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สภาพป่าทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาหินทราย สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา พรรณไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้ตะเคียน ตะแบก กะบก สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เก้ง กวาง หมาไน เป็นต้น
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่

อ่างเก็บน้ำห้วยหวด เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนชลประทานตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว บริเวณพลับพลาฝั่งขวาของอ่างเก็บน้ำมีก้อนหินรูปร่างแปลก และยังสามารถมองเห็นน้ำตก 2 สาย ซึ่งไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยหวด

น้ำตกคำสร้าง เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดของอุทยานฯ ถ้ายืนบนสันเขื่อนมองลงไปทางทิศใต้จะสามารถมองเห็นน้ำตกได้ น้ำตกมีความสูง 20 เมตร ตัวน้ำตกอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 400 เมตร

ภูผายล อยู่บนเส้นทางสายอำเภอเต่างอย-ศรีวิชา แล้วเลี้ยวซ้ายบ้านนาอ่าง-ม่วงคำ เดินทางเข้าต่อบ้านโพนบก-โพนแพง ไปยังบ้านนาผาง รวมระยะทาง 35 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ มีจุดชมวิวที่สวยงาม บริเวณหน้าผามีรูปเกาะสลักรูปภาพต่าง ๆ ที่มีอายุประมาณ 3,000 ปี
ผาพญาเต่างอย จากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามถนนเส้นบ้านห้วยหวด-โคกกลาง ไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะพบผาพญาเต่างอยอยู่ริมถนน มีลักษณะเป็นหินทรายรูปร่างคล้ายเต่างอยกำลังจะลงน้ำหันหน้าลงสู่ลำน้ำพุง เชื่อกันว่าบริเวณใดที่มีเต่างอยแสดงว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นตำนานที่เรียกชื่อบ้านเต่างอย

ลานดุสิตา เป็นลานหินซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง ในราวปลายฤดูฝนจะมีดอกไม้เล็ก ๆ นานาพรรณขึ้นอยู่ละลานตา โดยเฉพาะ ดอกดุสิตา ซึ่งมีสีม่วง และมีดอกกระดุมเงิน สร้อยสุวรรณา เอนอ้า หยาดน้ำค้าง ซึ่งทางอุทยานฯ ได้จัดทำทางเดินเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงามของธรรมชาติ โดยไม่เหยียบย่ำไปบนพืชเล็ก ๆ ที่สวยงามเหล่านี้

นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ ถ้ำหีบภูผานาง ถ้ำเสาวภา อ่างเก็บน้ำดงน้อย และถ้ำพระเวทย์

ค่าเข้าอุทยานฯ ผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด้ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท

สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบริการ บ้านพัก พักได้ 10 คน ราคา 1,200 บาท/คืน เต็นท์ พักได้ 2 คน ราคา 400 บาท/คืน และในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ไปเองเสียค่าพื้นที่ 30 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูผายล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร 47260 โทร. 0 4298 1057 หรือสอบถามข้อมูลที่พักเพิ่มเติมได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

การเดินทาง จากอำเภอเมืองสกลนครเดินทางไปตามทางหลวงสายสกลนคร-นาแก ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอำเภอเต่างอย และเดินทางต่อไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือใช้เส้นทางสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ ไปประมาณ 5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2339 ไปอุทยานฯ อีกประมาณ 35 กิโลเมตร

ชาวภูไท บ้านโนนหอม

ตำบล โนนหอม อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสกลนคร- นาแก (ทางหลวงหมายเลข 223) ประมาณ 13 กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวภูไทที่บ้านโนนหอมนี้อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมื่อประมาณ 100 กว่าปีแล้ว และยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวภูไทไว้ ติดต่อการแสดงจัดพาแลง (พาแลง หมายถึง การร่วมรับประทานอาหารเย็นกับชาวภูไท) และการฟ้อนรำของชาวภูไทล่วงหน้าที่ ศูนย์สาธิตการตลาดบ้านโนนหอม เลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสกลนคร- นาแก (ทางหลวงหมายเลข 223) ประมาณ 13 กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด

ตั้ง อยู่ในสถานีประมงน้ำจืด ถนนใสสว่าง ภายในจัดแสดง และให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ปลาชนิดต่าง ๆ ที่ค้นพบในภาคอีสาน เช่น ปลาเผือก ปลาหอม ปลาเสือตอ ปลาออสก้าร์ลาย ปลาจันทร์เทศ เป็นต้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร

อยู่ ภายในสถาบันราชภัฏสกลนคร ถนนนิตโย ตำบลธาตุนาแวง เป็นที่แสดงสิ่งของ เครื่องใช้ของชนเผ่าต่าง ๆ พร้อมภาพประวัติ และเอกสารแสดงความเป็นมาทางศิลปวัฒนธรรม ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4271 1274 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.


สะพานขอม หรือ สะพานหิน

อยู่ ก่อนเข้าตัวเมือง เป็นโบราณสถานเล็ก ๆ ริมถนนสายนิตโย ถนนเส้นทางหลวงหมายเลข 22 ใกล้กิโลเมตรที่ 161 เส้นสกลนคร-อุดรธานี สันนิษฐานว่าเป็นสะพานโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรจากตัว เมืองสกลนครไปยังนอกเมือง เนื่องจากบริเวณนี้เดิมเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง สะพานที่เห็นในปัจจุบันก่อด้วยศิลาแลง ซึ่งสร้างขึ้นใหม่หลังจากของเดิมได้ถูกรื้อทิ้งเพื่อก่อสร้างถนน

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

ตั้ง อยู่ติดกับหนองหาน บริเวณตำบลธาตุเชิงชุม ในตัวเมืองเป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 120 ไร่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 มีลักษณะเป็นสวนล้อมสระน้ำขนาดใหญ่ ชื่อสระพังทอง เป็นสระโบราณ เชื่อกันว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างพระธาตุเชิงชุม ภายในบริเวณสวนประกอบด้วยสวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนป่า สวนน้ำ สวนหิน สวนออกกำลังกาย และน้ำพุที่สูงราว 69 เมตร ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาหาความรู้ ด้านพฤกษศาสตร์ได้อีกด้วย สวนแห่งนี้เปิดตั้งแต่เวลา 04.00-21.00 น. นอกจากนั้นยังมี สวนเทิดพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี เป็นสวนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ ประมาณ 80 ไร่ อยู่ที่บ้านหนองบัวใหญ่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 22 เส้นทางสายสกลนคร-บ้านธาตุ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร จะถึงบริเวณสวนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ดอนขาม ดอนลังกาภายในบริเวณประกอบด้วยสวน พฤกษชาติ ศาลาพักร้อน น้ำพุ จุดชมวิว ที่อาศัยของนกนานาชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวสกลนคร

ภาพรอยสลักผาสามพันปีที่ภูผายล

ตั้ง อยู่ในเขตพื้นที่บ้านนาผาง ตำบลกกปลาซิว ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 38 กิโลเมตร ภูผายลเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ในบริเวณนั้นมีภาพแกะสลักบนหน้าผาหินเป็นรูปภาพต่าง ๆ แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่ใช้ของแข็งขูดขีดลงบนหน้าผา เช่น ภาพสัตว์ คน ไร่นา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีธรรมชาติรอบข้างเป็นป่าเขาที่สวยงาม

การเดินทาง จากตัวอำเภอเต่างอยไปตามเส้นทางสายอำเภอเต่างอย-ศรีวิชาไป 5 กิโลเมตร แวะเข้าสู่บ้านม่วง-นาอ่าง และเดินทางต่อผ่านบ้านโพนบก-โพนแพง และบ้านนาผางตามลำดับ รวมระยะเส้นทางประมาณ 35 กิโลเมตร ก่อนถึงภูผายล จากบ้านนาผางขึ้นไปจะเป็นถนนลาดยางจนถึงหน้าผาหิน และมีบันไดขึ้นสู่หน้าผายอดเขา ตามระยะทางสามารถแวะพักตามจุดชมวิว ซึ่งมีก้อนหินทรายตั้งวางเป็นระยะ บางแห่งรูปคล้ายเพิงพัก หรือแท่นที่นั่ง

อุทยานแห่งชาติภูพาน

อุทยาน แห่งชาติภูพาน ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตของอำเภอเมือง อำเภอพรรณานิคม อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และอำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุดบาก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 655 ตารางกิโลเมตร หรือ 415,838 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร และห้วยต่าง ๆ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ ค่าง ชะมด ลิงลม มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
ด้านประวัติศาสตร์
พระธาตุภูเพ็ก อยู่บนเทือกเขาภูพาน เป็นพระธาตุเก่าแก่สมัยขอมเรืองอำนาจ สร้างด้วยศิลาแลงในลักษณะของเทวลัย

ถ้ำเสรีไทย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4.5 กิโลเมตร เป็นถ้ำที่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายเสรีไทยได้ใช้เป็นที่สะสมอาวุธ และเสบียง เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสม ปกปิดด้วยป่าไม้ที่เขียวชอุ่ม และบริเวณเดียวกันมีร่องรอยการขุดแต่งเป็นสนามบินลับด้วย

เทือกเขาภูพาน เป็นขุนเขาแห่งประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนรู้จักมากที่สุด แต่เป็นดินแดนที่น้อยคนนักที่ได้ไปสัมผัสความงามธรรมชาติ โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างจังหวัดสกลนคร-กาฬสินธุ์
ด้านธรรมชาติ
น้ำตกคำหอม และ โค้งปิ้งงู อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 14 กิโลเมตร น้ำตกคำหอมอยู่ใกล้กับน้ำตกตาดโตน ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพระราชฐาน บริเวณใกล้เคียงกันจะเป็นที่ตั้งของน้ำตกต่าง ๆ อีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเหวสินธุ์ชัย น้ำตกสามหลั่น น้ำตกสาวไห้ ผาหินซ้อน อยู่ท่ามกลางป่าไม้ที่ร่มเย็น และหน้าทางเข้าน้ำตกคำหอม บนถนนสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ เป็นช่วงที่คดเคี้ยวไปมาเหมือนกับงูเลื้อย หรืองูที่ถูกปิ้งที่มีไหลทางลดหลั่นลงมา มีหลักกิโลเมตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยตั้งอยู่ริมทาง ตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม การคมนาคมเข้าแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้สะดวก และปลอดภัย สามารถเดินทางเข้าถึงตลอดทั้งปี สำหรับน้ำตกต่าง ๆ จะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น

ผานางเมิน และลานสาวเอ้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ตามเส้นทางเดินเท้าประมาณ 700 เมตร และ 2 กิโลเมตร ตามลำดับ สองข้างทางจะเป็นป่าพลวงไปตลอดถึงริมหน้าผา ผานางเมิน เป็นลานหินทอดยาวหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมองเห็นธรรมชาติเบื้องล่างได้อย่าง ชัดเจนสวยงาม เหมาะแก่การตั้งค่ายพักแรม และดูพระอาทิตย์ตก ส่วนด้านล่างหน้าผามีทางเดินไป ลานสาวเอ้ (คำว่า เอ้ เป็นภาษาอีสาน หมายถึง การแต่งตัวมาอวดกัน) ซึ่งเป็นลานหินธรรมชาติที่สวยงาม อยู่ท่ามกลางป่าเขา และบริเวณหน้าผาสูงชัน ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม จะได้พบเห็นดอกไม้ขึ้นสลับสี เป็นทุ่งกว้าง เหมาะสำหรับพักผ่อน ถ่ายภาพ และชมธรรมชาติ

ผาเสวย อยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ลักษณะเป็นหน้าผาที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ณ ที่แห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ และประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงได้ชื่อว่า ผาเสวย มาตั้งแต่บัดนั้น

น้ำตกห้วยใหญ่ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กิโลเมตร ลักษณะเป็นลำน้ำที่ยุบตัวลงลดหลั่นเป็นชั้น ๆ รายล้อมด้วยสภาพป่าเขาทึบที่ร่มเย็น

น้ำตกปรีชาสุขสันต์ ตั้งอยู่ในเทือกเขาภูพาน เขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลาดเขาลดหลั่นเป็นชั้น บางช่วงคล้ายสไลเดอร์ มีความยาว 12 เมตร อยู่ท่ามกลางสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ สามารถลงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย น้ำจะมีมากในฤดูฝน การคมนาคมสะดวก สามารถเข้าถึงตัวน้ำตกได้ตลอดปี

สะพานหินธรรมชาติ (ทางผีผ่าน) มีลักษณะเป็นสะพานหินที่เชื่อมต่อระหว่างหินสองกลุ่ม ความกว้างของสะพานประมาณ 1.5 เมตร ยาว 8 เมตร ด้านใต้เป็นเวิ้งถ้ำกว้างใช้เป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างหนึ่ง

นอกจากนี้ทางอุทยานฯ ได้จัดทำ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยว เริ่มตั้งแต่บริเวณผานางเมิน ลานสาวเอ้ แก้งขี้ลิง เขตป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง แล้วกลับสู่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติอีกครั้ง และตลอดเส้นทางเดินป่ามีจุดสำหรับการศึกษาธรรมชาติในเรื่องของสภาพป่าไม้โดย ทั่วไปของพื้นที่อุทยานฯ เฟิร์น หินทราย มอส และไลเคนส์ ลานสาวเอ้ ต้นไม้เพื่อนรัก เป็นต้น โดยใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพัก จำนวน 6 หลัง พักได้ 5-6 ราคา 500-600 บาท/คืน เรือนแถว พักได้ 16 คน ราคา 1,000 บาท พักได้ 36 คน ราคา 3,000 บาท/คืน เต็นท์ให้เช่า ราคา 50-150 บาท/คืน และในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ไปเอง คิดค่าบำรุงสถานที่ ราคา 30 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูพาน ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร. 0 4270 3044 หรือสอบถามข้อมูลที่พักเพิ่มเติมได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม หรือวัดถ้ำพวง และพิพิธภัณฑ์อาจารย์วัน อุตตโม

การ เดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร ก็จะถึงอำเภอสว่างแดนดิน เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอส่องดาวไปถึงวงเวียนอนุสาวรีย์พระเวสสันดรระยะทางอีก ประมาณ 27 กิโลเมตร จากอนุสาวรีย์หากแยกขวาจะไปวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ตรงไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑ์ พระอุดม สังวรวิสุทธิ สร้างเป็นรูปทรงจตุรมุข 2 ชั้น ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ชั้นล่าง ตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพวาดเกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์ตั้งแต่เกิด ส่วน ชั้นบน มีรูปปั้นของท่านในท่านั่งขัดสมาธิ พร้อมเครื่องสักการะบูชาที่ตกแต่งสวยงาม และตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน บริเวณใกล้เคียงกันมีถ้ำพวงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระมุจรินทร์องค์ใหญ่ และยังมีสังเวชนียสถาน 4 ตำบลขนาดใหญ่อยู่ด้วย

พระธาตุศรีมงคล

ตั้ง อยู่ที่วัดพระธาตุศรีมงคล ตำบลบ้านธาตุ ริมเส้นทางสายพังโคน-วาริชภูมิ ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิ 200 เมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 65 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ยอดแหลม ตกแต่งด้วยศิลปกรรมยุคใหม่ ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลายปั้นดินเผา บริเวณฐานเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าสร้างด้วยดินเผาที่สร้างขึ้นครอบพระ ธาตุองค์เดิม ซึ่งเป็นศิลาแลงที่ชำรุด นับเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอวาริชภูมิ การคมนาคมสะดวกรถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณวัด

พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร

ตั้ง อยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม ตามเส้นทางสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 จากสกลนครถึงอำเภอพรรณานิคมประมาณ 37 กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัต
การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) และเลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ 2 กิโลเมตร

พระธาตุภูเพ็ก

ตั้ง อยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ห่างจากตัวเมืองสกลนครไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 491 ขั้น จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทราย อยู่บนฐานศิลาแลง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่องประวัติศาสตร์ การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระธาตุภูเพ็กสร้างโดยกลุ่มผู้ชายเพื่อแข่งขันกับกลุ่มผู้หญิงซึ่งสร้างพระ ธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า แต่กลุ่มผู้ชายได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อดาว “เพ็ก”
การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร

วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม

ชาว บ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตรวัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่

พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส การเดินทาง ไปตามถนนสุขเกษมจนถึงศูนย์ราชการจังหวัดมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 250 เมตร ตัวพิพิธภัณฑ์มีลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ สร้างด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อเหมือนองค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในท่านั่งสมาธิ และมีตู้กระจกบรรจุอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นแก้วผลึกใสสีขาว ยกฐานสูงพื้นปูด้วยหินอ่อน พร้อมทั้งตู้แสดงเครื่องอัฐบริขาร รวมทั้งประวัติความเป็นมาของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว ที่ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี และอุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในปฏิมาธุดงด์กรรมฐานเป็นวัตร มีพระในสายเดียวกับท่านอีกหลายองค์ที่ได้เข้ามาปฏิบัติ และฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวของท่าน เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อาลนาโย หลวงปู่แหวน สุจินต์โน เป็นต้น ต่อมาท่านได้ย้ายจากการธุดงค์กรรมฐานเข้ามาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส และมรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นอกจากนั้นยังมี พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย (2444-2532) ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่สายวิปัสสนา ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น หลวงปู่หลุยเป็นผู้ที่มีปฏิปทาชอบจาริกไปในที่ต่าง ๆ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตท่าน เมื่อท่านมรณภาพและพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชกระแสว่า “ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้ด้วยพระองค์เอง

พระธาตุดุม

อยู่ ที่วัดพระธาตุดุม บ้านธาตุดุม ตำบลงิ้วดอน ถนนสาย รพช. ทางไปโรงเรียนพัฒนาศึกษา ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร มีปรางค์องค์เดียวสร้างด้วยศิลาแลงสมัยเดียวกับพระธาตุนารายณ์เจงเวง แต่องค์ปราสาทเล็กกว่ามีเพียงยอดเดียวไม่มีฐานรองรับ พบทับหลังทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศเหนือเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ นอกจากนี้ยังมีภาพเทวดาทรงพาหนะเหนือหน้ากาลประกอบด้วยสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง สิงห์ และลายใบไม้ม้วน การกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ศิลปะเขมรแบบบาปวน

วัดพระธาตุเชิงชุม

วัด พระธาตุเชิงชุม ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ปลายถนนเจริญเมือง ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 24 เมตร ยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุมทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท มีซุ้มประตู 4 ด้าน ข้างในทึบ สร้างครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ซึ่งหมายถึง พระกกุสันทะ พระโกนาคม พระกัสสะปะ และพระโคดม หรือพระศรีอารียเมตตรัย (คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชาวพุทธศาสนิกชนเคารพสักการะบูชาอยู่ทุกวันนี้ ) สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาแต่โบราณ ภายในวิหารใกล้พระธาตุเชิงชุม เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสกลนคร ทุกวันพระในตอนค่ำจะมีประชาชนไปบูชากราบไหว้พระธาตุ และหลวงพ่อองค์แสนเป็นจำนวนมาก งานประจำปีของพระธาตุเชิงชุมจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ของทุกปี (กำหนดตามจันทรคติ)

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์

ตั้ง อยู่กลางเทือกเขาภูพาน บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองสกลนคร 13 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปทางด้านขวามือ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2106 เป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณสถานที่ตั้งเป็นป่าไม้ร่มรื่น มีไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ในระหว่างที่ไม่ได้ประทับอยู่ที่พระตำหนัก อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน โดยทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการพระราชวัง พระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ 10200 และเมื่อได้รับหนังสือตอบรับแล้วจึงจะเดินทางไปชมได้

พระธาตุนารายณ์เจงเวง

เป็น พระธาตุประกอบด้วยปรางค์องค์เดียว สร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ สลักลวดลายลงบนเนื้อหิน มีทับหลังจำหลักภาพพระกฤษณะฆ่าสิงห์ในรูปแบบศิลปะเขมร สมัยบาปวน ลักษณะคล้ายกับปราสาทหินของขอมที่ปรากฏหลายแห่งในภาคอีสาน ลวดลายสลักหินบนซุ้มประตู หน้าต่างยังมีลักษณะสมบูรณ์ปรากฏชัด ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฝีมือของผู้หญิงสร้างทั้งหมด เพื่อแข่งขันกับผู้ชายที่สร้างพระธาตุภูเพ็ก รูปแบบและศิลปะสันนิษฐานมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 งานประเพณีของพระธาตุนารายณ์เจงเวงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสกลนคร-อุดรธานี (ทางหลวงหมายเลข 22) ถึงบริเวณบ้านธาตุซึ่งอยู่ก่อนถึงสี่แยกถนนเลี่ยงเมืองเล็กน้อยแล้วเลี้ยว ซ้ายเข้าไปอีก 400 เมตร

หนองหาน

เป็นทะเลสาบน้ำจืด ที่มีชื่อเสียง และกว้างใหญ่มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 123 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับน้ำตกของลำห้วยต่าง ๆ หลายสาย และยังเป็นต้นน้ำของลำน้ำก่ำซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อำนวยประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชนรอบหนองหาน ระดับน้ำในหนองหานลึกประมาณ 3-8 เมตร ในบริเวณหนองหานมีเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ เช่น เกาะดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บนเกาะมีวัดร้าง และพระพุทธรูปเก่าแก่ นอกจากนั้นตามเกาะต่าง ๆ เหล่านี้จะมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย เป็นที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด บางเกาะได้สร้างศาลาพักร้อน เช่น เกาะแก้ว เกาะดอนสะคาม และเกาะดอนสะทุง ฯลฯ ซึ่งในเวลากลางวันสาหร่ายที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เมื่อแดดส่องลงในน้ำจะเห็นสาหร่ายเป็นสีทอง

 
 

Destination Guides Car & Fleet Guide Car Rental Locations